องค์ภควาน คริชณะ
บทที่ 86
บทมนต์โดยบุคลิกภาพแห่งพระเวท
กษัตริย์พะรีคชิททรงถาม ชุคะเดวะ โกสวามี เกี่ยวกับประเด็นที่สำคัญมากในการเข้าใจเรื่องราวทิพย์ คำถามคือ “เนื่องจากโดยทั่วไปความรู้พระเวทเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ แล้วจะมาให้ถึงเรื่องราวทิพย์ที่อยู่เหนือการเข้าถึงของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุได้อย่างไร? เนื่องจากจิตใจเป็นวัตถุ คลื่นของคำพูดก็เป็นเสียงวัตถุ แล้วแนวคิดของจิตใจแสดงออกด้วยเสียงวัตถุจะเข้าถึงความเป็นทิพย์ของความรู้พระเวทได้อย่างไร? การอธิบายเรื่องราวนี้จำเป็นต้องอธิบายถึงแหล่งกำเนิดของสิ่งที่ปรากฏออกมา อีกทั้งคุณลักษณะและกิจกรรมของมัน การอธิบายเช่นนี้เป็นไปได้ด้วยความคิดของจิตวัตถุ และเปล่งคลื่นเสียงคำพูดวัตถุเท่านั้น ถึงแม้บระฮมันหรือสัจธรรมที่สมบูรณ์ไม่มีคุณสมบัติวัตถุ พลังอำนาจในการพูดของเราไม่อยู่เหนือคุณสมบัติวัตถุ แล้วบระฮมันหรือสัจธรรมที่สมบูรณ์จะอธิบายด้วยคำพูดของท่านได้อย่างไร? ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าเป็นไปได้ ในการเข้าใจความเป็นทิพย์จากการแสดงออกของเสียงวัตถุเช่นนี้”
จุดมุ่งหมายของกษัตริย์พะรีคชิทที่ทรงถาม ชุคะเดวะ โกสวามี เพื่อให้มั่นใจว่าในที่สุดคัมภีร์พระเวทอธิบายสัจธรรมที่สมบูรณ์ว่าไร้รูปลักษณ์หรือมีรูปลักษณ์ การเข้าใจสัจธรรมที่สมบูรณ์ก้าวหน้าในสามลักษณะคือ บระฮมันที่ไร้รูปลักษณ์ พะระมาทมาผู้ประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกชีวิต และในที่สุด องค์ภควาน คริชณะ
คัมภีร์พระเวทเกี่ยวข้องกับกิจกรรมสามประเภท ประเภทหนึ่ง คารมะ-คาณดะ หรือกิจกรรมภายใต้คำสอนของพระเวทซึ่งค่อยๆ ทำให้บริสุทธิ์ขึ้นเพื่อเข้าใจสถานภาพแท้จริงของตน ถัดไป กยานะ-คาณดะ กรรมวิธีเพื่อให้เข้าใจสัจธรรมที่สมบูรณ์ด้วยวิธีการคาดคะเน ประเภทสาม อุพาสะนา-คาณดะ หรือการบูชาองค์ภควาน บางครั้งบูชาเหล่าเทวดาด้วย การบูชาเทวดาได้แนะนำไว้ในคัมภีร์พระเวทเพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ของเทวดาที่มีต่อองค์ภควาน องค์ภควานทรงมีละอองอณูมากมาย บ้างเรียกว่า สวามชะ คือภาคแบ่งแยกส่วนพระองค์ บ้างเรียกว่า วิบินนามชะ คือสิ่งมีชีวิต ภาคแบ่งแยกทั้งหมดคือ สวามชะ และ วิบินนามชะ ออกมาจากภควานองค์เดิม ภาคแบ่งแยก สวามชะ เรียก วิชณุ-ทัททวะ ขณะที่ภาคแบ่งแยก วิบินนามชะ เรียก จีวะ-ทัททวะ เหล่าเทวดาเป็น จีวะ-ทัททวะ พันธวิญญาณโดยทั่วไปถูกจับให้มีกิจกรรมในโลกวัตถุเพื่อสนองประสาทสัมผัส ดังที่กล่าวใน ภควัต-คีตา เพื่อประมาณพวกที่เสพติดอยู่กับการสนองประสาทสัมผัสต่างๆ บางครั้งแนะนำการบูชาเทวดา ตัวอย่างเช่น บุคคลเสพติดมากกับการรับประทานเนื้อสัตว์ คำสอนพระเวทแนะนำว่าหลังจากบูชารูปลักษณ์เจ้าแม่คาลี และทำพิธีถวายแพะ (ไม่มีสัตว์อื่น) ภายใต้กฎเกณฑ์ คารมะ-คาณดะ เช่นนี้ผู้บูชาอาจได้รับอนุญาตให้รับประทานเนื้อสัตว์ แนวคิดมิใช่ส่งเสริมให้รับประทานเนื้อสัตว์ แต่อนุญาตให้ผู้ที่ยืนกรานว่าต้องรับประทานเนื้อสัตว์ให้มีเงื่อนไขบางอย่างที่เข้มงวด การบูชาเทวดามิใช่การบูชาสัจธรรมที่สมบูรณ์ จากการบูชาเทวดาจะทำให้ค่อยๆ ยอมรับองค์ภควาน ทางอ้อม ยอมรับทางอ้อมเช่นนี้ ภควัต-คีตา อธิบายว่าเป็น อวิดิ, อวิดิ หมายถึงไม่รับรอง เนื่องจากการบูชาเทวดาไม่เป็นที่รับรอง พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์จึงเน้นการทำสมาธิอยู่ที่ลักษณะที่ไร้รูปลักษณ์ของสัจธรรมที่สมบูรณ์ คำถามของกษัตริย์พะรีคชิท คือ อะไรคือเป้าหมายสูงสุดของความรู้พระเวท การทำสมาธิอยู่ที่ลักษณะไร้รูปลักษณ์ของสัจธรรมที่สมบูรณ์ หรือการทำสมาธิอยู่ที่ลักษณะส่วนพระองค์ที่มีรูปลักษณ์? อันที่จริง ทั้งลักษณะไร้รูปลักษณ์และมีรูปลักษณ์ขององค์ภควาน อยู่เหนือแนวคิดทางวัตถุ ลักษณะไร้รูปลักษณ์ของสัจธรรมที่สมบูรณ์คือบระฮมันหรือรัศมี บระฮมัน มิใช่อะไรอื่นแต่เป็นแสงรัศมีที่ออกมาจากพระวรกายของคริชณะ แสงรัศมีจากพระวรกายของคริชณะสาดส่องไปทั่วการสร้างของพระองค์ และส่วนของรัศมีที่ถูกปกคลุมโดยก้อนเมฆวัตถุเรียกว่า จักรวาลที่ถูกสร้างขึ้นด้วยสามระดับแห่งวัตถุ คือ สัททวะ ระจะ และ ทะมะ บุคคลผู้อยู่ภายในส่วนเป็นเมฆที่เรียกว่าโลกวัตถุสามารถสำเหนียกสัจธรรมที่สมบูรณ์ด้วยวิธีการคาดคะเนได้อย่างไร?
ในการตอบคำถามของกษัตริย์พะรีคชิท ชุคะเดวะ โกสวามี กล่าวว่าองค์ภควานทรงสร้างจิตใจ ประสาทสัมผัส และพลังชีวิตเพื่อจุดมุ่งหมายในการสนองประสาทสัมผัสที่เปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง พร้อมทั้งเพื่อจุดมุ่งหมายในการเปิดโอกาสให้ได้รับความหลุดพ้นจากสภาวะวัตถุ อีกนัยหนึ่ง ประสาทสัมผัส จิตใจ และพลังชีวิตสามารถนำไปใช้เพื่อสนองประสาทสัมผัสและเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่งได้ หรือนำไปใช้เพื่อให้มีอิสรภาพหลุดพ้นก็ได้ คำสอนพระเวทมีไว้เพื่อเปิดโอกาสให้พันธวิญญาณได้สนองประสาทสัมผัสภายใต้หลักธรรมพอประมาณ เพื่อเปิดโอกาสให้เจริญก้าวหน้าไปสู่สภาวะชีวิตที่สูงกว่า และในที่สุดหากจิตสำนึกบริสุทธิ์ขึ้นมาถึงสถานภาพเดิมแท้ของตน และกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควาน
พลังชีวิตมีปัญญา ดังนั้นต้องใช้ปัญญาให้อยู่เหนือจิตใจและประสาทสัมผัสเมื่อจิตใจและประสาทสัมผัสบริสุทธิ์ขึ้นจากการใช้ปัญญาอย่างเหมาะสม พันธชีวิตจะเป็นอิสระหลุดพ้น หากปัญญาไม่ถูกใช้อย่างเหมาะสมในการควบคุมประสาทสัมผัสและจิตใจ พันธวิญญาณยังคงเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่งเพื่อสนองประสาทสัมผัสต่อไป คำตอบของ ชุคะเดวะ โกสวามี อีกประเด็นหนึ่งที่ชัดเจนคือ องค์ภควานทรงสร้างจิตใจ ประสาทสัมผัส และปัญญาของปัจเจกพลังชีวิต มิได้กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตเคยถูกสร้างขึ้นมา เหมือนกับละอองอณูในแสงอาทิตย์มีอยู่เสมอควบคู่ไปกับดวงอาทิตย์ สิ่งมีชีวิตมีอยู่นิรันดรในฐานะเป็นละอองอณูขององค์ภควาน พันธวิญญาณแม้มีอยู่ชั่วกัลปวสานในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของพระองค์ บางครั้งถูกจับให้มาอยู่ภายในก้อนเมฆแห่งแนวคิดชีวิตทางวัตถุ ในความมืดแห่งอวิชชา วิธีการของพระเวททั้งหมดเพื่อขจัดสภาวะแห่งความมืดนั้น ในที่สุดเมื่อประสาทสัมผัสและจิตใจของพันธชีวิตบริสุทธิ์โดยสมบูรณ์ เขาจะมาสู่สถานภาพเดิมแท้เรียกว่า คริชณะจิตสำนึก และนั่นคือความหลุดพ้น
ใน เวดานธะ-สูทระ, สูทระแรกหรือหลักเกณฑ์แรก คำถามเกี่ยวกับสัจธรรมที่สมบูรณ์ อทาโท บระฮมะ-จิกยาสา อะไรคือธรรมชาติของสัจธรรมที่สมบูรณ์? สูทระถัดไปตอบว่า ธรรมชาติของสัจธรรมที่สมบูรณ์คือองค์ภควาน ทรงเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีประสบการณ์แม้ในสภาวะชีวิตวัตถุนี้ มิใช่สิ่งอื่นใดแต่ออกมาจากองค์ภควาน สัจธรรมที่สมบูรณ์ทรงสร้างจิตใจ ประสาทสัมผัส และปัญญา เช่นนี้หมายความว่า สัจธรรมที่สมบูรณ์มิใช่ว่าไม่มีจิตใจ ปัญญา และประสาทสัมผัส อีกนัยหนึ่ง มิใช่ว่าพระองค์ทรงไม่มีรูปลักษณ์ คำว่า “ถูกสร้างขึ้น” หมายความว่าพระองค์ทรงมีปัญญาทิพย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อบิดาให้กำเนิดบุตร บุตรมีประสาทสัมผัสเพราะบิดามีประสาทสัมผัส บุตรเกิดมามีมือมีเท้า เพราะบิดามีมือมีเท้าด้วย บางครั้งกล่าวไว้ว่า มนุษย์ถูกสร้างขึ้นจากรูปลักษณ์ของพระเจ้า สัจธรรมที่สมบูรณ์คือองค์ภควานผู้มีจิตใจ ประสาทสัมผัส และปัญญาทิพย์ เมื่อจิตใจ ปัญญา และประสาทสัมผัสบริสุทธิ์ขึ้นจากมลทินทางวัตถุ เราจะสามารถเข้าใจรูปลักษณ์เดิมแท้ของสัจธรรมที่สมบูรณ์ว่าทรงเป็นบุคคล
วิธีการทางพระเวทคือ ค่อยๆทำให้พันธวิญญาณพัฒนาขึ้นจากระดับอวิชชามาสู่ระดับตัณหา และจากระดับตัณหามาสู่ระดับความดี ในระดับความดีจะมีแสงสว่างเพียงพอที่จะเข้าใจสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น จากดินต้นไม้เจริญเติบโตขึ้นมา และจากไม้เอามาจุดเป็นไฟ ในการจุดไฟจะเห็นควันก่อน ถัดไปเป็นความร้อนแล้วเป็นไฟ เมื่อเป็นไฟแท้จริงเราสามารถใช้ไฟนี้ทำประโยชน์ต่างๆ ฉะนั้น ไฟเป็นเป้าหมายสูงสุด ลักษณะเดียวกันในระดับชีวิตวัตถุที่หยาบคุณสมบัติอวิชชาโดดเด่นมาก การขจัดอวิชชาคือค่อยๆพัฒนาอารยธรรมจากระดับชีวิตป่าเถื่อนให้มาถึงระดับที่เจริญ เมื่อมาถึงระดับชีวิตที่เจริญแล้ว มาอยู่ในระดับตัณหา ระดับป่าเถื่อนหรือระดับไร้อารยธรรมหรือระดับอวิชชา สนองประสาทสัมผัสด้วยวิธีหยาบมาก ขณะที่ระดับตัณหาหรือระดับชีวิตที่เจริญ สนองประสาทสัมผัสในลักษณะที่ขัดเกลาแล้ว เมื่อเจริญมาถึงระดับความดี จะสามารถเข้าใจว่าประสาทสัมผัสและจิตใจปฏิบัติในกิจกรรมวัตถุเพราะถูกปกคลุมด้วยจิตสำนึกที่กลับตาลปัตรเท่านั้น เมื่อจิตสำนึกที่กลับตาลปัตรค่อยๆเปลี่ยนมาเป็นคริชณะจิตสำนึก วิถีแห่งความหลุดพ้นเปิดทางขึ้น ดังนั้น มิใช่ว่าไม่สามารถเข้าถึงสัจธรรมที่สมบูรณ์ด้วยประสาทสัมผัสและจิตใจ ข้อสรุปคือประสาทสัมผัส จิตใจ และปัญญาในระดับหยาบที่มีมลทินไม่สามารถชื่นชอบธรรมชาติแห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์ แต่เมื่อประสาทสัมผัส จิตใจ และปัญญาบริสุทธิ์ขึ้นจึงสามารถเข้าใจว่าอะไรคือสัจธรรมที่สมบูรณ์ วิธีการเพื่อความบริสุทธิ์นี้เรียกว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้ หรือคริชณะจิตสำนึก
ใน ภควัต-คีตา กล่าวอย่างชัดเจนว่า จุดมุ่งหมายของความรู้พระเวทคือมาเข้าใจคริชณะ และจะเข้าใจคริชณะด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ซึ่งเริ่มจากวิธีการศิโรราบดังที่กล่าวไว้ใน ภควัต-คีตา เราต้องระลึกถึงคริชณะเสมอ ถวายรับใช้ด้วยใจรักต่อคริชณะเสมอ และบูชาพร้อมก้มลงกราบต่อหน้าคริชณะเสมอ ด้วยวิธีการนี้เท่านั้นที่สามารถเข้าไปในอาณาจักรแห่งองค์ภควานได้โดยไม่ต้องสงสัย
เมื่อได้รับแสงสว่างหรือรู้แจ้งในระดับความดีด้วยวิธีการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เราเป็นอิสระจากระดับแห่งอวิชชาและตัณหา ในการตอบคำถามของกษัตริย์พะรีคชิท, ชุคะเดวะ โกสวามี ใช้คำอาทมะเน แสดงถึงระดับแห่งคุณสมบัติพราหมณ์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ศึกษาวรรณกรรมพระเวทชื่ออุปนิษัท อธิบายถึงคุณสมบัติทิพย์ขององค์ภควานในวิธีต่างๆ องค์ภควานหรือสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุดเรียกว่า นิรกุณะ เช่นนี้มิได้หมายความว่าทรงไร้คุณสมบัติ เพราะทรงมีคุณสมบัติจึงทำให้พันธชีวิตมีคุณสมบัติด้วย จุดมุ่งหมายของการศึกษาอุปนิษัท เพื่อให้เข้าใจคุณสมบัติทิพย์แห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์ ซึ่งตรงกันข้ามกับคุณสมบัติแห่งอวิชชา ตัณหา และความดีทางวัตถุ นั่นคือวิธีการเข้าใจพระเวท ปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมเช่นสี่กุมาร นำโดยสะนะคะปฏิบัติตามหลักธรรมพระเวทนี้ และค่อยๆพัฒนาจากความเข้าใจที่ไร้รูปลักษณ์มาถึงระดับแห่งการบูชาองค์ภควาน ได้แนะนำไว้ว่าเราต้องปฏิบัติตามบุคลิกภาพผู้ยอดเยี่ยมเหล่านี้ ชุคะเดวะ โกสวามี เป็นหนึ่งในบุคลิกภาพผู้ยอดเยี่ยม คำตอบที่ท่านให้กับ มะฮาราจะ พะรีคชิท เป็นที่เชื่อถือได้ ผู้ปฏิบัติตามรอยพระบาทของบุคลิกภาพผู้ยอดเยี่ยมเช่นนี้ แน่นอนว่าจะเดินทางง่ายดายบนวิถีแห่งความหลุดพ้น และในที่สุดกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควาน นั่นคือวิธีการทำให้ชีวิตในร่างมนุษย์นี้สมบูรณ์
