ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สาม
กรฺม-โยค
โศลก 39
āvṛtaṁ jñānam etena
jñānino nitya-vairiṇā
kāma-rūpeṇa kaunteya
duṣpūreṇānalena ca
jñānino nitya-vairiṇā
kāma-rūpeṇa kaunteya
duṣpūreṇānalena ca
อาวฺฤตํ ชฺญานมฺ เอเตน
ชฺญานิโน นิตฺย-ไวริณา
กาม-รูเปณ เกานฺเตย
ทุษฺปูเรณานเลน จ
ชฺญานิโน นิตฺย-ไวริณา
กาม-รูเปณ เกานฺเตย
ทุษฺปูเรณานเลน จ
อาวฺฤตมฺ — ปกคลุม, ชฺญานมฺ — จิตสำนึกที่บริสุทธิ์, เอเตน — ด้วยสิ่งนี้, ชฺญานินห์ — ของผู้รู้, นิตฺย-ไวริณา — โดยศัตรูนิรันดร, กาม-รูเปณ — ในรูปของราคะ, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ทุษฺปูเรณ — จะไม่มีวันพึงพอใจ, อนเลน — ด้วยไฟ, จ — เช่นกัน
คำแปล
ดังนั้น
คำอธิบาย
ได้กล่าวไว้ใน มนุ-สฺมฺฤติ ว่าราคะจะไม่รู้จักความพอเพียงไม่ว่าจะป้อนด้วยความสุขทางประสาทสัมผัสในปริมาณมากเพียงใด เหมือนกับไฟที่ไม่มีวันดับลงได้ตราบใดที่ยังมีเชื้อเพลิงอยู่ ในโลกวัตถุจุดศูนย์กลางของกิจกรรมทั้งหมดคือ เพศสัมพันธ์ ดังนั้นโลกวัตถุนี้จึงได้ชื่อว่า ไมถุนฺย-อาคาร หรือโซ่ตรวนแห่งชีวิตเพศสัมพันธ์ โดยทั่วไปในตะรางนักโทษจะถูกกักขังให้อยู่ภายในกรงขัง ทำนองเดียวกันนักโทษผู้ไม่เชื่อฟังกฎแห่งองค์ภควานฺจะถูกล่ามโซ่ด้วยชีวิตเพศสัมพันธ์ ความเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุบนฐานแห่งการตอบสนองประสาทสัมผัสหมายถึงการเพิ่มระยะเวลาแห่งการเป็นอยู่ทางวัตถุของสิ่งมีชีวิต ฉะนั้นราคะคือเครื่องหมายแห่งอวิชชาที่กักขังสิ่งมีชีวิตให้อยู่ในโลกวัตถุ ขณะที่เราเพลิดเพลินกับการสนองประสาทสัมผัสเราอาจรู้สึกว่ามีความสุขอยู่บ้าง แต่แท้ที่จริงความรู้สึกกับความสุขที่สมมุติขึ้นมานี้ในที่สุดมันคือศัตรูของผู้แสวงหาความสุขทางประสาทสัมผัสนั่นเอง