ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบหก
ธรรมชาติทิพย์และธรรมชาติมาร
โศลก 10
kāmam āśritya duṣpūraṁ
dambha-māna-madānvitāḥ
mohād gṛhītvāsad-grāhān
pravartante ’śuci-vratāḥ
dambha-māna-madānvitāḥ
mohād gṛhītvāsad-grāhān
pravartante ’śuci-vratāḥ
กามมฺ อาศฺริตฺย ทุษฺปูรํ
ทมฺภ-มาน-มทานฺวิตาห์
โมหาทฺ คฺฤหีตฺวาสทฺ-คฺราหานฺ
ปฺรวรฺตนฺเต ’ศุจิ-วฺรตาห์
ทมฺภ-มาน-มทานฺวิตาห์
โมหาทฺ คฺฤหีตฺวาสทฺ-คฺราหานฺ
ปฺรวรฺตนฺเต ’ศุจิ-วฺรตาห์
กามมฺ — ราคะ, อาศฺริตฺย — ไปพึ่ง, ทุษฺปูรมฺ — ไม่รู้จักพอ, ทมฺภ — หยิ่งยะโส, มาน — และชื่อเสียงที่ผิด, มท-อนฺวิตาห์ — ซึมซาบอยู่ในความอวดดี, โมหาตฺ — ด้วยความหลง, คฺฤหีตฺวา — รับ, อสตฺ — ไม่ถาวร, คฺราหานฺ — สิ่งต่างๆ, ปฺรวรฺตนฺเต — พวกเขาเฟื่องฟู, อศุจิ — กับสิ่งสกปรก, วฺรตาห์ — สาบาน
คำแปล
ไปพึ่งราคะที่ไม่รู้จักพอ
คำอธิบาย
ได้อธิบายความคิดของเหล่ามารตรงนี้ว่า จะไม่มีความพอใจกับราคะของตนเองซึ่งจะเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นด้วยความปรารถนาที่ไม่รู้จักพอกับการรื่นรมย์ทางวัตถุ ถึงแม้เต็มไปด้วยความวิตกกังวลตลอดเวลาอันเนื่องมาจากไปยอมรับสิ่งที่ไม่ถาวร ด้วยความหลงจึงยังคงปฏิบัติกิจกรรมเช่นนี้โดยไม่มีความรู้ และไม่สามารถบอกได้ว่าตนเองกำลังเดินทางผิด ยอมรับเอาสิ่งที่ไม่ถาวรคนมารเหล่านี้สร้างพระเจ้าของตนเอง สร้างบทมนต์ของพวกตนขึ้นมาแล้วสวดตามนั้น ผลก็คือทำให้ยึดติดอยู่กับสองสิ่งมากยิ่งขึ้นคือ การรื่นรมย์ทางเพศ และการสะสมทรัพย์สมบัติทางวัตถุ คำว่า อศุจิ-วฺรตาห์ “คำสาบานที่ไม่สะอาด” มีความสำคัญมากในความสัมพันธ์กับประเด็นนี้ คนมารเหล่านี้หลงติดอยู่กับไวน์ ผู้หญิง การพนัน และการรับประทานเนื้อสัตว์เป็นประจำ สิ่งเหล่านี้คือ อศุจิ หรือนิสัยที่ไม่สะอาด ด้วยแรงกระตุ้นจากความยโสและชื่อเสียงที่ผิดๆพวกมารได้สร้างหลักการทางศาสนาขึ้นมา ซึ่งคำสั่งสอนพระเวทไม่รับรอง ถึงแม้มารเหล่านี้น่ารังเกียจที่สุดในโลก แต่ด้วยวิธีที่ผิดธรรมชาติโลกได้สร้างเกียรติยศชื่อเสียงผิดๆให้พวกเขา ถึงแม้กำลังถลำลงสู่นรกยังพิจารณาว่าพวกตนมีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก