ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 57
yaḥ sarvatrānabhisnehas
tat tat prāpya śubhāśubham
nābhinandati na dveṣṭi
tasya prajñā pratiṣṭhitā
tat tat prāpya śubhāśubham
nābhinandati na dveṣṭi
tasya prajñā pratiṣṭhitā
ยห์ สรฺวตฺรานภิเสฺนหสฺ
ตตฺ ตตฺ ปฺราปฺย ศุภาศุภมฺ
นาภินนฺทติ น เทฺวษฺฏิ
ตสฺย ปฺรชฺญา ปฺรติษฺฐิตา
ตตฺ ตตฺ ปฺราปฺย ศุภาศุภมฺ
นาภินนฺทติ น เทฺวษฺฏิ
ตสฺย ปฺรชฺญา ปฺรติษฺฐิตา
ยห์ — ผู้ซึ่ง, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, อนภิเสฺนหห์ — ไม่มีความรัก, ตตฺ — นั้น, ตตฺ — นั้น, ปฺราปฺย — ได้รับ, ศุภ — ดี, อศุภมฺ — ชั่ว, น — ไม่เคย, อภินนฺทติ — สรรเสริญ, น — ไม่เคย, เทฺวษฺฏิ — อิจฉา, ตสฺย — ของเขา, ปฺรชฺญา — ความรู้ที่สมบูรณ์, ปฺรติษฺฐิตา — มั่นคง
คำแปล
ในโลกวัตถุนี้
คำอธิบาย
จะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในโลกวัตถุอยู่เสมอซึ่งอาจจะดีหรือเลว ผู้ที่ไม่ถูกรบกวนจากการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุเช่นนี้เป็นผู้ที่ไม่เสน่หากับความดีหรือความชั่วเข้าใจได้ว่าเป็นผู้มีความมั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึก ตราบใดที่เรายังอยู่ในโลกวัตถุจะมีทั้งดีและชั่วอยู่เสมอเพราะว่าโลกใบนี้เต็มไปด้วยสภาวะคู่ แต่ผู้ที่มั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่เสน่หากับความดีหรือความชั่ว เพราะเขาสนใจแต่องค์กฺฤษฺณผู้ทรงไว้ซึ่งความดีทั้งหมดอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์เท่านั้น จิตสำนึกในกฺฤษฺณเช่นนี้จะสถิตตนเองให้อยู่ในสภาวะทิพย์โดยสมบูรณ์ เรียกตามศัพท์เทคนิคว่า สมาธิ