ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ แปด
การบรรลุถึงองค์ภควานฺ
โศลก 23
yatra kāle tv anāvṛttim
āvṛttiṁ caiva yoginaḥ
prayātā yānti taṁ kālaṁ
vakṣyāmi bharatarṣabha
āvṛttiṁ caiva yoginaḥ
prayātā yānti taṁ kālaṁ
vakṣyāmi bharatarṣabha
ยตฺร กาเล ตฺวฺ อนาวฺฤตฺติมฺ
อาวฺฤตฺตึ ไจว โยคินห์
ปฺรยาตา ยานฺติ ตํ กาลํ
วกฺษฺยามิ ภรตรฺษภ
อาวฺฤตฺตึ ไจว โยคินห์
ปฺรยาตา ยานฺติ ตํ กาลํ
วกฺษฺยามิ ภรตรฺษภ
ยตฺร — ที่ซึ่ง, กาเล — กาลเวลา, ตุ — และ, อนาวฺฤตฺติมฺ — ไม่กลับมา, อาวฺฤตฺติมฺ — กลับมา, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, โยคินห์ — โยคีประเภทต่างๆ, ปฺรยาตาห์ — ล่วงลับไปแล้ว, ยานฺติ — บรรลุ, ตมฺ — นั้น, กาลมฺ — กาลเวลา, วกฺษฺยามิ — ข้าจะอธิบาย, ภรต-ฤษภ — โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมในหมู่บาระทะ
คำแปล
โอ้
คำอธิบาย
เหล่าสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์ภควานฺผู้เป็นดวงวิญญาณที่ศิโรราบโดยดุษฎีไม่สนใจว่าเมื่อใดจะออกจากร่างนี้หรือจะไปด้วยวิธีใด ท่านปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในพระหัตถ์ขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจึงกลับคืนสู่องค์ภควานฺได้อย่างง่ายดายและมีความสุข แต่พวกที่ไม่ใช่สาวกผู้บริสุทธิ์ต้องขึ้นอยู่กับวิธีต่างๆแห่งการรู้แจ้งทิพย์ เช่น กรฺม-โยค, ชฺญาน-โยค และ หฐ-โยค และต้องออกจากร่างนี้ไปในเวลาที่เหมาะสมจึงมั่นใจว่าจะกลับหรือไม่กลับมาในโลกแห่งการเกิดและการตายนี้อีก
หากโยคีมีความสมบูรณ์เขาสามารถเลือกเวลาและสภาวะในการออกจากโลกวัตถุนี้ไปได้ แต่หากว่าไม่มีความชำนาญเพียงพอความสำเร็จก็ขึ้นอยู่การจากไปโดยไม่ได้ตั้งใจในเวลาที่เหมาะสม เวลาที่เหมาะสมขณะจากไปและจะไม่กลับมานั้นองค์ภควานฺทรงอธิบายไว้ในโศลกต่อไป จาก อาจารฺย วิทฺยาภูษณ คำสันสกฤต กาล ที่ใช้ ณ ที่นี้หมายถึงพระปฏิมาผู้ทรงเป็นประมุขแห่งกาลเวลา