ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ ห้า
กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก
โศลก 14
na kartṛtvaṁ na karmāṇi
lokasya sṛjati prabhuḥ
na karma-phala-saṁyogaṁ
svabhāvas tu pravartate
lokasya sṛjati prabhuḥ
na karma-phala-saṁyogaṁ
svabhāvas tu pravartate
น กรฺตฺฤตฺวํ น กรฺมาณิ
โลกสฺย สฺฤชติ ปฺรภุห์
น กรฺม-ผล-สํโยคํ
สฺวภาวสฺ ตุ ปฺรวรฺตเต
โลกสฺย สฺฤชติ ปฺรภุห์
น กรฺม-ผล-สํโยคํ
สฺวภาวสฺ ตุ ปฺรวรฺตเต
น — ไม่, กรฺตฺฤตฺวมฺ — ความเป็นเจ้าของ, น — ไม่, กรฺมาณิ — กิจกรรม, โลกสฺย — ของประชาชน, สฺฤชติ — สร้าง, ปฺรภุห์ — เจ้านายของนครแห่งร่างกาย, น — ไม่, กรฺม-ผล — ด้วยผลของกิจกรรม, สํโยคมฺ — เชื่อม, สฺวภาวห์ — ระดับของธรรมชาติวัตถุ, ตุ — แต่, ปฺรวรฺตเต — ปฏิบัติ
คำแปล
วิญญาณในร่างเป็นเจ้าเมืองแห่งร่างกายของเขา
คำอธิบาย
สิ่งมีชีวิตซึ่งจะอธิบายในบทที่เจ็ดเป็นหนึ่งในพลังงานหรือธรรมชาติขององค์ภควานฺ แต่แตกต่างจากวัตถุซึ่งเป็นอีกธรรมชาติหนึ่งที่ต่ำกว่าขององค์ภควานฺ อย่างไรก็ดีสิ่งมีชีวิตหรือธรรมชาติที่สูงกว่าได้มาสัมผัสกับธรรมชาติวัตถุตั้งแต่โบราณกาล ร่างกายอันไม่ถาวรหรือสถานที่พำนักวัตถุที่เขาได้รับเป็นต้นเหตุของกิจกรรมและวิบากกรรมต่างๆนานา การมีชีวิตอยู่ในบรรยากาศวัตถุเช่นนี้เขาจึงได้รับความทุกข์จากผลกรรมของร่างกายเนื่องจากสำคัญตัวเองกับร่างกาย (ในอวิชชา) ความอวิชชาเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์และความเศร้าโศกทางร่างกายที่รับเอามาตั้งแต่โบราณกาล ทันทีที่สิ่งมีชีวิตตีตัวออกห่างจากกิจกรรมทางร่างกายก็จะมีอิสรเสรีจากวิบากกรรมด้วย ตราบใดที่ยังอยู่ในนครแห่งร่างกายอาจดูเหมือนว่าเป็นเจ้านาย แต่แท้ที่จริงไม่ได้เป็นทั้งเจ้าของหรือผู้ควบคุมการกระทำและผลกรรมของร่างกาย เขาเพียงแต่อยู่ในใจกลางมหาสมุทรวัตถุดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด คลื่นแห่งมหาสมุทรกำลังซัดพาไปและตัวเขาควบคุมมันไม่ได้ ผลสรุปที่ดีที่สุดของเขาคือออกจากมหาสมุทรนี้ด้วยกฺฤษฺณจิตสำนึกทิพย์ ซึ่งเป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะช่วยเขาให้พ้นจากความยุ่งยากทั้งปวง