ชุคะเดวะ โกสวามี กล่าวกับ พะรีคชิท มะฮาราจะ ต่อไปว่า “กษัตริย์ที่รัก ข้าจะเล่าเรื่องดีๆ เกี่ยวกับประเด็นนี้ให้ฟัง เรื่องราวนี้มีความสำคัญเพราะเชื่อมสัมพันธ์กับองค์ภควาน พระนารายณ์ เรื่องนี้เป็นการสนทนาระหว่าง นารายะณะ ริชิ และปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมนาระดะ” นารายะณะ ริชิ ยังพำนักอยู่ที่ บะดะรีคอาชระมะ ที่ภูเขาหิมาลัย เป็นที่ยอมรับกันว่าพระองค์ทรงเป็นอวตารของพระนารายณ์
บะดะรีคอาชระมะอยู่ที่ตอนเหนือของภูเขาหิมาลัย ปกคลุมไปด้วยหิมะตลอดเวลา นักศาสนาชาวอินเดียยังไปเยี่ยมสถานที่แห่งนี้ในช่วงฤดูร้อนที่มีหิมะไม่มากนัก ครั้งหนึ่งเมื่อนาระดะ สาวกและนักพรตผู้ยอดเยี่ยมในหมู่เทวดาเดินทางไปยังดาวเคราะห์ต่างๆ ปรารถนาจะพบกับนักพรต นารายะณะ ริชิ ที่บะดะรีคอาชระมะ เป็นการส่วนตัวเพื่อแสดงความเคารพ นักปราชญ์มาเยี่ยมอวตาร นารายะณะ ริชิ ผู้ปฏิบัติความเพียรและสมถะอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ตอนเริ่มต้นของการสร้าง เพื่อสอนชาวบาระทะวารชะ ว่าจะบรรลุถึงระดับสมบูรณ์สูงสุดในการกลับคืนสู่องค์ภควานได้อย่างไร การปฏิบัติสมถะและบำเพ็ญเพียรของท่านเป็นตัวอย่างสำหรับมนุษย์”
บะดะรีคอาชระมะ อยู่ทางตอนเหนือของภูเขาหิมาลัย มีหิมะปกคลุมตลอดเวลา นักศาสนาชาวอินเดียยังไปเยี่ยมเยียนในช่วงฤดูร้อนที่หิมะตกไม่หนัก ครั้งหนึ่งขณะที่อวตาร นารายะณะ ริชิ ทรงนั่งอยู่ในกลุ่มสาวกมากมายที่หมู่บ้านคะลาพะกรามะ แน่นอนว่านักปราชญ์เหล่านี้ที่นั่งอยู่กับท่านไม่ธรรมดา นาระดะปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมปรากฏ หลังจากถวายความเคารพแด่ นารายะณะ ริชิ แล้ว นาระดะถามคำถามเหมือนกับที่กษัตริย์พะรีคชิททรงถาม ชุคะเดวะ โกสวามี ริชิทรงตอบตามรอยพระบาทของบรรพบุรุษองค์ก่อนๆ โดยเล่าเรื่องราวว่า คำถามเดียวกันนี้ได้ปรึกษาหารือกันที่ดาวเคราะห์ชื่อจะนะโลคะ จะนะโลคะอยู่สูงกว่าดาวเคราะห์สวารกะโลคะ เช่น ดวงจันทร์ และดาวพระศุกร์ ที่ดาวเคราะห์ดวงนี้นักปราชญ์และนักบุญผู้ยอดเยี่ยมพำนักอยู่ พวกท่านปรึกษาในประเด็นเดียวกันเกี่ยวกับการเข้าใจบระฮมัน และบุคลิกภาพอันแท้จริงขององค์ภควาน อวตารนักปราชญ์ นารายะณะ ริชิ ตรัสว่า “นาระดะที่รัก ข้าจะเล่าถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นมานานแล้ว ได้มีการชุมนุมครั้งยิ่งใหญ่ของชาวสวรรค์บนสรวงสวรรค์ บราฮมะชารีรูปสำคัญๆ เกือบทั้งหมด เช่น สี่กุมาร สะนัท, สะนันดะนะ, สะนะคะ, และ สะนาทะนะ คุมาระ อยู่ร่วมด้วย สนทนาเกี่ยวกับประเด็นความเข้าใจสัจธรรมที่สมบูรณ์ บระฮมัน เธอไม่อยู่ในที่ชุมนุมเพราะไปพบภาคแบ่งแยกของข้าอนิรุดดะ ที่เกาะชเวทะดวีพะ ในการชุมนุมครั้งนั้นปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมและบราฮมะชารีทั้งหมดปรึกษาหารือกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประเด็นที่เธอถามข้า เป็นที่น่าสนใจมาก การสนทนาเป็นไปอย่างละเอียดอ่อนมากจนพระเวทไม่สามารถตอบคำถามที่สลับซับซ้อนนี้ได้
นารายะณะ ริชิ ตรัสแก่นาระดะจีว่า คำถามเดียวกันที่นาระดะจีถาม ได้ปรึกษาหารือกัน ณ ที่ชุมนุมที่จะนะโลคะ นี่คือวิธีแห่งการเข้าใจผ่านทางพะรัมพะราหรือการสืบทอดจากพระอาจารย์สู่ศิษย์ มะฮาราจะ พะรีคชิท ได้ถูกส่งมาที่ชุคะเดวะ โกสวามี, ชุคะเดวะ โกสวามี พาดพิงเรื่องราวไปถึงนาระดะซึ่งได้ถาม นารายะณะ ริชิ ในลักษณะเดียวกัน นาระยะณะ ริชิ ตรัสถึงประเด็นนี้แด่ผู้ที่เชื่อถือได้ที่สูงกว่าบนดาวเคราะห์จะนะโลคะ ที่ปรึกษาหารือกันในหมู่คุมาระผู้ยอดเยี่ยมคือ สะนัท, สะนันดะนะ, สะนะคะ และ สะนาทะนะ คุมาระ บระฮมะชารีทั้งสี่ท่านนี้เข้าใจว่าเป็นนักวิชาการในคัมภีร์พระเวทและชาสทระ มีความรู้มหาศาลอย่างไร้ขอบเขต โดยมีสมถะและบำเพ็ญเพียรเป็นแรงสนับสนุน แสดงออกทางบุคลิกที่ประเสริฐและดีเลิศ ความประพฤติอ่อนน้อมและสุภาพมาก แนวคิดไม่มีข้อแตกต่างระหว่างเพื่อน ผู้ปรารถนาดี และศัตรู สถิตบนวิถีทิพย์ที่เหนือโลก บุคลิกภาพเช่นสี่กุมารนี้อยู่เหนือการพิจารณาทางวัตถุทั้งปวง และเป็นกลางเสมอเกี่ยวกับสิ่งคู่ทางวัตถุ ในการสนทนาที่สี่พี่น้องชุมนุมกัน สะนันดะนะได้ถูกเลือกให้เป็นผู้สัมนา และบุคคลอื่นๆ เป็นผู้ฟัง
สะนันดะนะกล่าวว่า “หลังจากการทำลายล้างปรากฏการณ์ในจักรวาลทั้งหมด พลังงานและการสร้างทั้งหลายในรูปของแก่นที่เป็นศูนย์กลางจะเข้าไปในพระวรกายของ การโบดะคะชายี วิชณุ ขณะนั้นองค์ภควานทรงบรรทมอยู่เป็นเวลานาน เมื่อถึงเวลาจำเป็นในการสร้างอีกครั้ง บุคลิกภาพแห่งพระเวทจะมาชุมนุมกันรอบๆ และเริ่มสรรเสริญพระองค์ อธิบายถึงลีลาทิพย์อันน่าอัศจรรย์ขององค์ ภควานเหมือนกับพระราชาที่บรรทมอยู่ในตอนเช้า คนบรรยายที่ได้รับการคัดสรรจะมาอยู่รอบๆห้องบรรทม เริ่มขับกล่อมเพลงสรรเสริญกิจกรรมอันกล้าหาญของพระองค์ ขณะที่ฟังคำสรรเสริญพระบารมี พระราชาทรงค่อยๆตื่นจากบรรทม
“ผู้บรรยายคัมภีร์พระเวทหรือบุคลิกภาพแห่งพระเวทขับเพลงดังนี้ ‘โอ้ ผู้ที่ไม่มีใครเอาชนะได้ พระองค์ทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุด ไม่มีผู้ใดเทียบเท่าหรือยิ่งใหญ่กว่า ไม่มีผู้ใดน่าสรรเสริญในกิจกรรมมากกว่า ขอให้พระองค์จงทรงพระเจริญ! ขอให้พระองค์จงทรงพระเจริญ! ด้วยธรรมชาติทิพย์ พระองค์ทรงมีความมั่งคั่งหกประการอย่างเพียบพร้อม เช่นนี้ จึงทรงสามารถจัดส่งพันธวิญญาณทั้งหมดให้หลุดพ้นจากเงื้อมมือของมายาได้ โอ้ องค์ภควาน พวกเราขอถวายบทมนต์ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้าได้โปรดกรุณาจัดส่งสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในฐานะที่เป็นละอองอณูของพระองค์ โดยธรรมชาติมีความร่าเริง เป็นอมตะ และเปี่ยมไปด้วยความรู้ แต่เนื่องจากผิดพลาดที่พยายามเลียนแบบพระองค์ โดยพยายามมาเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญสูงสุด ดังนั้น จึงไม่เชื่อฟังความยิ่งใหญ่ของพระองค์และทำผิด จากความผิดนี้ พลังงานวัตถุของพระองค์จึงต้องมาดูแลพวกเขา เช่นนี้ คุณสมบัติทิพย์แห่งความร่าเริง ความปลื้มปีติสุข และสติปัญญาของพวกเขาถูกปกคลุมด้วยก้อนเมฆแห่งคุณสมบัติวัตถุทั้งสาม ปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้สร้างขึ้นมาจากคุณสมบัติวัตถุสามประการ เสมือนที่คุมขังของพันธวิญญาณ พันธวิญญาณดิ้นรนต่อสู้ด้วยความยากลำบากเพื่อหลบหนีจากพันธนาการทางวัตถุ ตามสภาวะชีวิตที่แตกต่างจึงปฏิบัติแตกต่างกันไป การปฏิบัติทั้งหมดมีพื้นฐานอยู่ที่ความรู้ของพระองค์ กุศลกรรมทำไปเมื่อถูกกระตุ้นจากพระเมตตาของพระองค์เท่านั้น หากไม่มาพึ่งพระบาทรูปดอกบัวจะไม่สามารถข้ามพ้นอิทธิพลของพลังงานวัตถุ อันที่จริงพวกเราในฐานะบุคลิกภาพแห่งความรู้พระเวทปฏิบัติรับใช้พระองค์เสมอในการช่วยเหลือให้พันธวิญญาณเข้าใจพระองค์’”
บทมนต์ของบุคลิกภาพแห่งพระเวทนี้แสดงให้เห็นว่า คัมภีร์พระเวทหมายไว้เพื่อช่วยพันธวิญญาณให้เข้าใจคริชณะ ชรุทิ ทั้งหมดหรือบุคลิกภาพแห่งพระเวทถวายคำสรรเสริญพระองค์ครั้งแล้วครั้งเล่า ขับร้อง “จะยะ! จะยะ!” แสดงว่าองค์ภควานได้รับการสรรเสริญพระบารมีสูงสุด สำคัญที่สุดคือพระเมตตาบารมีอันหาที่สุดมิได้ที่มีต่อพันธวิญญาณ ด้วยการเรียกร้องให้ออกมาจากบ่วงของมายา
มีสิ่งมีชีวิตจำนวนนับไม่ถ้วนที่อยู่ในร่างกายต่างๆกัน บ้างเคลื่อนที่และบ้างยืนอยู่ที่เดียว สิ่งมีชีวิตที่ถูกพันธนาการเหล่านี้เนื่องจากลืมความสัมพันธ์นิรันดรที่มีต่อองค์ภควาน เมื่อต้องการเป็นเจ้าครอบครองพลังงานวัตถุ ด้วยการเลียนแบบสถานภาพของคริชณะ ทำให้มาติดกับอยู่ในพลังงานวัตถุทันที ตามความปรารถนาของตน จึงมีร่างกายต่างๆจำนวน 8,400,000 ร่างไว้ให้ ถึงแม้ ต้องผ่านความทุกข์สามคำรบในความเป็นอยู่ทางวัตถุ ชีวิตที่อยู่ในความหลงยังคิดอย่างผิดๆว่าตนเองเป็นเจ้าของทุกสิ่งที่ได้มา ภายใต้มนต์สะกดแห่งพลังงานวัตถุซึ่งมีคุณบัติทางวัตถุสามระดับเป็นผู้แทน ถูกมัดอย่างเหนียวแน่นจนไม่เป็นอิสระ นอกจากจะได้รับพระกรุณาธิคุณจากองค์ภควาน สิ่งมีชีวิตไม่สามารถพิชิตอิทธิพลของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุด้วยความพยายามของตนเอง เพราะธรรมชาติวัตถุปฏิบัติภายใต้การควบคุมขององค์ภควาน พระองค์ทรงอยู่นอกเหนือขอบเขต สิ่งมีชีวิตทั้งหมดเริ่มจากพระพรหมลงไปจนถึงมดถูกธรรมชาติวัตถุพิชิตเมื่อมาสัมผัส ยกเว้นองค์ภควาน
เนื่องจากพระองค์ทรงมีความมั่งคั่งหกประการโดยสมบูรณ์คือ ความร่ารวย พลังอำนาจ ชื่อเสียง ความสง่างาม ความรู้ และ เสียสละ องค์ภควานเท่านั้นที่ทรงอยู่เหนือมนต์สะกดแห่งธรรมชาติวัตถุ นอกจากสิ่งมีชีวิตสถิตในคริชณะจิตสำนึก มิฉะนั้นไม่สามารถเข้าพบองค์ภควานได้ เนื่องจากพระองค์ทรงมีพลังอำนาจทั้งปวง จึงสามารถสั่งจากภายใน ในฐานะอภิวิญญาณ แม้ขณะทำงานตามปกติสิ่งมีชีวิตค่อยๆกลับมาหาพระองค์ได้ ใน ภควัต-คีตา องค์ภควานทรงแนะนำว่า “ไม่ว่าเธอทำอะไรจงทำเพื่อข้า ไม่ว่าเธอรับประทานอะไรก่อนอื่นถวายให้ข้า ไม่ว่าเธอให้ทานอะไรก่อนอื่นให้ทานนั้นแด่ข้า และไม่ว่าสมถะหรือความเพียรใดๆที่เธอปรารถนาจะทำ จงทำเพื่อข้า” เช่นนี้ พวกคารมี ได้รับคำสอนให้ค่อยๆพัฒนาคริชณะจิตสำนึก ลักษณะเดียวกัน คริชณะทรงสอนบรรดานักปราชญ์ให้ค่อยๆเข้าพบพระองค์ ด้วยการแยกแยะ บระฮมัน และ มายา ในที่สุดเมื่อมีวุฒิภาวะพอเพียงจะศิโรราบต่อคริชณะดังที่ตรัสไว้ใน ภควัต-คีตา “หลังจากหลายต่อหลายชาติ นักปราชญ์ผู้มีปัญญาจะศิโรราบต่อข้า” บรรดาโยคีได้รับคำสอนให้ตั้งจิตทำสมาธิอยู่ที่คริชณะภายในหัวใจ ด้วยวิธีการของคริชณะจิตสำนึกอย่างต่อเนื่อง โยคีจึงสามารถเป็นอิสระจากเงื้อมมือของพลังงานวัตถุ เนื่องจากสาวกปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยใจรักและยินดีตั้งแต่ต้น องค์ภควานทรงแนะนำให้้เข้าถึงพระองค์โดยไม่ยากและไม่เบี่ยงเบน ดังที่กล่าวไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานเท่านั้นที่สิ่งมีชีวิตสามารถเข้าใจสถานภาพอันถูกต้องของ บระฮมัน พะระมาทมา และ ภควาน
