องค์ภควาน คริชณะ
บทที่ 78
บัลวะละหลุดพ้น และ
บะละรามะท่องไปตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
องค์ภควาน บะละรามะ ทรงเตรียมตัวเพื่อไปพบกับมารบัลวะละ ทั่วไปขณะที่มารมาบุกรุกสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จะมีพายุลูกเห็บรุนแรง ท้องฟ้าถูกปกคลุมด้วยฝุ่นและบรรยากาศเต็มไปด้วยกลิ่นเหม็นคลุ้ง หลังจากนี้มารร้ายบัลวะละเริ่มเทอุจจาระ ปัสสาวะ และสิ่งโสโครกอื่นๆ มากมายลงมาในบริเวณพิธีบูชา มันปรากฏตัวพร้อมสามง่ามใหญ่ในมือ ตัวเหมือนยักษ์ ร่างดำทะมึนเหมือนกับถ่านก้อนมหึมา ผม เครา และหนวดแดงก่าเหมือนทองแดง เพราะเคราและหนวดเป็นเช่นนี้ทำให้ปากของมันดูเป็นอันตรายน่ากลัวมาก องค์ภควาน บะละรามะ ทรงเห็นมารจึงเตรียมตัวโจมตีทันที ก่อนอื่นพิจารณาว่าจะทำลายมารตัวมหึมานี้ให้แตกเป็นเสี่ยงๆได้อย่างไร บะละรามะทรงเรียกคันไถและคทาคู่มือให้ปรากฏ มารบัลวะละบินสูงอยู่บนท้องฟ้า พอมีโอกาสแรกบะละรามะทรงลากมันลงมาด้วยคันไถ และใช้คทาฟาดไปที่หัวมันด้วยความโกรธ จากแรงหวดนี้ทำให้หน้าผากแตก เลือดไหลออกมามากมาย มันร้องตะโกนเสียงหลง เช่นนี้ มารผู้สร้างความเดือดร้อนให้แก่พราหมณ์นักบุญตกลงมาบนพื้น เหมือนภูเขาลูกใหญ่ที่มียอดออกไซด์สีแดงถูกฟาดด้วยสายฟ้าตกลงมาบนพื้น
ชาวไนมิชารัณยะ นักปราชญ์ และพราหมณ์ผู้ทรงคุณวุฒิดีใจมากที่ได้เห็นเช่นนี้ ถวายบทมนต์ด้วยความเคารพ และถวายพรจากใจแด่องค์ภควาน ทั้งหมดยอมรับว่าความพยายามของบะละรามะในการทำสิ่งใดไม่มีวันล้มเหลว จากนั้นเหล่านักปราชญ์และพราหมณ์ทำพิธีสรงน้าให้บะละรามะ เหมือนเทวดาสรงน้าให้พระอินทร์หลังชนะมาร บรรดาพราหมณ์และนักปราชญ์ให้เกียรติบะละรามะด้วยการถวายอาภรณ์ชุดใหม่อย่างดี เครื่องประดับ มาลัยดอกบัวแห่งชัยชนะ มาลัยพวงนี้เป็นแหล่งกำเนิดของความงามทั้งหมด ความเป็นอมตะ และไม่มีวันเหี่ยวแห้ง
หลังจากเหตุการณ์นี้ องค์ภควาน บะละรามะ ทรงขออนุญาตจากเหล่าพราหมณ์ผู้ชุมนุมกันที่ไนมิชารัณยะ เพื่อเดินทางไปที่ชายฝั่งแม่น้าโคชิคีโดยมีพวกพราหมณ์ร่วมไปด้วย หลังจากสรงน้า ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้แล้ว ทรงดำเนินต่อไปยังแม่น้าสะระยูเยี่ยมเยียนต้นกำเนิดของแม่น้า เริ่มเดินบนริมฝั่งแม่น้าสะระยูจนมาถึงพระยากะ ซึ่งเป็นที่บรรจบกันของแม่สามสาย คงคา ยะมุนา และสะรัสวะที ณ ที่นี้ พระองค์ทรงสรงน้าสม่าเสมอ บูชาวัดชนบทตามที่ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวท บวงสรวงบรรพบุรุษและนักปราชญ์ ทรงมาถึงอาชระมะของปราชญ์พุละฮะ จากนั้นไปที่กัณดะคีริมฝั่งแม่น้าโกมะที แล้วทรงสรงน้าในแม่น้าวิพาชา มาถึงริมฝั่งแม่น้าโชณะ (โชณะยังเป็นแม่น้าใหญ่สายหนึ่งที่ไหลผ่านจังหวัดบิฮาร) พระองค์ทรงสรงน้าที่นี่ ทำพิธีทางพระเวท ทรงเดินทางต่อไปจนมาถึงเมืองของนักบุญกะยา ซึ่งมีวัดพระวิชณุที่โด่งดังตามคำแนะนำของพระบิดาวะสุเดวะ บะละรามะทรงบวงสรวงบรรพบุรุษในวัดพระวิชณุนี้ แล้วเดินทางไปพื้นที่สามเหลี่ยมของแม่น้าคงคา สถานที่ที่แม่น้าศักดิ์สิทธิ์คงคาผสมกับอ่าวเบงกอล สถานที่ศักดิ์สิทธิ์นี้เรียกว่ากังกาสากะระ ในช่วงปลายเดือนมกราคมทุกปีจะมีการชุมนุมใหญ่ของนักบุญและผู้ทรงธรรม เหมือนที่มีการชุมนุมของบรรดานักบุญที่พระยากะทุกปี เรียกชื่องานว่า มักฮ เมละ
หลังจากสรงน้าและทำพิธีที่กังกาสากะระ บะละรามะทรงเดินทางต่อไปยังภูเขามะเฮนดระ พารวะทะ ณ ที่นี้ ทรงพบกับพะระชุรามะ อวตารของคริชณะ บะละรามะทรงถวายความเคารพด้วยการก้มลงกราบ แล้วเดินทางไปยังตอนใต้ของอินเดียเยี่ยมริมฝั่งแม่น้าโกดาวะรี หลังจากสรงน้าในแม่น้าโกดาวะรีและทำพิธีบูชาที่จำเป็น ทรงไปเยี่ยมแม่น้าสายอื่นๆ เช่น เวณา พัมพา และบีมะระที ที่ริมฝั่งแม่น้า บิมะระทีมีพระปฏิมา สวามี คาร์ททิเคยะ หลังจากเยี่ยมคาร์ททิเคยะ บะละรามะทรงเดินทางไปไชละพุระ เมืองของนักบุญในจังหวัดมะฮาราชทระ ไชละพุระเป็นหนึ่งในตำบลใหญ่ที่สุดในจังหวัดมะฮาราชทระ จากนั้นเดินทางไปดระวิดะเดชะ ทางตอนใต้ของอินเดียแบ่งเป็นห้าส่วนเรียกว่าพันชะดระวิดะ ทางตอนเหนือของอินเดียก็แบ่งเป็นห้าส่วนเช่นกันเรียกว่าพันชะโกระ อาชารยะ องค์สำคัญในยุคปัจจุบันทั้งหมด เช่น ชังคะราชารยะ รามานุจาชารยะ มัดวาชารยะ วิชณุสวามี และ นิมบารคะ เกิดในจังหวัดดระวิดะ องค์เชธันญะทรงปรากฏที่เบงกอลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของห้าโกระเดชะ
สถานที่สำคัญที่สุดของนักบุญที่อินเดียตอนใต้หรือดระวิดะคือ เวนคะทาชะละรู้กันทั่วไปในชื่อบาละจี ทรงเยี่ยมที่นี่ แล้วบะละรามะทรงเดินทางต่อไปยังวิชณุคานชี ไปยังริมฝั่งแม่น้าคาเวรีและสรงน้าในแม่น้าคาเวรี แล้วไปถึงรังกะคเชทระ วัดใหญ่ที่สุดในโลกตั้งอยู่ในรังกะคเชทระ พระปฏิมาวิชณุที่นี่ทรงเลื่องชื่อในพระนามรังกะนาทะ มีวัดคล้ายกับวัดรังกะนาทะที่วรินดาวะนะ แต่ไม่ใหญ่เท่าวัดที่รังกะคเชทระ
