ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 11
śrī-bhagavān uvāca
aśocyān anvaśocas tvaṁ
prajñā-vādāṁś ca bhāṣase
gatāsūn agatāsūṁś ca
nānuśocanti paṇḍitāḥ
aśocyān anvaśocas tvaṁ
prajñā-vādāṁś ca bhāṣase
gatāsūn agatāsūṁś ca
nānuśocanti paṇḍitāḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อโศจฺยานฺ อนฺวโศจสฺ ตฺวํ
ปฺรชฺญา-วาทำศฺ จ ภาษเส
คตาสูนฺ อคตาสูํศฺ จ
นานุโศจนฺติ ปณฺฑิตาห์
อโศจฺยานฺ อนฺวโศจสฺ ตฺวํ
ปฺรชฺญา-วาทำศฺ จ ภาษเส
คตาสูนฺ อคตาสูํศฺ จ
นานุโศจนฺติ ปณฺฑิตาห์
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, อโศจฺยานฺ — ไม่ควรค่าแก่การเศร้าโศก, อนฺวโศจห์ — เธอกำลังโศกเศร้า, ตฺวมฺ — ท่าน, ปฺรชฺญา-วาทานฺ — พูดอย่างมีการศึกษาสูง, จ — เช่นกัน, ภาษเส — พูด, คต — สูญเสีย, อสูนฺ — ชีวิต, อคต — ไม่ผ่านพ้น, อสูนฺ — ชีวิต, จ — เช่นกัน, น — ไม่เคย, อนุโศจนฺติ — เศร้าโศก, ปณฺฑิตาห์ — ผู้มีความรู้สูง
คำแปล
บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า
คำอธิบาย
ทันทีที่องค์ภควานฺทรงรับตำแหน่งเป็นพระอาจารย์ก็ทรงสั่งสอนศิษย์ด้วยการเรียกโดยอ้อมว่าเจ้าคนโง่ องค์กฺฤษฺณตรัสว่า “เธอพูดเหมือนกับนักปราชญ์ แต่ไม่รู้ว่าผู้ที่เป็นนักปราชญ์หรือผู้ที่รู้ข้อแตกต่างระหว่างร่างกายกับดวงวิญญาณจะไม่เศร้าโศกไม่ว่าร่างกายจะอยู่ในสภาวะที่มีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว” ดังที่จะอธิบายในบทต่อๆไปให้ทราบชัดเจนว่าความรู้หมายถึง รู้วัตถุและดวงวิญญาณ และรู้ถึงผู้ควบคุมทั้งสองสิ่งนี้ อรฺชุน ทรงโต้เถียงว่าเราควรจะให้ความสำคัญแก่หลักศาสนามากกว่าการเมืองหรือการสังคม แต่ อรฺชุน ทรงไม่ทราบว่าความรู้วัตถุ ดวงวิญญาณ และองค์ภควานฺมีความสำคัญกว่าพิธีกรรมทางศาสนา หากไม่มีความรู้เช่นนี้ก็ไม่ควรอวดอ้างตนเองว่าเป็นผู้มีความรู้สูง เพราะไม่รู้จึงต้องมาเศร้าโศกกับสิ่งที่ไม่ควรค่าแก่ความโศกเศร้า ร่างกายที่เกิดมาแล้วจะต้องมาถึงจุดจบ ไม่วันนี้ก็พรุ่งนี้ ฉะนั้นร่างกายจึงไม่สำคัญเท่าดวงวิญญาณ ผู้ทราบเช่นนี้จึงจะเป็นผู้รู้ที่แท้จริง และบุคคลผู้นี้จะไม่มีความเศร้าโศกเสียใจอันเนื่องมาจากร่างกายวัตถุ