ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบเอ็ด
รูปลักษณ์จักรวาล
โศลก 54
bhaktyā tv ananyayā śakya
aham evaṁ-vidho ’rjuna
jñātuṁ draṣṭuṁ ca tattvena
praveṣṭuṁ ca paran-tapa
aham evaṁ-vidho ’rjuna
jñātuṁ draṣṭuṁ ca tattvena
praveṣṭuṁ ca paran-tapa
ภกฺตฺยา ตฺวฺ อนนฺยยา ศกฺย
อหมฺ เอวํ-วิโธ ’รฺชุน
ชฺญาตุํ ทฺรษฺฏุํ จ ตตฺเตฺวน
ปฺรเวษฺฏุํ จ ปรนฺ-ตป
อหมฺ เอวํ-วิโธ ’รฺชุน
ชฺญาตุํ ทฺรษฺฏุํ จ ตตฺเตฺวน
ปฺรเวษฺฏุํ จ ปรนฺ-ตป
ภกฺตฺยา — ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้, ตุ — แต่, อนนฺยยา — โดยไม่ผสมกับกิจกรรมเพื่อหวังผลหรือความรู้จากการคาดคะเน, ศกฺยห์ — เป็นไปได้, อหมฺ — ข้า, เอวมฺ-วิธห์ — เหมือนนี้, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, ชฺญาตุมฺ — รู้, ทฺรษฺฏุมฺ — เห็น, จ — และ, ตตฺเตฺวน — ความจริง, ปฺรเวษฺฏุมฺ — เข้าไปข้างใน, จ — และ, ปรมฺ-ตป — โอ้ นักรบผู้ยอดเยี่ยม
คำแปล
อรฺชุน
คำอธิบาย
เราสามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณด้วยกรรมวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่ไม่แบ่งแยกเท่านั้น พระองค์ทรงอธิบายอย่างแจ่มแจ้งในโศลกนี้เพื่อบรรดานักตีความที่เชื่อถือไม่ได้พยายามเข้าใจ ภควัท-คีตา ด้วยวิธีการคาดคะเนจะได้รู้ว่าพวกตนได้แต่เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณ ไม่เข้าใจว่าทรงมาจากพระบิดาพระมารดาในรูปลักษณ์สี่กรได้อย่างไร และเปลี่ยนพระวรกายมาเป็นรูปลักษณ์สองกรโดยทันทีได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้เข้าใจได้ยากมากจากการศึกษาคัมภีร์พระเวทหรือจากการคาดคะเนทางปรัชญา ดังนั้นได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนตรงนี้ว่าไม่มีผู้ใดสามารถเห็นพระองค์หรือเข้าถึงการเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้ อย่างไรก็ดีพวกที่เป็นนักศึกษาวรรณกรรมพระเวทที่มีประสบการณ์มากสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับพระองค์จากวรรณกรรมพระเวทได้หลายๆทาง มีกฏเกณฑ์มากมายหากเราปรารถนาจะเข้าใจองค์กฺฤษฺณ เราต้องปฏิบัติตามหลักกฎเกณฑ์ที่ได้ให้ไว้ในวรรณกรรมที่เชื่อถือได้ เราสามารถปฏิบัติการบำเพ็ญเพียรตามหลักธรรมเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ปฏิบัติการบำเพ็ญเพียรอย่างเคร่งครัด เราอาจถือศีลอดอาหารในวัน ชนฺมาษฺฏมี วันที่องค์กฺฤษฺณทรงปรากฏและวัน เอกาทศี เดือนละสองวัน (วันขึ้นสิบเอ็ดค่ำและวันแรมสิบเอ็ดค่ำ) สำหรับการให้ทานได้กล่าวไว้อย่างเรียบง่ายว่าทานควรให้แก่สาวกขององค์กฺฤษฺณผู้ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่พระองค์ เพื่อเผยแพร่ปรัชญาองค์กฺฤษฺณหรือกฺฤษฺณจิตสำนึกไปทั่วโลก กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นพรสำหรับมนุษยชาติ รูป โคสฺวามี ได้ชื่นชมองค์ ไจตนฺย ว่าทรงเป็นบุคคลผู้มีจิตใจกว้างขวางที่สุดในการให้ทาน เพราะความรักแด่องค์กฺฤษฺณเป็นสิ่งยากมากที่จะบรรลุถึง แต่องค์ ไจตนฺย