ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบแปด

บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ

โศลก 67

idaṁ te nātapaskāya
nābhaktāya kadācana
na cāśuśrūṣave vācyaṁ
na ca māṁ yo ’bhyasūyati
อิทํ เต นาตปสฺกาย
นาภกฺตาย กทาจน
น จาศุศฺรูษเว วาจฺยํ
น จ มำ โย ’ภฺยสูยติ
อิทมฺ — นี้, เต — โดยเธอ, — ไม่เคย, อตปสฺกาย — แก่ผู้ที่ไม่สมถะ, — ไม่เคย, อภกฺตาย — แก่ผู้ที่ไม่ใช่สาวก, กทาจน — ทุกเวลา, — ไม่เคย, — เช่นกัน, อศุศฺรูษเว — แก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้, วาจฺยมฺ — พูด, — ไม่เคย, — เช่นกัน, มามฺ — แก่ข้า, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, อภฺยสูยติ — อิจฉาริษยา

คำแปล

ความรู้ที่ลับเฉพาะนี้ไม่อาจอธิบายแก่พวกที่ไม่สมถะ ไม่เสียสละ หรือไม่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และผู้ที่อิจฉาริษยาข้า

คำอธิบาย

พวกที่ไม่เคยผ่านการฝึกฝนความสมถะของวิธีทางศาสนา ไม่เคยพยายามอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึก ผู้ไม่เคยรับใช้สาวกผู้บริสุทธิ์ และโดยเฉพาะพวกที่มีจิตสำนึกว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นเพียงบุคคลทางประวัติศาสตร์ หรือผู้อิจฉาริษยาความยิ่งใหญ่ขององค์กฺฤษฺณไม่ควรได้รับการบอกเล่าส่วนลับที่สุดแห่งความรู้นี้ อย่างไรก็ดีบางครั้งเราพบว่าแม้เหล่ามารผู้อิจฉาริษยาองค์กฺฤษฺณจะบูชาองค์กฺฤษฺณในวิธีต่างๆกัน มีอาชีพเป็นผู้อธิบาย ภควัท-คีตา ในวิธีต่างๆเพื่อทำธุรกิจ แต่ผู้ใดปรารถนาที่จะเข้าใจองค์กฺฤษฺณโดยแท้จริงต้องหลีกเลี่ยงการบรรยาย ภควัท-คีตา เช่นนี้ ความจริงแล้วจุดมุ่งหมายของ ภควัท-คีตา ไม่สามารถเป็นที่เข้าใจสำหรับพวกที่ยังหมกมุ่นกับประสาทสัมผัส แม้ผู้ที่ไม่อยู่ในระดับประสาทสัมผัสแต่ปฏิบัติตามหลักธรรมอย่างเคร่งครัดที่กำหนดไว้ในวรรณกรรมพระเวท หากไม่ใช่สาวกก็ไม่สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณได้ หากอ้างตนเองว่าเป็นสาวกขององค์กฺฤษฺณแต่ไม่ปฏิบัติในกิจกรรมของกฺฤษฺณจิตสำนึกก็จะไม่สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณ มีหลายคนที่อิจฉาริษยาองค์กฺฤษฺณเพราะว่าพระองค์ทรงอธิบายใน ภควัท-คีตา ว่า พระองค์ทรงเป็นผู้สูงสุดและไม่มีผู้ใดเหนือไปกว่าหรือเทียบเท่าพระองค์ได้ มีหลายคนที่อิจฉาริษยาองค์กฺฤษฺณ บุคคลเหล่านี้ไม่ควรได้รับการบอกเล่าเกี่ยวกับ ภควัท-คีตา เพราะว่าจะไม่สามารถเข้าใจ เป็นไปไม่ได้ที่พวกไม่ศรัทธาจะเข้าใจ ภควัท-คีตา และองค์กฺฤษฺณ หากปราศจากการเข้าใจองค์กฺฤษฺณโดยผ่านทางสาวกผู้บริสุทธิ์ที่เชื่อถือได้เราไม่ควรพยายามวิจารณ์ ภควัท-คีตา