ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 51
karma-jaṁ buddhi-yuktā hi
phalaṁ tyaktvā manīṣiṇaḥ
janma-bandha-vinirmuktāḥ
padaṁ gacchanty anāmayam
phalaṁ tyaktvā manīṣiṇaḥ
janma-bandha-vinirmuktāḥ
padaṁ gacchanty anāmayam
กรฺม-ชํ พุทฺธิ-ยุกฺตา หิ
ผลํ ตฺยกฺตฺวา มนีษิณห์
ชนฺม-พนฺธ-วินิรฺมุกฺตาห์
ปทํ คจฺฉนฺตฺยฺ อนามยมฺ
ผลํ ตฺยกฺตฺวา มนีษิณห์
ชนฺม-พนฺธ-วินิรฺมุกฺตาห์
ปทํ คจฺฉนฺตฺยฺ อนามยมฺ
กรฺม-ชมฺ — เนื่องมาจากกิจกรรมเพื่อหวังผล, พุทฺธิ-ยุกฺตาห์ — ปฏิบัติในการอุทิศตนรับใช้, หิ — แน่นอน, ผลมฺ — ผลงาน, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, มนีษิณห์ — นักปราชณ์ผู้ยิ่งใหญ่หรือสาวก, ชนฺม-พนฺธ — จากพันธนาการแห่งการเกิดและการตาย, วินิรฺมุกฺตาห์ — อิสรภาพ, ปทมฺ — ตำแหน่ง, คจฺฉนฺติ — พวกเขาบรรลุถึง, อนามยมฺ — ไม่มีความทุกข์
คำแปล
ด้วยการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺ
คำอธิบาย
สิ่งมีชีวิตผู้หลุดพ้นอยู่ ณ สถานที่ที่ไม่มีความทุกข์ทางวัตถุ ภาควต (10.14.58) กล่าวว่า
สมาษฺริตา เย ปท-ปลฺลว-ปฺลวํ
มหตฺ-ปทํ ปุณฺย-ยโศ มุราเรห์
ภวามฺพุธิรฺ วตฺส-ปทํ ปรํ ปทํ
ปทํ ปทํ ยทฺ วิปทำ น เตษามฺ
มหตฺ-ปทํ ปุณฺย-ยโศ มุราเรห์
ภวามฺพุธิรฺ วตฺส-ปทํ ปรํ ปทํ
ปทํ ปทํ ยทฺ วิปทำ น เตษามฺ
“สำหรับผู้ที่ยอมรับเอาพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺมาเป็นนาวา องค์ภควานฺผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสิ่งที่ปรากฏอยู่ในจักรวาลทรงมีชื่อเสียงในพระนาม มุกุนฺท หรือผู้ให้ มุกฺติ (ความหลุดพ้น) ทำให้มหาสมุทรแห่งโลกวัตถุกลายมาเป็นน้ำที่อยู่ในรอยเท้าของลูกวัว ปรํ ปทมฺ คือสถานที่ที่ไม่มีความทุกข์ทางวัตถุ หรือ ไวกุณฺฐ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายไม่ใช่สถานที่ที่มีภยันตรายอยู่ทุกฝีก้าวในชีวิต”
เนื่องด้วยอวิชชาทำให้เราไม่รู้ว่าโลกวัตถุนี้เป็นสถานที่ที่มีความทุกข์และมีภยันตรายอยู่ทุกฝีก้าว ความอวิชชาเท่านั้นที่ทำให้ผู้ด้อยปัญญาพยายามปรับสถานการณ์ด้วยกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุโดยคิดว่าผลแห่งการกระทำเช่นนี้จะทำให้ตนเองมีความสุข โดยไม่รู้ว่าไม่มีร่างกายวัตถุชนิดใดไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนภายในจักรวาลวัตถุนี้จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่มีความทุกข์ ความทุกข์ในชีวิต เช่น การเกิด การตาย ความแก่ และโรคภัยต่างๆมีอยู่ทุกหนทุกแห่งภายในโลกวัตถุ แต่ผู้ที่เข้าใจสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของตนเองว่าเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์ภควานฺ และทราบถึงสถานภาพของบุคลิกภาพแห่งองค์ภควานฺจะปฏิบัติตนรับใช้พระองค์ด้วยความรักทิพย์ หลังจากนั้นเราจะเป็นผู้มีคุณวุฒิที่จะเข้าไปในโลก ไวกุณฺฐ สถานที่ที่ทุกชีวิตไม่มีความทุกข์ทางวัตถุ และไม่มีอิทธิพลของเวลาและความตาย การทราบถึงสถานภาพพื้นฐานของตัวเรา หมายถึงการทราบสถานภาพอันประเสริฐขององค์ภควานฺเช่นกัน ผู้ที่คิดผิดๆว่าสถานภาพของสิ่งมีชีวิตและสถานภาพขององค์ภควานฺอยู่ในระดับเดียวกัน ผู้นั้นอยู่ในความมืดมนอย่างแน่นอน ดังนั้นเขาจะไม่สามารถปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานฺได้ แต่จะพยายามเป็นองค์ภควานฺเสียเองซึ่งเป็นการปูทางเพื่อวัฏจักรแห่งการเกิดและการตาย ผู้ที่เข้าใจว่าสถานภาพของตนคือผู้รับใช้และหันมารับใช้องค์ภควานฺเขาจะมีสิทธิ์เข้าไปสู่ ไวกุณฺฐ-โลก ทันที การรับใช้องค์ภควานฺ เรียกว่า กรฺม-โยค หรือ พุทฺธิ-โยค หรือในคำพูดง่ายๆคือการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานฺ