ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สี่

ความรู้ทิพย์

โศลก 19

yasya sarve samārambhāḥ
kāma-saṅkalpa-varjitāḥ
jñānāgni-dagdha-karmāṇaṁ
tam āhuḥ paṇḍitaṁ budhāḥ
ยสฺย สเรฺว สมารมฺภาห์
กาม-สงฺกลฺป-วรฺชิตาห์
ชฺญานาคฺนิ-ทคฺธ-กรฺมาณํ
ตมฺ อาหุห์ ปณฺฑิตํ พุธาห์
ยสฺย — ผู้ซึ่ง, สเรฺว — ทั้งหมด, สมารมฺภาห์ — พยายาม, กาม — บนฐานแห่งความปรารถนาเพื่อสนองประสาทสัมผัส, สงฺกลฺป — ตั้งใจแน่วแน่, วรฺชิตาห์ — ปราศจาก, ชฺญาน — ความรู้อันสมบูรณ์, อคฺนิ — โดยไฟ, ทคฺธ — เผาไหม้, กรฺมาณมฺ — งานของเขา, ตมฺ — เขา, อาหุห์ — ประกาศ, ปณฺฑิตมฺ — บัณฑิต, พุธาห์ — หมู่ผู้รู้

คำแปล

ผู้ที่มีความรู้ถ่องแท้ ผู้ที่ความพยายามทั้งหมดปราศจากความปรารถนาเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเอง เหล่านักปราชญ์กล่าวไว้ว่าเป็นผู้ทำงานที่ผลกรรมได้ถูกเผาไหม้ไปจนหมดด้วยไฟแห่งความรู้อันสมบูรณ์

คำอธิบาย

บุคคลผู้มีความรู้ถ่องแท้เท่านั้นที่สามารถเข้าใจกิจกรรมของบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึก เพราะว่าบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกปราศจากนิสัยที่ชอบสนองประสาทสัมผัสของตนเองทุกชนิด เป็นที่เข้าใจว่าเขาได้เผาไหม้ผลกรรมจากการทำงานด้วยความรู้อันสมบูรณ์ และรู้ซึ้งถึงสถานภาพพื้นฐานของตนว่าเป็นผู้รับใช้นิรันดรของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ผู้ที่มีความรู้อย่างถ่องแท้จึงจะสามารถบรรลุถึงความรู้อันสมบูรณ์เช่นนี้ การพัฒนาความรู้แห่งการเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์ภควานฺเปรียบเสมือนไฟ และไฟนี้เมื่อถูกจุดขึ้นมาแล้วจะสามารถเผาผลาญผลกรรมทั้งปวงได้