ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ หนึ่ง
สำรวจกองทัพที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร
โศลก 29
vepathuś ca śarīre me
roma-harṣaś ca jāyate
gāṇḍīvaṁ sraṁsate hastāt
tvak caiva paridahyate
roma-harṣaś ca jāyate
gāṇḍīvaṁ sraṁsate hastāt
tvak caiva paridahyate
เวปถุศฺ จ ศรีเร เม
โรม-หรฺษศฺ จ ชายเต
คาณฺฑีวํ สฺรํสเต หสฺตาตฺ
ตฺวกฺ ไจว ปริทหฺยเต
โรม-หรฺษศฺ จ ชายเต
คาณฺฑีวํ สฺรํสเต หสฺตาตฺ
ตฺวกฺ ไจว ปริทหฺยเต
เวปถุห์ — ร่างกายสั่น, จ — เช่นกัน, ศรีเร — บนร่างกาย, เม — ของข้า, โรม-หรฺษห์ — ขนลุก, จ — เช่นกัน, ชายเต — เกิดขึ้น, คาณฺฑีวมฺ — ธนูของ อรฺชุน, สฺรํสเต — ลื่นลง, หสฺตาตฺ — จากมือ, ตฺวกฺ — ผิวหนัง, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, ปริทหฺยเต — ร้อนผ่าว
คำแปล
ทั่วทั้งเรือนร่างของข้ารู้สึกสั่นไปหมด
คำอธิบาย
ร่างกายสั่นมีสองประเภท และขนลุกก็มีสองประเภท อาการเช่นนี้เกิดขึ้นได้จากความปลื้มปีติยินดีทิพย์อย่างใหญ่หลวง หรือเกิดขึ้นจากความกลัวมากๆภายใต้สภาวะทางวัตถุ ในความรู้แจ้งทิพย์จะไม่มีความกลัว อาการของ อรฺชุน ในสถานการณ์เช่นนี้ก็เนื่องมาจากความกลัวทางวัตถุ เช่น การสูญเสียชีวิต ยังมีลักษณะอาการอื่นๆที่เป็นหลักฐานคือ อรฺชุน ทรงรู้สึกหมดความอดทนจนกระทั่งคันธนูอันเลื่องชื่อ คาณฺฑีว ได้ลื่นหลุดไปจากมือ เนื่องจากหัวใจที่ถูกเผาไหม้อยู่ภายในจึงทรงรู้สึกว่าร้อนผ่าวที่ผิวกาย ทั้งหมดนี้ก็เกิดขึ้นเนื่องมาจากแนวความคิดชีวิตทางวัตถุ