ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 20
na jāyate mriyate vā kadācin
nāyaṁ bhūtvā bhavitā vā na bhūyaḥ
ajo nityaḥ śāśvato ’yaṁ purāṇo
na hanyate hanyamāne śarīre
nāyaṁ bhūtvā bhavitā vā na bhūyaḥ
ajo nityaḥ śāśvato ’yaṁ purāṇo
na hanyate hanyamāne śarīre
น ชายเต มฺริยเต วา กทาจินฺ
นายํ ภูตฺวา ภวิตา วา น ภูยห์
อโช นิตฺยห์ ศาศฺวโต ’ยํ ปุราโณ
น หนฺยเต หนฺยมาเน ศรีเร
นายํ ภูตฺวา ภวิตา วา น ภูยห์
อโช นิตฺยห์ ศาศฺวโต ’ยํ ปุราโณ
น หนฺยเต หนฺยมาเน ศรีเร
น — ไม่เคย, ชายเต — เกิด, มฺริยเต — ตาย, วา — ไม่, กทาจิตฺ — ไม่ว่าเวลาใด (อดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต), น — ไม่เคย, อยมฺ — นี้, ภูตฺวา ได้มาเป็นอยู่, ภวิตา — จะมาเป็นอยู่, วา — หรือ, น — ไม่, ภูยห์ — หรือกลับมาเป็นอยู่อีกครั้งหนึ่ง, อชห์ — ไม่เกิด, นิตฺยห์ — อมตะ, ศาศฺวตห์ — ถาวร, อยมฺ — นี้, ปุราณห์ — เก่าแก่ที่สุด, น — ไม่เคย, หนฺยเต — ถูกสังหาร, หนฺยมาเน — ถูกสังหาร, ศรีเร — ร่างกาย
คำแปล
สำหรับดวงวิญญาณไม่มีการเกิดหรือตาย
คำอธิบาย
อนุวิญญาณซึ่งเป็นละอองอณูของอภิวิญญาณสูงสุดเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺโดยคุณภาพ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกับร่างกาย บางครั้งดวงวิญญาณเรียกว่าอมตะหรือ กูฏ-สฺถ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหกขั้นตอน มีการเกิดจากครรภ์มารดา คงอยู่ระยะหนึ่ง เจริญเติบโต สืบพันธุ์ ค่อยๆหดตัวลง และในที่สุดก็สูญสลายไป อย่างไรก็ดีดวงวิญญาณไม่ต้องผ่านขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ดวงวิญญาณไม่ต้องเกิดแต่เพราะว่าดวงวิญญาณรับเอาร่างวัตถุร่างกายจึงเกิด ดวงวิญญาณมิได้เกิดที่นี่และดวงวิญญาณไม่เคยตาย อะไรที่มีการเกิดย่อมมีการตาย เป็นเพราะว่าดวงวิญญาณไม่มีการเกิดฉะนั้นจึงไม่มีอดีต ไม่มีปัจจุบัน หรือไม่มีอนาคต ดวงวิญญาณเป็นอมตะ คงอยู่เสมอ และเป็นสิ่งดั้งเดิม หมายความว่าไม่มีประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้การมาอยู่ของดวงวิญญาณ จากความรู้สึกทางร่างกายเราจึงค้นหาประวัติการเกิดของดวงวิญญาณ ดวงวิญญาณไม่มีการแก่เหมือนกับร่างกาย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบุคคลผู้สูงอายุยังรู้สึกว่าตนเองมีสปิริตเหมือนตอนเป็นเด็กหรือวัยรุ่น การเปลี่ยนแปลงของร่างกายไม่มีผลกระทบต่อดวงวิญญาณ ดวงวิญญาณไม่เสื่อมโทรมเหมือนต้นไม้หรือสิ่งใดๆที่เป็นวัตถุ ดวงวิญญาณไม่มีการสืบพันธุ์และผลผลิตของร่างกาย เช่น บุตร ธิดา ก็เป็นปัจเจกวิญญาณแต่ละดวงเช่นกัน แต่เนื่องมาจากร่างกายวัตถุพวกเขาจึงปรากฏว่าเป็นบุตร ธิดา ของชายคนนั้น ร่างกายเจริญเติบโตได้เพราะมีดวงวิญญาณอยู่ แต่ดวงวิญญาณไม่มีทั้งเชื้อสายหรือการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นดวงวิญญาณจึงเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงทั้งหกขั้นตอนของร่างกาย
