ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบสาม
ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก
โศลก 17
avibhaktaṁ ca bhūteṣu
vibhaktam iva ca sthitam
bhūta-bhartṛ ca taj jñeyaṁ
grasiṣṇu prabhaviṣṇu ca
vibhaktam iva ca sthitam
bhūta-bhartṛ ca taj jñeyaṁ
grasiṣṇu prabhaviṣṇu ca
อวิภกฺตํ จ ภูเตษุ
วิภกฺตมฺ อิว จ สฺถิตมฺ
ภูต-ภรฺตฺฤ จ ตชฺ เชฺญยํ
คฺรสิษฺณุ ปฺรภวิษฺณุ จ
วิภกฺตมฺ อิว จ สฺถิตมฺ
ภูต-ภรฺตฺฤ จ ตชฺ เชฺญยํ
คฺรสิษฺณุ ปฺรภวิษฺณุ จ
อวิภกฺตมฺ — โดยไม่แบ่งแยก, จ — เช่นกัน, ภูเตษุ — ในมวลชีวิต, วิภกฺตมฺ — แบ่งแยก, อิว — ประหนึ่ง, จ — เช่นกัน, สฺถิตมฺ — สถิต, ภูต-ภรฺตฺฤ — ผู้ค้ำจุนมวลชีวิต, จ — เช่นกัน, ตตฺ — นั้น, ชฺเญยมฺ — เข้าใจ, คฺรสิษฺณุ — กลืน, ปฺรภวิษฺณุ — พัฒนา, จ — เช่นกัน
คำแปล
ถึงแม้ว่าองค์อภิวิญญาณดูเหมือนจะแบ่งแยกในชีวิตทั้งหลาย
คำอธิบาย
องค์ภควานฺทรงสถิตในหัวใจของทุกๆคนในฐานะอภิวิญญาณ เช่นนี้พระองค์ทรงแบ่งแยกใช่หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ใช่ อันที่จริงพระองค์ทรงเป็นหนึ่ง ได้ให้ตัวอย่างดวงอาทิตย์ไว้ว่าดวงอาทิตย์อยู่ที่เส้นทางโคจรของตนเอง แต่หากว่าเราไปห้าพันไมล์ทุกๆทิศทางและถามว่า “ดวงอาทิตย์อยู่ที่ไหน” ทุกคนจะกล่าวว่าดวงอาทิตย์กำลังส่องแสงอยู่เหนือศีรษะ ตัวอย่างในวรรณกรรมพระเวทนี้แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าพระองค์ทรงไม่แบ่งแยกแต่ดูเหมือนกับแบ่งแยก ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวทเช่นกันว่าองค์วิษณุองค์เดียวทรงปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งด้วยพระเดชของพระองค์ เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ที่ปรากฏอยู่ในหลายๆแห่งสำหรับหลายๆคน และองค์ภควานฺถึงแม้ว่าทรงเป็นผู้ค้ำจุนมวลชีวิตพระองค์ทรงกลืนทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อถึงเวลาทำลายล้าง ได้ยืนยันไว้เช่นนี้ในบทที่สิบเอ็ดเมื่อตรัสว่าพระองค์เสด็จมาเพื่อกลืนนักรบทั้งหลายที่มาชุมนุมกันที่ กุรุกฺเษตฺร ทรงกล่าวด้วยว่าพระองค์ทรงกลืนพวกเขาในรูปของกาลเวลาเช่นกัน ทรงเป็นผู้ทำลายและผู้สังหารทั้งหมด เมื่อมีการสร้างพระองค์ทรงพัฒนาทุกสิ่งจากระดับพื้นฐานเดิมของพวกเขา และเมื่อถึงเวลาทำลายล้างพระองค์ทรงกลืนพวกเขา บทมนต์พระเวทยืนยันความจริงว่าพระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของมวลชีวิต และส่วนอื่นๆทั้งหมดหลังจากการสร้างทุกสิ่งทุกอย่างพำนักอยู่ในพลังอำนาจของพระองค์ และหลังจากการทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างก็กลับเข้าไปพำนักอยู่ในพระองค์อีกครั้งหนึ่ง มีคำยืนยันของบทมนต์พระเวทดังนี้ ยโต วา อิมานิ ภูตานิ ชายนฺเต เยน ชาตานิ ชีวนฺติ ยตฺ ปฺรยนฺตฺยฺ อภิสํ วิศนฺติ ตทฺ พฺรหฺม ตทฺ วิชิชฺญาสสฺว (ไตตฺติรีย อุปนิษทฺ 3.1)