ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 11-12

śucau deśe pratiṣṭhāpya
sthiram āsanam ātmanaḥ
nāty-ucchritaṁ nāti-nīcaṁ
cailājina-kuśottaram
ศุเจา เทเศ ปฺรติษฺฐาปฺย
สฺถิรมฺ อาสนมฺ อาตฺมนห์
นาตฺยฺ-อุจฺฉฺริตํ นาติ-นีจํ
ไจลาชิน-กุโศตฺตรมฺ
tatraikāgraṁ manaḥ kṛtvā
yata-cittendriya-kriyaḥ
upaviśyāsane yuñjyād
yogam ātma-viśuddhaye
ตไตฺรกาคฺรํ มนห์ กฺฤตฺวา
ยต-จิตฺเตนฺทฺริย-กฺริยห์
อุปวิศฺยาสเน ยุญฺชฺยาทฺ
โยคมฺ อาตฺม-วิศุทฺธเย
ศุเจา — ในความถูกต้อง, เทเศ — แผ่นดิน, ปฺรติษฺฐาปฺย — วาง, สฺถิรมฺ — มั่นคง, อาสนมฺ — ที่นั่ง, อาตฺมนห์ — ตัวเขา, — ไม่, อติ — เกินไป, อุจฺฉฺริตมฺ — สูง, — ไม่, อติ — เกินไป, นีจมฺ — ต่ำ, ไจล-อชิน — ผ้านุ่มและหนังกวาง, กุศ — และหญ้า กุศ, อุตฺตรมฺ — คลุม, ตตฺร — ข้างบน, เอก-อคฺรมฺ — ตั้งใจเป็นหนึ่ง, มนห์ — จิตใจ, กฺฤตฺวา — ทำ, ยต-จิตฺต — ควบคุมจิตใจ, อินฺทฺริย — ประสาทสัมผัส, กฺริยห์ — และกิจกรรม, อุปวิศฺย — นั่ง, อาสเน — บนที่นั่ง, ยุญฺชฺยาตฺ — ควรปฏิบัติ, โยคมฺ — ฝึกปฏิบัติโยคะ, อาตฺม — หัวใจ, วิศุทฺธเย — เพื่อให้บริสุทธิ์

คำแปล

ในการฝึกปฏิบัติโยคะเขาควรไปที่สถานที่สันโดษและควรวางหญ้า กุศ บนพื้น จากนั้นคลุมด้วยหนังกวางและผ้านุ่ม ที่นั่งไม่ควรสูงหรือต่ำเกินไป และควรอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นโยคีควรนั่งบนที่นั่งนี้ด้วยความแน่วแน่มั่นคง ฝึกปฏิบัติโยคะเพื่อให้หัวใจสะอาดบริสุทธิ์ด้วยการควบคุมจิตใจ ประสาทสัมผัส และกิจกรรมของตนเอง ตั้งมั่นจิตอยู่ที่จุดเดียว

คำอธิบาย

“สถานที่ศักดิ์สิทธิ์” หมายถึงสถานที่ที่ควรเคารพสักการะ ในประเทศอินเดียโยคีนักทิพย์นิยม หรือสาวกนั้นทั้งหมดจะออกจากบ้านและไปพำนักอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ปฺรยาค, มถุรา, วฺฤนฺทาวน, หฺฤษีเกศ และ หรฺทฺวรฺ ในความสันโดษจะฝึกปฏิบัติโยคะ สถานที่ที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น ยะมุนาและคงคาไหลผ่าน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นไปไม่ได้โดยเฉพาะชาวตะวันตก สิ่งที่เรียกว่าสมาคมโยคะในเมืองใหญ่ๆอาจประสบความสำเร็จในผลกำไรทางวัตถุ แต่ว่าไม่เหมาะสมเลยในการฝึกปฏิบัติโยคะที่แท้จริง ผู้ที่ควบคุมตนเองไม่ได้และผู้ที่จิตใจไม่สงบไม่สามารถฝึกปฏิบัติสมาธิได้ ฉะนั้นใน พฺฤหนฺ-นารทีย ปุราณ ได้กล่าวไว้ว่าใน กลิ-ยุค (ยุคปัจจุบัน) เมื่อคนทั่วไปมีอายุสั้น เฉื่อยชาในความรู้ทิพย์ และถูกรบกวนจากความวิตกกังวลต่างๆอยู่เสมอ วิธีที่ดีที่สุดในการรู้แจ้งทิพย์คือ การสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ

หเรรฺ นาม หเรรฺ นาม
หเรรฺ นาไมว เกวลมฺ
กเลา นาสฺตฺยฺ เอว นาสฺตฺยฺ เอว
นาสฺตฺยฺ เอว คติรฺ อนฺยถา
“ในยุคแห่งการทะเลาะวิวาทและมือถือสากปากถือศีลนี้ วิธีแห่งความหลุดพ้นคือ การร้องเพลงสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ ไม่มีหนทางอื่นใด ไม่มีหนทางอื่นใด และไม่มีหนทางอื่นใด”