ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 34
akīrtiṁ cāpi bhūtāni
kathayiṣyanti te ’vyayām
sambhāvitasya cākīrtir
maraṇād atiricyate
kathayiṣyanti te ’vyayām
sambhāvitasya cākīrtir
maraṇād atiricyate
อกีรฺตึ จาปิ ภูตานิ
กถยิษฺยนฺติ เต ’วฺยยามฺ
สมฺภาวิตสฺย จากีรฺติรฺ
มรณาทฺ อติริจฺยเต
กถยิษฺยนฺติ เต ’วฺยยามฺ
สมฺภาวิตสฺย จากีรฺติรฺ
มรณาทฺ อติริจฺยเต
อกีรฺติมฺ — เสียชื่อเสียง, จ — เช่นกัน, อปิ — อยู่เหนือ, ภูตานิ — ผู้คนทั้งหลาย, กถยิษฺยนฺติ — จะพูด, เต — ถึงเธอ, อวฺยยามฺ — ชั่วกาล, สมฺภาวิตสฺย — สำหรับผู้ที่เคยได้รับความเคารพนับถือ, จ — เช่นกัน, อกีรฺติห์ — เสียชื่อ, มรณาตฺ — มากกว่าความตาย, อติริจฺยเต — มากกว่า
คำแปล
ผู้คนจะกล่าวถึงเรื่องเสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียงของเธอตลอดเวลา
คำอธิบาย
องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงเป็นทั้งสหายและนักปราชญ์สำหรับ อรฺชุน บัดนี้องค์กฺฤษฺณทรงให้คำตัดสินสุดท้ายกับ อรฺชุน ที่ปฏิเสธการต่อสู้ โดยตรัสว่า “อรฺชุน เอ๋ย หากเธอหนีไปจากสมรภูมิก่อนที่สงครามจะเริ่มขึ้นผู้คนจะเรียกเธอว่าเจ้าขี้ขลาด หากคิดว่าถูกประณามเช่นนี้แล้วเธอยังจะรักษาชีวิตได้ด้วยการหนีไปจากสมรภูมิ ข้าแนะนำว่าให้มาตายในสมรภูมิจะดีกว่า สำหรับผู้ที่เคยได้รับความเคารพนับถืออย่างเธอการเสื่อมเสียชื่อเสียงนั้นเลวร้ายยิ่งกว่าความตาย ดังนั้นไม่ควรหลบหนีไปเนื่องมาจากการความกลัวตาย การตายอยู่ในสนามรบยังดีเสียกว่าเพราะจะช่วยให้พ้นจากการเสื่อมเสียชื่อเสียงที่ใช้ความเป็นเพื่อนของข้าไปในทางที่ผิด และเสียศักดิ์ศรีของตนเองในสังคม”
ดังนั้นคำตัดสินสุดท้ายขององค์ภควานฺ คือทรงให้ อรฺชุน ตายในสมรภูมิและไม่ถอนตัว