ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สี่

ความรู้ทิพย์

โศลก 24

brahmārpaṇaṁ brahma havir
brahmāgnau brahmaṇā hutam
brahmaiva tena gantavyaṁ
brahma-karma-samādhinā
พฺรหฺมารฺปณํ พฺรหฺม หวิรฺ
พฺรหฺมาคฺเนา พฺรหฺมณา หุตมฺ
พฺรไหฺมว เตน คนฺตวฺยํ
พฺรหฺม-กรฺม-สมาธินา
พฺรหฺม — เป็นทิพย์โดยธรรมชาติ, อรฺปณมฺ — ช่วยเหลือสนับสนุน, พฺรหฺม — องค์ภควานฺ, หวิห์ — เนย, พฺรหฺม — ทิพย์, อคฺเนา — ในไฟแห่งจุดมุ่งหมายที่บริบูรณ์, พฺรหฺมณา — โดยดวงวิญญาณ, หุตมฺ — ถวาย, พฺรหฺม — อาณาจักรทิพย์, เอว — แน่นอน, เตน — โดยเขา, คนฺตวฺยมฺ — บรรลุถึง, พฺรหฺม — ทิพย์, กรฺม — ในกิจกรรม, สมาธินา — ในสมาธิที่สมบูรณ์

คำแปล

บุคคลผู้ซึมซาบอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์แน่นอนว่าจะบรรลุถึงอาณาจักรทิพย์ เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือของเขาในกิจกรรมทิพย์อย่างเต็มที่ ซึ่งจุดมุ่งหมายคือสัจธรรม และสิ่งที่ถวายก็เป็นธรรมชาติทิพย์เช่นเดียวกัน

คำอธิบาย

กิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึกในที่สุดสามารถนำพาเราไปสู่จุดหมายปลายทางทิพย์ได้อย่างไรนั้นได้อธิบายไว้ ที่นี้ มีกิจกรรมมากมายในกฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งทั้งหมดนั้นจะอธิบายในโศลกต่อๆไป แต่ในตอนนี้จะอธิบายเพียงหลักของกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้น พันธวิญญาณถูกพันธนาการอยู่ในมลทินทางวัตถุจึงเป็นที่แน่นอนว่าพวกเขาจะต้องปฏิบัติกิจกรรมต่างๆที่อยู่ในบรรยากาศวัตถุ ถึงกระนั้นเขาก็ยังต้องการอิสรภาพจากสิ่งแวดล้อมนี้ วิธีการที่พันธวิญญาณสามารถออกจากบรรยากาศวัตถุได้คือ กฺฤษฺณจิตสำนึก ตัวอย่างเช่น คนไข้ได้รับความทุกข์จากโรคท้องเดินอันเนื่องมาจากดื่มผลิตภัณฑ์นมมากเกินไป วิธีรักษาคือต้องใช้ผลิตภัณฑ์นมอีกชนิดหนึ่งคือนมที่เข็มข้น (curds) ในการรักษา พันธวิญญาณผู้ซึมซาบอยู่ในวัตถุสามารถรักษาได้ด้วยกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังที่ได้วางหลักการไว้ในหนังสือ ภควัท-คีตา เล่มนี้ วิธีการนี้โดยทั่วไปเรียกว่า ยชฺญ หรือกิจกรรม (การบูชา) เพียงเพื่อให้องค์วิษฺณุ หรือองค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัยเท่านั้น กิจกรรมในโลกวัตถุที่ทำถวายให้พระวิษฺณุ หรือในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการซึมซาบมากเพียงใดก็จะเปลี่ยนบรรยากาศให้กลายมาเป็นทิพย์มากเพียงเท่านั้น คำว่า พฺรหฺม มีความหมายว่า “ทิพย์” องค์ภควานฺทรงเป็นทิพย์ และรัศมีจากพระวรกายทิพย์ของพระองค์เรียกว่า พฺรหฺม-โชฺยติรฺ รัศมีทิพย์ของพระองค์ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่สถิตใน พฺรหฺม-โชฺยติรฺ นั้นแต่เมื่อ โชฺยติรฺ นั้นถูกปกคลุมไปด้วยความหลงแห่ง มายา หรือการสนองประสาทสัมผัสจึงเรียกว่าวัตถุ ม่านแห่งวัตถุนี้สามารถถูกรูดออกไปได้ทันทีด้วยกฺฤษฺณจิตสำนึก ฉะนั้นการถวายเพื่อกฺฤษฺณจิตสำนึก กรรมวิธีในการถวาย ผู้ถวาย และผลทั้งหมดเมื่อรวมกันคือ พฺรหฺมนฺ หรือสัจธรรมที่สมบูรณ์ สัจธรรมที่สมบูรณ์ถูกปกคลุมด้วย มายา เรียกว่าวัตถุ เมื่อวัตถุมาประสานกับสัจธรรมที่สมบูรณ์จะได้รับคุณสมบัติทิพย์ของตนเองกลับคืนมา กฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นวิธีเปลี่ยนสภาพจิตสำนึกที่หลงผิดมาเป็น พฺรหฺมนฺ หรือองค์ภควานฺ เมื่อจิตใจซึมซาบอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์เรียกว่าอยู่ในสมาธิหรือ สมาธิ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำไปด้วยจิตสำนึกทิพย์เช่นนี้ เรียกว่า ยชฺญ หรือการบูชาเพื่อสัจธรรมที่สมบูรณ์ ในสภาวะจิตสำนึกทิพย์นี้ ผู้ช่วยเหลือสนับสนุน การช่วยเหลือสนับสนุน การบริโภค ผู้ปฏิบัติหรือผู้นำการปฏิบัติ และผลลัพธ์ หรือผลที่ได้รับสูงสุดคือ ทุกสิ่งทุกอย่างกลายเป็นหนึ่งในสัจธรรมที่สมบูรณ์ พฺรหฺมนฺ สูงสุด นั่นคือวิธีการของกฺฤษฺณจิตสำนึก