ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบแปด
บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ
โศลก 11
na hi deha-bhṛtā śakyaṁ
tyaktuṁ karmāṇy aśeṣataḥ
yas tu karma-phala-tyāgī
sa tyāgīty abhidhīyate
tyaktuṁ karmāṇy aśeṣataḥ
yas tu karma-phala-tyāgī
sa tyāgīty abhidhīyate
น หิ เทห-ภฺฤตา ศกฺยํ
ตฺยกฺตุํ กรฺมาณฺยฺ อเศษตห์
ยสฺ ตุ กรฺม-ผล-ตฺยาคี
ส ตฺยาคีตฺยฺ อภิธียเต
ตฺยกฺตุํ กรฺมาณฺยฺ อเศษตห์
ยสฺ ตุ กรฺม-ผล-ตฺยาคี
ส ตฺยาคีตฺยฺ อภิธียเต
น — ไม่เคย, หิ — แน่นอน, เทห-ภฺฤตา — โดยร่างกาย, ศกฺยมฺ — เป็นไปได้, ตฺยกฺตุมฺ — เสียสละ, กรฺมาณิ — กิจกรรม, อเศษตห์ — ทั้งหมด, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, ตุ — แต่, กรฺม — ของงาน, ผล — ของผล, ตฺยาคี — ผู้เสียสละ, สห์ — เขา, ตฺยาคี — ผู้เสียสละ, อิติ — ดังนั้น, อภิธียเต — กล่าวว่า
คำแปล
แน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับสิ่งมีชีวิตผู้อยู่ในร่างกายที่จะยกเลิกกิจกรรมทั้งหมด
คำอธิบาย
ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา ว่าเราไม่สามารถยกเลิกงานไม่ว่าในขณะใด ดังนั้นผู้ทำงานให้องค์กฺฤษฺณและไม่รื่นเริงกับผลทางวัตถุ ถวายทุกสิ่งทุกอย่างแด่องค์กฺฤษฺณนั้นเป็นผู้เสียสละที่แท้จริง มีสมาชิกของสมาคมนานาชาติเพื่อกฺฤษฺณจิตสำนึกมากมายที่ทำงานหนักมากในสำนักงาน โรงงาน หรือสถานที่อื่นๆ เงินที่ได้มาพวกนี้ถวายแก่สมาคม ดวงวิญญาณผู้เจริญเหล่านี้เป็น สนฺนฺยาสี และสถิตในชีวิตสละโลกที่แท้จริง ได้กล่าวโดยย่ออย่างชัดเจน ณ ที่นี้ว่าเราควรจะสละผลของงานอย่างไรและสละผลเพื่อจุดมุ่งหมายอันใด