ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ หนึ่ง
สำรวจกองทัพที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร
โศลก 25
bhīṣma-droṇa-pramukhataḥ
sarveṣāṁ ca mahī-kṣitām
uvāca pārtha paśyaitān
samavetān kurūn iti
sarveṣāṁ ca mahī-kṣitām
uvāca pārtha paśyaitān
samavetān kurūn iti
ภีษฺม-โทฺรณ-ปฺรมุขตห์
สเรฺวษำ จ มหี-กฺษิตามฺ
อุวาจ ปารฺถ ปไศฺยตานฺ
สมเวตานฺ กุรูนฺ อิติ
สเรฺวษำ จ มหี-กฺษิตามฺ
อุวาจ ปารฺถ ปไศฺยตานฺ
สมเวตานฺ กุรูนฺ อิติ
ภีษฺม — พระอัยกา ภีษฺม, โทฺรณ — พระอาจารย์ โทฺรณ, ปฺรมุขตห์ — อยู่ข้างหน้า, สเรฺวษามฺ — ทั้งหมด, จ — เช่นกัน, มหี-กฺษิตามฺ — เหล่าผู้นำของโลก, อุวาจ — ตรัส, ปารฺถ — โอ้บุตรของ ปฺฤถา, ปศฺย — โปรดดู, เอตานฺ — พวกเขาทั้งหมด, สมเวตานฺ — ชุมนุมกัน, กุรูนฺ — สมาชิกของราชวงศ์ กุรุ, อิติ — ดังนั้น
คำแปล
ในการปรากฏตัวของ
คำอธิบาย
ในฐานะที่เป็นอภิวิญญาณของมวลชีวิตองค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงเข้าใจ อรฺชุน ว่าทรงคิดอะไรอยู่ การใช้คำว่า หฺฤษีเกศ ในที่นี้หมายความว่าพระองค์ทรงทราบทุกสิ่งทุกอย่าง และคำว่า ปารฺถ โอรสของพระนาง กุนฺตี หรือ ปฺฤถา ก็มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับ อรฺชุน ในฐานะที่ทรงเป็นพระสหายองค์กฺฤษฺณทรงปรารถนาที่จะบอกว่า อรฺชุน ทรงเป็นโอรสของ ปฺฤถา ผู้เป็นพระขนิษฐาของบิดาขององค์กฺฤษฺณแท้ๆ คือ วสุเทว องค์กฺฤษฺณจึงทรงอาสามาเป็นสารถี ขณะนี้องค์กฺฤษฺณจะหมายความว่าอะไรเมื่อตรัสต่อ อรฺชุน ว่า “จงดูพวก กุรุ” อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะหยุดแค่นี้และไม่สู้รบเช่นนั้นหรือองค์กฺฤษฺณทรงไม่คาดหวังสิ่งนี้จากโอรสของพระปิตุจฉา ปฺฤถา องค์กฺฤษฺณทรงทำนายจิตใจของ อรฺชุน ในเชิงล้อเล่นฉันสหาย