ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 15

yaṁ hi na vyathayanty ete
puruṣaṁ puruṣarṣabha
sama-duḥkha-sukhaṁ dhīraṁ
so ’mṛtatvāya kalpate
ยํ หิ น วฺยถยนฺตฺยฺ เอเต
ปุรุษํ ปุรุษรฺษภ
สม-ทุห์ข-สุขํ ธีรํ
โส ’มฺฤตตฺวาย กลฺปเต
ยมฺ — ผู้ซึ่ง, หิ — แน่นอน, — ไม่เคย, วฺยถยนฺติ — มีความทุกข์, เอเต — ทั้งหมดนี้, ปุรุษมฺ — แด่บุคคล, ปุรุษ-ฤษภ — โอ้ ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์, สม — ไม่เปลี่ยนแปลง, ทุห์ข — ในความทุกข์, สุขมฺ — และความสุข, ธีรมฺ — ความอดทน, สห์ — เขา, อมฺฤตตฺวาย — เพื่ออิสรภาพ, กลฺปเต — พิจารณาว่ามีสิทธิ์

คำแปล

โอ้ ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ (อรฺชุน) ผู้ที่ไม่หวั่นไหวต่อความสุขและความทุกข์ และมีความมั่นคงในทั้งสองสิ่ง เป็นผู้มีสิทธิ์เพื่อความหลุดพ้นอย่างแน่นอน

คำอธิบาย

ผู้ใดมีความแน่วแน่มั่นคงเพื่อความเจริญแห่งความรู้แจ้งทิพย์ และสามารถทนต่อการโจมตีของทั้งความทุกข์และความสุขได้นั้น เป็นผู้มีสิทธิ์เพื่อความหลุดพ้นอย่างแน่นอน ในสถาบัน วรฺณาศฺรม ระดับที่สี่ของชีวิตเรียกว่าระดับสละโลก (สนฺนฺยาส) เป็นสภาวะที่ต้องใช้ความอุตสาหะมาก แต่ผู้ที่มีความจริงจังในการทำให้ชีวิตของตนสมบูรณ์จะต้องบรรพชาในระดับ สนฺนฺยาส ถึงแม้จะมีความยากลำบากอย่างมากมาย ความยากลำบากโดยทั่วไปเกิดขึ้นจากการที่ต้องตัดความสัมพันธ์ทางครอบครัว ยกเลิกความสัมพันธ์กับภรรยา และบุตรธิดา ถ้าหากว่าใครสามารถอดทนต่อความยากลำบากเช่นนี้ได้ หนทางรู้แจ้งแห่งดวงวิญญาณของเขาจะสมบูรณ์อย่างแน่นอน การปฏิบัติหน้าที่ของ อรฺชุน ในฐานะ กฺษตฺริย ก็เช่นเดียวกันทรงได้รับการชี้นำให้มีความวิริยะอุตสาหะ ถึงแม้ว่าจะเป็นความยากลำบากที่จะต้องสู้รบกับสมาชิกในครอบครัวของตนเองหรือผู้ที่พระองค์รัก องค์ไจตนฺย ทรงบรรพชาในระดับ สนฺนฺยาส เมื่อพระชนมายุเพียงยี่สิบสี่พรรษาในขณะที่ภรรยาสาวและพระมารดาผู้สูงวัยก็ไม่มีใครดูแลและยังต้องพึ่งพระองค์อยู่ แต่เพื่อเหตุผลที่สูงกว่าจึงจำเป็นต้องบรรพชาในระดับ สนฺนฺยาส และทรงมีความแน่วแน่มั่นคงในการปฏิบัติหน้าที่ที่สูงกว่า นี่คือวิถีทางเพื่อบรรลุถึงความหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุ