ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

โศลก 3

śrī-bhagavān uvāca
loke ’smin dvi-vidhā niṣṭhā
purā proktā mayānagha
jñāna-yogena sāṅkhyānāṁ
karma-yogena yoginām
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
โลเก ’สฺมินฺ ทฺวิ-วิธา นิษฺฐา
ปุรา โปฺรกฺตา มยานฆ
ชฺญาน-โยเคน สางฺขฺยานำ
กรฺม-โยเคน โยคินามฺ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, โลเก — ในโลก, อสฺมินฺ — นี้, ทฺวิ-วิธา — สองประเภท, นิษฺฐา — ความศรัทธา, ปุรา — อดีต, โปฺรกฺตา — ได้กล่าวไว้, มยา — โดยข้า, อนฆ — โอ้ ผู้ไร้บาป, ชฺญาน-โยเคน — โดยวิธีการเชื่อมด้วยความรู้, สางฺขฺยานามฺ — ของปราชญ์ผู้สังเกตุ, กรฺม-โยเคน — โดยวิธีการเชื่อมด้วยการอุทิศตนเสียสละ, โยคินามฺ — ของสาวก

คำแปล

องค์ภควานตรัสว่า โอ้ อรฺชุน ผู้ไร้บาป ข้าได้อธิบายเรียบร้อยแล้วว่ามีคนอยู่สองประเภทที่พยายามรู้แจ้งตนเอง บางคนมีแนวโน้มที่จะเข้าใจด้วยการสังเกตและคาดคะเนทางปรัชญา และบางคนเข้าใจด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้

คำอธิบาย

ในบทที่สอง โศลก 39 องค์ภควานฺทรงอธิบายไปแล้วสองวิธีคือ สางฺขฺย-โยค และ กรฺม-โยค หรือ พุทฺธิ-โยค ในโศลกนี้องค์ภควานฺทรงอธิบายเรื่องเดียวกันแต่ว่าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สางฺขฺย-โย หรือการศึกษาด้วยการวิเคราะห์ธรรมชาติของดวงวิญญาณและวัตถุเป็นเรื่องของผู้ที่มีแนวโน้มในทางคาดคะเน และเข้าใจสิ่งต่างๆด้วยความรู้จากการทดลองและปรัชญา บุคคลอีกประเภทหนึ่งทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกดังที่ได้อธิบายไว้ในโศลก 61 ของบทที่สอง องค์ภควานฺทรงอธิบายในโศลก39 เช่นกันว่าด้วยการทำงานตามหลักของ พุทฺธิ-โยค หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกเราจะสามารถหลุดพ้นจากพันธนาการแห่งกรรมได้ ยิ่งไปกว่านั้นจะไม่มีข้อบกพร่องใดๆในวิธีการนั้น หลักเดียวกันนี้ได้อธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในโศลก 61 ว่า พุทฺธิ-โยค คือ ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับองค์ภควานฺ (หรือขึ้นอยู่กับองค์กฺฤษฺณโดยตรง) ด้วยวิธีนี้ประสาทสัมผัสทั้งหมดสามารถถูกควบคุมได้อย่างง่ายดาย ฉะนั้นโยคะทั้งสองต่างต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เหมือนเช่นศาสนาและปรัชญา ศาสนาที่ไร้ปรัชญาคือความอ่อนไหวทางอารมณ์ หรือบางครั้งก็บ้าคลั่ง และปรัชญาที่ไร้ศาสนาคือการคาดคะเนทางจิตใจ จุดมุ่งหมายสูงสุดคือองค์กฺฤษฺณ เพราะนักปราชญ์ผู้ค้นหาสัจธรรมด้วยความจริงใจจะมาจบลงที่กฺฤษฺณจิตสำนึก ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา เช่นกันว่าวิธีการทั้งหมดนี้เพื่อให้เข้าใจถึงสถานภาพอันแท้จริงของตัวเราในความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ วิธีทางอ้อมคือการคาดคะเนทางปรัชญาซึ่งอาจจะค่อยๆนำเราไปถึงจุดแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก อีกวิธีหนึ่งคือการเชื่อมสัมพันธ์ทุกสิ่งทุกอย่างกับองค์กฺฤษฺณในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรง ทั้งสองวิธีนี้วิธีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะดีกว่า เพราะว่าไม่ขึ้นอยู่กับการทำให้ประสาทสัมผัสบริสุทธิ์ด้วยวิธีทางปรัชญา กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นวิธีการที่มีความบริสุทธิ์อยู่ในตัว และปฎิบัติโดยตรงด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้จึงเป็นวิธีที่ทั้งง่ายและประเสริฐพร้อมๆกัน