ทรงแจกจ่ายโดยไม่คิดมูลค่าใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นหากผู้ใดให้เงินแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแจกจ่ายกฺฤษฺณจิตสำนึก ทานนั้นให้ไปเพื่อเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นการให้ทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และหากผู้ใดปฏิบัติบูชาเหมือนที่กำหนดไว้ในวัด (วัดในประเทศอินเดียโดยทั่วไปจะมีพระปฏิมาของพระวิษณุหรือองค์กฺฤษฺณเสมอ) นั่นเป็นโอกาสที่จะก้าวหน้าด้วยการถวายการบูชาและถวายความเคารพแด่พระองค์ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺการบูชาในวัดเป็นสิ่งสำคัญ ได้ยืนยันไว้ในวรรณกรรมพระเวท (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 6.23) ว่า
ยสฺย เทเว ปรา ภกฺติรฺ
ยถา เทเว ตถา คุเรา
ตไสฺยเต กถิตา หฺยฺ อรฺถาห์
ปฺรกาศนฺเต มหาตฺมนห์
ยถา เทเว ตถา คุเรา
ตไสฺยเต กถิตา หฺยฺ อรฺถาห์
ปฺรกาศนฺเต มหาตฺมนห์
ผู้ที่มีความแน่วแน่ในการอุทิศตนเสียสละเพื่อองค์ภควานฺและมีพระอาจารย์ทิพย์ที่มีศรัทธาอย่างแน่วแน่เช่นเดียวกันนี้เป็นผู้ชี้นำสามารถเห็นองค์ภควานฺด้วยการเปิดเผย เราไม่สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณจากการคาดคะเนทางจิตใจ สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนโดยตรงภายใต้การนำทางของพระอาจาร์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้เป็นไปไม่ได้แม้แต่ในการที่จะเริ่มเข้าใจองค์กฺฤษฺณ ได้ใช้คำว่า ตุ เป็นพิเศษตรงนี้เพื่อแสดงว่าไม่มีวิธีอื่นใดที่สามารถใช้ได้ แนะนำได้ หรือสามารถประสบผลสำเร็จในการเข้าใจองค์กฺฤษฺณ
รูปลักษณ์ส่วนพระองค์ขององค์กฺฤษฺณ เช่น รูปลักษณ์สองกรและสี่กรอธิบายด้วยคำว่า สุ-ทุรฺทรฺศมฺ หมายความว่า เห็นได้ยากมาก ซึ่งแตกต่างจากรูปลักษณ์จักรวาลชั่วคราวที่แสดงให้ อรฺชุน เห็นโดยสิ้นเชิง รูปลักษณ์สี่กรของ นารายณ และรูปลักษณ์สองกรขององค์กฺฤษฺณทรงเป็นอมตะและเป็นทิพย์ ในขณะที่รูปลักษณ์จักรวาลที่แสดงให้ อรฺชุน นั้นชั่วคราวไม่ถาวร คำว่า ตฺวทฺ อเนฺยน น ทฺฤษฺฏ-ปูรฺวมฺ (โศลก47) กล่าวว่าก่อนหน้า อรฺชุน ไม่เคยมีผู้ใดเห็นรูปลักษณ์จักรวาลนั้นมาก่อน และยังแนะนำว่าในหมู่สาวกไม่มีความจำเป็นที่ต้องแสดงรูปลักษณ์นี้ที่องค์กฺฤษฺณทรงแสดงตามที่ อรฺชุน ขอร้อง เพื่อในอนาคตเมื่อมีคนอ้างว่าตนเองเป็นอวตารขององค์ภควานฺผู้คนจะได้ขอร้องให้แสดงรูปลักษณ์จักรวาลของเขาให้เห็น
คำว่า น ได้ใช้หลายครั้งในโศลกก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่าเราไม่ควรภูมิใจมากกับประกาศณียบัตร ในฐานะที่เป็นนักศึกษาทางวิชาการในวรรณกรรมพระเวทเหล่านี้ เราต้องปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์กฺฤษฺณตรงนี้เท่านั้นจึงสามารถพยายามเขียนคำอธิบายเกี่ยวกับ ภควัท-คีตา
