ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สาม
กรฺม-โยค
โศลก 25
saktāḥ karmaṇy avidvāṁso
yathā kurvanti bhārata
kuryād vidvāṁs tathāsaktaś
cikīrṣur loka-saṅgraham
yathā kurvanti bhārata
kuryād vidvāṁs tathāsaktaś
cikīrṣur loka-saṅgraham
สกฺตาห์ กรฺมณฺยฺ อวิทฺวำโส
ยถา กุรฺวนฺติ ภารต
กุรฺยาทฺ วิทฺวำสฺ ตถาสกฺตศฺ
จิกีรฺษุรฺ โลก-สงฺคฺรหมฺ
ยถา กุรฺวนฺติ ภารต
กุรฺยาทฺ วิทฺวำสฺ ตถาสกฺตศฺ
จิกีรฺษุรฺ โลก-สงฺคฺรหมฺ
สกฺตาห์ — มีความยึดติด, กรฺมณิ — ในหน้าที่ที่กำหนดไว้, อวิทฺวำสห์ — อวิชชา, ยถา — มากเท่ากับ, กุรฺวนฺติ — พวกเขาทำ, ภารต — โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต, กุรฺยาตฺ — จะต้องทำ, วิทฺวานฺ — ผู้รู้, ตถา — ดังนั้น, อสกฺตห์ — ไม่มีความยึดติด, จิกีรฺษุห์ — ต้องการนำ, โลก-สงฺคฺรหมฺ — ผู้คนโดยทั่วไป
คำแปล
เฉกเช่นผู้อยู่ในอวิชชาปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความยึดติดในผลของงาน
คำอธิบาย
บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกและบุคคลผู้ไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกต่างกันที่ความปรารถนาไม่เหมือนกัน บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่ทำอะไรที่ไม่เอื้ออำนวยให้พัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึก เขาอาจปฏิบัติตนเหมือนกับบุคคลผู้อยู่ในอวิชชาที่ยึดติดในกิจกรรมทางวัตถุทุกประการ แต่คนหนึ่งปฏิบัติในกิจกรรมเหล่านี้เพื่อสนองประสาทสัมผัสของตน ในขณะที่อีกคนหนึ่งปฏิบัติตนเพื่อให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัย ดังนั้นบุคคลผู้ที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจำเป็นต้องแสดงให้ผู้คนเห็นว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร และควรนำผลของการปฏิบัติมาใช้เพื่อจุดมุ่งหมายในกฺฤษฺณจิตสำนึกได้อย่างไร