ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบ
ความมั่งคั่งแห่งสัจธรรม
โศลก 27
uccaiḥśravasam aśvānāṁ
viddhi mām amṛtodbhavam
airāvataṁ gajendrāṇāṁ
narāṇāṁ ca narādhipam
viddhi mām amṛtodbhavam
airāvataṁ gajendrāṇāṁ
narāṇāṁ ca narādhipam
อุจฺไจห์ศฺรวสมฺ อศฺวานำ
วิทฺธิ มามฺ อมฺฤโตทฺภวมฺ
ไอราวตํ คเชนฺทฺราณำ
นราณำ จ นราธิปมฺ
วิทฺธิ มามฺ อมฺฤโตทฺภวมฺ
ไอราวตํ คเชนฺทฺราณำ
นราณำ จ นราธิปมฺ
อุจฺไจห์ศฺรวสมฺ — อุจฺไจห์ศฺรวา, อศฺวานามฺ — ในบรรดาม้า, วิทฺธิ — รู้, มามฺ — ข้า, อมฺฤต-อุทฺภวมฺ — ผลิตจากการกวนมหาสมุทร, ไอราวตมฺ — ไอราวต, คช-อินฺทฺราณามฺ — เจ้าแห่งพญาช้างสาร, นราณามฺ — ในหมู่มนุษย์, จ — และ, นร-อธิปมฺ — พระราชา
คำแปล
ในบรรดาม้ารู้ว่าข้าคือ
คำอธิบาย
เหล่าเทวดา (สาวก) และเหล่ามาร (อสุร) ครั้งหนึ่งได้มีการกวนเกษียรสมุทร ผลจากการกวนในครั้งนั้นได้ผลิตทั้งน้ำทิพย์และยาพิษ พระศิวะทรงดื่มยาพิษ จากน้ำทิพย์นั้นได้ผลิตหลายชีวิตขึ้นมา ในจำนวนนั้นมีม้า อุจฺไจห์ศฺรวา และมีสัตว์อีกตัวหนึ่งที่ผลิตมาจากน้ำทิพย์นี้คือ พญาช้างชื่อ ไอราวต (ช้างเอราวัณ) เนื่องจากสัตว์สองตัวนี้ผลิตมาจากน้ำทิพย์จึงมีความสำคัญเป็นพิเศษ และทั้งคู่ก็เป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ
ในบรรดามนุษย์ กฺษตฺริย คือผู้แทนขององค์กฺฤษฺณเพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้บำรุงรักษาจักรวาล กฺษตฺริย ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากคุณสมบัติเทพทรงเป็นผู้บำรุงรักษาราชอาณาจักร กฺษตฺริย เช่น มหาราช ยุธิษฺฐิร มหาราช ปรีกฺษิตฺ และพระราม ทุกพระองค์ทรงเป็น กฺษตฺริย ผู้มีคุณธรรมสูงส่ง ทรงคิดถึงแต่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชากรเสมอ ในวรรณกรรมพระเวทพิจารณาว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นผู้แทนขององค์ภควานฺ อย่างไรก็ดีในยุคนี้จากการทุจริตในหลักธรรมแห่งศาสนาราชาธิปไตยจึงเสื่อมลงและในที่สุดก็ยกเลิกไป ถึงกระนั้นควรเข้าใจไว้ว่าในอดีตนั้นการอยู่ภายใต้การปกครองของบรรดา กฺษตฺริย ผู้ทรงธรรมประชาชนจะมีความสงบสุขมากกว่า