ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สาม
กรฺม-โยค
โศลก 27
prakṛteḥ kriyamāṇāni
guṇaiḥ karmāṇi sarvaśaḥ
ahaṅkāra-vimūḍhātmā
kartāham iti manyate
guṇaiḥ karmāṇi sarvaśaḥ
ahaṅkāra-vimūḍhātmā
kartāham iti manyate
ปฺรกฺฤเตห์ กฺริยมาณานิ
คุไณห์ กรฺมาณิ สรฺวศห์
อหงฺการ-วิมูฒาตฺมา
กรฺตาหมฺ อิติ มนฺยเต
คุไณห์ กรฺมาณิ สรฺวศห์
อหงฺการ-วิมูฒาตฺมา
กรฺตาหมฺ อิติ มนฺยเต
ปฺรกฺฤเตห์ — ของธรรมชาติวัตถุ, กฺริยมาณานิ — กระทำอยู่, คุไณห์ — โดยระดับต่างๆ, กรฺมาณิ — กิจกรรม, สรฺวศห์ — ทุกชนิด, อหงฺการ-วิมูฒ — สับสนด้วยอหังการ, อาตฺมา — ดวงวิญญาณ, กรฺตา — ผู้กระทำ, อหมฺ — ข้า, อิติ — ดังนั้น, มนฺยเต — เขาคิด
คำแปล
จิตวิญญาณเกิดสับสนอันเนื่องมาจากอิทธิพลของอหังการที่คิดว่าตนเองเป็นผู้กระทำกิจกรรมทั้งหลาย
คำอธิบาย
มีบุคคลอยู่สองคน คนหนึ่งมีกฺฤษฺณจิตสำนึก และอีกคนหนึ่งมีวัตถุจิตสำนึกที่ทำงานในระดับเดียวกัน อาจดูเหมือนว่าทำงานอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างอย่างมหาศาลในสถานภาพของบุคคลทั้งสอง บุคคลในวัตถุจิตสำนึกมีความมั่นใจด้วยอหังการว่าตนเองเป็นผู้กระทำทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่รู้ว่ากลไกแห่งร่างกายนี้ ธรรมชาติวัตถุซึ่งทำงานภายใต้การควบคุมขององค์ภควานฺเป็นผู้ผลิต นักวัตถุนิยมไม่รู้ว่าในที่สุดตัวเขาเองก็อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กฺฤษฺณ บุคคลผู้อยู่ภายใต้อหังการจะรับเอาเกียรติยศชื่อเสียงทั้งหมดในการทำทุกสิ่งโดยเอกเทศ และนี่คือลักษณะอาการแห่งอวิชชา โดยไม่รู้ว่าร่างกายทั้งหยาบและละเอียดของเขานี้ธรรมชาติวัตถุนั้นเป็นผู้สร้าง ภายใต้คำสั่งขององค์ภควานฺ เมื่อเป็นเช่นนี้กิจกรรมของร่างกายและจิตใจของเขาควรทำไปเพื่อรับใช้องค์กฺฤษฺณในกฺฤษฺณจิตสำนึก ผู้อยู่ในอวิชชาลืมไปว่าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงพระนามว่า หฺฤษีเกศ หรือเจ้านายของประสาทสัมผัสแห่งร่างวัตถุ เนื่องจากการใช้ประสาทสัมผัสไปในทางที่ผิดเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเองเป็นเวลายาวนาน เขาจึงเกิดสับสนอย่างจริงจังจากอหังการซึ่งทำให้ลืมความสัมพันธ์นิรันดรกับองค์กฺฤษฺณ