ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 30
dehī nityam avadhyo ’yaṁ
dehe sarvasya bhārata
tasmāt sarvāṇi bhūtāni
na tvaṁ śocitum arhasi
dehe sarvasya bhārata
tasmāt sarvāṇi bhūtāni
na tvaṁ śocitum arhasi
เทหี นิตฺยมฺ อวโธฺย ’ยํ
เทเห สรฺวสฺย ภารต
ตสฺมาตฺ สรฺวาณิ ภูตานิ
น ตฺวํ โศจิตุมฺ อรฺหสิ
เทเห สรฺวสฺย ภารต
ตสฺมาตฺ สรฺวาณิ ภูตานิ
น ตฺวํ โศจิตุมฺ อรฺหสิ
เทหี — เจ้าของร่างกายวัตถุ, นิตฺยมฺ — อมตะ, อวธฺยห์ — ไม่สามารถถูกสังหาร, อยมฺ — ดวงวิญญาณนี้, เทเห — ในร่างกาย, สรฺวสฺย — ของทุกคน, ภารต — ผู้สืบราชวงศ์ ภรต, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, สรฺวาณิ — ทั้งหมด, ภูตานิ — สิ่งมีชีวิต (ที่เกิด), น — ไม่เคย, ตฺวมฺ — ท่าน, โศจิตุมฺ — โศกเศร้า, อรฺหสิ — สมควรได้รับ
คำแปล
โอ้
คำอธิบาย
องค์ภควานฺ ทรงสรุปบทคำสอนเกี่ยวกับดวงวิญญาณทิพย์ที่เป็นอมตะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงด้วยการอธิบายดวงวิญญาณอมตะในวิธีต่างๆกันไว้ ณ ที่นี้องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงสถาปนาว่าดวงวิญญาณเป็นอมตะและร่างกายไม่ถาวร ดังนั้น อรฺชุน ในฐานะที่ทรงเป็น กฺษตฺริย จึงไม่ควรละทิ้งหน้าที่อันเนื่องมาจากความกลัวว่าพระอัยกา ภีษฺม และพระอาจารย์ โทฺรณ จะตายในสนามรบ ด้วยความน่าเชื่อถือขององค์ศฺรีกฺฤษฺณเราต้องเชื่อว่ามีดวงวิญญาณที่แตกต่างไปจากร่างวัตถุไม่ใช่ว่าไม่มีดวงวิญญาณหรือลักษณะอาการของชีวิตเกิดขึ้นจากการผสมผสานของวัตถุเคมีที่มาถึงจุดอิ่มตัว แม้ว่าดวงวิญญาณจะเป็นอมตะแต่มิได้หมายความว่าจะสนับสนุนความรุนแรง แต่เมื่อมีความจำเป็นจริงๆในยามศึกสงครามซึ่งเราไม่สามารถจะห้ามได้ ความจำเป็นนั้นจะต้องมีความยุติธรรมโดยการได้รับอนุญาตจากองค์ภควานฺ มิใช่ทำตามอำเภอใจ