ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบห้า
โยคะแห่งองค์ภควานฺ
โศลก 3-4
na rūpam asyeha tathopalabhyate
nānto na cādir na ca sampratiṣṭhā
aśvattham enaṁ su-virūḍha-mūlam
asaṅga-śastreṇa dṛḍhena chittvā
nānto na cādir na ca sampratiṣṭhā
aśvattham enaṁ su-virūḍha-mūlam
asaṅga-śastreṇa dṛḍhena chittvā
น รูปมฺ อเสฺยห ตโถปลภฺยเต
นานฺโต น จาทิรฺ น จ สมฺปฺรติษฺฐา
อศฺวตฺถมฺ เอนํ สุ-วิรูฒ-มูลมฺ
อสงฺค-ศเสฺตฺรณ ทฺฤเฒน ฉิตฺตฺวา
นานฺโต น จาทิรฺ น จ สมฺปฺรติษฺฐา
อศฺวตฺถมฺ เอนํ สุ-วิรูฒ-มูลมฺ
อสงฺค-ศเสฺตฺรณ ทฺฤเฒน ฉิตฺตฺวา
tataḥ padaṁ tat parimārgitavyaṁ
yasmin gatā na nivartanti bhūyaḥ
tam eva cādyaṁ puruṣaṁ prapadye
yataḥ pravṛttiḥ prasṛtā purāṇī
yasmin gatā na nivartanti bhūyaḥ
tam eva cādyaṁ puruṣaṁ prapadye
yataḥ pravṛttiḥ prasṛtā purāṇī
ตตห์ ปทํ ตตฺ ปริมารฺคิตวฺยํ
ยสฺมินฺ คตา น นิวรฺตนฺติ ภูยห์
ตมฺ เอว จาทฺยํ ปุรุษํ ปฺรปเทฺย
ยตห์ ปฺรวฺฤตฺติห์ ปฺรสฺฤตา ปุราณี
ยสฺมินฺ คตา น นิวรฺตนฺติ ภูยห์
ตมฺ เอว จาทฺยํ ปุรุษํ ปฺรปเทฺย
ยตห์ ปฺรวฺฤตฺติห์ ปฺรสฺฤตา ปุราณี
น — ไม่, รูปมฺ — รูปลักษณ์, อสฺย — ของต้นไม้นี้, อิห — ในโลกนี้, ตถา — เช่นกัน, อุปลภฺยเต — สามารถสำเหนียกได้, น — ไม่เคย, อนฺตห์ — จบ, น — ไม่เคย, จ — เช่นกัน, อาทิห์ — เริ่มต้น, น — ไม่เคย, จ — เช่นกัน, สมฺปฺรติษฺฐา — รากฐาน, อศฺวตฺถมฺ — ต้นไทร, เอนมฺ — นี้, สุ-วิรูฒ — แข็งแรง, มูลมฺ — ราก, อสงฺค-ศเสฺตฺรณ — ด้วยอาวุธแห่งความไม่ยึดติด, ทฺฤเฒน — แข็งแรง, ฉิตฺตฺวา — ตัด, ตตห์ — หลังจากนั้น, ปทมฺ — สถานการณ์, ตตฺ — นั้น, ปริมารฺคิตวฺยมฺ — ต้องค้นหา, ยสฺมินฺ — ที่ซึ่ง, คตาห์ — ไป, น — ไม่เคย, นิวรฺตนฺติ — พวกเขากลับมา, ภูยห์ — อีกครั้ง, ตมฺ — ถึงพระองค์, เอว — แน่นอน, จ — เช่นกัน, อาทฺยมฺ — แหล่งกำเนิด, ปุรุษมฺ — องค์ภควาน, ปฺรปเทฺย — ศิโรราบ, ยตห์ — จากผู้ซึ่ง, ปฺรวฺฤตฺติห์ — เริ่มต้น, ปฺรสฺฤตา — ขยายออกไป, ปุราณิ — โบราณมาก
คำแปล
รูปลักษณ์อันแท้จริงของต้นไม้นี้สำเหนียกไม่ได้ในโลกนี้
คำอธิบาย
บัดนี้ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่ารูปลักษณ์อันแท้จริงของต้นไทรนี้ไม่สามารถเข้าใจได้ในโลกวัตถุ เนื่องจากรากของมันขึ้นข้างบนและการแผ่ขยายของต้นไม้จริงอยู่อีกด้านหนึ่ง เมื่อถูกพันธนาการด้วยการแพร่ขยายทางวัตถุของต้นไม้เราจึงไม่สามารถเห็นได้ว่าต้นไม้นี้ขยายออกไปไกลเท่าใด และก็ไม่สามารถเห็นจุดเริ่มต้นของต้นไม้นี้ ถึงกระนั้นเราต้องค้นหาสาเหตุว่า “ข้าเป็นบุตรของบิดา บิดาข้าเป็นบุตรของบุคคลคนนี้ เป็นต้น” จากการค้นหาเช่นนี้จะมาถึงพระพรหมผู้ซึ่ง ครฺโภทก-ศายี วิษฺณุ ทรงเป็นผู้ให้กำเนิด ในที่สุดเมื่อมาถึงองค์ภควานฺงานวิจัยก็เสร็จสิ้น เราต้องค้นหาบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของต้นไม้นี้ด้วยการคบหาสมาคมกับบุคคลผู้มีความรู้แห่งองค์ภควานฺนั้น จากความเข้าใจจะทำให้เราค่อยๆไม่ยึดติดกับภาพสะท้อนที่ผิดซึ่งไม่ใช่ของจริง จากความรู้นี้จึงสามารถตัดขาดความสัมพันธ์กับมันและสถิตอย่างแท้จริงในต้นไม้จริง
คำว่า อสงฺค มีความสำคัญมากในประเด็นนี้เพราะว่าการยึดติดกับความรื่นเริงทางประสาทสัมผัส และความเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติวัตถุมีความแข็งแกร่งมาก ฉะนั้นเราต้องเรียนรู้การไม่ยึดติดด้วยการสนทนาศาสตร์ทิพย์ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ที่พระคัมภีร์ที่เชื่อถือได้ และต้องสดับฟังจากบุคคลผู้อยู่ในความรู้จริงๆ จากผลของการสนทนาในการคบหาสมาคมกับเหล่าสาวกเช่นนี้เราจะมาถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า สิ่งแรกที่ต้องกระทำคือศิโรราบต่อพระองค์ การบรรยายถึงสถานที่ซึ่งเมื่อไปถึงแล้วจะไม่กลับมายังภาพสะท้อนของต้นไม้ที่ผิดๆนี้อีก ได้บอกไว้ ณ ที่นี้ว่าองค์ภควานฺ กฺฤษฺณทรงเป็นรากเดิมแท้ที่ทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏออกมา เพื่อให้พระองค์ทรงพระกรุณาเราต้องศิโรราบอย่างเดียว และนี่คือผลแห่งการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้ ด้วยการสดับฟัง การสวดภาวนา ฯลฯ พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดแห่งการแผ่ขยายของโลกวัตถุซึ่งพระองค์ทรงอธิบายไว้แล้วว่า อหํ สรฺวสฺย ปฺรภวห์ “ข้าคือแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง” ฉะนั้นในการออกจากพันธนาการของต้นไทรแห่งชีวิตวัตถุที่แข็งแกร่งนี้ เราต้องศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณ ทันทีที่ศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณเราจะไม่ยึดติดกับการแผ่ขยายทางวัตถุนี้โดยปริยาย