ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ ห้า
กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก
โศลก 2
śrī-bhagavān uvāca
sannyāsaḥ karma-yogaś ca
niḥśreyasa-karāv ubhau
tayos tu karma-sannyāsāt
karma-yogo viśiṣyate
sannyāsaḥ karma-yogaś ca
niḥśreyasa-karāv ubhau
tayos tu karma-sannyāsāt
karma-yogo viśiṣyate
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
สนฺนฺยาสห์ กรฺม-โยคศฺ จ
นิห์เศฺรยส-กราวฺ อุเภา
ตโยสฺ ตุ กรฺม-สนฺนฺยาสาตฺ
กรฺม-โยโค วิศิษฺยเต
สนฺนฺยาสห์ กรฺม-โยคศฺ จ
นิห์เศฺรยส-กราวฺ อุเภา
ตโยสฺ ตุ กรฺม-สนฺนฺยาสาตฺ
กรฺม-โยโค วิศิษฺยเต
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานฺตรัส, สนฺนฺยาสห์ — การสละงาน, กรฺม-โยคห์ — งานในการอุทิศตนเสียสละ, จ — เช่นกัน, นิห์เศฺรยส-กเรา — นำไปสู่วิถีทางแห่งความหลุดพ้น, อุเภา — ทั้งสอง, ตโยห์ — ของทั้งสอง, ตุ — แต่, กรฺม-สนฺนฺยาสาตฺ — เมื่อเปรียบเทียบกับการสละงานเพื่อผลทางวัตถุ, กรฺม-โยคห์ — งานในการอุทิศตนเสียสละ, วิศิษฺยเต — ดีกว่า
คำแปล
องค์ภควานฺตรัสตอบว่า
คำอธิบาย
กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ (แสวงหาการสนองประสาทสัมผัส) เป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการทางวัตถุ ตราบที่เรายังปฏิบัติกิจกรรมเพื่อมุ่งพัฒนามาตรฐานความสะดวกของร่างกายแน่นอนว่าเราต้องเคลื่อนย้ายเข้าไปสู่ร่างต่างๆกัน และสืบสานการพันธนาการทางวัตถุชั่วกัลปวสาน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (5.5.4-6) ได้ยืนยันไว้ดังต่อไปนี้
นูนํ ปฺรมตฺตห์ กุรุเต วิกรฺม
ยทฺ อินฺทฺริย-ปฺรีตย อาปฺฤโณติ
น สาธุ มเนฺย ยต อาตฺมโน ’ยมฺ
อสนฺนฺ อปิ เกฺลศ-ท อาส เทหห์
ยทฺ อินฺทฺริย-ปฺรีตย อาปฺฤโณติ
น สาธุ มเนฺย ยต อาตฺมโน ’ยมฺ
อสนฺนฺ อปิ เกฺลศ-ท อาส เทหห์
ปราภวสฺ ตาวทฺ อโพธ-ชาโต
ยาวนฺ น ชิชฺญาสต อาตฺม-ตตฺตฺวมฺ
ยาวตฺ กฺริยาสฺ ตาวทฺ อิทํ มโน ไว
กรฺมาตฺมกํ เยน ศรีร-พนฺธห์
ยาวนฺ น ชิชฺญาสต อาตฺม-ตตฺตฺวมฺ
ยาวตฺ กฺริยาสฺ ตาวทฺ อิทํ มโน ไว
กรฺมาตฺมกํ เยน ศรีร-พนฺธห์
เอวํ มนห์ กรฺม-วศํ ปฺรยุงฺกฺเต
อวิทฺยยาตฺมนฺยฺ อุปธียมาเน
ปฺรีติรฺ น ยาวนฺ มยิ วาสุเทเว
น มุจฺยเต เทห-โยเคน ตาวตฺ
อวิทฺยยาตฺมนฺยฺ อุปธียมาเน
ปฺรีติรฺ น ยาวนฺ มยิ วาสุเทเว
น มุจฺยเต เทห-โยเคน ตาวตฺ
“บุคคลผู้บ้าคลั่งในการสนองประสาทสัมผัสโดยไม่รู้ว่าร่างกายวัตถุที่เต็มไปด้วยความทุกข์นี้เป็นผลพวงมาจากกิจกรรมเพื่อหวังผลทางวัตถุในอดีตของตนเอง ถึงแม้ว่าร่างกายนี้ไม่ถาวรแต่มันก็สร้างความเดือดร้อนให้เราอยู่เสมอในหลายๆด้าน ฉะนั้นการกระทำเพื่อสนองประสาทสัมผัสมิใช่สิ่งที่ดี ตราบเท่าที่เรายังไม่ตั้งคำถามเกี่ยวกับบุคลิกภาพอันแท้จริงของตัวเราเองก็ถือว่าชีวิตเราล้มเหลว เพราะตราบใดที่เรายังไม่รู้ถึงบุคลิกภาพอันแท้จริงของตัวเราเราก็จะทำงานเพื่อผลทางวัตถุเพื่อสนองประสาทสัมผัส และตราบใดที่เรายังหมกมุ่นอยู่ในจิตสำนึกแห่งการสนองประสาทสัมผัสเราจะต้องเคลื่อนย้ายออกจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าจิตใจอาจหมกมุ่นอยู่ในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุและถูกครอบงำโดยอวิชชา แต่ถ้าเราพัฒนาความรักเพื่อการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ วาสุเทว จากจุดนี้เท่านั้นที่เราจะสามารถได้รับโอกาสหลุดพ้นจากพันธนาการในความเป็นอยู่ทางวัตถุ”