ขณะไปวิชณุคานชี องค์บะละรามะทรงเยี่ยมชิวะคานชีด้วย หลังจากเยี่ยมรังกะคเชทระแล้วทรงไปที่มะทุรา โดยทั่วไปเรียกว่ามะทุราแห่งอินเดียตอนใต้ หลังจากเยี่ยมสถานที่นี้แล้ว ทรงไปที่เสทุบันดะซึ่งเป็นสถานที่ที่พระรามทรงสร้างสะพานหินจากอินเดียข้ามไปลังคา(ซีลอน) โดยเฉพาะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้บะละรามะทรงถวายโคหนึ่งหมื่นตัวแด่พราหมณ์ในท้องที่ เป็นวัฒนธรรมพระเวท เมื่อคนรวยไปเยี่ยมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จะทำบุญกับพระในท้องที่ด้วยของขวัญเช่น ม้า โค เครื่องประดับ และอาภรณ์ ระบบการเยี่ยมเยียนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และถวายพราหมณ์ในท้องที่ด้วยสิ่งของจำเป็นในชีวิตเสื่อมลงมากในกลียุค เพราะกลุ่มประชากรที่รวยไม่เลื่อมใสในวัฒนธรรมพระเวท จึงไม่สนใจไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ และพราหมณ์ผู้ขึ้นอยู่กับผู้มาเยือนก็เสื่อมลงทางหน้าที่อาชีพในการช่วยเหลือผู้มาเยือน พราหมณ์ ณ สถานศักดิ์สิทธิ์เรียกว่าพัณดะหรือพันดิท หมายความว่าในอดีตพวกนี้เป็นพราหมณ์ผู้มีความรู้มาก และแนะนำผู้มาเยืยนอย่างละเอียดถึงจุดมุ่งหมายที่มาที่นี่ เช่นนี้ ทั้งผู้มาเยืยนและพราหมณ์ได้รับประโยชน์จากการร่วมมือกัน
กล่าวไว้ใน ชรีมัด-ภควธัม อย่างชัดเจนว่าเมื่อ องค์ภควาน บะละรามะมาเยี่ยมเยียนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทรงปฏิบัติตามระบบพระเวทอย่างเหมาะสม หลังจากถวายโคที่เสทุบันดะ บะละรามะทรงเดินทางต่อไปยังแม่น้าคริทะมาลาและทามระพารณี แม่น้าสองสายนี้มีชื่อเสียงในความศักดิ์สิทธิ์ บะละรามะทรงสรงน้าทั้งสองแห่ง จากนั้นทรงเดินทางต่อไปยังภูเขามะละยะ ภูเขามะละยะยิ่งใหญ่มาก กล่าวว่าเป็นหนึ่งในเจ็ดยอดเขาที่เรียกว่าภูเขามะละยะ ปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมอกัสทยะเคยพำนักอยู่ที่นี่ บะละรามะทรงไปเยี่ยมและก้มลงกราบถวายความเคารพ หลังจากได้รับพรและอนุญาตจากปราชญ์ ทรงเดินทางต่อไปยังมหาสมุทรอินเดีย
