ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 23
nainaṁ chindanti śastrāṇi
nainaṁ dahati pāvakaḥ
na cainaṁ kledayanty āpo
na śoṣayati mārutaḥ
nainaṁ dahati pāvakaḥ
na cainaṁ kledayanty āpo
na śoṣayati mārutaḥ
ไนนํ ฉินฺทนฺติ ศสฺตฺราณิ
ไนนํ ทหติ ปาวกห์
น ไจนํ เกฺลทยนฺตฺยฺ อาโป
น โศษยติ มารุตห์
ไนนํ ทหติ ปาวกห์
น ไจนํ เกฺลทยนฺตฺยฺ อาโป
น โศษยติ มารุตห์
น — ไม่เคย, เอนมฺ — ดวงวิญญาณนี้, ฉินฺทนฺติ — ถูกหั่นเป็นชิ้นๆ, ศสฺตฺราณิ — อาวุธ, น — ไม่เคย, เอนมฺ — ดวงวิญญาณนี้, ทหติ — ไหม้, ปาวกห์ — ไฟ, น — ไม่เคย, จ — เช่นกัน, เอนมฺ — ดวงวิญญาณนี้, เกฺลทยนฺติ — ทำให้ชื้น, อาปห์ — น้ำ, น — ไม่เคย, โศษยติ — แห้ง, มารุตห์ — ลม
คำแปล
ดวงวิญญาณถูกหั่นให้เป็นชิ้นๆด้วยอาวุธใดๆไม่ได้
คำอธิบาย
อาวุธทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดาบ อาวุธไฟ อาวุธฝน อาวุธลมสลาตัน หรืออื่นๆก็ไม่สามารถที่จะสังหารดวงวิญญาณได้ ดังที่ปรากฏว่ามีอาวุธหลายชนิดที่ทำมาจากดิน น้ำ ลม และเหนือไปกว่านั้นก็คืออาวุธสมัยปัจจุบันที่ทำด้วยไฟ แม้กระทั่งอาวุธนิวเคลียร์ในยุคปัจจุบันก็จัดว่าอยู่ในอาวุธประเภทไฟ ในอดีตกาลมีอาวุธอื่นๆที่ทำมาจากธาตุวัตถุที่ต่างกัน อาวุธไฟจะถูกแก้ด้วยอาวุธน้ำซึ่งวิทยาศาสตร์ปัจจุบันยังไม่ทราบ และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็ไม่ทราบเกี่ยวกัอาวุธลมสลาตัน อย่างไรก็ดีดวงวิญญาณไม่สามารถถูกหั่นเป็นชิ้นๆ หรือถูกทำลายด้วยอาวุธชนิดใดได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์แบบไหนก็ตาม
พวก มายาวาที ไม่สามารถอธิบายได้ว่าปัจเจกวิญญาณมามีชีวิตอยู่ได้อย่างไร เนื่องมาจากอวิชชาและถูกพลังแห่งความหลงครอบคลุมเอาไว้จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะตัดปัจเจกวิญญาณให้ออกจากดวงวิญญาณสูงสุด เพราะปัจเจกวิญญาณเป็นละอองอณูนิรันดรที่แยกมาจากอภิวิญญาณสูงสุด เพราะว่าเราเป็นปัจเจกละอองวิญญาณอมตะ (สนาตน) จึงมีแนวโน้มที่จะถูกปกคลุมด้วยพลังแห่งความหลงจึงทำให้ขาดความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ ดังเช่นประกายไฟถึงแม้ว่าจะมีคุณสมบัติเหมือนดังไฟแต่มีแนวโน้มที่จะดับมอดเมื่อไฟหมด ใน วราห ปุราณ ได้อธิบายไว้ว่าสิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูที่แยกมาจากองค์ภควานฺ และจะเป็นอยู่เช่นนี้นิรันดร ใน ภควัท-คีตา ก็ได้กล่าวไว้เช่นเดียวกัน ดังนั้นถึงแม้หลังจากที่ได้รับอิสรภาพจากความหลงสิ่งมีชีวิตจะยังคงรักษาบุคลิกภาพของตนเอง ดังเช่นหลักฐานคำสั่งสอนขององค์กฺฤษฺณที่ทรงให้แด่ อรฺชุน และ อรฺชุน ทรงได้รับอิสรภาพด้วยความรู้ที่ได้รับจากองค์กฺฤษฺณ แต่ อรฺชุน ทรงไม่เคยที่จะกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กฺฤษฺณ