ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบ

ความมั่งคั่งแห่งสัจธรรม

โศลก 18

vistareṇātmano yogaṁ
vibhūtiṁ ca janārdana
bhūyaḥ kathaya tṛptir hi
śṛṇvato nāsti me ’mṛtam
วิสฺตเรณาตฺมโน โยคํ
วิภูตึ จ ชนารฺทน
ภูยห์ กถย ตฺฤปฺติรฺ หิ
ศฺฤณฺวโต นาสฺติ เม ’มฺฤตมฺ
วิสฺตเรณ — ในรายละเอียด, อาตฺมนห์ — ของพระองค์, โยคมฺ — พลังอินธิฤทธิ์, วิภูติมฺ — ความมั่งคั่ง, — เช่นกัน, ชน-อรฺทน — โอ้ ผู้สังหารคนไร้ศรัทธาในองค์ภควาน, ภูยห์ — อีกครั้งหนึ่ง, กถย — อธิบาย, ตฺฤปฺติห์ — พึงพอใจ, หิ — แน่นอน, ศฺฤณฺวตห์ — การสดับฟัง, น อสฺติ — ไม่มี, เม — ของข้า, อมฺฤตมฺ — น้ำทิพย์

คำแปล

โอ้ ชนารฺทน ได้โปรดอธิบายพลังทิพย์แห่งความมั่งคั่งของพระองค์อีกครั้งหนึ่งโดยละเอียด ข้าไม่เคยรู้สึกเพียงพอในการสดับฟังเกี่ยวกับพระองค์เพราะเมื่อได้สดับฟังมากยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าก็ยิ่งอยากได้รับรสน้ำทิพย์จากคำดำรัสของพระองค์มากยิ่งขึ้น

คำอธิบาย

ข้อความในทำนองเดียวกันนี้ ฤษิ แห่ง ไนมิษารณฺย ซึ่งนำโดย เศานก กล่าวแก่ สูต โคสฺวามี ดังนี้

วยํ ตุ น วิตฺฤปฺยาม
อุตฺตม-โศฺลก-วิกฺรเม
ยจฺ ฉฺฤณฺวตำ รส-ชฺญานำ
สฺวาทุ สฺวาทุ ปเท ปเท
“บุคคลจะไม่มีวันเพียงพอแม้สดับฟังลีลาทิพย์ต่างๆขององค์กฺฤษฺณ ผู้ที่ทรงได้รับการสรรเสริญด้วยบทมนต์อันยอดเยี่ยมอยู่ตลอดเวลา พวกที่เข้าไปในความสัมพันธ์ทิพย์กับองค์กฺฤษฺณจะได้รับรสในการพรรณนาลีลาของพระองค์อยู่ตลอดเวลา” (ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ 1.1.19) ดังนั้น อรฺชุน ทรงสนใจในการสดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณโดยเฉพาะที่ว่าพระองค์ทรงเป็นองค์ภควานฺที่แผ่กระจายไปทั่วได้อย่างไร

สำหรับ อมฺฤตมฺ หรือน้ำทิพย์ คำพรรณนาใดๆหรือข้อความใดๆที่เกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณเปรียบเหมือนกับน้ำทิพย์และน้ำทิพย์นี้สำเหนียกได้ด้วยประสบการณ์จากการปฏิบัติ เรื่องราวสมัยปัจจุบัน นวนิยาย และประวัติศาสตร์ ไม่เหมือนกับลีลาทิพย์ขององค์กฺฤษฺณเพราะว่าเราจะรู้สึกเบื่อในการฟังเรื่องราวทางโลกแต่เราไม่มีวันเบื่อที่จะสดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ ด้วยเหตุนี้เท่านั้นที่ประวัติศาสตร์ทั่วทั้งจักรวาลพรั่งพร้อมไปด้วยเรื่องอ้างอิงต่างๆเกี่ยวกับลีลาแห่งอวตารขององค์ภควานฺ ปุราณ เป็นประวัติศาสตร์ในยุคอดีตที่สัมพันธ์กับลีลาของอวตารอันหลากหลายขององค์ภควานฺ ดังนั้นเรื่องราวที่อ่านยังคงความสดใหม่อยู่เสมอแม้จะอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก