ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบเจ็ด
ระดับแห่งความศรัทธา
โศลก 26-27
sad-bhāve sādhu-bhāve ca
sad ity etat prayujyate
praśaste karmaṇi tathā
sac-chabdaḥ pārtha yujyate
sad ity etat prayujyate
praśaste karmaṇi tathā
sac-chabdaḥ pārtha yujyate
สทฺ-ภาเว สาธุ-ภาเว จ
สทฺ อิตฺยฺ เอตตฺ ปฺรยุชฺยเต
ปฺรศเสฺต กรฺมณิ ตถา
สจฺ-ฉพฺทห์ ปารฺถ ยุชฺยเต
สทฺ อิตฺยฺ เอตตฺ ปฺรยุชฺยเต
ปฺรศเสฺต กรฺมณิ ตถา
สจฺ-ฉพฺทห์ ปารฺถ ยุชฺยเต
yajñe tapasi dāne ca
sthitiḥ sad iti cocyate
karma caiva tad-arthīyaṁ
sad ity evābhidhīyate
sthitiḥ sad iti cocyate
karma caiva tad-arthīyaṁ
sad ity evābhidhīyate
ยชฺเญ ตปสิ ทาเน จ
สฺถิติห์ สทฺ อิติ โจจฺยเต
กรฺม ไจว ตทฺ-อรฺถียํ
สทฺ อิตฺยฺ เอวาภิธียเต
สฺถิติห์ สทฺ อิติ โจจฺยเต
กรฺม ไจว ตทฺ-อรฺถียํ
สทฺ อิตฺยฺ เอวาภิธียเต
สตฺ-ภาเว — ในความรู้สึกแห่งธรรมชาติขององค์ภควานฺ, สาธุ-ภาเว — ในความรู้สึกแห่งธรรมชาติของสาวก, จ — เช่นกัน, สตฺ — คำว่า สตฺ, อิติ — ดังนั้น, เอตตฺ — นี้, ปฺรยุชฺยเต — ใช้, ปฺรศเสฺต — ในความจริงใจ, กรฺมณิ — กิจกรรม, ตถา — เช่นกัน, สตฺ-ศพฺทห์ — เสียง สตฺ, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, ยุชฺยเต — ใช้, ยชฺเญ — ในการบูชา, ตปสิ — ในการบำเพ็ญเพียร, ทาเน — ในการให้ทาน, จ — เช่นกัน, สฺถิติห์ — สถานการณ์, สตฺ — องค์ภควานฺ, อิติ — ดังนั้น, จ — และ, อุจฺยเต — ออกเสียง, กรฺม — งาน, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, ตตฺ — เพื่อสิ่งนั้น, อรฺถียมฺ — หมายความว่า, สตฺ — องค์ภควานฺ, อิติ — ดังนั้น, เอว — แน่นอน, อภิธียเต — แสดงไว้
คำแปล
สัจธรรมที่สมบูรณ์คือ
คำอธิบาย
คำว่า ปฺรศเสฺต กรฺมณิ หรือ “หน้าที่ที่กำหนดไว้” แสดงว่ามีกิจกรรมหลายอย่างที่อธิบายไว้ในวรรณกรรมพระเวทซึ่งเป็นวิธีการเพื่อความบริสุทธิ์ เริ่มจากจุดปฏิสนธิจนถึงจุดจบของชีวิต วิธีการเพื่อความบริสุทธิ์เหล่านี้ได้แนะนำให้กล่าวคำว่า โอํ ตตฺ สตฺ คำว่า สทฺ-ภาเว และ สาธุ-ภาเว แสดงถึงสถานภาพทิพย์ การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเรียกว่า สตฺตฺว ผู้ที่รู้สำนึกอย่างสมบูรณ์ในกิจกรรมแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกเรียกว่า สาธุ ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (3.25.25) กล่าวไว้ว่า เรื่องราวทิพย์จะกระจ่างขึ้นในการมาคบหาสมาคมกับสาวก คำที่ใช้คือ สตำ ปฺรสงฺคาตฺ หากปราศจากการคบหากัลยาณมิตรเราจะไม่สามารถบรรลุถึงความรู้ทิพย์ได้ เมื่อบุคคลได้รับการอุปสมบทหรือได้รับสายมงคลจะเปล่งคำว่า โอํ ตตฺ สตฺ ในทำนองเดียวกันการปฏิบัติ ยชฺญ ทั้งหมดจุดมุ่งหมายคือองค์ภควานฺ โอํ ตตฺ สตฺ คำว่า ตทฺ-อรฺถียมฺ ยังหมายถึงถวายการรับใช้ต่อทุกสิ่ง ซึ่งเป็นผู้แทนขององค์ภควานฺรวมทั้งการบริการรับใช้ เช่น การปรุงอาหาร ช่วยงานในวัดของพระองค์ หรืองานใดๆที่เผยแพร่พระบารมีของพระองค์ ดังนั้นคำสูงสุด โอํ ตตฺ สตฺ ใช้ในหลายๆทางเพื่อให้กิจกรรมทั้งหลายสมบูรณ์และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างบริบูรณ์