ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สี่
ความรู้ทิพย์
โศลก 26
śrotrādīnīndriyāṇy anye
saṁyamāgniṣu juhvati
śabdādīn viṣayān anya
indriyāgniṣu juhvati
saṁyamāgniṣu juhvati
śabdādīn viṣayān anya
indriyāgniṣu juhvati
โศฺรตฺราทีนีนฺทฺริยาณฺยฺ อเนฺย
สํยมาคฺนิษุ ชุหฺวติ
ศพฺทาทีนฺ วิษยานฺ อนฺย
อินฺทฺริยาคฺนิษุ ชุหฺวติ
สํยมาคฺนิษุ ชุหฺวติ
ศพฺทาทีนฺ วิษยานฺ อนฺย
อินฺทฺริยาคฺนิษุ ชุหฺวติ
โศฺรตฺร-อาทีนิ — เช่นวิธีการฟัง, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, อเนฺย — ผู้อื่น, สํยม — หน่วงเหนี่ยว, อคฺนิษุ — ในไฟ, ชุหฺวติ — ถวาย, ศพฺท-อาทีนฺ — คลื่นเสียง ฯลฯ, วิษยานฺ — อายตนะภายนอกเพื่อสนองประสาทสัมผัส, อเนฺย — ผู้อื่น, อินฺทฺริย — ประสาทสัมผัส, อคฺนิษุ — ในไฟ, ชุหฺวติ — พวกเขาบูชา
คำแปล
บางคน
คำอธิบาย
สมาชิกของสี่ระดับแห่งชีวิตมนุษย์ เช่น พฺรหฺมจารี, คฺฤหสฺถ, วานปฺรสฺถ และ สนฺนฺยาสี ทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อมาเป็นโยคี หรือนักทิพย์นิยมที่สมบูรณ์เพราะว่าชีวิตมนุษย์มิได้มีไว้เพื่อหาความสุขด้วยการสนองประสาทสัมผัสเหมือนพวกสัตว์ ชีวิตมนุษย์จึงถูกจัดแบ่งไว้สี่ระดับเพื่อเราอาจบรรลุถึงความสมบูรณ์ในชีวิตทิพย์ พฺรหฺมจารี หรือนักศึกษาภายใต้การดูแลของพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ การควบคุมจิตใจของตนเองด้วยการละเว้นการสนองประสาทสัมผัส พฺรหฺมจารี จะสดับฟังเฉพาะคำพูดที่เกี่ยวกับกฺฤษฺณจิตสำนึก การสดับฟังคือหลักปฏิบัติพื้นฐานเพื่อความเข้าใจ ดังนั้น พฺรหฺมจารี ผู้บริสุทธิ์จะต้องปฏิบัติตนอย่างเต็มที่ใน หเรรฺ นามานุกีรฺตนมฺ หรือการสวดมนต์ภาวนา และการสดับฟังคำสรรเสริญพระบารมีขององค์ภควานฺ โดยจะหลีกเลี่ยงคลื่นเสียงวัตถุและสดับฟังเฉพาะคลื่นเสียงทิพย์ของ หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ ในลักษณะเดียวกันคฤหัสถ์ผู้ได้รับอนุญาตในการสนองประสาทสัมผัสปฏิบัติตนด้วยความอดกลั้นเป็นอย่างมาก โดยทั่วไปสังคมมนุษย์มีนิสัยชอบชีวิตเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด และรับประทานเนื้อสัตว์ แต่คฤหัสถ์ผู้มีวินัยจะไม่ปล่อยตัวตามใจไปกับชีวิตเพศสัมพันธ์ และการสนองประสาทสัมผัสที่ไร้วินัย ฉะนั้นการสมรสตามหลักของชีวิตทางศาสนาจึงปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ในสังคมที่มีอารยธรรม เพราะว่านั่นคือชีวิตเพศสัมพันธ์ที่มีระเบียบวินัย ชีวิตเพศสัมพันธ์ที่มีวินัยและไม่ยึดติดเช่นนี้ก็เป็น ยชฺญ ชนิดหนึ่ง เพราะว่าคฤหัสถ์ผู้มีระเบียบวินัยจะถวายนิสัยชอบสนองประสาทสัมผัสของตนเองโดยทั่วไปเพื่อชีวิตทิพย์ที่สูงกว่า