ที่แหลมมีวัดใหญ่ของพระแม่ดุรกาทรงพระนามคันยาคุมารี วัดคันยาคุมารีนี้ พระรามทรงมาเยืยน ดังนั้น เข้าใจว่าวัดนี้มีมาเป็นเวลาล้านๆ ปีแล้ว จากที่นี่บะละรามะทรงไปเยี่ยมเมืองศักดิ์สิทธิ์ชื่อพาลกุนะทีรทะ ซึ่งอยู่บนชายหาดของมหาสมุทรอินเดียหรือมหาสมุทรทางตอนใต้ พาลกุนะทีรทะมีชื่อเสียงโด่งดังเพราะพระวิชณุในอวตารอนันทะทรงบรรทมอยู่ที่นั่น จากพาลกุนะทีรทะ บะละรามะทรงไปเยี่ยมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งชื่อพันชาพสะระสะ ทรงสรงน้าที่นี่ตามหลักธรรมและปฏิบัติพิธีบูชา สถานที่นี้เลื่องชื่อในฐานะที่เป็นศาลเจ้าของพระวิชณุ ดังนั้น องค์ภควาน บะละรามะ ทรงถวายโคหนึ่งหมื่นตัวแด่พราหมณ์ในท้องที่
จากแหลมโคโมริน องค์ภควาน บะละรามะ ทรงหันไปทางเคระละ เมืองเคระละนี้ยังมีอยู่ที่อินเดียตอนใต้เรียกว่าเคระละใต้ หลังจากเยี่ยมที่นี่ทรงมาที่โกคาร ณะทีรทะ เป็นสถานที่ที่พระศิวะได้รับการบูชาตลอดเวลา จากนั้นบะละรามะทรงเยี่ยมวัดอารยาเดวีที่ล้อมรอบด้วยน้า จากเกาะนี้ทรงไปที่ชูรพาระคะ แล้วสรงน้าในแม่น้า ทาพี พะโยชนี และนิรวินดยา ทรงมาที่ป่าดัณดะคารัณยะ เป็นป่าเดียวกับที่พระรามประทับอยู่ช่วงถูกเนรเทศ จากนั้นบะละรามะทรงมาถึงริมฝั่งแม่น้านารมะดา ซึ่งเป็นแม่น้าสายใหญ่ที่สุดในอินเดียตอนกลาง ริมฝั่งแม่น้าศักดิ์สิทธิ์นารมะดานี้มีสถานที่สำหรับผู้แสวงบุญ มาฮิชมะทิ พุรี หลังจากสรงน้าที่นี่ตามหลักธรรรมแล้ว บะละรามะทรงกลับไปที่พระบาสะทีรทะ สถานที่พระองค์ทรงเริ่มการเดินทาง
องค์ภควาน บะละรามะ กลับมาที่พระบาสะทีรทะ ทรงได้ยินจากพราหมณ์ว่า คชัทริยะ ส่วนใหญ่ที่สมรภูมิคุรุคเชทระถูกสังหาร บะละรามะทรงรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้ยินว่าภาระของโลกได้ถูกตัดทอนลง องค์ภควาน คริชณะ และ บะละรามะทรงปรากฏบนโลกนี้เพื่อลดกองกำลังทหารที่สร้างโดยคชัทริยะผู้มักใหญ่ใฝ่สูง นี่คือวิถีทางวัตถุ ไม่เคยพอใจกับสิ่งจำเป็นจริงๆสำหรับชีวิต สร้างอุปสงค์พิเศษขึ้นมาด้วยความมักใหญ่และความปรารถนาที่ผิดกฏหมาย ในที่สุดต้องจบลงด้วยกฏแห่งธรรมชาติหรือกฏแห่งองค์ภควาน ที่มาในรูปทุพภิกขภัย สงคราม โรคระบาด และความหายนะอื่นๆคล้ายกันนี้ บะละรามะทรงได้ยินว่า แม้ คชัทริยะ ส่วนใหญ่ถูกสังหาร พวกคุรุยังคงต่อสู้กันอยู่ ดังนั้น ทรงไปที่สมรภูมิในวันที่บีมะเสนะและดุรโยดะนะกำลังต่อสู้กันตัวต่อตัว ในฐานะที่เป็นผู้ปรารถนาดีของทั้งสองฝ่าย บะละรามะทรงปรารถนาให้ยุติการต่อสู้ แต่ทั้งคู่ไม่ยอมหยุด
