ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สี่
ความรู้ทิพย์
โศลก 21
nirāśīr yata-cittātmā
tyakta-sarva-parigrahaḥ
śārīraṁ kevalaṁ karma
kurvan nāpnoti kilbiṣam
tyakta-sarva-parigrahaḥ
śārīraṁ kevalaṁ karma
kurvan nāpnoti kilbiṣam
นิราศีรฺ ยต-จิตฺตาตฺมา
ตฺยกฺต-สรฺว-ปริคฺรหห์
ศารีรํ เกวลํ กรฺม
กุรฺวนฺ นาปฺโนติ กิลฺพิษมฺ
ตฺยกฺต-สรฺว-ปริคฺรหห์
ศารีรํ เกวลํ กรฺม
กุรฺวนฺ นาปฺโนติ กิลฺพิษมฺ
นิราศีห์ — ไม่ปรารถนาผล, ยต — ควบคุม, จิตฺต-อาตฺมา — จิตใจและปัญญา, ตฺยกฺต — ยกเลิก, สรฺว — ทั้งหมด, ปริคฺรหห์ — ความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆ, ศารีรมฺ — ในการรักษาร่างกายและวิญญาณให้อยู่ด้วยกัน, เกวลมฺ — เท่านั้น, กรฺม — งาน, กุรฺวนฺ — ทำ, น — ไม่เคย, อาปฺโนติ — ได้รับ, กิลฺพิษมฺ — ผลบาป
คำแปล
ผู้ที่มีความเข้าใจเช่นนี้จะทำงานด้วยจิตใจและปัญญาที่ควบคุมได้อย่างสมบูรณ์
คำอธิบาย
บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่คาดหวังผลดีหรือผลชั่วในกิจกรรมของตนเอง จิตใจและปัญญาอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างสมบูรณ์ ตระหนักดีว่าส่วนที่เขากระทำเป็นเพียงเศษย่อยๆของส่วนทั้งหมด เนื่องจากเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺมันจึงไม่ใช่กิจกรรมของเขาเอง แต่ถูกกระทำผ่านตัวเขาโดยพระองค์ เมื่อมือเคลื่อนไหวมันไม่ได้เคลื่อนด้วยตัวมันเอง แต่ด้วยความพยายามของทั่วทั้งเรือนร่าง ผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะประสานตนเองกับความปรารถนาของพระองค์เสมอ เพราะไม่มีความปรารถนาเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเองเขาเคลื่อนไหวไปเหมือนกับเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยนต์ เฉกเช่นส่วนของเครื่องยนต์จำเป็นต้องมีการหล่อลื่นและทำความสะอาดเพื่อให้ดำรงอยู่ได้ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกก็เช่นเดียวกันจะดำรงรักษาตนเองไว้ด้วยการทำงานเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีไว้คอยทำงานรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อพระองค์ ฉะนั้นเขาจึงรอดพ้นจากผลกรรมทั้งมวลที่มาจากความพยายามของเขา เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงที่ไม่ได้เป็นเจ้าของแม้แต่ร่างของมันเอง เจ้าของสัตว์ผู้โหดร้ายบางครั้งฆ่าสัตว์เลี้ยงของตนเอง ถึงกระนั้นมันก็ไม่เคยต่อต้านหรือว่ามีเสรีภาพอย่างแท้จริง บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกปฏิบัติตนอย่างสมบูรณ์เพื่อความรู้แจ้งแห่งตนจึงมีเวลาน้อยมากที่จะมาคิดอย่างผิดๆว่าตนเองเป็นเจ้าของวัตถุใดๆ ในการดำรงรักษาให้ร่างกายและดวงวิญญาณให้อยู่ด้วยกัน เขาไม่จำเป็นต้องใช้วิธีที่ไม่เป็นธรรมเพื่อสะสมเงินทอง ดังนั้นจึงไม่มีมลทินอันเนื่องมาจากความบาปทางวัตถุนี้ เขาเป็นอิสระจากผลกรรมทั้งปวงอันเนื่องมาจากการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก