ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ เก้า

ความรู้ที่ลับสุดยอด

โศลก 24

ahaṁ hi sarva-yajñānāṁ
bhoktā ca prabhur eva ca
na tu mām abhijānanti
tattvenātaś cyavanti te
อหํ หิ สรฺว-ยชฺญานำ
โภกฺตา จ ปฺรภุรฺ เอว จ
น ตุ มามฺ อภิชานนฺติ
ตตฺเตฺวนาตศฺ จฺยวนฺติ เต
อหมฺ — ข้า, หิ — แน่นอน, สรฺว — ทั้งหมด, ยชฺญานามฺ — การบูชา, โภกฺตา — ผู้มีความสุข, — และ, ปฺรภุห์ — องค์ภควาน, เอว — เช่นกัน, — และ, — ไม่, ตุ — แต่, มามฺ — ข้า, อภิชานนฺติ — พวกเขารู้, ตตฺเตฺวน — ในความจริง, อตห์ — ฉะนั้น, จฺยวนฺติ — ตกลงต่ำ, เต — พวกเขา

คำแปล

ข้าคือผู้มีความสุข และเป็นเจ้าแห่งพิธีบูชาทั้งหลายแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ฉะนั้นพวกที่ไม่รู้ธรรมชาติทิพย์อันแท้จริงของข้าจะตกลงต่ำ

คำอธิบาย

ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน ที่นี้ว่ามีวิธีการปฏิบัติ ยชฺญ มากมายที่แนะนำไว้ในวรรณกรรมพระเวทแต่อันที่จริงทั้งหมดมีไว้เพื่อให้องค์ภควานฺทรงพอพระทัย ยชฺญ หมายถึง พระวิษฺณุ ในบทที่สามของ ภควัท-คีตา กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าเราควรทำงานเพื่อให้ ยชฺญ หรือให้พระวิษฺณุทรงพอพระทัยเท่านั้น รูปแบบอันสมบูรณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์ชื่อว่า วรฺณาศฺรม-ธรฺม หมายเฉพาะเพื่อให้พระวิษฺณุทรงพอพระทัย ฉะนั้นองค์กฺฤษฺณตรัสในโศลกนี้ว่า “ข้าคือผู้ได้รับความสุขจากพิธีบูชาทั้งปวงเพราะข้าคือเจ้านายสูงสุด” อย่างไรก็ดีผู้ด้อยปัญญาไม่รู้ความจริงนี้บูชาเทวดาเพื่อผลประโยชน์ชั่วคราวบางประการ ดังนั้นพวกเขาตกลงไปในความเป็นอยู่ทางวัตถุและไม่บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ปรารถนาของชีวิต หากผู้ใดมีความปรารถนาทางวัตถุที่ต้องสนองตอบควรสวดภาวนาแด่องค์ภควานฺจะดีกว่า (ถึงแม้ว่าไม่ใช่เป็นการอุทิศตนเสียสละที่บริสุทธิ์) และจะได้รับผลตามใจปรารถนา