คำพูดของบุคลิกภาพแห่งพระเวทเป็นหลักฐานชัดเจนว่า วรรณกรรมพระเวทเสนอไว้เพื่อให้เข้าใจคริชณะ ได้ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า คัมภีร์พระเวททั้งหมดควรเข้าใจ องค์ภควาน คริชณะ เท่านั้น คริชณะทรงมีความรื่นเริงอยู่เสมอไม่ว่าในโลกวัตถุหรือโลกทิพย์ เพราะทรงเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญสูงสุด สำหรับพระองค์ไม่มีข้อแตกต่างระหว่างโลกวัตถุและโลกทิพย์ โลกวัตถุเป็นอุปสรรคสำหรับสิ่งมีชีวิตธรรมดาทั่วไปเพราะมาอยู่ภายใต้การควบคุมของมัน แต่คริชณะทรงเป็นผู้ควบคุมโลกวัตถุ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับอุปสรรคเหล่านี้ ฉะนั้น ในคัมภีร์พระเวทส่วนต่างๆของอุปนิษัท กล่าวว่า “บระฮมันเป็นอมตะ เปี่ยมไปด้วยความรู้ และปลื้มปีติสุขทั้งหมด แต่องค์ภควานทรงสถิตอยู่ภายในหัวใจของทุกๆชีวิต” เนื่องจากทรงแพร่กระจายไปทั่ว พระองค์ทรงไม่เพียงเข้าไปภายในหัวใจของมวลชีวิตเท่านั้น แต่ยังเข้าไปในมวลอณูในรูปอภิวิญญาณด้วย ทรงควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต พระองค์ทรงอยู่ภายในทุกๆชีวิต และเป็นพยานในการกระทำของทุกชีวิต อนุญาตให้พวกเขาปฏิบัติตามใจปรารถนาและทรงให้ผลในกิจกรรมต่างๆ ทรงเป็นพลังชีวิตของสรรพสิ่ง แต่เป็นทิพย์อยู่เหนือคุณบัติแห่งวัตถุ ทรงมีพระเดชทั้งปวง มีความชำนาญในการผลิตทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะความรู้โดยธรรมชาติที่เหนือกว่า ทรงสามารถนำทุกชีวิตมาอยู่ภายใต้การควบคุม เช่นนี้พระองค์ทรงเป็นเจ้านายของทุกชีวิต บางครั้งปรากฏบนผิวโลก แต่ทรงอยู่ภายในวัตถุทั้งหมดพร้อมกันไป ปรารถนาแบ่งภาคในรูปลักษณ์มากมาย พระองค์ทรงชำเลืองไปที่พลังงานวัตถุทำให้สิ่งมีชีวิตจำนวนนับไม่ถ้วนปรากฏออกมา ทุกสิ่งถูกสร้างขึ้นมาด้วยพลังงานเบื้องสูงของพระองค์ และทุกอย่างในการสร้างดูเหมือนว่าเป็นไปอย่างสมบูรณ์โดยไม่ขาดตกบกพร่อง
พวกที่ใฝ่ฝันความหลุดพ้นจากธรรมชาติวัตถุต้องบูชาองค์ภควาน ผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดสูงสุดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง พระองค์ทรงเหมือนกับดินมวลรวมที่หม้อดินต่างๆมากมายถูกผลิตออกมา หม้อต่างๆทำมาจากดินเหนียวที่อยู่บนโลก หลังจากถูกทำลายลง ธาตุของมันในที่สุดกลืนกลับเข้าไปในโลก เมื่อนำอุปมาของบระฮมันกับดินนี้มาใช้ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดเดิมแท้ของปรากฏการณ์อันหลากหลายทั้งปวง พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์ยังเน้นไปที่คำพูดพระเวทโดยเฉพาะว่า สารวัม คัลว อิดัม บระฮมะ “ทุกสิ่งทุกอย่างคือบระฮมัน” พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์ไม่คิดว่าปรากฏการณ์อันหลากหลายมากมายออกมาจากแหล่งกำเนิดสูงสุดของบระฮมัน เพียงแต่พิจารณาว่าทุกสิ่งทุกอย่างออกมาจากบระฮมัน หลังจากถูกทำลายลงจะกลืนเข้าไปในบระฮมัน ช่วงกลางของปรากฏการณ์คือบระฮมันเช่นเดียวกัน ถึงแม้พวกมายาวาดีเชื่อว่าก่อนหน้าปรากฏการณ์ จักรวาลอยู่ภายในบระฮมัน หลังจากการสร้างยังคงอยู่ในบระฮมัน และหลังจากการทำลายล้างจะกลืนเข้าไปในบระฮมัน พวกเขาไม่รู้ว่า บระฮมันคืออะไร ความจริงนี้อธิบายไว้อย่างชัดเจนในบระฮมะ-สัมฮิทา ว่าสิ่งมีชีวิต อากาศ เวลา ธาตุวัตถุต่างๆ เช่น ไฟ ดิน ท้องฟ้า น้า และจิตใจ รวมกันเข้าเป็นปรากฏการณ์ในจักรวาลทั้งหมดเรียกว่า บูฮ บุวะฮ สวะฮ ปรากฏออกมาโดยโกวินดะ เฟื่องฟูเจริญขึ้นจากพลังงานของโกวินดะ และหลังจากถูกทำลายลงก็เข้าไปและถูกเก็บรักษาไว้ในโกวินดะ ดังนั้น พระพรหมตรัสว่า “ข้าขอบูชาโกวินดะบุคลิกภาพองค์เดิมผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำนิดทั้งปวง”
คำว่าบระฮมันแสดงให้เห็นถึงผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดและผู้อนุรักษ์สรรพสิ่ง พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์หลงอยู่กับความยิ่งใหญ่ของท้องฟ้า เนื่องจากด้อยความรู้จึงไม่สนใจกับความยิ่งใหญ่ของคริชณะ อย่างไรก็ดี ในชีวิตภาคปฏิบัติเราชื่นชมความยิ่งใหญ่ของบุคคล มิใช่ความยิ่งใหญ่ของภูเขาใหญ่ๆ อันที่จริงคำว่าบระฮมันใช้ได้กับคริช ณะเท่านั้น ดังนั้น ใน ภควัต-คีตา อารจุนะยอมรับว่า องค์ภควาน คริชณะ คือ พะระบระฮมัน หรือที่พักพิงสูงสุดของสรรพสิ่ง คริชณะทรงเป็นบระฮมันสูงสุดเนื่องมาจากความรู้ที่ไร้ขีดจำกัด อำนาจที่ไร้ขีดจำกัด พละกำลังที่ไร้ขีดจำกัด อิทธิพลที่ไร้ขีดจำกัด ความสง่างามที่ไร้ขีดจำกัด และการเสียสละที่ไร้ขีดจำกัด ฉะนั้น ในที่สุดคำว่าบระฮมันใช้ได้กับคริชณะเท่านั้น อารจุนะยืนยันว่าเนื่องจากบระฮมันอันไร้รูปลักษณ์เป็นรัศมีที่สาดส่องออกมาจากพระวรกายทิพย์ของคริชณะ คริชณะคือ พะระบระฮมัน สรรพสิ่งพำนักอยู่ที่บระฮมัน แต่ตัวบระฮมันเองพำนักอยู่ที่คริชณะ ดังนั้น คริชณะทรงเป็นบระฮมันสูงสุดหรือพะระบระฮมัน ธาตุวัตถุต่างๆ ยอมรับว่าเป็นพลังงานเบื้องต่าของคริชณะ เนื่องจากการผสมผสานของธาตุเหล่านี้ ปรากฏการณ์ในจักรวาลจึงเกิดขึ้น พำนักอยู่ที่คริชณะ และหลังจากถูกทำลายลงก็เข้าไปในพระวรกายของคริชณะอีกครั้ง ในลักษณะที่เป็นพลังงานที่ละเอียดอ่อนของพระองค์ ฉะนั้น คริชณะทรงเป็นแหล่งกำเนิดของทั้งการปรากฏออกมาและการถูกทำลายลง
สารวัม คัลว อิดัม บระฮมะ หมายความว่าสรรพสิ่งคือคริชณะ ในความหมายที่ว่าสรรพสิ่งคือพลังงานของพระองค์ นี่คือคำบอกเล่าของ มะฮา-บากะวะทะ ท่านเหล่านี้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างในความสัมพันธ์กับคริชณะ พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์เถียงว่าคริชณะทรงเปลี่ยนตัวพระองค์ไปอยู่ในหลายสิ่งหลายอย่าง ฉะนั้นทุกสิ่งคือ คริชณะ การบูชาทุกสิ่งทุกอย่างคือการบูชาคริชณะ การถกเถียงที่ผิดๆเช่นนี้ คริชณะทรงตอบใน ภควัต-คีตา ว่า แม้สรรพสิ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงมาจากพลัง งานของคริชณะ พระองค์ทรงมิได้ปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่ง ปรากฏอยู่และมิได้ปรากฏอยู่พร้อมกันไป ทรงปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งด้วยพลังงานของพระองค์ แต่ในฐานะแหล่งกำเนิดของพลังงานทรงมิได้ปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่ง การปรากฏและไม่ปรากฏพร้อมกันนี้เป็นพลังอำนาจที่ไม่สามารถสำเหนียกได้จากประสาทสัมผัสปัจจุบันของเรา ได้อธิบายไว้ในตอนต้นของ ศรี อุปนิษัท อย่างชัดเจน กล่าวว่าองค์ภควานทรงมีความสมบูรณ์จนแม้พลังงานที่ไร้ขอบเขตจำกัดและการเปลี่ยนแปลงของมันออกมาจากคริชณะ แต่บุคลิกภาพของคริชณะทรงไม่มีการเปลี่ยนแปลงแม้แต่น้อย ดังนั้น เนื่องจากคริชณะทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง บุคคลผู้มีปัญญาควรมาพึ่งพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์
คริชณะทรงแนะนำทุกคนว่าเพียงแต่ศิโรราบต่อพระองค์เท่านั้น นี่คือวิถีแห่งคำสอนพระเวท เนื่องจากคริชณะทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง นักปราชญ์และนักบุญทั้งหมดจึงบูชาพระองค์ด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมที่กำหนดไว้ เมื่อจำเป็นในการทำสมาธิ บุคลิกภาพผู้ยอดเยี่ยมจะทำสมาธิอยู่ที่รูปลักษณ์ทิพย์ของคริชณะภายในหัวใจ เช่นนี้ จิตใจของผู้ยอดเยี่ยมปฏิบัติอยู่ในคริชณะจิตสำนึกเสมอ จิตใจจดจ่ออยู่ที่คริชณะโดยธรรมชาติ สาวกผู้มีใจรักจะพูดเกี่ยวกับคริชณะเท่านั้น
การพูดเกี่ยวกับคริชณะหรือการขับร้องเกี่ยวกับคริชณะเรียกว่าคีรทะนะ องค์เชธันญะทรงแนะนำเช่นเดียวกันว่า คีรทะนียะฮ สะดา ฮะริฮ หมายความว่า ระลึกถึงและพูดถึงคริชณะอยู่เสมอโดยไม่มีสิ่งอื่น เช่นนี้ เรียกว่าคริชณะจิตสำนึก คริชณะจิตสำนึกประเสริฐมากจนกระทั่งผู้ใดรับเอาวิธีการนี้ไปปฏิบัติ จะพัฒนาไปถึงความสมบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิต ซึ่งอยู่เหนือแนวคิดแห่งความหลุดพ้นมาก ฉะนั้น ใน ภควัต-คีตา คริชณะแนะนำทุกคนให้ระลึกถึงพระองค์อยู่เสมอ ถวายการอุทิศตนรับใช้ บูชาพระองค์ และถวายความเคารพแด่พระองค์ เช่นนี้ สาวกกลายมาเป็นของ คริชณะโดยสมบูรณ์ สถิตในคริชณะจิตสำนึกเสมอ ในที่สุดจะกลับคืนสู่คริชณะ
แม้คัมภีร์พระเวทได้แนะนำให้บูชาเทวดาต่างๆ ในฐานะที่เป็นส่วนต่างๆ ของคริชณะ ควรเข้าใจว่าคำสอนเช่นนี้หมายไว้เพื่อชนชั้นด้อยปัญญาที่ยังยึดติดอยู่กับความสุขทางประสาทสัมผัสวัตถุ แต่บุคคลผู้ต้องการสนองภารกิจของชีวิตมนุษย์ให้สมบูรณ์จริงๆ ควรบูชาแต่ องค์ภควาน คริชณะ เท่านั้น เช่นนี้ทำให้ง่ายขึ้นและรับประกันความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ในชีวิตมนุษย์ ถึงแม้ท้องฟ้า น้า และแผ่นดิน ทั้งหมดเป็นส่วนต่างๆของโลกวัตถุ เมื่อเรายืนอยู่บนดินที่แน่นแข็งแรงสถานภาพของเรามั่นคงกว่าตอนที่ยืนอยู่บนท้องฟ้าหรือในน้า ฉะนั้น ผู้มีปัญญาจะไม่ยืนอยู่ภายใต้การคุ้มครองของเหล่าเทวดา แม้จะเป็นส่วนต่างๆของคริชณะ แต่ยืนอยู่บนพื้นฐานที่แข็งแรงแห่งคริชณะจิตสำนึก เช่นนี้จะทำให้สถานภาพของเรามั่นคงและปลอดภัย
บางครั้งผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานให้ตัวอย่างว่าหากยืนอยู่บนหินหรือบนท่อนไม้เท่ากับยืนอยู่บนแผ่นดินเช่นกัน เพราะหินและไม้อยู่บนโลก แต่อาจตอบได้ว่าหากยืนอยู่บนผิวโลกโดยตรง จะปลอดภัยกว่าที่ยืนอยู่บนไม้หรือบนหินที่อยู่บนโลก อีกนัยหนึ่ง การมาพึ่งพะระมาทมาหรือพึ่งบระฮมันที่ไร้รูปลักษณ์ไม่ปลอดภัยเท่ากับมาพึ่งคริชณะในคริชณะจิตสำนึกโดยตรง สถานภาพของ กยานี และ โยกี ไม่มั่นคงเท่ากับสถานภาพสาวกของคริชณะ ฉะนั้น คริชณะทรงแนะนำใน ภควัต-คีตา ว่า บุคคลผู้ไร้เหตุผลเท่านั้นที่บูชาเหล่าเทวดา เกี่ยวกับผู้ยึดติดกับบระฮมันที่ไร้รูปลักษณ์ ชรีมัด-ภควธัม กล่าวว่า “องค์ภควานที่รักของข้า พวกที่คิดว่าตนเองหลุดพ้นจากการคาดคะเนทางจิตใจ ยังไม่บริสุทธิ์จากมลทินแห่งธรรมชาติวัตถุ เพราะไม่สามารถมาพึ่งพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ แม้เจริญขึ้นมาถึงความเป็นอยู่แห่งสถานภาพทิพย์ในบระฮมันที่ไร้รูปลักษณ์ แน่นอนว่าต้องตกลงจากสถานภาพอันสูงส่ง เพราะละเลยที่จะปรารถนาพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์” ดังนั้น คริชณะทรงแนะนำว่า พวกบูชาเหล่าเทวดามีปัญญาไม่มาก เพราะได้รับผลไม่ถาวรที่จะหมดสิ้นไปเท่านั้น เช่นนี้เป็นความพยายามของผู้ด้อยปัญญา แต่องค์ภควานทรงให้ความมั่นใจว่าสาวกของพระองค์ไม่กลัวการตกลงต่า
บุคลิกภาพแห่งพระเวทภาวนาต่อ “องค์ภควานที่รัก เมื่อพิจารณาจากทุกแง่มุม หากผู้ใดต้องบูชาบุคคลที่สูงกว่าตน ด้วยความประพฤติที่ดีควรยึดมั่นในการบูชาพระบาทรูปดอกบัวของคริชณะ เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมสูงสุดของการสร้าง อนุรักษ์ และทำลาย ทรงเป็นผู้ควบคุมสามโลก บูฮ บุวาฮ และ สวะฮ พระองค์ทรงควบคุมสิบสี่โลกเบื้องบนและเบื้องล่าง ทรงเป็นผู้ควบคุมสามระดับแห่งวัตถุ เหล่าเทวดาและบุคคลผู้เจริญในความรู้ทิพย์ ปฏิบัติในการสดับฟังและสวดภาวนาเกี่ยวกับลีลาทิพย์ของพระองค์เสมอ เพราะมีพลังอำนาจโดยเฉพาะที่จะขจัดชีวิตแห่งการทำบาปที่สะสมไว้ บุคคลผู้มีปัญญาอันที่จริงจะแหวกว่ายลงไปในมหาสมุทรแห่งกิจกรรมที่เป็นน้าทิพย์ และสดับฟังด้วยความอดทน เช่นนี้ จะเป็นอิสระจากมลทินแห่งธรรมชาติวัตถุทันที โดยไม่ต้องผ่านการปฏิบัติความเพียรและสมถะอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ การสวดภาวนาและสดับฟังลีลาทิพย์ของพระองค์เป็นวิธีการง่ายที่สุดเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน เพียงแต่สดับฟังด้วยยอมจำนนในสารทิพย์ หัวใจจะสะอาดขึ้นจากสิ่งสกปรกทั้งปวง เช่นนี้ คริชณะจิตสำนึกจะมั่นคงอยู่ในหัวใจของสาวก
“บีชมะเดวะ ผู้เชื่อถือได้ที่ยอดเยี่ยมได้ให้ความเห็นว่า วิธีการสวดภาวนาและสดับฟังเกี่ยวกับองค์ภควานเป็นแก่นสารสำคัญในบรรดาการปฏิบัติพิธีกรรมพระเวททั้งหมด องค์ภควานที่รัก สาวกผู้ปรารถนาพัฒนาตนเองด้วยวิธีการในกิจกรรมอุทิศตนเสียสละ โดยเฉพาะด้วยการสดับฟังและสวดภาวนา ในไม่ช้าจะออกจากเงื้อมมือของสิ่งคู่แห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุ จากวิธีการแห่งความเพียรและสมถะที่ง่ายๆนี้ องค์อภิวิญญาณภายในหัวใจของสาวกทรงมีความยินดีมาก และให้คำแนะนำสาวกเพื่ออาจกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควาน” กล่าวไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า ผู้ปฏิบัติกิจกรรมและใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดในการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควาน จะมีความสงบโดยสมบูรณ์ เพราะองค์อภิวิญญาณทรงมีความพึงพอใจ เช่นนี้ สาวกกลายมาเป็นทิพย์อยู่เหนือสิ่งคู่ทั้งปวง เช่น ความร้อนและความเย็น ได้เกียรติและเสียเกียรติ เป็นอิสระจากสิ่งคู่ทำให้รู้สึกมีความปลื้มปีติสุขทิพย์ ไม่ต้องทุกข์ร้อนจากต้องระมัดระวังและวิตกกังวลเนื่องมาจากความเป็นอยู่ทางวัตถุ ภควัต-คีตา ได้ยืนยันว่า สาวกผู้ซึมซาบอยู่ในคริชณะจิตสำนึกเสมอ ไม่มีความวิตกกังวลในความเป็นอยู่หรือปกป้องตนเอง ซึมซาบอยู่ในคริชณะจิตสำนึกเสมอ ในที่สุดบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุด แม้ขณะมีความเป็นอยู่ทางวัตถุ มีชีวิตอยู่อย่างสงบและปลื้มปีติสุขโดยไม่มีความห่วงใยและวิตกกังวล เมื่อออกจากร่างนี้ไปเขากลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควาน ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า ‘พระตำหนักสูงสุดของข้าเป็นทิพย์ สถานที่ซึ่งเมื่อไปถึงแล้วไม่มีผู้ใดต้องกลับมายังโลกวัตถุนี้อีก ผู้ใดที่บรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุด ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ส่วนตัวต่อข้าที่พระตำหนักนิรันดร บรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิตมนุษย์ ไม่ต้องกลับมาในโลกวัตถุอีกครั้งซึ่งมีแต่ความทุกข์’
“องค์ภควานที่รักของข้า เลี่ยงไม่ได้ที่สิ่งมีชีวิตต้องปฏิบัติคริชณะจิตสำนึก ถวายการอุทิศตนเสียสละรับใช้เสมอตามวิธีที่กำหนดไว้ เช่น การสดับฟัง สวดภาวนา และปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ หากไม่ปฏิบัติคริชณะจิตสำนึกและอุทิศตนเสียสละรับใช้ จะไม่มีคุณค่าในการแสดงลักษณะอาการของชีวิต โดยทั่วไปยอมรับกันว่า หากบุคคลมีลมหายใจแสดงว่ายังมีชีวิตอยู่ แต่่ปราศจากคริชณะจิตสำนึกเปรียบเสมือนถุงลมในร้านช่างตีเหล็ก ถุงลมใหญ่คือถุงหนังที่หายใจเอาลมเข้าออก มนุษย์ที่เพียงแต่อยู่ภายในถุงหนังและกระดูกโดยไร้คริชณะจิตสำนึก ไม่มีความรักในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ก็ไม่ดีไปกว่าถุงลม เช่นเดียวกัน ชีวิตยืนยาวของผู้มิใช่สาวกเปรียบเสมือนชีวิตที่ยืนยาวของต้นไม้ สามารถกินได้มากเหมือนกับสุนัขและสุกร มีความสุขในชีวิตเพศสัมพันธ์เหมือนกับสุกรและแพะ
“ปรากฏการณ์ในจักรวาลเกิดขึ้นเพราะองค์ภควานในรูป มะฮา-วิชณุ ทรงเข้าไปในโลกวัตถุ พลังงานวัตถุทั้งหมดหวั่นไหวจากการชำเลืองมองของ มะฮา-วิชณุ จากนั้น สามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุมีปฏิกริยาต่อกัน สรุปได้ว่า ไม่ว่าสิ่งเอื้ออำนวยความสะดวกใดๆ ที่เราพยายามรื่นเริง เกิดขึ้นมาได้ด้วยพระเมตตาขององค์ภควาน
“ภายในร่างกายมีแผนกต่างๆห้าแผนก คือ อันนะมะยะ, พรานะมะยะ, มะโนมะยะ, วิกยานะมะยะ, และในที่สุด อานันดะมะยะ ในตอนเริ่มต้น ทุกชีวิตมีอาหารจิตสำนึก เด็กตัวเล็กๆ หรือสัตว์พึงพอใจเมื่อได้อาหารดีๆ ระดับจิตสำนึกนี้เป้าหมายคือกินมาก เรียกว่าอันนะมะยะ, อันนะ หมายถึงอาหาร หลังจากนี้เขาใช้ชีวิตในจิตสำนึกที่ยังมีชีวิตอยู่ หากสามารถใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีผู้ได้มารังแกหรือทำร้าย คิดว่ามีความสุขแล้ว ระดับนี้เรียกว่าพราณะมะยะ หรือจิตสำนึกแห่งความเป็นอยู่ของตน หลังจากระดับนี้เมื่อสถิตอยู่ในระดับจิตใจ จิตสำนึกนั้นเรียกว่า มะโนมะยะ ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ โดยพื้นฐานสถิตอยู่ในสามระดับนี้คือ อันนะมะยะ พราณะมะยะ และ มะโนมะยะ ความห่วงใยข้อแรกของผู้เจริญแล้วคือ การพัฒนาเศรษฐกิจ ถัดไปคือการป้องกันจากการถูกทำร้าย และจิตสำนึกถัดไปคือการคาดคะเนทางจิต โดยใช้หลักปรัชญาเพื่อให้รู้ถึงคุณค่าแห่งชีวิต
“หากด้วยวิธีวิวัฒนาการทางปรัชญาชีวิต เขามาถึงระดับชีวิตที่เกิดปัญญาและเข้าใจว่าตัวเขาไม่ใช่ร่างกายวัตถุนี้ แต่เป็นจิตวิญญาณ เขาสถิตอยู่ในระดับวิกยานะมะยะ จากนั้นด้วยวิวัฒนาการแห่งชีวิตทิพย์ จนเข้าใจองค์ภควานหรือดวงวิญญาณสูงสุด เมื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับพระองค์และปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ระดับแห่งชีวิตนั้นเรียกว่าคริชณะจิตสำนึก หรือระดับ อานันดะมะยะ, อานันดะมะยะ เป็นชีวิตที่มีความปลื้มปีติสุขแห่งความรู้และเป็นอมตะ ดังที่กล่าวไว้ใน เวดานธะ-สูทระ, อานันดะมะโย ‘บยาสาท บระฮมันสูงสุดและบระฮมันที่รองลงมา หรือองค์ภควานและสิ่งมีชีวิต ทั้งคู่มีความร่าเริงโดยธรรมชาติ ตราบใดที่สิ่งมีชีวิตสถิตในระดับชีวิตที่ต่ากว่าทั้งสี่เช่น อันนะมะยะ, พราณะมะยะ, มะโนมะยะ, และ วิกยานะมะยะ พิจารณาว่าอยู่ในชีวิตสภาวะวัตถุ แต่ทันทีที่มาถึงระดับ อานันดะมะยะ เขากลายมาเป็นดวงวิญญาณผู้หลุดพ้น ระดับ อานันดะมะยะ นี้อธิบายไว้ใน ภควัต-คีตา ว่าเป็นระดับ บระฮมะ-บูทะ กล่าวไว้ว่าในระดับชีวิต บระฮมะ-บูทะ จะไม่มีความวิตกกังวลและไม่มีความทะยานอยาก ระดับนี้เริ่มขึ้นเมื่อเขาเสมอภาคต่อมวลชีวิต จากนั้นขยายไปถึงระดับคริชณะจิตสำนึก ซึ่งจะทะยานอยากในการถวายการรับใช้ต่อองค์ภควานเสมอ ทะยานอยากเพื่อเจริญก้าวหน้าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้ไม่เหมือนกับทะยานอยากเพื่อสนองประสาทสัมผัสในความเป็นอยู่ทางวัตถุ อีกนัยหนึ่ง ทะยานอยากยังคงมีอยู่ในชีวิตทิพย์ แต่ว่าบริสุทธิ์ เมื่อประสาทสัมผัสบริสุทธิ์จะเป็นอิสระจากระดับวัตถุทั้งหมด เช่น อันนะมะยะ, พราณะมะยะ, มะโนมะยะ, และ วิกยานะมะยะ และมาสถิตอยู่ในระดับสูงสุด อานันดะมะยะ หรือชีวิตปลื้มปีติสุขในคริชณะจิตสำนึก นักปราชญ์ มายาวาดีพิจารณาว่าระดับ อานันดะมะยะ จะกลืนเข้าไปในองค์ภควาน สำหรับพวกนี้ อานันดะมะยะ หมายถึงองค์อภิวิญญาณและปัจเจกวิญญาณกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ความจริงคือ ความเป็นหนึ่งเดียวกันมิได้หมายความว่ากลืนหายเข้าไปในองค์ภควานและสูญเสียความเป็นปัจเจกบุคคลของตน การกลืนเข้าไปในความเป็นอยู่ทิพย์คือสิ่งมีชีวิตรู้แจ้งในความเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานในคุณลัษณะที่เป็นอมตะและความรู้ ระดับอานันดะมะยะ (ความปลื้มปีติสุข) ที่แท้จริงบรรลุได้เมื่อมาปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า มัด-บัคธิม ละบะเท พะราม ณ ที่นี้ คริชณะตรัสว่า ระดับ บระฮมะ-บูทะ อานันดะมะยะ สมบูรณ์เมื่อมีการแลกเปลี่ยนความรักระหว่างองค์ภควานและสิ่งมีชีวิตผู้เป็นรอง นอกจากมาถึงระดับชีวิตแห่ง อานันดะมะยะ นี้ การหายใจของเขาเหมือนกับการหายใจของถุงลมในร้านตีเหล็ก มีชีวิตยืนยาวเหมือนกับชีวิตของต้นไม้ และตัวเขาไม่ดีไปกว่าสัตว์ต่าๆ เช่น อูฐ สุกร และ สุนัข
โดยไม่ต้องสงสัยว่าสิ่งมีชีวิตอมตะไม่ถูกทำลายไม่ว่าในเวลาใด แต่เผ่าพันธุ์ชีวิตที่ต่ากว่ามีสภาวะชีวิตที่เป็นทุกข์ ขณะที่ผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานสถิตในความสุขหรือระดับชีวิตอานันดะมะยะ ระดับต่างๆที่อธิบายมาแล้วทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับองค์ภควาน แม้ในทุกๆสถานการณ์มีทั้งองค์ภควานและสิ่งมีชีวิต ข้อแตกต่างคือองค์ภควานสถิตในระดับ อานันดะมะยะ เสมอ ขณะที่สิ่งมีชีวิตที่เป็นรอง เนื่องจากสถานภาพอันน้อยนิดที่เป็นส่วนย่อยๆของพระองค์จะเอนเอียงตกลงไปสู่ระดับชีวิตอื่น แม้ในทุกระดับทั้งองค์ภควานและสิ่งมีชีวิตจะคงอยู่ องค์ภควานทรงเป็นทิพย์อยู่เหนือแนวคิดชีวิตของพวกเราเสมอ ไม่ว่าเราถูกพันธนาการหรือหลุดพ้น ปรากฏการณ์ในจักรวาลทั้งหมดเกิดขึ้นด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควาน คงอยู่ด้วยพระกรุณาขององค์ภควาน และเมื่อถูกทำลายลงก็กลืนเข้าไปในความเป็นอยู่ขององค์ภควาน เช่นนี้ พระองค์ทรงมีความเป็นอยู่สูงสุด เป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง ข้อสรุปคือ หากปราศจากการพัฒนาคริชณะจิตสำนึก ชีวิตเราเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
พวกนักวัตถุนิยมไม่สามารถเข้าใจสถานภาพของโลกทิพย์ ไม่เข้าใจพระตำหนักของคริชณะ สำหรับบุคคลเหล่านี้ บรรดาปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมได้แนะนำกรรมวิธีโยคะที่จะค่อยๆพัฒนาขึ้นมาจากการทำสมาธิที่ท้องเรียกว่า มูลาดาระ หรือ มะณิพูระคะ, มูลาดาระ และ มะณิพูระคะ เป็นศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับลำไส้ภายในท้อง นักวัตถุนิยมหยาบๆคิดว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะอยู่ภายใต้ความคิดว่าสิ่งมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินอาหารเท่านั้น ลืมคิดไปว่าแม้เราอาจกินมากสุดเท่าที่อยากกิน หากอาหารไม่ย่อยจะสร้างปัญหาเกี่ยวกับการย่อยและกรด ในตัวมันเองการกินมิใช่ต้นกำเนิดของพลังงานสำคัญของชีวิต เพราะการย่อยอาหารที่กินเข้าไปต้องพึ่งพลังงานที่สูงกว่า กล่าวใน ภควัต-คีตา ว่า ไวชวานะระ คริชณะ ตรัสว่า พระองค์ทรงช่วยย่อยอาหารในรูปไวชวานะระ องค์ภควานทรงแพร่กระจายไปทั่ว ดังนั้น การปรากฏในรูปไวชวานะระ ของพระองค์ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ
