ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สาม
กรฺม-โยค
โศลก 4
na karmaṇām anārambhān
naiṣkarmyaṁ puruṣo ’śnute
na ca sannyasanād eva
siddhiṁ samadhigacchati
naiṣkarmyaṁ puruṣo ’śnute
na ca sannyasanād eva
siddhiṁ samadhigacchati
น กรฺมณามฺ อนารมฺภานฺ
ไนษฺกรฺมฺยํ ปุรุโษ ’ศฺนุเต
น จ สนฺนฺยสนาทฺ เอว
สิทฺธึ สมธิคจฺฉติ
ไนษฺกรฺมฺยํ ปุรุโษ ’ศฺนุเต
น จ สนฺนฺยสนาทฺ เอว
สิทฺธึ สมธิคจฺฉติ
น — ไม่, กรฺมณามฺ — แห่งหน้าที่ที่กำหนดไว้, อนารมฺภาตฺ — ด้วยการไม่ปฎิบัติ, ไนษฺกรฺมฺยมฺ — มีอิสระจากผลกรรม, ปุรุษห์ — บุคคล, อศฺนุเต — บรรลุ, น — ไม่, จ — เช่นกัน, สนฺนฺยสนาตฺ — ด้วยการเสียสละ, เอว — เพียงแต่, สิทฺธิมฺ — ประสบผลสำเร็จ, สมธิคจฺฉติ — บรรลุ
คำแปล
มิใช่เพียงแต่การหยุดทำงานที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากผลกรรม
คำอธิบาย
ชีวิตระดับสละโลกรับนำมาปฏิบัติหลังจากจิตใจได้รับความบริสุทธิ์โดยการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ หน้าที่นี้วางไว้เพื่อทำให้จิตใจของนักวัตถุนิยมบริสุทธิ์ขึ้น หากไร้ซึ่งความบริสุทธิ์การรับเอาชีวิตระดับที่สี่หรือ สนฺนฺยาส มาปฏิบัติอย่างเร่งด่วนนั้นจะไม่สามารถทำให้เราประสบผลสำเร็จได้ ตามที่นักปราชญ์ชอบทดลองกล่าวว่าเพียงแต่รับเอาชีวิต สนฺนฺยาส หรือเกษียณจากกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุแล้วเราจะดีเทียบเท่ากับพระนารายณ์ทันที หลักการนี้องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงไม่ยอมรับ หากจิตใจยังไม่บริสุทธิ์การอุปสมบทในระดับ สนฺนฺยาส เพียงแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคมเท่านั้น อีกด้านหนึ่งหากบางคนมีความยินดีปฏิบัติรับใช้ทิพย์ต่อองค์ภควานฺ ถึงแม้ว่าจะไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ ไม่ว่าอะไรที่เขาสามารถทำให้เจริญขึ้นในวิถีทางนี้องค์ภควานฺจะทรงรับไว้ (พุทฺธิ-โยค ) สฺวฺ-อลฺปมฺ อปฺยฺ อสฺย ธรฺมสฺย ตฺรายเต มหโต ภยาตฺ แม้แต่การปฏิบัติตนเพียงนิดเดียวในหลักธรรมนี้จะสามารถนำเราให้ข้ามพ้นความยากลำบากอันใหญ่หลวงได้