ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบสาม
ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก
โศลก 29
samaṁ paśyan hi sarvatra
samavasthitam īśvaram
na hinasty ātmanātmānaṁ
tato yāti parāṁ gatim
samavasthitam īśvaram
na hinasty ātmanātmānaṁ
tato yāti parāṁ gatim
สมํ ปศฺยนฺ หิ สรฺวตฺร
สมวสฺถิตมฺ อีศฺวรมฺ
น หินสฺตฺยฺ อาตฺมนาตฺมานํ
ตโต ยาติ ปรำ คติมฺ
สมวสฺถิตมฺ อีศฺวรมฺ
น หินสฺตฺยฺ อาตฺมนาตฺมานํ
ตโต ยาติ ปรำ คติมฺ
สมมฺ — เสมอภาค, ปศฺยนฺ — เห็น, หิ — แน่นอน, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, สมวสฺถิตมฺ — สถิตเสมอภาค, อีศฺวรมฺ — อภิวิญญาณ, น — ไม่, หินสฺติ — ตกต่ำ, อาตฺมนา — ด้วยจิต, อาตฺมานมฺ — ดวงวิญญาณ, ตตห์ — จากนั้น, ยาติ — มาถึง, ปรามฺ — ทิพย์, คติมฺ — จุดมุ่งหมาย
คำแปล
ผู้เห็นอภิวิญญาณปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งอย่างเสมอภาคภายในทุกๆชีวิต
คำอธิบาย
จากการยอมรับความเป็นอยู่ทางวัตถุนั้นสิ่งมีชีวิตจึงมาสถิตแตกต่างจากความเป็นอยู่ทิพย์ของตน แต่เมื่อเข้าใจว่าองค์ภควานฺทรงสถิตในรูป ปรมาตฺมา อยู่ทุกหนทุกแห่ง นั่นหมายความว่าหากสามารถเห็นว่าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงปรากฏอยู่ภายในทุกๆชีวิต เราจะไม่ทำตัวเองให้ตกต่ำด้วยความคิดในการทำลายจากนั้นจะค่อยๆพัฒนาไปสู่โลกทิพย์ โดยทั่วไปจิตใจจะเสพติดอยู่กับวิธีกรรมเพื่อสนองประสาทสัมผัส แต่เมื่อจิตใจหันไปหาองค์อภิวิญญาณเขาจะก้าวหน้าในความเข้าใจวิถีทิพย์