ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบหก
ธรรมชาติทิพย์และธรรมชาติมาร
โศลก 21
tri-vidhaṁ narakasyedaṁ
dvāraṁ nāśanam ātmanaḥ
kāmaḥ krodhas tathā lobhas
tasmād etat trayaṁ tyajet
dvāraṁ nāśanam ātmanaḥ
kāmaḥ krodhas tathā lobhas
tasmād etat trayaṁ tyajet
ตฺริ-วิธํ นรกเสฺยทํ
ทฺวารํ นาศนมฺ อาตฺมนห์
กามห์ โกฺรธสฺ ตถา โลภสฺ
ตสฺมาทฺ เอตตฺ ตฺรยํ ตฺยเชตฺ
ทฺวารํ นาศนมฺ อาตฺมนห์
กามห์ โกฺรธสฺ ตถา โลภสฺ
ตสฺมาทฺ เอตตฺ ตฺรยํ ตฺยเชตฺ
ตฺริ-วิธมฺ — ของสามอย่าง, นรกสฺย — แห่งนรก, อิทมฺ — นี้, ทฺวารมฺ — ประตู, นาศนมฺ — ทำลาย, อาตฺมนห์ — ของตัวเอง, กามห์ — ราคะ, โกฺรธห์ — ความโกรธ, ตถา — รวมทั้ง, โลภห์ — ความโลภ, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, เอตตฺ — เหล่านี้, ตฺรยมฺ — สาม, ตฺยเชตฺ — เขาต้องยกเลิก
คำแปล
มีสามประตูที่จะนำไปสู่นรก
คำอธิบาย
จุดเริ่มต้นของชีวิตมารได้อธิบายไว้ ณ ที่นี้ว่าเขาพยายามสนองราคะของตนเอง เมื่อไม่สมประสงค์ก็จะเกิดความโกรธและความโลภ คนที่มีสติสัมปชัญญะดีและไม่ปรารถนาถลำลงไปสู่เผ่าพันธุ์ชีวิตมารต้องพยายามสลัดทิ้งศัตรูทั้งสามตัวนี้ซึ่งจะมาสังหารตนเอง จนกระทั่งทำให้ไม่สามารถหลุดพ้นไปจากพันธนาการทางวัตถุนี้ได้