ฉะนั้น ชฺญาน (หรือความรู้ที่ว่าตัวเราไม่ใช่ร่างวัตถุนี้แต่เป็นดวงวิญญาณ) นั้นไม่เพียงพอสำหรับความหลุดพ้น เราจะต้องปฏิบัติตนในสถานภาพของดวงวิญญาณ มิฉะนั้นแล้วจะไม่มีหนทางหลบหนีออกไปจากพันธนาการทางวัตถุ อย่างไรก็ดีการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกมิใช่เป็นการปฏิบัติในระดับเพื่อผลทางวัตถุ แต่เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติด้วยความรู้อันสมบูรณ์จะช่วยให้เราเจริญขึ้นในความรู้ที่แท้จริง การสละผลของงานอย่างเดียวโดยปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึกมิได้ทำให้หัวใจของพันธวิญญาณบริสุทธิ์ขึ้นอย่างแท้จริง ตราบใดที่หัวใจยังไม่บริสุทธิ์เราจะต้องทำงานในระดับที่หวังผล แต่การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะช่วยเราให้หลบออกจากผลของการปฏิบัติเพื่อผลทางวัตถุโดยปริยาย เพื่อที่เราจะได้ไม่ตกลงมาสู่ระดับวัตถุ ฉะนั้นการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงสูงกว่าการสละ หรือการปล่อยวางอย่างแน่นอน การสละหรือการปล่อยวางยังมีความเสี่ยงในการตกลงต่ำอยู่เสมอ การสละโดยปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึกนั้นไม่สมบูรณ์ ดังที่ ศฺรีล รูป โคสฺวามี ได้ยืนยันไว้ใน ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ (1.2.258) ว่า
ปฺราปญฺจิกตยา พุทฺธฺยา
หริ-สมฺพนฺธิ-วสฺตุนห์
มุมุกฺษุภิห์ ปริตฺยาโค
ไวราคฺยํ ผลฺคุ กถฺยเต
หริ-สมฺพนฺธิ-วสฺตุนห์
มุมุกฺษุภิห์ ปริตฺยาโค
ไวราคฺยํ ผลฺคุ กถฺยเต
“เมื่อบุคคลผู้มีความกระตือรือร้นที่จะบรรลุความหลุดพ้น สละสิ่งต่างๆที่สัมพันธ์กับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า โดยคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุ การสละเช่นนี้ถือว่าไม่สมบูรณ์” การเสียสละหรือการปล่อยวางที่สมบูรณ์จะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในความรู้ที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่เป็นขององค์ภควานฺ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ควรมีผู้ใดอ้างความเป็นเจ้าของในสิ่งใดๆ เราควรเข้าใจว่าอันที่จริงไม่มีอะไรเป็นของใคร ดังนั้นจึงไม่มีผู้ใดจะต้องไปเสียสละอะไร ผู้ที่ทราบว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสมบัติขององค์กฺฤษฺณจะสถิตในความปล่อยวางหรือเสียสละอยู่เสมอ เนื่องจากทุกสิ่งอย่างเป็นขององค์กฺฤษฺณจึงควรถูกนำมาใช้เพื่อเป็นการรับใช้องค์กฺฤษฺณ การปฏิบัติที่สมบูรณ์แบบในกฺฤษฺณจิตสำนึกเช่นนี้ดีกว่าการเสียสละ หรือการปล่อยวางที่ฝืนธรรมชาติโดย สนฺนฺยาสี แห่งสถาบัน มายาวาที