อันที่จริง คริชณะทรงปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่ง ฉะนั้น ไวชณะวะทำสัญลักษณ์ร่างกายเป็นวัดพระวิชณุ ก่อนอื่นทำเครื่องหมายวัด ทิละคะ ที่ท้อง จากนั้นที่หน้าอก กระดูกไหปลาร้า หน้าผาก และขึ้นไปบนศีรษะ บระฮมะ-รันดระ วัดสิบสามแห่งเจิมด้วย ทิละคะ บนร่างของไวชณะวะมีดังนี้ หน้าผากเป็นวัดของเคชะวะ ท้องเป็นวัดของนารายะณะ หน้าอกเป็นวัดของมาดะวะ คอระหว่างกระดูกไหปลาร้าทั้งสองเป็นวัดของโกวินดะ ด้านขวาของเอวเป็นวัดของวิชณุ แขนขวาเป็นวัดของมะดุสูดะนะ ด้านขวาของกระดูกไหปลาร้าเป็นวัดของทริวิคระมะ ทำนองเดียวกันด้านซ้ายของเอวเป็นวัดของวามะนะเดวะ แขนซ้ายเป็นวัดของชรีดะระ ด้านซ้ายของกระดูกไหปลาร้าเป็นวัดของฮริชีเคชะ หลังส่วนบนมีชื่อวัดพัดมะนาบะ และหลังส่วนล่างเป็นวัดชื่อดาโมดะระ บนศีรษะเป็นวัดชื่อวาสุเดวะ นี่คือวิธีการทำสมาธิที่องค์ภควานผู้สถิตตามส่วนต่างๆของร่างกาย สำหรับพวกที่ไม่ใช่ไวชณะวะ บรรดาปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมแนะนำการทำสมาธิที่แนวคิดชีวิตทางร่างกาย ทำสมาธิอยู่ที่ลำไส้ ที่หัวใจ ที่คอ ระหว่างคิ้ว บนหน้าผาก และจากนั้นบนศีรษะ ปราชญ์บางท่านในสาย พะรัมพะราจาก อรุณะนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ ทำสมาธิที่หัวใจเพราะอภิวิญญาณทรงประทับอยู่ภายในหัวใจควบคู่ไปกับสิ่งมีชีวิต เช่นนี้ ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา บทที่สิบห้า องค์ภควานตรัสว่า “ข้าสถิตอยู่ภายในหัวใจของทุกชีวิต”
สำหรับไวชณะวะ การปกป้องร่างกายเพื่อรับใช้องค์ภควานเป็นส่วนหนึ่งของการอุทิศตนเสียสละรับใช้ แต่พวกนักวัตถุนิยมหยาบๆ รับว่าร่างกายคือตนเอง จึงบูชาร่างกายด้วยวิธีกรรมทางโยคะในการทำสมาธิตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น มะณิพูระคะ, ดะฮะระ และ ฮริดะยะ แล้วค่อยๆ ขึ้นมาถึง บระฮมะ-รันดระ บนศีรษะ โยคีชั้นหนึ่งที่บรรลุถึงความสมบูรณ์ในการปฏิบัติตามระบบโยคะ ในที่สุดข้ามผ่าน บระฮมะ-รันดระ ไปถึงหนึ่งในดาวเคราะห์หากมิใช่ในโลกวัตถุก็ในโลกทิพย์ โยคีสามารถโอนย้ายตนเองไปยังดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งได้อย่างไร อธิบายไว้อย่างชัดเจนในภาคสองของ ชรีมัด-ภควธัม
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ชุคะเดวะ โกสวามี แนะนำให้ผู้เริ่มต้นควรบูชา วิราทพุรุชะ รูปลักษณ์จักรวาลมหึมาขององค์ภควาน ผู้ที่ไม่เชื่อว่าการบูชาองค์ภควานในรูปพระปฏิมาอารชา มีผลเท่ากัน หรือไม่สามารถทำสมาธิที่รูปลักษณ์นี้ ได้แนะนำให้บูชารูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควาน ส่วนล่างของจักรวาลพิจารณาว่าเป็นเท้าและขาของรูปลักษณ์จักรวาล ส่วนกลางของจักรวาลพิจารณาว่าเป็นสะดือหรือท้อง ระบบดาวเคราะห์เบื้องสูงเช่น จะนะโลคะ และ มะฮารโลคะ เป็นหัวใจของพระองค์ ระบบดาวเคราะห์สูงสุดบระฮมะโลคะพิจารณาว่าเป็นศีรษะส่วนที่สูงสุดของพระองค์ มีวิธีการต่างๆ ที่นักปราชญ์ได้แนะนำตามสถานภาพของผู้บูชา แต่จุดมุ่งหมายสูงสุดของวิธีการทำสมาธิและโยคะทั้งหมดคือ การกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควาน ดังที่กล่าวใน ภควัต-คีตา ว่า ผู้ใดที่ไปถึงดาวเคราะห์สูงสุดพระตำหนักของคริชณะ หรือแม้แต่โลกไวคุณธะ จะไม่กลับลงมาใช้ชีวิตสภาวะทางวัตถุที่มีแต่ความทุกข์นี้อีกต่อไป
ฉะนั้น คำแนะนำของพระเวทคือ เราต้องมีพระบาทรูปดอกบัวของพระวิชณุเป็นจุดมุ่งหมายของความพยายามทั้งหมด ทัด วิชโณฮ พะระมัม พะดัม วิชณุโลกสถิตอยู่เหนือโลกวัตถุทั้งหมด โลกไวคุณธะเหล่านี้เรียกว่า สะนาทะนะ-ดามะ เป็นอมตะ ไม่มีวันถูกทำลายแม้มีการทำลายโลกวัตถุนี้ ข้อสรุปคือ หากบุคคลไม่บรรลุภารกิจของชีวิตมนุษย์ด้วยการบูชาองค์ภควาน และมิได้กลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควาน เข้าใจได้ว่าเขาผิดหวังในการสนองตอบจุดมุ่งหมายสำคัญของชีวิตมนุษย์
บทมนต์ต่อไปของบุคลิกภาพแห่งพระเวทเกี่ยวกับการเสด็จเข้าไปในเผ่าพันธุ์ต่างๆของชีวิต กล่าวใน ภควัต-คีตา บทที่สิบสี่ว่า ในทุกๆเผ่าพันธุ์และรูปลักษณ์ชีวิต ละอองอณูทิพย์ขององค์ภควานทรงปรากฏ ได้อ้างใน ภควัต-คีตา ว่าทรงเป็นพระบิดาผู้ให้เมล็ดพันธุ์แด่รูปลักษณ์และเผ่าพันธุ์ทั้งหมด ฉะนั้น พิจารณาว่าทุกชีวิตเป็นบุตรของพระองค์ การเสด็จเข้าไปในหัวใจของทุกชีวิตในรูปพะระมาทมาบางครั้งทำให้พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์สับสน คิดว่าสิ่งมีชีวิตและองค์ภควานเท่าเทียมกัน โดยคิดว่า “ทั้งองค์ภควานและปัจเจกวิญญาณเข้าไปในร่างกายต่างๆ แล้วจะมีอะไรแตกต่างกัน? ทำไมปัจเจกวิญญาณต้องบูชาพะระมาทมาหรืออภิวิญญาณ?” หากเข้าใจตามนี้เท่ากับอภิวิญญาณและปัจเจกวิญญาณอยู่ในระดับเดียวกัน ทั้งคู่เป็นหนึ่งโดยไร้ข้อแตกต่าง อย่างไรก็ดี มีข้อแตกต่างระหว่างอภิวิญญาณและปัจเจกวิญญาณอธิบายไว้ใน ภควัต-คีตา บทที่สิบห้าตรัสว่า แม้สถิตอยู่กับสิ่งมีชีวิตในร่างเดียวกันพระองค์ทรงเหนือกว่า ทรงสั่งหรือให้ปัญญาแก่ปัจเจกวิญญาณจากภายใน กล่าวไว้อย่างชัดเจนใน คีตา ว่า องค์ภควานทรงให้ปัญญาแก่ปัจเจกวิญญาณ ทั้งการจำและการลืมเนื่องมาจากอิทธิพลของอภิวิญญาณ ไม่มีผู้ใดสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเสรีโดยปราศจากการให้อนุญาตของอภิวิญญาณ ฉะนั้น ปัจเจกวิญญาณปฏิบัติตามกรรมในอดีตที่พระองค์คอยเตือน ธรรมชาติของปัจเจกวิญญาณคือชอบลืม แต่การปรากฏขององค์ภควานภายในหัวใจเตือนว่า เขาต้องการทำอะไรในชาติก่อน ปัญญาของปัจเจกวิญญาณแสดงออกเหมือนกับไฟในไม้ แม้ไฟเป็นไฟอยู่เสมอ มันแสดงออกในขนาดที่เหมาะกับขนาดของไม้ ทำนองเดียวกัน แม้ปัจเจกวิญญาณมีคุณสมบัติเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานแต่จะแสดงตัวตามขีดจำกัดของร่างกายปัจจุบัน
องค์ภควานหรืออภิวิญญาณกล่าวว่าเป็น เอคะ-ระสะ, เอคะ แปลว่า หนึ่ง และ ระสะ แปลว่า อุดมสมบูรณ์ สถานภาพทิพย์ขององค์ภควานคือเป็นอมตะ ปลื้มปีติสุข และเปี่ยมไปด้วยความรู้ สถานภาพ เอคะ-ระสะ ของพระองค์ไม่เปลี่ยนแปลงแม้แต่น้อยเมื่อมาเป็นพยานและผู้แนะนำของปัจเจกวิญญาณในแต่ละปัจเจกร่างกาย
แต่ปัจเจกวิญญาณเริ่มต้นจากพระพรหมลงไปถึงมด แสดงพลังทิพย์ตามร่างกายที่ตนอยู่ปัจจุบัน พวกเทวดาอยู่ในประเภทเดียวกับปัจเจกวิญญาณในร่างมนุษย์หรือในร่างสัตว์ที่ต่ากว่า ฉะนั้น คนมีปัญญาไม่บูชาเทวดาที่เป็นเพียงผู้แทนเล็กๆของคริชณะ ปรากฏอยู่ในร่างกายที่มีพันธผูกพัน ปัจเจกวิญญาณสามารถแสดงพลังและอำนาจของตนตามส่วนของรูปลักษณ์และพื้นฐานของร่างกายเท่านั้น องค์ภควาน ทรงสามารถแสดงพลังอำนาจอย่างสมบูรณ์ไม่ว่าในรูปร่างลักษณะใดโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทฤษฏีของนักปราชญ์มายาวาดีที่ว่าองค์ภควานและปัจเจกวิญญาณเป็นหนึ่งเดียวกันและเหมือนกัน ยอมรับไม่ได้เพราะปัจเจกวิญญาณต้องพัฒนาพลังอำนาจของตนตามการพัฒนาของร่างกายที่แตกต่างกัน ปัจเจกวิญญาณในร่างของทารกน้อยไม่สามารถแสดงพลังและอำนาจอย่างสมบูรณ์เหมือนผู้ใหญ่ แต่องค์ภควาน คริชณะ แม้นอนอยู่บนตักของพระมารดาในรูปทารกน้อย สามารถแสดงพลังและอำนาจอย่างสมบูรณ์ขององค์ภควานด้วยการสังหารพูทะนาและมารตัวอื่นๆที่พยายามมาทำร้ายพระองค์ ดังนั้น พลังทิพย์ขององค์ภควาน กล่าวว่าเป็น เอคะ-ระสะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้น องค์ภควาน บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นเป้าหมายแห่งการบูชาเท่านั้น เช่นนี้ บุคคลผู้ไร้มลทินจากอำนาจแห่งธรรมชาติวัตถุรู้ดี อีกนัยหนึ่ง วิญญาณผู้หลุดพ้นเท่านั้นจึงสามารถบูชาองค์ภควาน มายาวาดีผู้ด้อยปัญญาบูชาเหล่าเทวดา คิดว่าเทวดาและองค์ภควานอยู่ในระดับเดียวกัน
บุคลิกภาพแห่งพระเวทถวายบทมนต์แสดงความเคารพต่อ ดังนี้ “องค์ภควานที่รัก หลังจากหลายต่อหลายชาติ พวกมีปัญญาจริงจะบูชาพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ด้วยความรู้ที่สมบูรณ์” ใน ภควัต-คีตา ยืนยันไว้เช่นกัน องค์ภควานตรัสว่าหลังจากหลายต่อหลายชาติ ดวงวิญญาณผู้ยอดเยี่ยม มะฮาทมา จะศิโรราบต่อพระองค์ทราบดีว่า วาสุเดวะ คริชณะ ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง พระเวทกล่าวต่อ “ดังอธิบายไว้แล้วว่าเนื่องจากจิตใจ ปัญญา และประสาทสัมผัสของเรา องค์ภควานทรงประทานให้ เมื่อเครื่องมือเหล่านี้บริสุทธิ์ขึ้นจริง จะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากนำมาใช้ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์ สิ่งมีชีวิตถูกกักขังอยู่ในเผ่าพันธุ์ชีวิตต่างๆ เนื่องจากใช้จิตใจ ปัญญา และประสาทสัมผัสในกิจกรรมวัตถุที่ผิด จึงได้รับร่างต่างๆอันเป็นผลมาจากกรรม ถูกสร้างขึ้นมาโดยธรรมชาติวัตถุตามความปรารถนาของตน เพราะสิ่งมีชีวิตปรารถนาและควรได้รับร่างเฉพาะ ซึ่งธรรมชาติวัตถุเป็นผู้ให้ ภายใต้คำสั่งขององค์ภควาน
ใน ชรีมัด-ภควธัม ภาคสาม อธิบายว่า ภายใต้การควบคุมของผู้มีอำนาจเหนือกว่า สิ่งมีชีวิตถูกจับให้มาอยู่ภายในอสุจิของชายและฉีดเข้าไปภายในครรภ์ของหญิง เพื่อพัฒนาร่างกายนั้นๆโดยเฉพาะ สิ่งมีชีวิตใช้ประสาทสัมผัส ปัญญา จิตใจ ฯลฯ ของตนในวิธีโดยเฉพาะที่เขาเลือก และพัฒนาร่างกายโดยเฉพาะตามที่ถูกกักขัง เช่นนี้ สิ่งมีชีวิตสถิตอยู่ในเผ่าพันธุ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร่างเทวดา มนุษย์ หรือร่างสัตว์ ตามสภาวะและสถานการณ์ที่แตกต่างกัน อธิบายไว้ในวรรณกรรมพระเวทว่า สิ่งมีชีวิตที่ถูกกักขังในเผ่าพันธุ์ต่างๆ เป็นละอองอณูขององค์ภควาน บรรดานักปราชญ์มายาวาดีเข้าใจผิดว่าสิ่งมีชีวิตเป็นพะระมาทมา ผู้ซึ่งอันที่จริงประทับอยู่กับสิ่งมีชีวิตในฐานะสหาย เนื่องจากทั้งพะระมาทมา และปัจเจกชีวิตอยู่ภายในร่างกาย บางครั้งทำให้เข้าใจผิดคิดว่าทั้งสองไม่แตกต่างกัน แต่มีความแตกต่างกันระหว่างปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณอย่างแน่นอน อธิบายไว้ใน วะราฮะ พุราณะ ดังต่อไปนี้ องค์ภควานทรงมีละอองอณูสองชนิด สิ่งมีชีวิตเรียกว่าวิบินนามชะ และ พะระมาทมา หรือภาคแบ่งแยกที่สมบูรณ์ขององค์ภควานเรียกว่าสวามชะ ภาคแบ่งแยกที่สมบูรณ์ สวามชะ ขององค์ภควานทรงมีพลังเท่ากับพระองค์เอง ไม่มีข้อแตกต่างแม้แต่น้อยระหว่างพลังอำนาจขององค์ภควานและภาคแบ่งแยกที่สมบูรณ์ในรูป พะระมาทมา แต่ วิบินนามชะ ละอองอณูมีพลังอำนาจขององค์ภควานในส่วนที่เล็กน้อยเท่านั้น นาระดะ-พันชะราทระ กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นพลังงานพรมแดนขององค์ภควานมีคุณสมบัติแห่งความเป็นอยู่ทิพย์เหมือนกับพระองค์โดยไม่ต้องสงสัย