ใน กฐ อุปนิษทฺ (1.2.18) เราพบข้อความคล้ายกันนี้
น ชายเต มฺริยเต วา วิปศฺจินฺ
นายํ กุตศฺจินฺ น พภูว กศฺจิตฺ
อโช นิตฺยห์ ศาศฺวโต ’ยํ ปุราโณ
น หนฺยเต หนฺยมาเน ศรีเร
นายํ กุตศฺจินฺ น พภูว กศฺจิตฺ
อโช นิตฺยห์ ศาศฺวโต ’ยํ ปุราโณ
น หนฺยเต หนฺยมาเน ศรีเร
ความหมายและคำอธิบายของโศลกนี้เหมือนกับ ภควัท-คีตา แต่ในโศลกนี้มีคำพิเศษคำหนึ่ง วิปศฺจิตฺ ซึ่งหมายความว่ารู้หรือด้วยความรู้
ดวงวิญญาณเต็มไปด้วยความรู้หรือเต็มไปด้วยจิตสำนึกอยู่เสมอ ดังนั้นจิตสำนึกจึงเป็นลักษณะอาการของดวงวิญญาณ แม้ว่าเราไม่พบดวงวิญญาณในหัวใจที่เขาสถิตอยู่ แต่เราจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณมีอยู่เพราะเรามีจิตสำนึก บางครั้งเราไม่เห็นดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าเพราะก้อนเมฆมาบดบังหรือด้วยเหตุผลอื่นแต่แสงอาทิตย์จะมีอยู่เสมอ และทำให้เรามั่นใจได้ว่าเป็นเวลากลางวัน ทันทีที่มีแสงเพียงเล็กน้อยบนท้องฟ้าในตอนเช้าเราเข้าใจว่าดวงอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้า ในลักษณะเดียวกันเพราะว่ามีจิตสำนึกอยู่ในทุกๆร่างไม่ว่าคนหรือสัตว์เราจึงเข้าใจได้ว่ามีดวงวิญญาณสถิตอยู่ อย่างไรก็ดี จิตสำนึกของดวงวิญญาณนี้แตกต่างจากจิตสำนึกขององค์ภควานฺ เพราะว่าจิตสำนึกขององค์ภควานฺทรงเป็นสัพพัญญู รู้ทั้งหมดทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จิตสำนึกของปัจเจกวิญญาณมีแนวโน้มที่จะหลงลืม เมื่อหลงลืมธรรมชาติอันแท้จริงของตนเองเขาได้รับการศึกษาและความรู้แจ้งจากบทเรียนที่สูงกว่าขององค์กฺฤษฺณ แต่องค์กฺฤษฺณทรงไม่เหมือนกับดวงวิญญาณผู้หลงลืม หากเป็นเช่นนี้คำสอนของพระองค์ใน ภควัท-คีตา ก็จะไร้คุณค่า
มีดวงวิญญาณอยู่สองประเภทคือ อนุวิญญาณ (อณุ-อาตฺมา ) และอภิวิญญาณ (วิภุ-อาตฺมา ) ได้ยืนยันไว้ใน กฐ อุปนิษทฺ (1.2.20) เช่นกันว่า
อโณรฺ อณียานฺ มหโต มหียานฺ
อาตฺมาสฺย ชนฺโตรฺ นิหิโต คุหายามฺ
ตมฺ อกฺรตุห์ ปศฺยติ วีต-โศโก
ธาตุห์ ปฺรสาทานฺ มหิมานมฺ อาตฺมนห์
อาตฺมาสฺย ชนฺโตรฺ นิหิโต คุหายามฺ
ตมฺ อกฺรตุห์ ปศฺยติ วีต-โศโก
ธาตุห์ ปฺรสาทานฺ มหิมานมฺ อาตฺมนห์
“ทั้งอภิวิญญาณ (ปรมาตฺมา) และอนุวิญญาณ (ชีวาตฺมา) สถิตอยู่บนต้นไม้แห่งร่างเดียวกันภายในหัวใจดวงเดียวกันของสิ่งมีชีวิต ผู้ที่เป็นอิสระจากความต้องการทางวัตถุและความเศร้าโศกทั้งหมดเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าใจถึงความเลิศเลอของดวงวิญญาณได้ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ” องค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดของอภิวิญญาณด้วยเช่นกัน ดังจะเปิดเผยในบทต่อๆไป และ อรฺชุน ทรงเป็นอนุวิญญาณที่หลงลืมธรรมชาติอันแท้จริงของตนเอง ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับแสงสว่างจากองค์กฺฤษฺณ หรือจากผู้แทนที่เชื่อถือได้ของพระองค์ (พระอาจารย์ทิพย์)