ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
eṣā brāhmī sthitiḥ pārtha
naināṁ prāpya vimuhyati
sthitvāsyām anta-kāle ’pi
brahma-nirvāṇam ṛcchati
naināṁ prāpya vimuhyati
sthitvāsyām anta-kāle ’pi
brahma-nirvāṇam ṛcchati
เอษา พฺราหฺมี สฺถิติห์ ปารฺถ
ไนนำ ปฺราปฺย วิมุหฺยติ
สฺถิตฺวาสฺยามฺ อนฺต-กาเล ’ปิ
พฺรหฺม-นิรฺวาณมฺ ฤจฺฉติ
ไนนำ ปฺราปฺย วิมุหฺยติ
สฺถิตฺวาสฺยามฺ อนฺต-กาเล ’ปิ
พฺรหฺม-นิรฺวาณมฺ ฤจฺฉติ
เอษา — นี้, พฺราหฺมี — ทิพย์, สฺถิติห์ — สถานการณ์, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, น — ไม่เคย, เอนามฺ — นี้, ปฺราปฺย — บรรลุถึง, วิมุหฺยติ — ผู้ที่สับสน, สฺถิตฺวา — สถิต, อสฺยามฺ — ในนี้, อนฺต-กาเล — ในบั้นปลายของชีวิต, อปิ — เช่นกัน, พฺรหฺม-นิรฺวาณมฺ — อาณาจักรทิพย์ขององค์ภควาน, ฤจฺฉติ — ผู้ได้รับ
คำแปล
นี่คือวิถีแห่งชีวิตทิพย์ที่มีศีลธรรม
คำอธิบาย
เราสามารถบรรลุถึงกฺฤษฺณจิตสำนึก หรือชีวิตทิพย์นี้ได้ในทันทีภายในหนึ่งวินาที หรือเราอาจไม่บรรลุถึงระดับชีวิตเช่นนี้ได้เลยแม้เป็นเวลาล้านๆชาติ มันเป็นเรื่องของความเข้าใจและยอมรับความจริงเท่านั้น ขฏฺวางฺค มหาราช ทรงบรรลุถึงระดับชีวิตเช่นนี้เพียงไม่กี่นาทีก่อนจะสวรรคตด้วยการศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณ นิรฺวาณ หมายถึงสิ้นสุดการดำเนินชีวิตทางวัตถุ ตามปรัชญา ศูนฺยวาทิ จะมีแต่ความว่างเปล่าหลังจากเสร็จสิ้นชีวิตวัตถุนี้ แต่ ภควัท-คีตา สอนแตกต่างออกไป ชีวิตจริงเริ่มต้นหลังจากชีวิตวัตถุนี้สิ้นสุดลง สำหรับนักวัตถุนิยมหยาบๆเป็นการเพียงพอแล้วที่ได้รู้ว่าเราต้องจบสิ้นวิถีชีวิตทางวัตถุนี้ แต่สำหรับบุคคลผู้เจริญทางจิตวิญญาณจะมีอีกชีวิตหนึ่งหลังจากชีวิตวัตถุนี้ ก่อนจบสิ้นชีวิตนี้หากเราโชคดีพอที่จะพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกเราจะบรรลุถึงระดับ พฺรหฺม-นิรฺวาณ ทันที ไม่มีข้อแตกต่างระหว่างอาณาจักรแห่งองค์ภควานฺและการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺ เพราะทั้งสองสิ่งอยู่ในระดับที่สมบูรณ์บริบูรณ์ การอุทิศตนรับใช้องค์ภควานฺด้วยความรักทิพย์ คือการบรรลุถึงอาณาจักรทิพย์ ในโลกวัตถุมีกิจกรรมเพื่อสนองประสาทสัมผัส ขณะที่ในโลกทิพย์มีกิจกรรมกฺฤษฺณจิตสำนึก การบรรลุถึงกฺฤษฺณจิตสำนึกแม้ในชีวิตนี้ก็เป็นการบรรลุถึง พฺรหฺมนฺ ทันที และผู้ที่สถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกได้เข้าไปสู่อาณาจักรแห่งองค์ภควานฺเรียบร้อยแล้วอย่างแน่นอน
พฺรหฺมนฺ เป็นสิ่งตรงข้ามกับวัตถุ ดังนั้น พฺราหฺมี สฺถิติ หมายถึง “ไม่อยู่ในระดับกิจกรรมทางวัตถุ” การอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺได้รับการยอมรับใน ภควัท-คีตา ว่าเป็นระดับหลุดพ้น (ส คุณานฺ สมตีไตฺยตานฺ พฺรหฺม-ภูยาย กลฺปเต ) ดังนั้น พฺราหฺมี สฺถิติ คือความหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุ
ศฺรีล ภกฺติวิโนท ฐากุร สรุปบทที่สองของ ภควัท-คีตา ว่าเป็นบทสรุปทั้งหมดของหนังสือเล่มนี้ ใน ภควัท-คีตา เป็นเรื่องของ กรฺม-โยค, ชฺญาน-โยค และ ภกฺติ-โยค ในบทที่สองได้อธิบาย กรฺม-โยค และ ชฺญาน-โยค อย่างชัดเจน และกล่าวถึง ภกฺติ-โยค เพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงเป็นบทสรุปของหนังสือเล่มนี้
ดังนั้นขอจบคำอธิบายโดย