แต่มีแนวโน้มถูกเจือปนด้วยคุณสมบัติแห่งวัตถุ สิ่งมีชีวิตเล็กๆเรียกว่าจีวะ บางครั้งองค์ภควาน ทรงมีชื่อว่า ชีวะ หรือเป็นมงคลไปหมด ดังนั้น ข้อแตกต่างระหว่าง ชีวะ และ จีวะ คือ องค์ภควานผู้เป็นมงคลไปหมดทรงไม่เคยได้รับผลกระทบจากคุณสมบัติแห่งวัตถุ ขณะที่ส่วนย่อยๆของพระองค์มีแนวโน้มถูกกระทบจากคุณสมบัติแห่งธรรมชาติวัตถุ องค์อภิวิญญาณภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะแม้เป็นภาคที่แบ่งแยกมาจากพระองค์ ได้รับการบูชาจากปัจเจกชีวิต ฉะนั้น บรรดานักปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมสรุปว่า วิธีการทำสมาธิออกแบบไว้เพื่อให้ปัจเจกชีวิตอาจตั้งสมาธิจิตอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวของรูปลักษณ์อภิวิญญาณ (พระวิชณุ) นั่นคือรูปแบบของ สะมาดิ ที่แท้จริง สิ่งมีชีวิตไม่สามารถหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุได้ด้วยตนเอง ต้องปฎิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควาน หรือ อภิวิญญาณภายในตนเอง ชรีดะระ สวามี ผู้อธิบาย ชรีมัด-ภควธัม อย่างยอดเยี่ยม ได้เรียบเรียงโศลกอันสวยงามเกี่ยวกับประเด็นนี้ อธิบายไว้ดังนี้ “องค์ภควานที่รัก ข้าเป็นละอองอณูนิรัดรของพระองค์ แต่ถูกกักขังด้วยพลังงานวัตถุซึ่งออกมาจากพระองค์เช่นกัน ในฐานะที่เป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง เสด็จเข้ามาในร่างของข้าในรูปอภิวิญญาณ ข้ามีสิทธิพิเศษที่จะรื่นเริงกับชีวิตแห่งความปลื้มปีติสุขและความรู้ร่วมไปกับพระองค์ ดังนั้น องค์ภควานที่รัก โปรดกรุณาสั่งข้าให้ถวายการรับใช้ด้วยใจรักต่อพระองค์ เพื่อข้าอาจถูกนำกลับมาสู่สถานภาพเดิมแห่งความปลื้มปีติสุข”
บรรดาบุคลิกภาพผู้ยอดเยี่ยมเข้าใจว่า สิ่งมีชีวิตที่ถูกพันธนาการอยู่ในโลกวัตถุนี้ไม่สามารถหลุดพ้นด้วยความพยายามของตนเอง พวกท่านจึงถวายการรับใช้ทิพย์ด้วยใจรัก ศรัทธาที่มั่นคง และอุทิศตนเสียสละแด่พระองค์ นั่นคือข้อสรุปของบรรดาบุคลิกภาพแห่งพระเวท
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อ “องค์ภควานที่รัก เป็นเรื่องยากมากที่จะบรรลุถึงความรู้โดยสมบูรณ์แห่งสัจธรรมที่บริบูรณ์ พระองค์ทรงมีพระเมตตาต่อดวงวิญญาณผู้ตกต่าจึงปรากฏในอวตารต่างๆ และทำกิจกรรมต่างๆนานา ทรงปรากฏในฐานะบุคลิกภาพแห่งประวัติศาสตร์โลกวัตถุนี้ วรรณกรรมพระเวทอธิบายลีลาของพระองค์ไว้สวยงามมาก ลีลาเหล่านี้มีเสน่ห์ดึงดูดเสมือนมหาสมุทรแห่งความสุขเกษมสำราญทิพย์ ผู้คนโดยทั่วไปมีแนวโน้มตามธรรมชาติที่จะอ่านเรื่องราวสรรเสริญจีวะ ธรรมดาทั่วไป เมื่อมาชื่นชอบวรรณกรรมพระเวทซึ่งบรรยายถึงลีลาอมตะของพระองค์ เสมือนพวกเขาแหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทรแห่งความปลื้มปีติสุขทิพย์อย่างแท้จริง เหมือนกับคนเหนื่อยล้าพอได้ลงไปในสระว่ายน้าแล้วรู้สึกสดชื่นขึ้นมาทันที เช่นนี้ พันธวิญญาณเหนื่อยหน่ายมากกับกิจกรรมวัตถุรู้สึกสดชื่นขึ้น และลืมความเหนื่อยล้าทั้งหมดในกิจกรรมทางวัตถุ ด้วยเพียงแต่แช่ลงไปในมหาสมุทรทิพย์แห่งลีลาของพระองค์ แล้วแหวกว่ายในมหาสมุทรแห่งความปลื้มปีติสุขทิพย์ ฉะนั้น สาวกผู้มีปัญญาสูงสุดจะไม่ไปหาวิธีอื่นในการรู้แจ้งตนเอง นอกจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ปฏิบัติในเก้าวิธีแห่งชีวิตอุทิศตนเสียสละอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะสดับฟังและสวดภาวนา เมื่อสดับฟังและสวดภาวนาเกี่ยวกับลีลาทิพย์ สาวกไม่สนใจแม้แต่ความปลื้มปีติสุขทิพย์ที่ได้รับจากความหลุดพ้น หรือจากการกลืนเข้าไปในความเป็นอยู่ของพระองค์ สาวกเหล่านี้ไม่สนใจแม้กระทั่งสิ่งที่สมมุติว่าหลุดพ้น และแน่นอนว่าไม่สนใจกับกิจกรรมทางวัตถุที่พัฒนาไปสู่สวรรค์เพื่อสนองประสาทสัมผัส สาวกผู้บริสุทธิ์แสวงหาโอกาสมาอยู่ใกล้ชิดกับพะระมะฮัมสะ สาวกยอดเยี่ยมผู้เป็นอิสระแล้วเท่านั้น เพื่อจะได้สดับฟังและภาวนาเกี่ยวกับพระบารมีของพระองค์ตลอดเวลา ด้วยจุดมุ่งหมายนี้บรรดาสาวกผู้บริสุทธิ์เตรียมตัวสละความสะดวกสบายทั้งหมดของชีวิต แม้แต่ยกเลิกความสะดวกสบายทางวัตถุในชีวิตครอบครัว หรือสิ่งที่เรียกว่าสังคม มิตรภาพ และความรัก พวกที่ได้รับรสน้าทิพย์แห่งการอุทิศตนเสียสละด้วยใจจดจ่ออยู่กับคลื่นเสียงทิพย์ในการสวดภาวนาพระบารมีของพระองค์ ฮะเร คริชณะ ฮะเร คริชณะ คริชณะ คริชณะ ฮะเร ฮะเร/ ฮะเร รามะ ฮะเร รามะ รามะ รามะ ฮะเร ฮะเร โดยไม่สนใจกับความปลื้มปีติสุขทิพย์ใดๆ หรือกับความสะดวกสบายทางวัตถุ สาวกผู้บริสุทธิ์เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่สำคัญไปกว่าใบหญ้าริมถนน”
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อ “องค์ภควานที่รัก เมื่อบุคคลสามารถทำให้จิตใจ ประสาทสัมผัส และปัญญาของตนบริสุทธิ์ขึ้นด้วยการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในคริชณะจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ จิตใจจะกลายมาเป็นเพื่อน มิฉะนั้นจิตใจของตนเป็นศัตรูอยู่เสมอ เมื่อจิตใจถูกใช้ให้อุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานจะกลายมาเป็นเพื่อนที่ดีของสิ่งมีชีวิต เพราะจิตใจสามารถระลึกถึงองค์ภควานเสมอ พระองค์ทรงเป็นที่รักของสิ่งมีชีวิตนิรันดร ดังนั้น เมื่อจิตใจระลึกถึงพระองค์ รู้สึกมีความพึงพอใจอย่างใหญ่หลวงทันที เพราะมีความปรารถนาเช่นนี้มาหลายต่อหลายชาติแล้ว เมื่อจิตใจตั้งมั่นอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควาน จะไม่ไปทำพิธีบูชาอื่นใดที่ต่ากว่า หรือวิธีการเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนที่ต่ากว่า เช่นพยายามบูชาเทวดาหรือรับวิธีเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนแบบอื่นมาปฏิบัติ สิ่งมีชีวิตกลายมาเป็นเหยื่อของวัฏจักรแห่งการเกิดและตาย ไม่มีผู้ใดสามารถประเมินว่าตกต่ามากเพียงใดในการเข้าไปในเผ่าพันธุ์ชีวิตที่น่ารังเกียจ เช่น แมว และสุนัข”
ชรี นะโรทะมะ ดาสะ ทาคุระ ขับร้องเพลงว่า บุคคลผู้ไม่รับเอาการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานมาปฏิบัติ แต่ยึดติดอยู่กับวิธีการคาดคะเนทางปรัชญาและกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ ได้ดื่มผลที่เป็นพิษในการกระทำเช่นนี้ บุคคลเหล่านี้ถูกบังคับให้ไปเกิดในเผ่าพันธุ์ชีวิตต่างๆ และถูกบังคับให้ต้องปฏิบัติสิ่งที่น่าขยะแขยง เช่นรับประทานเนื้อสัตว์ หาความสุขกับการดื่มสุรา และเสพสิ่งเสพติดอื่นๆ หลังจากตายไปจะถูกบังคับให้ไปเกิดในชีวิตเผ่าพันธุ์ที่ต่า นักวัตถุนิยมโดยทั่วไปบูชาร่างวัตถุชั่วคราว และลืมความเป็นอยู่ของจิตวิญญาณภายในร่างกาย บ้างไปพึ่งวิทยาศาสตร์วัตถุเพื่อพัฒนาความสะดวกสบายทางร่างกาย และบ้างไปบูชาเทวดาเพื่อไปโลกสวรรค์ จุดมุ่งหมายในชีวิตเพื่อทำให้ร่างกายวัตถุนี้สะดวกสบาย ขณะที่ลืมประโยชน์ของจิตวิญญาณ บุคคลเหล่านี้วรรณกรรมพระเวทอธิบายว่าเป็นคนฆ่าตัวตาย เพราะยึดติดอยู่กับร่างกายวัตถุและความสะดวกสบายของมัน แล้วถูกบังคับให้ต้องท่องไปในวัฏจักรแห่งการเกิดและตายชั่วกัลปวสาน ต้องรับทุกข์ในความเจ็บปวดทางวัตถุอย่างต่อเนื่อง ชีวิตในร่างมนุษย์เปิดโอกาสให้้เข้าใจสถานภาพของตนเอง บุคคลผู้มีปัญญาสูงสุดจะรับเอาการอุทิศตนเสียสละรับใช้มาปฏิบัติเพื่อให้ จิตใจ ประสาทสัมผัส และร่างกายได้รับใช้องค์ภควานโดยไม่เบี่ยงเบน
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อ “องค์ภควานที่รัก มีโยคีผู้มีฤทธิ์มากมายมีความรู้มาก และมีเจตนาบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิต พวกเขาปฏิบัติตามวิธีกรรมของโยคะในการควบคุมลมปราณชีวิตภายในร่าง ตั้งสมาธิจิตอยู่ที่รูปลักษณ์พระวิชณุ และควบคุมประสาทสัมผัสอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติตามระบบโยคะ แม้หลังจากความเหนื่อยยากในการปฏิบัติสมถะ ความเพียร และกฏเกณฑ์ต่างๆ พวกเขาบรรลุเป้าหมายเหมือนกับบุคคลผู้เป็นศัตรูของคริชณะ อีกนัยหนึ่ง ทั้งโยคีและนักคาดคะเนทางปรัชญาที่ฉลาด ในที่สุดบรรลุถึงรัศมีบระฮมันที่ไร้รูปลักษณ์ซึ่งพวกมารผู้เป็นศัตรูขององค์ภควานบรรลุถึงโดยปริยาย มารเช่น คัมสะ ชิชุพาละ และ ดันทะวะคระ บรรลุถึงรัศมีบระฮมันเช่นกัน เพราะพวกนี้ทำสมาธิอยู่ที่องค์ภควานเสมอในฐานะเป็นศัตรู ผู้หญิงเช่นพวกโกปี ยึดมั่นอยู่กับคริชณะ หลงเสน่ห์ในความสง่างาม และสมาธิจิตอยู่ที่คริชณะโดยมีราคะเป็นตัวผลักดัน ปรารถนาให้ลำแขนของคริชณะรูปกลมๆ สวยงามคล้ายงูมาโอบรัด ลักษณะเดียวกัน มีบทมนต์พระเวทให้เราทำสมาธิจิตอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ พวกหญิงโกปี ทำสมาธิอยู่ที่พระองค์โดยมีราคะเป็นแรงกระตุ้น และเราทำสมาธิอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวของพระองค์เพื่อกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่พระองค์ ศัตรูทำสมาธิโดยคิดหาวิธีสังหารพระองค์เสมอ พวกโยคีปฏิบัติความเพียรและสมถะอย่างขมักขเม้นเพื่อบรรลุถึงรัศมีอันไร้รูปลักษณ์ของพระองค์ บุคคลต่างๆทั้งหมดนี้ถึงแม้ทำสมาธิจิตจดจ่ออยู่ในวิธีต่างๆ บรรลุถึงความสมบูรณ์ทิพย์ตามวิสัยทัศน์ที่ต่างกัน เพราะพระองค์ทรงเสมอภาคกับสาวกทั้งหมด”
ชรีดะระ สวามี ได้เรียบเรียงโศลกอันสวยงามเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า “องค์ภควานที่รักของข้า ปฏิบัติการระลึกถึงพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์อยู่เสมอเป็นสิ่งยากมาก เป็นไปได้สำหรับสาวกยอดเยี่ยมผู้บรรลุถึงความรักแห่งพระองค์และปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยใจรัก องค์ภควานที่รัก ข้าปรารถนาให้จิตใจของข้ามาอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวของพระองค์อย่างน้อยก็ช่วงเวลาหนึ่ง”
การบรรลุถึงความสมบูรณ์ทิพย์โดยนักทิพย์นิยมต่างๆ ใน ภควัต-คีตา องค์ภควานตรัสว่า พระองค์ทรงให้ความสมบูรณ์แด่สาวกตามความปรารถนาในสัดส่วนที่สาวกศิโรราบ นักทิพย์นิยม โยคี และศัตรูขององค์ภควานเข้าไปในรัศมีทิพย์ แต่ผู้เชื่อในรูปลักษณ์ที่ปฏิบัติตามรอยพระบาทของชาววรินดาวะนะ หรือปฏิบัติตามวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างเคร่งครัด พัฒนาไปสู่พระตำหนักส่วนพระองค์ของคริชณะที่ โกโลคะ วรินดาวะนะ หรือที่โลกไวคุณธะ ทั้งผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์และผู้เชื่อในรูปลักษณ์เข้าไปในอาณาจักรทิพย์หรือท้องฟ้าทิพย์ แต่พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์ได้อยู่ที่รัศมีบระฮมันอันไร้รูปลักษณ์ ขณะที่ผู้เชื่อในรูปลักษณ์ได้อยู่ที่โลกไวคุณธะหรือโลกวรินดาวะนะ ตามความปรารถนาที่รับใช้พระองค์ในลีลาต่างกัน
