ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 18
antavanta ime dehā
nityasyoktāḥ śarīriṇaḥ
anāśino ’prameyasya
tasmād yudhyasva bhārata
nityasyoktāḥ śarīriṇaḥ
anāśino ’prameyasya
tasmād yudhyasva bhārata
อนฺตวนฺต อิเม เทหา
นิตฺยโสฺยกฺตาห์ ศรีริณห์
อนาศิโน ’ปฺรเมยสฺย
ตสฺมาทฺ ยุธฺยสฺว ภารต
นิตฺยโสฺยกฺตาห์ ศรีริณห์
อนาศิโน ’ปฺรเมยสฺย
ตสฺมาทฺ ยุธฺยสฺว ภารต
อนฺต-วนฺตห์ — เสื่อมสลาย, อิเม — ทั้งหมดนี้, เทหาห์ — ร่างกายวัตถุ, นิตฺยสฺย — เป็นอยู่ชั่วนิรันดร, อุกฺตาห์ — ถูกกล่าวไว้, ศรีริณห์ — แห่งดวงวิญญาณที่อยู่ในร่าง, อนาศินห์ — ไม่มีวันถูกทำลาย, อปฺรเมยสฺย — วัดไม่ได้, ตสฺมาตฺ — ฉะนั้น, ยุธฺยสฺว — ต่อสู้, ภารต — โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต
คำแปล
ร่างวัตถุของสิ่งมีชีวิต
คำอธิบาย
ร่างวัตถุต้องเสื่อมสลายตามธรรมชาติ มันอาจเสื่อมสลายในทันทีทันใดหรืออาจจะเสื่อมสลายหนึ่งร้อยปีจากนี้ไปเพียงแต่รอเวลาเท่านั้น ไม่มีโอกาสที่เราจะรักษามันไว้ได้ชั่วกัลปวสาน แต่ละอองวิญญาณที่มีขนาดเล็กมากจนศัตรูมองไม่เห็นจะถูกฆ่าได้อย่างไร ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกก่อนว่า เล็กมากจนไม่มีใครสามารถคิดได้ว่าจะวัดขนาดได้อย่างไร ดังนั้นเมื่อมองจากทั้งสองด้านจึงไม่มีเหตุที่ทำให้ต้องเสียใจเพราะว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีวันถูกฆ่าได้ และร่างวัตถุก็ไม่มีใครสามารถรักษาไว้ได้นานหรือปกป้องไว้จนชั่วนิรันดรได้ ละอองเล็กๆของดวงวิญญาณได้ร่างวัตถุนี้มาตามผลกรรม ฉะนั้นการปฏิบัติตามหลักธรรมศาสนาควรทำให้เป็นประโยชน์ ใน เวทานฺต-สูตฺร สิ่งมีชีวิตมีคุณสมบัติเป็นแสง เพราะว่าเขาเป็นละอองอณูของแสงรัศมีที่สูงสุด ดังเช่นแสงอาทิตย์ค้ำจุนทั่วทั้งจักรวาล ดังนั้นแสงแห่งดวงวิญญาณค้ำจุนร่างวัตถุนี้ ทันทีที่ดวงวิญญาณออกจากร่างวัตถุร่างนี้ก็จะเริ่มเน่าเปื่อยลง ฉะนั้นดวงวิญญาณจึงเป็นผู้ค้ำจุนร่างกายวัตถุนี้ ตัวของร่างกายเองนั้นไม่ได้สำคัญ อรฺชุน ทรงได้รับการแนะนำให้ต่อสู้ และมิให้เสียสละเหตุผลทางศาสนาเพียงจากการพิจารณาแค่ร่างกายวัตถุเท่านั้น