องค์กฺฤษฺณทรงเปลี่ยนรูปลักษณ์จักรวาลมาเป็นรูปลักษณ์นารายณ์สี่กร จากนั้นทรงเปลี่ยนมาเป็นรูปลักษณ์ตามธรรมชาติสองกรของพระองค์ แสดงให้เห็นว่ารูปลักษณ์สี่กรและรูปลักษณ์อื่นๆที่กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวททั้งหมดออกมาจากองค์กฺฤษฺณสองกรองค์แรกสุด องค์กฺฤษฺณทรงเป็นองค์แรกของอวตารที่ออกมาทั้งหมด องค์กฺฤษฺณทรงแตกต่างแม้จากรูปลักษณ์เหล่านี้จึงไม่จำเป็นต้องพูดถึงแนวคิดที่ไร้รูปลักษณ์ สำหรับรูปลักษณ์สี่กรขององค์กฺฤษฺณได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าแม้รูปลักษณ์สี่กรขององค์กฺฤษฺณที่คล้ายพระองค์มากที่สุด (ทรงมีพระนามว่า มหา-วิษฺณุ ที่บรรทมอยู่ในมหาสมุทรจักรวาล และจากการหายใจของพระองค์จักรวาลมากมายจนนับไม่ถ้วนปรากฏออกมาและเข้าไปในพระวรกายของพระองค์) ก็เป็นภาคที่แบ่งแยกขององค์ภควานฺ เช่นเดียวกัน ดังที่ได้กล่าวไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.48) ว่า
ยไสฺยก-นิศฺวสิต-กาลมฺ อถาวลมฺพฺย
ชีวนฺติ โลม-วิล-ชา ชคทฺ-อณฺฑ-นาถาห์
วิษฺณุรฺ มหานฺ ส อิห ยสฺย กลา-วิเศโษ
โควินฺทมฺ อาทิ-ปุรุษํ ตมฺ อหํ ภชามิ
ชีวนฺติ โลม-วิล-ชา ชคทฺ-อณฺฑ-นาถาห์
วิษฺณุรฺ มหานฺ ส อิห ยสฺย กลา-วิเศโษ
โควินฺทมฺ อาทิ-ปุรุษํ ตมฺ อหํ ภชามิ
“องค์ มหา-วิษฺณุ ที่จักรวาลอันนับไม่ถ้วนทั้งหลายได้เข้าไปและออกมาอีกครั้งจากพระวรกายของพระองค์ ด้วยวิธีการหายใจของพระองค์ มหา-วิษฺณุ ทรงเป็นภาคที่แบ่งแยกโดยสมบูรณ์ขององค์กฺฤษฺณ ฉะนั้นข้าขอบูชา โควินฺท กฺฤษฺณ แหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง” ดังนั้นโดยสรุปแล้วเราควรบูชารูปลักษณ์ส่วนพระองค์ขององค์กฺฤษฺณว่าเป็นองค์ภควานฺผู้ทรงมีความสุขเกษมสำราญนิรันดรและความรู้ พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของรูปลักษณ์ วิษฺณุ ทั้งหมด ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของรูปลักษณ์อวตารทั้งหมด และทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดองค์แรก ดังที่ได้ยืนยันไว้ใน ภควัท-คีตา
ในวรรณกรรมพระเวท (โคปาล -ทาพะนี อุพะนิชัด 1.1) ข้อความนี้ปรากฏ
สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-รูปาย
กฺฤษฺณายากฺลิษฺฏ-การิเณ
นโม เวทานฺต-เวทฺยาย
คุรเว พุทฺธิ-สากฺษิเณ
กฺฤษฺณายากฺลิษฺฏ-การิเณ
นโม เวทานฺต-เวทฺยาย
คุรเว พุทฺธิ-สากฺษิเณ
“ข้าขอแสดงความเคารพอย่างสูงแด่องค์กฺฤษฺณผู้ทรงมีรูปลักษณ์ทิพย์แห่งความสุขเกษมสำราญ เป็นอมตะ และความรู้ ข้าขอแสดงความเคารพแด่พระองค์เพราะว่าการเข้าใจพระองค์หมายถึงการเข้าใจคัมภีร์พระเวท ดังนั้นพระองค์ทรงเป็นพระอาจารย์ทิพย์สูงสุด” และได้กล่าวต่อไปว่า กฺฤษฺโณ ไว ปรมํ ไทวตมฺ “องค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า” (โคปาล-ตาปนี อุปนิษทฺ 1.3) เอโก วศี สรฺว-คห์ กฺฤษฺณ อีฑฺยห์ “องค์กฺฤษฺณองค์เดียวเท่านั้นทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าและทรงเป็นที่เคารพบูชา” เอโก ’ปิ สนฺ พหุธา โย ’วภาติ “องค์กฺฤษฺณทรงเป็นหนึ่งแต่พระองค์ทรงปรากฏในรูปลักษณ์ที่ไม่จำกัดโดยอวตารที่แบ่งภาคออกไป” (โคปาล-ตาปนี อุปนิษทฺ 1.21)
พฺรหฺม-สํหิตา (5.1) กล่าวว่า
อีศฺวรห์ ปรมห์ กฺฤษฺณห์
สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-วิคฺรหห์
อนาทิรฺ อาทิรฺ โควินฺทห์
สรฺว-การณ-การณมฺ
สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-วิคฺรหห์
อนาทิรฺ อาทิรฺ โควินฺทห์
สรฺว-การณ-การณมฺ
“บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าคือองค์กฺฤษฺณผู้ทรงมีพระวรกายแห่งความเป็นอมตะความรู้และความสุขเกษมสำราญ พระองค์ทรงไม่มีจุดเริ่มต้นเพราะทรงเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่าง พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง”
ได้กล่าวไว้ที่อื่นว่า ยตฺราวตีรฺณํ กฺฤษฺณาขฺยํ ปรํ พฺรหฺม นรากฺฤติ “สัจธรรมสูงสุดทรงเป็นบุคคลมีพระนามว่า กฺฤษฺณ และบางครั้งพระองค์เสด็จมาบนโลกนี้” ทำนองเดียวกันใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ เราพบการพรรณนาถึงอวตารต่างๆทั้งหลายของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าและในรายพระนามนี้ พระนาม กฺฤษฺณ ทรงปรากฏ แต่ได้กล่าวไว้ว่าองค์กฺฤษฺณองค์นี้ไม่ใช่อวตารขององค์ภควานฺ แต่ทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์เดิมด้วยพระองค์เอง (เอเต จำศ-กลาห์ ปุํสห์ กฺฤษฺณสฺ ตุ ภควานฺ สฺวยมฺ )
ทำนองเดียวกันใน ภควัท-คีตา องค์ภควานฺตรัสว่า มตฺตห์ ปรตรํ นานฺยตฺ “ไม่มีอะไรเหนือไปกว่ารูปลักษณ์ของข้าในรูปองค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณ” พระองค์ตรัสใน ภควัท-คีตา อีกแห่งหนึ่งว่า อหมฺ อาทิรฺ หิ เทวานามฺ “ข้าคือแหล่งกำเนิดของมวลเทวดา” และหลังจากเข้าใจ ภควัท-คีตา จากองค์กฺฤษฺณ อรฺชุน ทรงยืนยันด้วยคำพูดเหล่านี้ ปรํ พฺรหฺม ปรํ ธาม ปวิตฺรํ ปรมํ ภวานฺ “บัดนี้ข้าพเจ้าเข้าใจโดยสมบูรณ์ว่าพระองค์คือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า พระองค์คือสัจธรรมที่สมบูรณ์ และพระองค์คือที่พักพิงของทุกสิ่งทุกอย่าง” ฉะนั้นรูปลักษณ์จักรวาลที่องค์กฺฤษฺณทรงแสดงให้ อรฺชุน เห็นไม่ใช่รูปลักษณ์เดิมแท้ของพระองค์ รูปลักษณ์เดิมแท้คือองค์กฺฤษฺณรูปลักษณ์จักรวาลที่มีพระเศียรและพระกรเป็นพันๆ ทรงปรากฏเพื่อเรียกความสนใจของพวกที่ไม่มีความรักต่อองค์ภควานฺซึ่งไม่ใช่รูปลักษณ์เดิมแท้ของพระองค์
รูปลักษณ์จักรวาลไม่เป็นที่น่ารักสำหรับสาวกผู้บริสุทธิ์ที่อยู่ในความรักกับพระองค์ในความสัมพันธ์ทิพย์ที่แตกต่างกันไป องค์ภควานฺทรงแลกเปลี่ยนความรักทิพย์ในรูปลักษณ์เดิมคือองค์กฺฤษฺณ ฉะนั้นสำหรับ อรฺชุน ผู้มีความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณอย่างใกล้ชิดในฐานะเพื่อนรูปลักษณ์แห่งปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้ไม่เป็นที่น่ายินดีแต่น่ากลัว อรฺชุน ทรงเป็นเพื่อนสนิทขององค์กฺฤษฺณเสมอ หากจะต้องมีจักษุทิพย์ไม่ใช่บุคคลธรรมดา ดังนั้นท่านจึงไม่หลงอยู่กับรูปลักษณ์จักรวาล รูปลักษณ์นี้อาจดูน่าอัศจรรย์สำหรับบุคคลที่ยุ่งอยู่กับการพัฒนาตนเองในกิจกรรมทางวัตถุ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้รูปลักษณ์สองกรแห่งองค์ศฺรี กฺฤษฺณจะเป็นที่รักยิ่ง