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวว่า บุคคลเกิดหลังจากการสร้างโลกวัตถุนี้ ไม่สามารถเข้าใจความเป็นอยู่ขององค์ภควาน ด้วยการผสมผสานความรู้ทางวัตถุ เหมือนกับบุคคลที่เกิดในครอบครัวไม่สามารถเข้าใจความเป็นอยู่ของคุณปู่และคุณตาก่อนที่ตนเองเกิด เราไม่สามารถเข้าใจ องค์ภควาน นารายะณะ หรือ คริชณะผู้ทรงสถิตในโลกทิพย์นิรันดร บทที่แปดของ ภควัต-คีตา กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า บุคลิกภาพสูงสุดผู้ประทับอยู่ที่อาณาจักรทิพย์แห่งองค์ภควานนิรันดร (สะนาทะนะ-ดามะ) สามารถเข้าพบได้ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้น
สำหรับการสร้างทางวัตถุ พระพรหมทรงเป็นบุคคลแรกที่ถูกสร้างขึ้น ก่อนพระพรหมไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่นใดภายในโลกวัตถุนี้ มีแต่ความว่างเปล่าและมืดสนิท จนกระทั่งพระพรหมประสูติบนดอกบัวที่ผลิออกมาจากพระนาภีของ การโบดะคะชายี วิชณุ, การโบดะคะชายี วิชณุ ทรงเป็นภาคแบ่งแยกของ คาระโณดะคะชายี วิชณุ, คาระโณดะคะชายี วิชณุ ทรงเป็นภาคแบ่งแยกของสังคารชะณะ และสังคารชะณะเป็นภาคแบ่งแยกของบะละรามะ บะละรามะทรงเป็นภาคแบ่งแยกของ องค์ภควาน คริชณะ โดยตรง หลังจากการสร้างพระพรหม มีเทวดาสองประเภทเกิดขึ้น เทวดา เช่น สี่พี่น้อง สะนะคะ, สะนาทะนะ, สะนันดะ, และสะนัท-คุมาระ ซึ่งเป็นผู้แทนแห่งการเสียสละในโลก และเทวดาเช่น มะรีชิพร้อมลูกหลานซึ่งหมายไว้เพื่อหาความสุขกับโลกวัตถุนี้ จากเทวดาสองประเภทนี้ สิ่งมีชีวิตอื่นๆทั้งหมดค่อยๆปรากฏขึ้น รวมทั้งมนุษย์ ดังนั้น สิ่งมีชีวิตใดๆภายในโลกวัตถุ รวมทั้งพระพรหม เทวดาทั้งหมดและราคชะสะทั้งหมดพิจารณาว่าเป็นพวกสมัยปัจจุบัน เช่นนี้หมายความว่าทั้งหมดเพิ่งเกิดเมื่อไม่นานมานี้ ฉะนั้น เหมือนกับบุคคลที่เพิ่งเกิดในครอบครัวไม่สามารถเข้าใจสถานการณ์ของบรรพบุรุษในอดีตฉันใด คนภายในโลกวัตถุนี้ไม่สามารถเข้าใจสถานภาพขององค์ภควานในโลกทิพย์ฉันนั้น เพราะโลกวัตถุเพิ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ แม้มีชีวิตยืนยาว ปรากฏการณ์ทั้งหมดในโลกวัตถุเช่น กาลเวลา สิ่งมีชีวิต คัมภีร์พระเวท ธาตุหยาบและละเอียดทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาในช่วงเวลาหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างถูกผลิตขึ้นมาภายใต้สภาวะแห่งการสร้างนี้ หรือยอมรับว่าเป็นขบวนการเพื่อให้เข้าใจแหล่งกำเนิดเดิมแท้ของการสร้าง พิจารณาว่าเป็นสมัยปัจจุบัน
ฉะนั้น ด้วยวิธีการรู้แจ้งแห่งตนหรือรู้แจ้งองค์ภควานโดยผ่านทางกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ การคาดคะเนทางปรัชญา หรือโยคะอิทธิฤทธิ์ จะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งกำเนิดสูงสุดของสรรพสิ่งโดยแท้จริง เมื่อการสร้างจบสิ้นลง ไม่มีคัมภีร์พระเวท ไม่มีกาลเวลาทางวัตถุ ไม่มีธาตุวัตถุทั้งหยาบและละเอียด และเมื่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมดอยู่ในสภาวะที่ไม่ปรากฏ พำนักอยู่ภายในพระนารายณ์ จากนั้นวิธีการผลิตทั้งหมดแน่นิ่งและว่างเปล่า ไม่สามารถปฏิบัติการใดๆ อย่างไรก็ดี การอุทิศตนเสียสละรับใช้ดำเนินต่อไปนิรันดรในโลกทิพย์ที่เป็นอมตะ ดังนั้น วิธีการที่แท้จริงในการรู้แจ้งแห่งตนหรือรู้แจ้งองค์ภควานคือการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้น หากผู้ใดนำวิธีการนี้มาปฏิบัติ เท่ากับปฏิบัติวิธีเพื่อรู้แจ้งองค์ภควานอย่างแท้จริง ชรีละ ชรีดะระ สวามี เรียบเรียงโศลกเกี่ยวกับประเด็นนี้ซึ่งถ่ายทอดแนวคิดว่า องค์ภควาน แหล่งกำเนิดของสรรพสิ่ง ทรงยิ่งใหญ่และไร้ขีดจำกัด เป็นไปไม่ได้ที่สิ่งมีชีวิตจะเข้าใจพระองค์ด้วยการได้สิ่งของวัตถุ ฉะนั้น ทุกคนจึงควรสวดมนต์ภาวนาให้ได้ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้นิรันดร ด้วยพระเมตตาจะทำให้เข้าใจแหล่งกำเนิดสูงสุดของการสร้าง องค์ภควานผู้เป็นแหล่งกำเนิดสูงสุดของการสร้างทรงเปิดเผยพระองค์ให้แก่สาวกเท่านั้น บทที่สี่ของ ภควัต-คีตา ตรัสแด่อารจุนะว่า “อารจุนะที่รัก เนื่องจากเธอเป็นสาวก และเป็นเพื่อนสนิทของข้า ดังนั้น ข้าจะเปิดเผยแด่เธอถึงวิธีการเพื่อให้เข้าใจข้า” อีกนัยหนึ่ง แหล่งกำเนิดสูงสุดของการสร้าง องค์ภควาน ไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยความพยายามของเราเอง เราต้องทำให้พระองค์พอพระทัยด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ จากนั้น จะทรงเปิดเผยตัว เราจึงสามารถเข้าใจพระองค์ได้บ้าง
มีนักปราชญ์ต่างๆ พยายามเข้าใจแหล่งกำเนิดสูงสุดด้วยการคาดคะเนทางจิต โดยทั่วไป มีนักคาดคะเนทางจิตอยู่หกประเภทเรียกว่า ชัด-ดารชะนะ นักปราชญ์เหล่านี้เป็นผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์มีชื่อว่ามายาวาดี แต่ละคนพยายามสถาปนาความคิดเห็นของตนเอง แม้ต่อมาทั้งหมดประนีประนอมกันและกล่าวว่า ความคิดเห็นทั้งหมดจะนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ฉะนั้น ทุกความคิดเห็นจึงใช้ได้ อย่างไรก็ดี ตามบทมนต์ของบุคลิกภาพแห่งพระเวท ทั้งหมดนี้ใช้ไม่ได้เพราะวิธีแห่งความรู้เช่นนี้สร้างขึ้นภายในโลกวัตถุซึ่งไม่ถาวร และพลาดประเด็นที่แท้จริงคือองค์ภควาน สัจธรรมที่สมบูรณ์สามารถเข้าใจได้ ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้น
นักปราชญ์ประเภทหนึ่งมีชื่อว่ามีมามสะคะ มีปราชญ์เช่นไจมินิเป็นผู้แทน สรุปว่าทุกคนควรทำบุญหรือทำแต่กรรมดีตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ จะนำไปสู่ความสมบูรณ์สูงสุด แต่เช่นนี้ขัดกับบทที่เก้าของ ภควัต-คีตา ที่คริชณะตรัสว่า จากการทำความดีหรือทำบุญเราอาจพัฒนาไปถึงสวรรค์ เมื่อผลแห่งกรรมดีที่สะสมไว้ถูกใช้หมดลง เราต้องลาจากสวรรค์ที่มีมาตรฐานความสุขและความมั่งคั่งทางวัตถุสูง และตกลงมาในโลกที่ต่ากว่าอีกครั้งทันที ซึ่งมีชีวิตสั้นมาก และมาตรฐานความสุขทางวัตถุอยู่ในระดับที่ต่า คำเฉพาะที่ใช้ใน ภควัต-คีตา คือ คชีเณ พุณเย มารทยะ-โลคัม วิชันทิ ฉะนั้น ข้อสรุปของนักปราชญ์มีมามสะคะที่ว่าการทำบุญจะนำให้ไปถึงสัจธรรมที่สมบูรณ์นั้นใช้ไม่ได้ แม้สาวกผู้บริสุทธิ์โดยธรรมชาติชอบทำบุญอยู่แล้ว ไม่มีผู้ใดสามารถทำให้องค์ภควานชื่นชอบด้วยการทำบุญหรือทำกรรมดีเท่านั้น การทำบุญอาจทำให้เราบริสุทธิ์ขึ้นจากมลทินที่มีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นเหตุ แต่บุญเช่นนี้สาวกผู้ปฏิบัติรับใช้ด้วยการสดับฟังสารทิพย์จาก ภควัต-คีตา, ชรีมัด-ภควธัม หรือพระคัมภีร์ในลักษณะนี้ได้รับโดยปริยาย จาก ภควัต-คีตา เราเข้าใจว่าแม้บุคคลผู้ปฎิบัติไม่ถึงมาตรฐานของคนใจบุญ แต่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างสมบูรณ์บริบูรณ์ พิจารณาว่าสถิตอยู่บนหนทางแห่งความสมบูรณ์ทิพย์ ภควัต- คีตา กล่าวต่อว่า บุคคลผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยใจรักและศรัทธาองค์ภควาน พะระมาทมา ผู้ประทับอยู่ในหัวใจ หรือพระอาจารย์ทิพย์จะนำทางสาวกให้เดินทางอย่างถูกต้องและกลับคืนสู่พระองค์ ข้อสรุปของนักปราชญ์มีมามสะคะ ไม่ใช่สัจธรรมแท้จริงที่จะนำให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง
ลักษณะเดียวกันมีนักปราชญ์สางคยะ นักวิชาการว่าด้วยความเป็นอยู่ของมนุษย์หรือนักวิทยาศาสตร์ทางวัตถุ ศึกษาปรากฏการณ์ของจักรวาลนี้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่พวกตนค้นพบ ไม่ยอมรับอำนาจสูงสุดขององค์ภควานว่าเป็นผู้สร้างปรากฏการณ์ในจักรวาล แต่สรุปอย่างผิดๆ ว่าปฏิกริยาของธาตุวัตถุเป็นต้นเหตุแรกแห่งการสร้าง อย่างไรก็ดี ภควัต-คีตา ไม่ยอมรับทฤษฏีนี้ กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าเบื้องหลังกิจกรรมในจักรวาลมีการชี้นำขององค์ภควาน ความจริงนี้คำสอนพระเวทยืนยันไว้ว่า อสัด วา อิดัม อกระ อาสีท หมายความว่า แหล่งกำเนิดเดิมของการสร้างมีอยู่ก่อนปรากฏการณ์ในจักรวาล ฉะนั้น ธาตุวัตถุไม่ใช่ต้นเหตุของการสร้างทางวัตถุ แม้ธาตุวัตถุยอมรับว่าเป็นแหล่งวัตถุ แต่แหล่งกำเนิดสูงสุดคือองค์ภควาน ดังนั้น ภควัต-คีตา ตรัสว่า ธรรมชาติวัตถุทำงานภายใต้คำสั่งของคริชณะ ข้อสรุปของปรัชญาสางคยะที่ไม่เชื่อในองค์ภควานคือ เนื่องจากผลกระทบของโลกวัตถุไม่ถาวรหรือเป็นภาพหลอน ฉะนั้น แหล่งกำเนิดจึงเป็นภาพหลอนเช่นเดียวกัน นักปราชญ์สางคยะชื่นชอบลัทธิสูญเปล่า แต่ความจริงคือแหล่งกำเนิดเดิมแท้คือองค์ภควาน ปรากฏการณ์แห่งพลังงานวัตถุทางจักรวาลนี้ปรากฏอยู่ชั่วคราว เมื่อปรากฏการณ์ชั่วคราวนี้ถูกทำลายลง แหล่งกำเนิดของจักรวาลวัตถุยังคงอยู่นิรันดรในโลกทิพย์เหมือนเดิม โลกทิพย์เรียกว่า สะนาทะนะ-ดามะ พระตำหนักนิรันดร ข้อสรุปของนักปราชญ์สางคยะจึงใช้ไม่ได้
จากนั้น มีนักปราชญ์ที่นำโดยโกทะมะและคะณาดะ พวกเขาศึกษาเหตุและผลของธาตุวัตถุอย่างละเอียดถี่ถ้วนมาก ในที่สุดได้ข้อสรุปว่า การผสมผสานกันของอณูคือต้นกำเนิดเดิมแท้ของการสร้าง นักวิทยาศาสตร์ทางวัตถุปัจจุบันเจริญตามรอยเท้าของโกทะมะและคะณาดะผู้ประกาศทฤษฏี พะระมานุวาดะ อย่างไรก็ดีทฤษฏีนี้สนับสนุนไม่ได้ เพราะแหล่งกำเนิดเดิมแท้ของทุกสิ่งทุกอย่างมิใช่อณูที่ไม่มีชีวิต ได้ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา และ ชรีมัด-ภควธัม รวมทั้งในคัมภร์พระเวทที่กล่าวว่า เอโค นารายะณะ อาสีท พระนารายณ์เท่านั้นที่ทรงอยู่ก่อนการสร้าง ชรีมัด-ภควธัม และ เวดานธะ-สูทระ กล่าวเช่นกันว่า แหล่งกำเนิดเดิมแท้รู้สึกตัวและรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างภายในการสร้างนี้ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ใน ภควัต-คีตา คริชณะตรัสว่า อฮัม สารวัสยะ พระบะวะฮ “ข้าคือแหล่งกำเนิดเดิมแท้ของสรรพสิ่ง” และ มัททะฮ สารวัม พระวารทะเท “จากข้าทุกสิ่งทุกอย่างจึงปรากฏขึ้น” ฉะนั้น อณูอาจเป็นพื้นฐานประกอบกันให้เกิดปรากฏการณ์ทางวัตถุ แต่อณูเหล่านี้กำเนิดมาจากองค์ภควาน ดังนั้น ปรัชญาของโกทะมะและคะณาดะสนับสนุนไม่ได้
ลักษณะเดียวกัน พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์ที่นำโดยอัชทาวะคระ และต่อมาสังคารอาชารยะ ยอมรับรัศมีบระฮมันที่ไร้รูปลักษณ์ว่าเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง ตามปรัชญานี้ ปรากฏการณ์ทางวัตถุเป็นสิ่งชั่วคราวและไม่จริง ขณะที่รัศมีบระฮมันที่ไร้รูปลักษณ์เป็นจริง แต่ทฤษฏีนี้สนับสนุนไม่ได้เช่นกัน เพราะองค์ภควานตรัสใน ภควัต-คีตา ว่ารัศมีบระฮมันนี้พำนักอยู่ที่พระองค์ และยืนยันใน บระฮมะ-สัมฮิทา ว่ารัศมีบระฮมันเป็นแสงรัศมีจากพระวรกายของคริชณะ เช่นนี้บระฮมันอันไร้รูปลักษณ์ไม่สามารถเป็นแหล่งกำเนิดเดิมแท้ของปรากฏการณ์ในจักรวาลได้ แหล่งกำเนิดเดิมแท้คือ องค์ภควาน โกวินดะ ผู้ทรงมีความรู้สึกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์
