ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ ห้า
กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก
โศลก 8-9
naiva kiñcit karomīti
yukto manyeta tattva-vit
paśyañ śṛṇvan spṛśañ jighrann
aśnan gacchan svapañ śvasan
yukto manyeta tattva-vit
paśyañ śṛṇvan spṛśañ jighrann
aśnan gacchan svapañ śvasan
ไนว กิญฺจิตฺ กโรมีติ
ยุกฺโต มเนฺยต ตตฺตฺว-วิตฺ
ปศฺยญฺ ศฺฤณฺวนฺ สฺปฺฤศญฺ ชิฆฺรนฺนฺ
อศฺนนฺ คจฺฉนฺ สฺวปญฺ ศฺวสนฺ
ยุกฺโต มเนฺยต ตตฺตฺว-วิตฺ
ปศฺยญฺ ศฺฤณฺวนฺ สฺปฺฤศญฺ ชิฆฺรนฺนฺ
อศฺนนฺ คจฺฉนฺ สฺวปญฺ ศฺวสนฺ
pralapan visṛjan gṛhṇann
unmiṣan nimiṣann api
indriyāṇīndriyārtheṣu
vartanta iti dhārayan
unmiṣan nimiṣann api
indriyāṇīndriyārtheṣu
vartanta iti dhārayan
ปฺรลปนฺ วิสฺฤชนฺ คฺฤหฺณนฺนฺ
อุนฺมิษนฺ นิมิษนฺนฺ อปิ
อินฺทฺริยาณีนฺทฺริยารฺเถษุ
วรฺตนฺต อิติ ธารยนฺ
อุนฺมิษนฺ นิมิษนฺนฺ อปิ
อินฺทฺริยาณีนฺทฺริยารฺเถษุ
วรฺตนฺต อิติ ธารยนฺ
น — ไม่, เอว — แน่นอน, กิญฺจิตฺ — สิ่งใดๆ, กโรมิ — ข้าพเจ้าทำ, อิติ — ดังนั้น, ยุกฺตห์ — ปฏิบัติอยู่ในจิตสำนึกทิพย์, มเนฺยต — คิด, ตตฺตฺว-วิตฺ — ผู้ที่ทราบความจริง, ปศฺยนฺ — เห็น, ศฺฤณฺวนฺ — ได้ยิน, สฺปฺฤศนฺ — สัมผัส, ชิฆฺรนฺ — กลิ่น, อศฺนนฺ — รับประทาน, คจฺฉนฺ — ไป, สฺวปนฺ — ฝัน, ศฺวสนฺ — หายใจ, ปฺรลปนฺ — พูด, วิสฺฤชนฺ — ยกเลิก, คฺฤหฺณนฺ — ยอมรับ, อุนฺมิษนฺ — เปิด, นิมิษนฺ — ปิด, อปิ — ถึงแม้ว่า, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, อินฺทฺริย-อรฺเถษุ — ในการสนองประสาทสัมผัส, วรฺตนฺเต — ปล่อยให้พวกเขาปฏิบัติ, อิติ — ดังนั้น, ธารยนฺ — พิจารณา
คำแปล
บุคคลผู้อยู่ในจิตสำนึกทิพย์
คำอธิบาย
บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกมีความเป็นอยู่ที่บริสุทธิ์ ฉะนั้นท่านไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับงานใดๆที่ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยทั้งใกล้และไกลห้าประการคือ ผู้กระทำงาน สถานการณ์ ความพยายาม และโชคลาภ ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าท่านปฏิบัติในการรับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อองค์กฺฤษฺณ ถึงแม้ดูเหมือนว่าปฏิบัติด้วยร่างกายและประสาทสัมผัสท่านก็รู้สำนึกอยู่เสมอถึงสถานภาพอันแท้จริง ในการปฏิบัติทิพย์ในวัตถุจิตสำนึกประสาทสัมผัสปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเอง แต่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกประสาทสัมผัสปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัสขององค์กฺฤษฺณให้ทรงพอพระทัย ดังนั้นบุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะเป็นอิสระอยู่เสมอ ถึงแม้จะดูเหมือนว่าตัวท่านปฏิบัติอยู่ในภารกิจของประสาทสัมผัส กิจกรรมต่างๆ เช่น การเห็นและได้ยินเป็นการปฏิบัติของประสาทสัมผัสเพื่อให้ได้ความรู้ขณะที่การเคลื่อนไหว การพูด การขับถ่าย ฯลฯ เป็นการปฏิบัติของประสาทสัมผัสเพื่อทำงาน บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีวันได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติของประสาทสัมผัส ท่านไม่สามารถปฏิบัติสิ่งใดนอกจากการรับใช้องค์ภควานฺ เพราะทราบดีว่าตัวท่านเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์กฺฤษฺณ