ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 45
trai-guṇya-viṣayā vedā
nistrai-guṇyo bhavārjuna
nirdvandvo nitya-sattva-stho
niryoga-kṣema ātmavān
nistrai-guṇyo bhavārjuna
nirdvandvo nitya-sattva-stho
niryoga-kṣema ātmavān
ไตฺร-คุณฺย-วิษยา เวทา
นิไสฺตฺร-คุโณฺย ภวารฺชุน
นิรฺทฺวนฺโทฺว นิตฺย-สตฺตฺว-โสฺถ
นิโรฺยค-กฺเษม อาตฺมวานฺ
นิไสฺตฺร-คุโณฺย ภวารฺชุน
นิรฺทฺวนฺโทฺว นิตฺย-สตฺตฺว-โสฺถ
นิโรฺยค-กฺเษม อาตฺมวานฺ
ไตฺร-คุณฺย — เกี่ยวเนื่องกับสามระดับของธรรมชาติวัตถุ, วิษยาห์ — เรื่องนี้, เวทาห์ — วรรณกรรมพระเวท, นิไสฺตฺร-คุณฺยห์ — อยู่เหนือสามระดับของธรรมชาติวัตถุ, ภว — เป็น, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, นิรฺทฺวนฺทฺวห์ — ปราศจากสภาวะคู่, นิตฺย-สตฺตฺว-สฺถห์ — ในระดับบริสุทธิ์ของความเป็นอยู่ทิพย์, นิโรฺยค-กฺเษมห์ — ปราศจากความคิดเพื่อผลกำไรและสวัสดิภาพ, อาตฺม-วานฺ — สถิตอยู่ในตัว
คำแปล
คัมภีร์พระเวทส่วนใหญ่กล่าวถึงเรื่องสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ
คำอธิบาย
กิจกรรมทางวัตถุทั้งหมดเกี่ยวกับกรรมและผลกรรมในสามระดับของธรรมชาติวัตถุ หมายไว้เพื่อผลประโยชน์ซึ่งเป็นเหตุให้ถูกพันธนาการในโลกวัตถุ คัมภีร์พระเวทส่วนใหญ่จะกล่าวถึงกิจกรรมที่ให้ผลทางวัตถุแล้วจึงค่อยๆพัฒนาผู้คนทั่วไปให้เจริญขึ้นจากสนามแห่งการสนองประสาทสัมผัสมาสู่ระดับทิพย์ อรฺชุน ทรงเป็นทั้งศิษย์และสหายขององค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงได้รับคำแนะนำให้ยกระดับตนเองมาสู่ระดับทิพย์แห่งปรัชญา เวทานฺต ซึ่งในตอนต้นมี พฺรหฺม-ชิชฺญาสา หรือคำถามเกี่ยวกับองค์ภควานฺ สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกวัตถุดิ้นรนด้วยความยากลำบากมากเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นหลังจากการสร้างโลกวัตถุองค์ภควานฺทรงให้ปรัชญาพระเวทเพื่อแนะนำวิธีการดำรงชีวิตและขจัดพันธนาการทางวัตถุ พระองค์ทรงให้ปรัชญาพระเวทเพื่อแนะนำวิธีการดำรงชีวิตและขจัดพันธนาการทางวัตถุ เมื่อกิจกรรมเพื่อสนองประสาทสัมผัสชื่อบท กรฺม-กาณฺฑ สิ้นสุดลงก็จะเปิดโอกาสเพื่อความรู้แจ้งทิพย์ในรูปของ อุปนิษทฺ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์พระเวทที่มีหลายเล่ม ดังเช่น ภควัท-คีตา เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์พระเวทเล่มที่ห้าชื่อ มหาภารต หนังสือ อุปนิษทฺ จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งชีวิตทิพย์
ตราบใดที่เรายังมีร่างกายวัตถุอยู่จะมีกรรมและผลกรรมในสามระดับทางวัตถุ เราต้องฝึกฝนความอดทนในการเผชิญหน้ากับสภาวะคู่เช่น ความสุขและความทุกข์ ความเย็นและความร้อน และจากการอดทนต่อสภาวะคู่เช่นนี้เราจะได้รับอิสรภาพจากความวิตกกังวลที่มาจากผลกำไรและขาดทุน ระดับทิพย์นี้บรรลุได้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่สมบูรณ์เมื่อเราขึ้นอยู่กับพระราชประสงค์อันดีงามขององค์กฺฤษฺณอย่างบริบูรณ์