ทฤษฏีอันตรายที่สุดของพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์คือ เมื่อองค์ภควานเสด็จมาในรูปอวตาร พระองค์ทรงยอมรับร่างวัตถุที่สร้างขึ้นมาโดยสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ทฤษฏีมายาวาดีนี้ องค์เชธันญะทรงประณามว่าเป็นความผิดร้ายแรงที่สุด โดยตรัสว่าผู้ใดที่ยอมรับว่าร่างทิพย์ขององค์ภควานทำมาจากธรรมชาติวัตถุ เป็นผู้ทำผิดต่อพระบาทรูปดอกบัวของพระวิชณุอย่างมหันต์ ลักษณะเดียวกัน ภควัต-คีตา ตรัสว่า คนโง่และสารเลวเท่านั้นที่เย้ยหยันองค์ภควาน ขณะเสด็จลงมาในร่างมนุษย์ เช่น คริชณะ พระราม และองค์เชธันญะ อันที่จริงทรงแสดงลีลามนุษย์ในสังคมมนุษย์
บุคลิกภาพแห่งพระเวทประณามแนวคิดที่ไร้รูปลักษณ์ว่าเป็นการบิดเบือนทั้งสิ้น ใน บระฮมะ-สัมฮิทา อธิบายว่าพระวรกายขององค์ภควานเป็น อานันดะ-ชิน-มะยะ-ระสะ ทรงมีพระวรกายทิพย์ไม่ใช่วัตถุ สามารถรื่นเริงกับทุกสิ่งทุกอย่างผ่านทางส่วนใดของพระวรกายก็ได้ เพราะทรงพลังอำนาจทั้งปวง แขนขาของร่างวัตถุสามารถทำหน้าที่ได้เฉพาะอย่างเท่านั้น เช่นแขนสามารถใช้ถือของแต่ไม่สามารถมองเห็นหรือฟังเสียงได้ เนื่องจากพระวรกายขององค์ภควานสร้างมาจาก อานันดะ-ชิน-มะยะ-ระสะ หรือ สัด-ชิด-อานันดะ-วิกระฮะ ทรงสามารถรื่นเริงกับทุกสิ่งและทำทุกอย่างด้วยส่วนใดของพระวรกายก็ได้ การยอมรับพระวรกายทิพย์์ว่าเป็นวัตถุ ถูกบงการมาจากแนวโน้มที่ทำให้องค์ภควานเทียบเท่ากับพันธวิญญาณ พันธวิญญาณมีร่างวัตถุหากองค์ภควานมีร่างวัตถุด้วย ทฤษฏีไม่เชื่อในรูปลักษณ์ที่ว่าองค์ภควานและสิ่งมีชีวิตเป็นหนึ่งเดียวและเหมือนกันจะโฆษณาเผยแพร่ได้โดยง่าย
อันที่จริง ขณะที่องค์ภควานเสด็จลงมาแสดงลีลาต่างๆ ไม่มีข้อแตกต่างระหว่างพระวรกายทารกที่นอนอยู่บนตักของพระมารดายะโชดาและพระวรกายที่เป็นหนุ่มต่อสู้กับมาร ในร่างทารกพระองค์ทรงต่อสู้กับมารเช่นพูทะนา ทริณาวารทะ อัคฮาสุระ ฯลฯ ด้วยพลังที่เทียบเท่ากับช่วงเป็นหนุ่มต่อสู้กับมารเช่น ดันทะวะคระ และ ชิชุพาละ ในชีวิตวัตถุทันทีที่พันธวิญญาณเปลี่ยนร่าง จะลืมทุกสิ่งทุกอย่างในร่างอดีต จาก ภควัต-คีตา เราเข้าใจว่า เนื่องจากคริชณะทรงมีพระวรกาย สัด-ชิด-อานันดะ ทรงไม่ลืมว่าได้สอน ภควัต-คีตา แด่พระอาทิตย์ประมาณล้านๆปีมาแล้ว ดังนั้น ทรงมีพระนามว่าพุรุโชททะมะ เพราะอยู่เหนือทั้งความเป็นอยู่ทางวัตถุและทิพย์ ที่ว่าทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง หมายความว่า พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดทั้งโลกทิพย์และโลกวัตถุ องค์ภควานทรงพลังอำนาจทั้งปวง และทรงเป็นสัพพัญญู ร่างวัตถุไม่มีพลังและมิใช่สัพพัญญู ดังนั้น พระวรกายของพระองค์ต้องไม่ใช่วัตถุแน่นอน ทฤษฏีมายาวาดีที่ว่าองค์ภควานเสด็จมาภายในโลกวัตถุนี้ด้วยร่างวัตถุ จึงสนับสนุนไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง
สรุปได้ว่าทฤษฏีทั้งหมดของนักปราชญ์ทางวัตถุกำเนิดมาจากความเป็นอยู่ที่หลงผิดชั่วคราวเสมือนการสรุปในความฝัน สรุปเช่นนี้แน่นอนว่าไม่สามารถนำเราไปถึงสัจธรรมที่สมบูรณ์ สัจธรรมที่สมบูรณ์รู้แจ้งได้โดยผ่านการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้น ดังที่พระองค์ตรัสใน ภควัต-คีตา ว่า บัคธยา มาม อบิจานาทิ “ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้นที่สามารถเข้าใจข้า” ชรีละ ชรีดะระ สวามี เรียบเรียงโศลกอันสวยงามเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า “องค์ภควานที่รักของข้า ให้คนอื่นถกเถียงกันอย่างผิดๆ และคาดคะเนกันอย่างลมๆแล้งๆ สร้างทฤษฏีกับวิทยานิพนธ์ปรัชญาอันยิ่งใหญ่ของตน ให้เขาเถลไถลอยู่ในความมืดแห่งอวิชชาและความหลง มีความสุขอย่างผิดๆ ประหนึ่งว่าตนเองเป็นนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ แม้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับองค์ภควานเลย สำหรับตัวข้าปรารถนาหลุดพ้นด้วยการสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานผู้สง่างามไปทั้งหมด เช่น มาดะวะ วามะนะ ทรินายะนะ สังคารชะณะ ชรีพะทิ และ โกวินดะ เพียงแต่สวดภาวนาพระนามทิพย์ของพระองค์เท่านั้น โอ้ องค์มะดุพะทิ ขอให้ข้าเป็นอิสระจากมลทินแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุนี้”
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวว่า “องค์ภควานที่รัก ด้วยพระกรุณาธิคุณของพระองค์เท่านั้น เมื่อสิ่งมีชีวิตสรุปอย่างถูกต้องเกี่ยวกับสถานภาพทิพย์อันสูงส่งของพระองค์ ตรงนี้เขาจะไม่ไปยุ่งกับทฤษฏีต่างๆ ที่ผลิตมาจากการคาดคะเนทางจิตหรือจากผู้ที่สมมุติว่าเป็นนักปราชญ์ ตรงนี้พาดพิงไปถึงทฤษฏีการคาดคะเนของโกทะมะ คะณาดะ พะทันจะลิ และคะพิละ (นิรีชวะระ) อันที่จริงมีสองคะพิละ, คะพิละหนึ่งเป็นบุตรของ คารดะมะ มุนิ อวตารขององค์ภควาน และอีกคนหนึ่งเป็นผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานในสมัยนี้ คะพิละผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานหลอกลวงว่าตนเองคือองค์ภควาน พระนารายณ์อวตาร คะพิละอวตารทรงปรากฏเป็นบุตรของ คารดะมะ มุนิ นานมาแล้วในสมัยสวายัมบุวะ มะนุ ปัจจุบันเป็นยุคของ ไววัสวะทะ มะนุ
ตามปรัชญามายาวาดี โลกที่ปรากฏหรือโลกวัตถุนี้เป็น มิทยา หรือ มายา แปลว่าไม่จริง หลักคำสอนคือ บระฮมะ-สัทยัม จะกัน-มิทยา รัศมีบระฮมันเท่านั้นเป็นจริงปรากฏการณ์ในจักรวาลเป็นความหลง ไม่จริง ตามปรัชญาไวชณะวะ ปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้องค์ภควานเป็นต้นเหตุ ใน ภควัต-คีตา ตรัสว่าพระองค์เสด็จเข้าไปในโลกวัตถุนี้โดยภาคแบ่งแยกที่สมบูรณ์ จึงเกิดการสร้างขึ้นมา จากคัมภีร์พระเวทเช่นกันเราเข้าใจว่า อสัท หรือปรากฏการณ์ทางจักรวาลที่ไม่ถาวรนี้ออกมาจาก สัท หรือความจริงสูงสุด จาก เวดานธะ-สูทระ เข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างออกมาจากบระฮมันสูงสุด เช่นนี้ไวชณะวะไม่คิดว่าปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้ไม่จริง นักปราชญ์ไวชณะวะเห็นว่าสรรพสิ่งในโลกวัตถุนี้มีความสัมพันธ์กับองค์ภควาน
ชรีละ รูพะ โกสวามี อธิบายแนวคิดแห่งโลกวัตถุไว้อย่างงดงามมากว่า การสละโลกวัตถุว่าเป็นความหลงหรือผิด โดยไม่รู้ว่าโลกวัตถุเป็นปรากฏการณ์ขององค์ภควาน เช่นนี้ไร้คุณค่าในเชิงปฏิบัติ อย่างไรก็ดี ไวชณะวะเป็นอิสระจากการยึดติดกับโลกนี้ เพราะโดยทั่วไปโลกวัตถุยอมรับว่าเป็นเป้าหมายแห่งการสนองประสาทสัมผัส ไวชณะวะไม่ชอบการสนองประสาทสัมผัส จึงไม่ยึดติดกับกิจกรรมทางวัตถุ ไวชณะวะยอมรับโลกวัตถุตามหลักธรรมที่คัมภีร์พระเวทสอน เพราะองค์ภควานทรงเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่ง ไวชณะวะเห็นทุกสิ่งในความสัมพันธ์กับคริชณะรวมทั้งโลกวัตถุนี้ จากความรู้ที่สูงเช่นนี้ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างกลายมาเป็นทิพย์ อีกนัยหนึ่ง สรรพสิ่งในโลกวัตถุนี้เป็นทิพย์อยู่แล้ว แต่เนื่องจากขาดความรู้เราจึงเห็นสิ่งต่างๆว่าเป็นวัตถุ
บุคลิกภาพแห่งพระเวทเสนอตัวอย่างว่า พวกที่แสวงหาทองคำจะไม่ปฏิเสธต่างหูทอง กำไลทอง หรือสิ่งต่างๆ ที่ทำมาจากทอง แม้รูปร่างลักษณะไม่เหมือนกับทองคำเดิมแท้ สิ่งมีชีวิตทั้งหมดเป็นละอองอณูขององค์ภควาน และมีคุณสมบัติเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่บัดนี้อยู่ในรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันถึง 8,400,000 เผ่าพันธุ์ชีวิต เหมือนกับเครื่องประดับต่างๆมากมายที่ผลิตมาจากทองคำแหล่งเดียวกัน ดังเช่นคนที่สนใจทองคำยอมรับเครื่องประดับทองคำในรูปลักษณะต่างๆ ดังนั้น ไวชณะวะรู้ดีว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมีคุณสมบัติเหมือนกับองค์ภควาน ยอมรับว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเป็นผู้รับใช้นิรันดรของพระองค์ เช่นนี้ ในฐานะไวชณะวะ จะมีโอกาสมากมายในการรับใช้องค์ภควาน ด้วยเพียงแต่นำพันธชีวิตผู้ถูกนำไปในทางที่ผิดกลับคืนมา ฝึกฝนให้มีคริชณะจิตสำนึก และนำพวกเขาให้กลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควาน ความจริงคือ จิตใจของสิ่งมีชีวิตปัจจุบันนี้หวั่นไหวไปกับคุณสมบัติแห่งวัตถุสามระดับ ดังนั้น สิ่งมีชีวิตจึงเปลี่ยนร่าง เหมือนในฝัน จากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง เมื่อจิตสำนึกเปลี่ยนมาเป็นคริชณะจิตสำนึก จะมี องค์ภควาน คริชณะ ประดิษฐานอย่างมั่นคงอยู่ภายในหัวใจ เช่นนี้ทำให้หนทางแห่งความหลุดพ้นสดใสและสว่างไสว
คัมภีร์พระเวททั้งหมดกล่าวว่า องค์ภควานและสิ่งมีชีวิตมีคุณสมบัติเหมือนกันคือเป็นทิพย์ไชธันยะ ได้ยืนยันไว้ใน พัดมะ พุราณะ เช่นกัน ว่ามีชีวิตทิพย์อยู่สองประเภท ชีวิตหนึ่งเรียกว่าจีวะ และอีกชีวิตหนึ่งเรียกว่าองค์ภควาน เริ่มต้นจากพระพรหมลงไปถึงมด ชีวิตทั้งหมดนี้เป็นจีวะ ขณะที่องค์ภควานคือพระวิชณุสี่กรหรือ จะนาระดะนะ คำว่าอาทมา ใช้ได้กับองค์ภควานเท่านั้น แต่เนื่องจากสิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูของพระองค์ บางครั้งคำว่าอาทมา ใช้กับสิ่งมีชีวิตด้วยเช่นกัน ดังนั้น สิ่งมีชีวิตจึงเรียกว่าจีวาทมา และองค์ภควานสูงสุดเรียกว่าพะระมาทมา ทั้งพะระมาทมา และ จีวาทมา อยู่ภายในโลกวัตถุ ฉะนั้น โลกวัตถุนี้จึงมีจุดมุ่งหมายมิใช่เพื่อสนองประสาทสัมผัส แนวคิดชีวิตเพื่อสนองประสาทสัมผัสเป็นความหลงผิด แต่แนวคิดว่าจีวาทมา ควรรับใช้ พะระมาทมา แม้อยู่ในโลกวัตถุนี้มิใช่ความหลงผิด บุคคลในคริชณะจิตสำนึกรู้ความจริงนี้ดี จึงไม่คิดว่าโลกวัตถุไม่จริงแต่ปฏิบัตในความจริงแห่งการรับใช้ทิพย์ ฉะนั้น สาวกเห็นทุกสิ่งในโลกวัตถุว่าเป็นโอกาสในการรับใช้องค์ภควาน ไม่ปฏิเสธสิ่งใดว่าเป็นวัตถุ แต่ประสานทุกสิ่งทุกอย่างในการรับใช้พระองค์ เช่นนี้สาวกอยู่ในสถานภาพทิพย์เสมอ และทุกสิ่งที่ใช้กลายมาเป็นสิ่งบริสุทธิ์ทิพย์ โดยการนำมารับใช้องค์ภควาน
ชรีดะระ สวามี เรียบเรียงโศลกอันสวยงามเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า “ข้าบูชาองค์ภควานผู้ทรงปรากฏในความจริงเสมอ แม้ภายในโลกวัตถุซึ่งบางคนพิจารณาว่าไม่จริง” แนวคิดแห่งความไม่จริงของโลกวัตถุนี้เนื่องจากขาดความรู้ แต่บุคคลผู้เจริญในคริชณะจิตสำนึกเห็นองค์ภควานในทุกสิ่งทุกอย่าง เช่นนี้เป็นการรู้แจ้งคำพังเพยพระเวท สารวัม คัลว อิดัม บระฮมะ “ทุกสิ่งทุกอย่างคือบระฮมัน”
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อ “องค์ภควานที่รัก ผู้ด้อยปัญญารับเอาวิถีทางอื่นเพื่อรู้แจ้งแห่งตน อันที่จริง ไม่มีโอกาสทำให้บริสุทธิ์ขึ้นจากมลทินทางวัตถุ หรือหยุดวัