ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบสี่
สามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ
โศลก 9
sattvaṁ sukhe sañjayati
rajaḥ karmaṇi bhārata
jñānam āvṛtya tu tamaḥ
pramāde sañjayaty uta
rajaḥ karmaṇi bhārata
jñānam āvṛtya tu tamaḥ
pramāde sañjayaty uta
สตฺตฺวํ สุเข สญฺชยติ
รชห์ กรฺมณิ ภารต
ชฺญานมฺ อาวฺฤตฺย ตุ ตมห์
ปฺรมาเท สญฺชยตฺยฺ อุต
รชห์ กรฺมณิ ภารต
ชฺญานมฺ อาวฺฤตฺย ตุ ตมห์
ปฺรมาเท สญฺชยตฺยฺ อุต
สตฺตฺวมฺ — ระดับความดี, สุเข — ในความสุข, สญฺชยติ — ผูกมัด, รชห์ — ระดับตัณหา, กรฺมณิ — ในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ, ภารต — โอ้ โอรสแห่ง ภรต, ชฺญานมฺ — ความรู้, อาวฺฤตฺย — ปกคลุม, ตุ — แต่, ตมห์ — ระดับอวิชชา, ปฺรมาเท — ในความบ้าคลั่ง, สญฺชยติ — ผูกมัด, อุต — ได้กล่าวไว้
คำแปล
โอ้
คำอธิบาย
บุคคลที่อยู่ในระดับความดีจะพึงพอใจกับงานหรือเพิ่มพูนปัญญาให้ตนเองดั่งเช่น นักปราชญ์ นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิชาการซึ่งปฏิบัติในสาขาวิชาโดยเฉพาะตนและอาจพึงพอใจอยู่เช่นนั้น บุคคลในระดับตัณหาอาจปฏิบัติในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุครอบครองเป็นเจ้าของให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และจะใช้จ่ายไปในการทำบุญ บางครั้งพยายามเปิดโรงพยาบาลหรือให้ทานกับสถาบันต่างๆเป็นต้น เหล่านี้คือลักษณะของผู้ที่อยู่ในระดับตัณหา ระดับอวิชชาปกคลุมความรู้ ทำอะไรก็ไม่ดีทั้งกับตนเองและผู้อื่น