ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสาม

ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก

โศลก 5

ṛṣibhir bahudhā gītaṁ
chandobhir vividhaiḥ pṛthak
brahma-sūtra-padaiś caiva
hetumadbhir viniścitaiḥ
ฤษิภิรฺ พหุธา คีตํ
ฉนฺโทภิรฺ วิวิไธห์ ปฺฤถกฺ
พฺรหฺม-สูตฺร-ปไทศฺ ไจว
เหตุมทฺภิรฺ วินิศฺจิไตห์
ฤษิภิห์ — โดยปราชญ์ผู้มีปัญญา, พหุธา — ในหลายทาง, คีตมฺ — อธิบาย, ฉนฺโทภิห์ — โดยบทมนต์พระเวท, วิวิไธห์ — ต่างๆ, ปฺฤถกฺ — แตกต่างกัน, พฺรหฺม-สูตฺร — ของ เวทานฺต, ปไทห์ — โดยคำพังเพย, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, เหตุ-มทฺภิห์ — ด้วยเหตุและผล, วินิศฺจิไตห์ — แน่นอน

คำแปล

ความรู้สนามแห่งกิจกรรมและผู้รู้กิจกรรมนั้นนักปราชญ์หลายท่านได้อธิบายไว้ในบทความพระเวทต่างๆ ได้แสดงไว้โดยเฉพาะใน เวทานฺต - สูตฺร ด้วยวิจารณญาณทั้งหมดของเหตุและผล

คำอธิบาย

องค์ภควานฺ กฺฤษฺณทรงเป็นผู้เชื่อถือได้สูงสุดในการอธิบายความรู้นี้ ถึงกระนั้นเพื่อเป็นการศึกษานักวิชาการผู้คงแก่เรียนและผู้เชื่อถือได้ที่มีมาตรฐานจะอ้างอิงหลักฐานจากผู้เชื่อถือได้ในอดีตเสมอ องค์กฺฤษฺณทรงอธิบายถึงประเด็นที่ขัดแย้งกันมากที่สุดนี้ซึ่งเกี่ยวกับปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณว่าเป็นหนึ่งดวงหรือสองดวง โดยอ้างอิงคัมภีร์ เวทานฺต ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเชื่อถือได้ก่อนอื่นพระองค์ตรัสว่า “เช่นนี้ตามนักปราชญ์ต่างๆ” เกี่ยวกับนักปราชญ์ต่างๆนอกจากตัวพระองค์เอง วฺยาสเทว (ผู้เขียน เวทานฺต-สูตฺร) เป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และใน เวทานฺต-สูตฺร ความเป็นสิ่งคู่นี้ได้อธิบายไว้อย่างดี และ ปราศร ผู้เป็นบิดาของ วฺยาสเทว ก็เป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ได้เขียนในหนังสือศาสนาของท่านว่า อหมฺ ตฺวํ ตถาเนฺย… “พวกเรา ท่าน ข้าพเจ้าและสิ่งมีชีวิต ทั้งหมดเป็นทิพย์แม้อยู่ในร่างกายวัตถุ บัดนี้เราตกลงมาอยู่ในวิถีทางของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุตามกรรมที่แตกต่างกันไป ดังนั้นบางคนอยู่ในระดับที่สูงกว่าและบางคนอยู่ในธรรมชาติที่ต่ำกว่า ธรรมชาติที่สูงกว่า และต่ำกว่าดำเนินไปก็เนื่องมาจากอวิชชา และจะปรากฏอยู่ในจำนวนสิ่งมีชีวิตที่นับไม่ถ้วนแต่อภิวิญญาณผู้ไม่มีความผิดพลาด ไม่มีมลทินจากสามระดับแห่งธรรมชาติ พระองค์ทรงเป็นทิพย์” ทำนองเดียวกันในคัมภีร์พระเวทฉบับเดิมได้กล่าวถึงข้อแตกต่างระหว่างดวงวิญญาณ อภิวิญญาณและร่างกาย โดยเฉพาะใน กฐ อุปนิษทฺ มีนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่มากมายได้อธิบายไว้ และ ปราศร พิจารณาว่าเป็นบุคคลสำคัญในบรรดานักปราชญ์เหล่านี้

คำว่า ฉนฺโทภิห์ หมายถึง วรรณกรรมพระเวทต่างๆ ตัวอย่างเช่น ไตตฺติรีย อุปนิษทฺ ซึ่งแยกออกมาจาก ยชุรฺ เวท อธิบายถึงธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต และองค์ภควานฺ

ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า กฺเษตฺร คือสนามแห่งกิจกรรม และมีสอง กฺเษตฺร-ชฺญ คือ ปัจเจกดวงชีวิตและดวงชีวิตสูงสุด ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ไตตฺติรีย อุปนิษทฺ (2.5) พฺรหฺม ปุจฺฉํ ปฺรติษฺฐา มีปรากฎการณ์แห่งพลังงานขององค์ภควานฺเรียกว่า อนฺน-มย ซึ่งขึ้นอยู่กับอาหารเพื่อดำรงอยู่ เช่นนี้เป็นความรู้แจ้งแห่งองค์ภควานฺทางวัตถุ จากนั้นใน ปฺราณ-มย หลังจากรู้แจ้งสัจธรรมสูงสุดในอาหารเราสามารถรู้แจ้งสัจธรรมในอาการชีวิตหรือรูปลักษณ์ชีวิต ใน ชฺญาน-มย การรู้แจ้งขยายไปสูงกว่าอาการชีวิตโดยมาถึงจุดแห่งความคิด ความรู้สึก และความเต็มใจ จากนั้นก็มีความรู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ เรียกว่า วิชฺญาน-มย ซึ่งจิตใจและอาการชีวิตของสิ่งมีชีวิตแตกต่างไปจากตัวสิ่งมีชีวิตเอง ถัดไปเป็นระดับสูงสุดคือ อานนฺท-มย รู้แจ้งแห่งธรรมชาติความปลื้มปีติสุขทั้งหมด ดังนั้นมีความรู้แจ้งแห่ง พฺรหฺมนฺ ห้าระดับเรียกว่า พฺรหฺม ปุจฺฉํ ทั้งหมดนี้สามระดับแรก อนฺน-มย, ปฺราณ-มย และ ชฺญาน-มย เกี่ยวข้องกับสนามแห่งกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตผู้ที่เป็นทิพย์เหนือสนามแห่งกิจกรรมทั้งหมดเหล่านี้คือ องค์ภควานฺสูงสุดซึ่งเรียกว่า อานนฺท-มย เวทานฺต-สูตฺร ยังอธิบายถึงพระองค์ด้วยการกล่าวว่า อนฺน-มย ปฺราณ-มย องค์ภควานฺโดยธรรมชาติทรงเปี่ยมไปด้วยความรื่นเริงเพื่อเสวยสุขกับความสุขเกษมสำราญทิพย์ของพระองค์พระองค์ทรงแบ่งแยกมาเป็น วิชฺญาน-มย, ปฺราณ-มย, ชฺญาน-มย และ อนฺน-มย ในสนามแห่งกิจกรรมสิ่งมีชีวิตถือว่าเป็นผู้รื่นเริงที่แตกต่างไปจากตัวเขาคือ อานนฺท-มย นั่นหมายความว่าหากสิ่งมีชีวิตตัดสินใจจะเสวยสุขด้วยการประสานตนเองกับ อานนฺท-มย จะทำให้เขาสมบูรณ์นี่คือภาพอันแท้จริงขององค์ภควานฺในฐานะที่เป็นผู้รู้สนามสูงสุด สิ่งมีชีวิตในฐานะที่เป็นผู้รู้ที่รองลงมาและธรรมชาติของสนามแห่งกิจกรรมเราต้องค้นหาความจริงนี้ ใน เวทานฺต-สูตฺร หรือ พฺรหฺม-สูตฺร

ได้กล่าวไว้ ที่นี้ว่าการประมวล พฺรหฺม-สูตฺร ได้เรียบเรียงไว้อย่างดีตามเหตุและผล บาง สูตฺร หรือคำพังเพยต่างๆ เช่น วิยทฺ อศฺรุเตห์ (2.3.2) นาตฺมา ศฺรุเตห์ (2.3.18) และ ปราตฺ ตุ ตจฺ-ฉฺรุเตห์ (2.3.40) คำพังเพยแรกแสดงถึงสนามแห่งกิจกรรม คำพังเผยที่สองแสดงถึงสิ่งมีชีวิต และคำพังเผยที่สามแสดงถึงองค์ภควานฺผู้สูงสุดอย่างสมบูรณ์แบบในปรากฏการณ์ทั้งหลายแห่งชีวิตอันหลากหลาย