ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ หก
ธฺยาน-โยค
โศลก 5
uddhared ātmanātmānaṁ
nātmānam avasādayet
ātmaiva hy ātmano bandhur
ātmaiva ripur ātmanaḥ
nātmānam avasādayet
ātmaiva hy ātmano bandhur
ātmaiva ripur ātmanaḥ
อุทฺธเรทฺ อาตฺมนาตฺมานํ
นาตฺมานมฺ อวสาทเยตฺ
อาตฺไมว หฺยฺ อาตฺมโน พนฺธุรฺ
อาตฺไมว ริปุรฺ อาตฺมนห์
นาตฺมานมฺ อวสาทเยตฺ
อาตฺไมว หฺยฺ อาตฺมโน พนฺธุรฺ
อาตฺไมว ริปุรฺ อาตฺมนห์
อุทฺธเรตฺ — เราต้องส่ง, อาตฺมนา — ด้วยจิตใจ, อาตฺมานมฺ — พันธวิญญาณ, น — ไม่เคย, อาตฺมานมฺ — พันธวิญญาณ, อวสาทเยตฺ — ทำให้ตกต่ำลง, อาตฺมา — จิตใจ, เอว — แน่นอน, หิ — อันที่จริง, อาตฺมนห์ — ของพันธวิญญาณ, พนฺธุห์ — เพื่อน, อาตฺมา — จิตใจ, เอว — แน่นอน, ริปุห์ — ศัตรู, อาตฺมนห์ — ของพันธวิญญาณ
คำแปล
เราต้องจัดส่งตนเองด้วยความช่วยเหลือจากจิตใจของตัวเอง
คำอธิบาย
คำว่า อาตฺมา หมายถึง ร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ในระบบโยคะนั้นจิตใจของพันธวิญญาณสำคัญมากเพราะว่าจิตใจเป็นศูนย์กลางของการฝึกปฏิบัติโยคะ ณ ที่นี้ อาตฺมา หมายถึง จิตใจ จุดมุ่งหมายของระบบโยคะก็เพื่อควบคุมจิตใจและดึงให้จิตใจออกห่างจากการยึดติดกับอายตนะภายนอก ได้เน้นไว้ที่นี้ว่าจิตใจจะต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อจัดส่งพันธวิญญาณให้พ้นจากโคลนตมแห่งอวิชชา ในความเป็นอยู่ทางวัตถุเราอยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของจิตใจและประสาทสัมผัส อันที่จริงดวงวิญญาณบริสุทธิ์ถูกพันธนาการอยู่ในโลกวัตถุ เพราะว่าจิตใจถูกอหังการพัวพันซึ่งทำให้ต้องการเป็นเจ้าครอบครองธรรมชาติวัตถุ ฉะนั้นจิตใจควรได้รับการฝึกฝนเพื่อไม่ให้ไปหลงใหลกับแสงสีของธรรมชาติวัตถุ ด้วยวิธีนี้พันธวิญญาณอาจได้รับความปลอดภัย เราไม่ควรทำตัวเองให้ตกต่ำลงด้วยการไปหลงใหลกับอายตนะภายนอก หากเราไปหลงใหลกับอายตนะภายนอกมากเท่าไรเราก็จะถูกพันธนาการในความเป็นอยู่ทางวัตถุมากเท่านั้น วิธีที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้ตนเองถูกพันธนาการคือให้จิตใจปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอ คำว่า หิ ใช้เพื่อเน้นจุดนี้ ตัวอย่างเช่น เราต้องทำเช่นนี้ ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า
มน เอว มนุษฺยาณำ
การณํ พนฺธ-โมกฺษโยห์
พนฺธาย วิษยาสงฺโค
มุกฺไตฺย นิรฺวิษยํ มนห์
การณํ พนฺธ-โมกฺษโยห์
พนฺธาย วิษยาสงฺโค
มุกฺไตฺย นิรฺวิษยํ มนห์
“สำหรับมนุษย์นั้นจิตใจเป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการ และจิตใจก็เป็นต้นเหตุแห่งความหลุดพ้น จิตใจที่ซึมซาบอยู่กับอายตนะภายนอกเป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการ และจิตใจที่ไม่ยึดติดกับอายตนะภายนอกเป็นต้นเหตุแห่งความหลุดพ้น” (อมฺฤต-พินฺทุ อุปนิษทฺ 2) ฉะนั้นจิตใจที่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอเป็นต้นเหตุแห่งความหลุดพ้นสูงสุด