ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 64
rāga-dveṣa-vimuktais tu
viṣayān indriyaiś caran
ātma-vaśyair vidheyātmā
prasādam adhigacchati
viṣayān indriyaiś caran
ātma-vaśyair vidheyātmā
prasādam adhigacchati
ราค-เทฺวษ-วิมุกฺไตสฺ ตุ
วิษยานฺ อินฺทฺริไยศฺ จรนฺ
อาตฺม-วไศฺยรฺ วิเธยาตฺมา
ปฺรสาทมฺ อธิคจฺฉติ
วิษยานฺ อินฺทฺริไยศฺ จรนฺ
อาตฺม-วไศฺยรฺ วิเธยาตฺมา
ปฺรสาทมฺ อธิคจฺฉติ
ราค — ความยึดติด, เทฺวษ — และความรังเกียจ, วิมุกฺไตห์ — โดยผู้มีอิสระจาก, ตุ — แต่, วิษยานฺ — อายตนะภายนอก, อินฺทฺริไยห์ — ด้วยประสาทสัมผัส, จรนฺ — กระทำอยู่, อาตฺม-วไศฺยห์ — ภายใต้การควบคุมของตน, วิเธย-อาตฺมา — ผู้ปฏิบัติตามกฎแห่งอิสรภาพ, ปฺรสาทมฺ — พระเมตตาธิคุณขององค์ภควาน, อธิคจฺฉติ — ได้รับ
คำแปล
แต่ผู้ที่มีอิสรภาพจากการยึดติดและความรังเกียจ
คำอธิบาย
ได้อธิบายแล้วว่าเราอาจจะควบคุมประสาทสัมผัสภายนอกด้วยวิธีที่ฝืนธรรมชาติ แต่หากประสาทสัมผัสไม่ได้ใช้ในการปฏิบัติการรับใช้ทิพย์ต่อองค์ภควานฺ เราก็จะมีโอกาสตกต่ำลงได้ทุกเมื่อ อาจดูเหมือนว่าผู้ที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์อยู่ในระดับประสาทสัมผัส แต่ด้วยการที่เขาอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงไม่ยึดติดกับกิจกรรมทางประสาทสัมผัส ผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะคำนึงเพียงแต่การทำให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัยเท่านั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ ฉะนั้นท่านจึงอยู่เหนือความยึดติดและความรังเกียจทั้งปวง หากองค์กฺฤษฺณทรงปรารถนา สาวกจะสามารถทำอะไรก็ได้ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ชอบทำ และถ้าหากว่าองค์กฺฤษฺณไม่ทรงปรารถนาท่านจะไม่ทำ แม้โดยปกติธรรมดาชอบทำเพื่อความพึงพอใจของตนเอง ดังนั้นการจะทำหรือไม่ทำจะอยู่ภายใต้การควบคุมของท่าน เพราะว่าท่านปฏิบัติภายใต้การแนะนำขององค์กฺฤษฺณเท่านั้น จิตสำนึกเช่นนี้คือพระเมตตาธิคุณอันหาที่สุดมิได้จากองค์ภควานฺ ซึ่งสาวกสามารถบรรลุได้แม้จะมีความยึดติดอยู่ในระดับประสาทสัมผัส