ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 5

yat sāṅkhyaiḥ prāpyate sthānaṁ
tad yogair api gamyate
ekaṁ sāṅkhyaṁ ca yogaṁ ca
yaḥ paśyati sa paśyati
ยตฺ สางฺไขฺยห์ ปฺราปฺยเต สฺถานํ
ตทฺ โยไครฺ อปิ คมฺยเต
เอกํ สางฺขฺยํ จ โยคํ จ
ยห์ ปศฺยติ ส ปศฺยติ
ยตฺ — อะไร, สางฺไขฺยห์ — ด้วยวิธีของปรัชญา สางฺขฺย, ปฺราปฺยเต — บรรลุ, สฺถานมฺ — สถานที่, ตตฺ — นั้น, โยไคห์ — ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้, อปิ — เช่นกัน, คมฺยเต — เราสามารถได้รับ, เอกมฺ — หนึ่ง, สางฺขฺยมฺ — การศึกษาวิเคราห์, — และ, โยคมฺ — ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละ, — และ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, ปศฺยติ — เห็น, สห์ — เขา, ปศฺยติ — เห็นโดยแท้จริง

คำแปล

ผู้ที่รู้ว่าสภาวะที่ไปถึงด้วยวิธีการศึกษาวิเคราะห์สามารถบรรลุถึงได้ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้เช่นกัน ดังนั้นจึงเห็นว่าการศึกษาวิเคราะห์และการอุทิศตนเสียสละรับใช้อยู่ในระดับเดียวกัน ผู้นี้ได้เห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง

คำอธิบาย

จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการค้นคว้าทางปรัชญาคือ การค้นหาเป้าหมายสูงสุดของชีวิต เนื่องจากเป้าหมายสูงสุดของชีวิตคือการรู้แจ้งตนเองจึงไม่มีข้อแตกต่างระหว่างผลสรุปที่บรรลุได้ด้วยทั้งสองวิธี ด้วยการค้นคว้าทางปรัชญา สางฺขฺย เราสรุปได้ว่าสิ่งมีชีวิตไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของโลกวัตถุ แต่เป็นส่วนของดวงวิญญาณที่สมบูรณ์สูงสุด ดังนั้นดวงวิญญาณของเราจึงไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับโลกวัตถุ การปฏิบัติของเราจึงต้องมีความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ เมื่อปฏิบัติตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกเราอยู่ในสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของเรา ในวิธีแรกหรือ สางฺขฺย คือเราต้องไม่ยึดติดกับวัตถุ และในวิธีโยคะแห่งการอุทิศตนเสียสละเราต้องยึดมั่นอยู่กับงานในกฺฤษฺณจิตสำนึก อันที่จริงทั้งสองวิธีนี้เหมือนกันแม้ว่าโดยผิวเผินวิธีหนึ่งจะเกี่ยวกับการไม่ยึดติดและอีกวิธีหนึ่งเกี่ยวกับการยึดมั่น การไม่ยึดติดกับวัตถุและการยึดมั่นกับองค์กฺฤษฺณเป็นหนึ่งเดียวกัน ผู้ที่เห็นเช่นนี้เห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง