ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หนึ่ง

สำรวจกองทัพที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร

โศลก 36

pāpam evāśrayed asmān
hatvaitān ātatāyinaḥ
tasmān nārhā vayaṁ hantuṁ
dhārtarāṣṭrān sa-bāndhavān
sva-janaṁ hi kathaṁ hatvā
sukhinaḥ syāma mādhava
ปาปมฺ เอวาศฺรเยทฺ อสฺมานฺ
หไตฺวตานฺ อาตตายินห์
ตสฺมานฺ นารฺหา วยํ หนฺตุํ
ธารฺตราษฺฏฺรานฺ ส-พานฺธวานฺ
สฺว-ชนํ หิ กถํ หตฺวา
สุขินห์ สฺยาม มาธว
ปาปมฺ — ความชั่ว, เอว — แน่นอน, อาศฺรเยตฺ — จะต้องมาถึง, อสฺมานฺ — เรา, หตฺวา — ด้วยการสังหาร, เอตานฺ — ทั้งหมดนี้, อาตตายินห์ — ผู้บุกรุก, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, — ไม่เคย, อรฺหาห์ — ควรได้รับ, วยมฺ — เรา, หนฺตุมฺ — สังหาร, ธารฺตราษฺฏฺรานฺ — เหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร, ส-พานฺธวานฺ — พร้อมกับเพื่อนๆ, สฺว-ชนมฺ — สังคญาติ, หิ — แน่นอน, กถมฺ — อย่างไร, หตฺวา — ด้วยการสังหาร, สุขินห์ — ความสุข, สฺยาม — เราจะกลายเป็น, มาธว — โอ้ กฺฤษฺณ พระสวามีเทพธิดาแห่งโชคลาภ

คำแปล

เราจะสะสมบาปหากเราสังหารผู้บุกรุกดังกล่าว ดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะสังหารเหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร และเพื่อนๆของเรา เราจะได้รับอะไร โอ้ กฺฤษฺณ พระสวามีของเทพธิดาแห่งโชคลาภ เราจะได้รับความสุขจากการสังหารสังคญาติของเราได้อย่างไร

คำอธิบาย

ตามหลักคัมภีร์พระเวทมีผู้บุกรุกอยู่หกประเภท (1) ผู้วางยาพิษ (2) ผู้วางเพลิงเผาบ้าน (3) ผู้บุกรุกด้วยอาวุธร้ายแรง (4) ผู้มาปล้นทรัพย์สมบัติ (5) ผู้มายึดแผ่นดินของคนอื่น (6) ผู้มาลักพาตัวภรรยา ผู้มาบุกรุกเหล่านี้ควรถูกสังหารทันที และจะไม่มีบาปในการสังหารบุคคลเหล่านี้ การสังหารพวกบุกรุกนี้นั้นเหมาะสำหรับบุคคลสามัญ แต่ อรฺชุน ทรงไม่ใช่คนธรรมดาสามัญทั่วไป โดยบุคลิกลักษณะท่านเป็นนักบุญ ฉะนั้นจึงทรงปรารถนาจะปฏิบัติต่อพวกเขาแบบนักบุญ อย่างไรก็ดีลักษณะนักบุญเช่นนี้ไม่เหมาะสำหรับกษัตริย์ ถึงแม้ว่าความรับผิดชอบในการบริหารรัฐจำเป็นต้องทำโดยนักบุญ แต่ไม่ควรเป็นคนขลาด ตัวอย่างเช่น พระราม ทรงเป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่จนกระทั่งปัจจุบันผู้คนยังใฝ่หาที่จะอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรของพระราม (ราม-ราชฺย) เพราะพระรามทรงไม่เคยแสดงความขลาดเลย ราวณ (ทศกัณฐ์) เป็นผู้บุกรุกพระราม เพราะ ราวณ ได้ลักพาตัวพระนางสีดา มเหสีของพระรามไป แต่พระรามทรงให้บทเรียนอย่างสาสมจนหาที่เปรียบไม่ได้ในประวัติศาสตร์โลก อย่างไรก็ดี ในกรณีของ อรฺชุน เราควรถือว่าเหล่าผู้บุกลุกพวกนี้เป็นพวกที่พิเศษคือ เป็นพระอัยกาของท่านเอง เป็นพระอาจารย์ของท่านเอง เป็นเหล่าสหาย เหล่าบุตร หลานๆ ฯลฯ เป็นเพราะพวกเขาเหล่านี้ อรฺชุน จึงทรงคิดว่าไม่ควรกระทำความรุนแรง นอกจากนี้เหล่านักบุญแนะนำให้ให้อภัย สำหรับนักบุญคำสั่งเช่นนี้สำคัญกว่าสถานการณ์ฉุกเฉินทางการเมือง อรฺชุน ทรงพิจารณาว่าแทนที่จะสังหารสังคญาติของตนด้วยเหตุผลทางการเมือง จะดีกว่าไหมถ้าหากเราให้อภัยพวกเขาตามหลักศาสนาและหลักปฏิบัติของนักบุญ ดังนั้นจึงไม่คิดว่าการสังหารเช่นนี้จะได้เป็นการได้รับประโยชน์อันใด มันเป็นเพียงแต่การให้ความสุขทางร่างกายที่ไม่ถาวรนี้เท่านั้น ทั้งราชอาณาจักรและความสุขที่ได้มาก็ไม่ถาวร แล้วเหตุไฉนจึงต้องเสี่ยงชีวิตของตน และเสี่ยงการได้รับความหลุดพ้นด้วยการสังหารสังคญาติของตนเอง อรฺชุน ทรงเรียกองค์กฺฤษฺณว่า มาธว หรือพระสวามีของเทพธิดาแห่งโชคลาภซึ่งเป็นคำสำคัญเช่นกัน เพราะทรงปรารถนาจะชี้ให้องค์กฺฤษฺณเห็นว่าในฐานะที่ทรงเป็นพระสวามีของเทพธิดาแห่งโชคลาภ พระองค์ทรงไม่ควรชักจูง อรฺชุน ให้กระทำบางสิ่งบางอย่างซึ่งในที่สุดจะนำความอับโชคมาให้ อย่างไรก็ดีองค์กฺฤษฺณทรงไม่เคยนำความอับโชคมาให้ผู้ใด แล้วจะนำมาให้สาวกของพระองค์เองได้อย่างไรกัน