บะละรามะทรงปรากฏ กษัตริย์ยุดิชทิระ และพระอนุชา นะคุละ สะหะ เดวะ องค์ภควาน คริชณะ และอารจุนะถวายความเคารพทันที ทั้งหมดมิได้พูดอะไร เหตุผลที่เงียบเพราะบะละรามะทรงชื่นชอบดุรโยดะนะ และดุรโยดะนะได้เรียนศิลปะการต่อสู้ด้วยคทาจากบะละรามะจี ดังนั้น ขณะที่การต่อสู้ดำเนินไปกษัตริย์ยุดิชทิระและบุคคลอื่นคิดว่าบะละรามะอาจมาที่นี่เพื่อพูดบางอย่างเข้าข้างดุรโยดะนะ ฉะนั้น จึงนิ่งเงียบ ทั้งดุรโยดะนะและบีมะเสนะต่อสู้กันอย่างเมามันด้วยคทาท่ามกลางคนดูมากมาย ทั้งคู่มีความชำนาญมากในการฟาดฟันคู่ต่อสู้ ลีลาการต่อสู้เหมือนกับการเต้นรำ แม้ดูเหมือนเต้นรำแต่เห็นได้ชัดเจนว่าทั้งคู่มีความโกรธมาก
องค์ภควาน บะละรามะ ทรงปรารถนาจะยุติการต่อสู้จึงตรัสว่า “กษัตริย์ดุรโยดะนะและบีมะเสนะที่รัก ข้ารู้ว่าเธอทั้งคู่เป็นนักรบยอดเยี่ยมและเลื่องลือในโลกว่าเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ถึงกระนั้น ข้าคิดว่าบีมะเสนะเหนือกว่าดุรโยดะนะในพละกำลังทางกายภาพ และดุรโยดะนะเหนือกว่าบีมะในศิลปะการต่อสู้ด้วยคทา พิจารณาเช่นนี้ข้าเห็นว่าไม่มีใครด้อยกว่ากันในการต่อสู้ มีโอกาสน้อยมากที่จะมีผู้แพ้ ฉะนั้น ข้าขอร้องว่าอย่าเสียเวลาต่อสู้กันต่อไปเลย ข้าปรารถนาให้ทั้งสองคนหยุดการต่อสู้ที่ไม่จำเป็นนี้เสีย”
บะละรามะทรงให้คำสอนที่ดีแก่ทั้งบีมะเสนะและดุรโยดะนะ ปรารถนาให้ทั้งคู่ได้รับประโยชน์เท่าๆกัน แต่ทั้งคู่ถูกหุ้มห่อด้วยความโกรธที่มีต่อกัน จนจำได้เฉพาะความเป็นศัตรูคู่อริกันมายาวนาน แต่ละฝ่ายคิดเพียงจะสังหารอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ให้ความสนใจกับคำสอนของบะละรามะมากนัก เหมือนคนบ้าที่จำได้เฉพาะเรื่องกล่าวหาที่รุนแรงและพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อกัน บะละรามะทรงเข้าใจชะตากรรมที่กำลังรอพวกเขาอยู่ไม่อยากพูดอะไรอีกต่อไป แทนที่จะอยู่ต่อทรงตัดสินใจกลับดวาระคา
พอกลับมาถึงดวาระคาทรงได้รับการต้อนรับด้วยความยินดียิ่งจากญาติๆและเพื่อนๆ โดยมีกษัตริย์อุกระเสนะและผู้อาวุโสท่านอื่นเป็นผู้นำ ทั้งหมดออกมาต้อนรับบะละรามะ หลังจากนี้ ทรงไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญที่ไนมิชารัณยะ นักปราชญ์ นักบุญ และพราหมณ์ทั้งหลายยืนขึ้นต้อนรับพระองค์ เข้าใจว่าบะละรามะถึงแม้เป็นคชัทริยะ แต่บัดนี้เกษียณจากภารกิจการต่อสู้ พราหมณ์และนักปราชญ์ที่ชอบสันติภาพและความสงบอยู่แล้ว ดีใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งหมดโอบกอดบะละรามะด้วยความรัก และเชิญให้ทรงปฏิบัติพิธีบูชาต่างๆ ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ไนมิชารันยะ อันที่จริง บะละรามะทรงเป็นองค์ภควานผู้มีความสุขกับพิธีบูชาทั้งหมด ไม่มีภารกิจในการทำพิธีบูชาเหมือนที่ได้แนะนำไว้สำหรับมนุษย์ปุถุชนธรรมดา การทำพิธีบูชาเป็นเพียงตัวอย่างเพื่อให้บทเรียนแด่มนุษย์ทั่วไปว่าควรปฏิบัติตามคำสอนของพระเวทอย่างไร
องค์ภควาน บะละรามะ ทรงสอนนักปราชญ์และนักบุญที่ไนมิชารันยะ ถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับปรากฏการณ์ในจักรวาลนี้ว่า ควรรับจักรวาลทั้งหมดนี้อย่างไร และควรสัมพันธ์กับจักรวาลเพื่อบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่สมบูรณ์สูงสุดอย่างไร ความเข้าใจที่ว่าปรากฏการณ์ในจักรวาลทั้งหมดพักพิงอยู่ที่องค์ภควานผู้ทรงแพร่กระจายไปทั่ว แม้แต่ภายในอณูที่เล็กที่สุดในรูปพะระมาทมา จากนั้น บะละรามะทรงสรงน้า อวะบริทะ ทำเช่นนี้หลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติพิธีบูชา เมื่อสรงน้าเรียบร้อยแล้วทรงแต่งกายด้วยผ้าไหมชุดใหม่ ประดับด้วยอัญมณีที่สวยงามมากท่ามกลาางญาติๆ และเพื่อนๆ ทรงดูเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญสาดส่องรัศมีอยู่ท่ามกลางหมู่ดาราบนท้องฟ้า บะละรามะทรงเป็นองค์ภควาน อนันทะ ทรงอยู่เหนือขอบเขตแห่งการเข้าใจของจิตใจ ปัญญา หรือร่างกาย ทรงเสด็จลงมาเหมือนมนุษย์และปฏิบัติเช่นนี้เพื่อจุดมุ่งหมายส่วนพระองค์ เราเพียงแต่อธิบายกิจกรรมของพระองค์ว่าเป็นลีลาขององค์ภควาน ไม่มีผู้ใดสามารถประเมินการแสดงลีลาอันไร้ขอบเขตนี้ได้ เพราะพระองค์ทรงมีพลังอำนาจทั้งปวง ทรงเป็นพระวิชณุองค์เดิม ฉะนั้น ใครที่ระลึกถึงลีลาเหล่านี้ของบะละรามะในตอนเช้าและเย็น แน่นอนว่าจะกลายมาเป็นสาวกผู้ยอดเยี่ยมของพระองค์ แล้วชีวิตจะประสบความสำเร็จในทุกๆด้าน
ดังนั้น ขอจบคำอธิบายโดยบัคธิเวดันธะ หนังสือ “องค์ภควาน คริชณะ”
บทที่เจ็ดสิบแปด “บัลวะละหลุดพ้น และบะละรามะท่องไปตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์”
บทที่เจ็ดสิบแปด “บัลวะละหลุดพ้น และบะละรามะท่องไปตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์”