ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ เจ็ด

ความรู้แห่งสัจธรรม

โศลก 9

puṇyo gandhaḥ pṛthivyāṁ ca
tejaś cāsmi vibhāvasau
jīvanaṁ sarva-bhūteṣu
tapaś cāsmi tapasviṣu
ปุโณฺย คนฺธห์ ปฺฤถิวฺยำ จ
เตชศฺ จาสฺมิ วิภาวเสา
ชีวนํ สรฺว-ภูเตษุ
ตปศฺ จาสฺมิ ตปสฺวิษุ
ปุณฺยห์ — เดิมแท้, คนฺธห์ — กลิ่น, ปฺฤถิวฺยามฺ — ในดิน, — เช่นกัน, เตชห์ — ความร้อน, — เช่นกัน, อสฺมิ — ข้าเป็น, วิภาวเสา — ในไฟ, ชีวนมฺ — ชีวิต, สรฺว — ในทั้งหมด, ภูเตษุ — สิ่งมีชีวิต, ตปห์ — การบำเพ็ญเพียร, — เช่นกัน, อสฺมิ — ข้าเป็น, ตปสฺวิษุ — ในพวกที่ปฏิบัติการบำเพ็ญเพียร

คำแปล

ข้าคือกลิ่นเดิมแท้ของดิน ข้าคือความร้อนในไฟ ข้าคือดวงชีวิตของมวลชีวิต และข้าคือการบำเพ็ญเพียรของนักพรตทั้งหลาย

คำอธิบาย

ปุณฺย หมายความว่าสิ่งที่ไม่เน่าเปื่อย ปุณฺย เป็นสิ่งเดิมแท้ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกวัตถุนี้มีเชื้อกลิ่นหรือกลิ่นหอมโดยเฉพาะของมันดังเช่นเชื้อกลิ่นหอมในดอกไม้หรือในดิน ในน้ำ ในไฟ ในลม ฯลฯ เชื้อกลิ่นที่บริสุทธิ์หรือกลิ่นเดิมแท้ที่ซึมซาบอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างคือองค์กฺฤษฺณ ในทำนองเดียวกันทุกสิ่งทุกอย่างมีรสเดิมแท้โดยเฉพาะของมัน รสนี้สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการผสมกับสารเคมี ฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างในสภาพเดิมแท้จะมีกลิ่น มีความหอม และมีรสของมัน วิภาวสุ หมายถึงไฟ หากปราศจากไฟโรงงานอุตสาหกรรมจะดำเนินงานไม่ได้และเราไม่สามารถปรุงอาหารได้เช่นกัน ไฟนั้นคือองค์กฺฤษฺณ ความร้อนในไฟก็คือองค์กฺฤษฺณ ตามหลักเวชศาสตร์พระเวทท้องผูกเนื่องมาจากอุณหภูมิในท้องต่ำ ดังนั้นแม้แต่การย่อยอาหารไฟยังเป็นสิ่งจำเป็นในกฺฤษฺณจิตสำนึก เราทราบดีว่าดิน น้ำ ไฟ ลม และสารที่มีฤทธิ์ทุกชนิดเคมีทั้งหมด และธาตุวัตถุทั้งหมดเนื่องมาจากองค์กฺฤษฺณ อายุขัยของชีวิตมนุษย์ก็เนื่องมาจากองค์กฺฤษฺณเช่นเดียวกัน ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์กฺฤษฺณทำให้มนุษย์มีอายุยืนหรืออายุสั้นได้ ฉะนั้นกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่ง