ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสาม

ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก

โศลก 31

yadā bhūta-pṛthag-bhāvam
eka-stham anupaśyati
tata eva ca vistāraṁ
brahma sampadyate tadā
ยทา ภูต-ปฺฤถคฺ-ภาวมฺ
เอก-สฺถมฺ อนุปศฺยติ
ตต เอว จ วิสฺตารํ
พฺรหฺม สมฺปทฺยเต ตทา
ยทา — เมื่อ, ภูต — ของสิ่งมีชีวิต, ปฺฤถกฺ-ภาวมฺ — ลักษณะที่แยกออก, เอก-สฺถมฺ — สถิตเป็นหนึ่ง, อนุปศฺยติ — ผู้พยายามเห็นผ่านทางผู้เชื่อถือได้, ตตห์ เอว — หลังจากนั้น, — เช่นกัน, วิสฺตารมฺ — ภาคแบ่งแยก, พฺรหฺม — สมบูรณ์, สมฺปทฺยเต — เขาบรรลุ, ตทา — ในขณะนั้น

คำแปล

เมื่อมนุษย์ผู้มีเหตุผลหยุดการเห็นลักษณะที่แตกต่างกันอันเนื่องมาจากร่างกายที่ไม่เหมือนกัน และเห็นว่าสิ่งมีชีวิตแผ่กระจายไปทุกหนทุกแห่งได้อย่างไร เขาบรรลุถึงแนวคิด พฺรหฺมนฺ

คำอธิบาย

เมื่อเห็นว่าร่างกายต่างๆของสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาได้เนื่องมาจากความต้องการที่แตกต่างกันของปัจเจกวิญญาณ และแท้ที่จริงไม่ใช่เป็นของดวงวิญญาณ เราจะเป็นผู้เห็นที่แท้จริง ในแนวคิดชีวิตทางวัตถุเราพบบางคนเป็นเทวดา บางคนเป็นมนุษย์ เป็นสุนัข เป็นแมว ฯลฯ นี่คือวิสัยทัศน์ทางวัตถุซึ่งไม่ใช่วิสัยทัศน์ที่แท้จริง ความแตกต่างทางวัตถุนี้เนื่องมาจากแนวคิดชีวิตทางวัตถุ หลังจากร่างวัตถุถูกทำลายลงดวงวิญญาณเป็นหนึ่ง เนื่องจากมาสัมผัสกับธรรมชาติวัตถุดวงวิญญาณจึงได้รับร่างกายที่แตกต่างกัน เมื่อเห็นเช่นนี้เขาบรรลุถึงวิสัยทัศน์ทิพย์ เมื่อเป็นอิสระจากความแตกต่าง เช่น มนุษย์สัตว์ สูง ต่ำ ฯลฯ จิตสำนึกของเราบริสุทธิ์ขึ้นและจะพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกในบุคลิกทิพย์แห่งตนเอง เขาเห็นสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้อย่างไรนั้นจะอธิบายในโศลกต่อไป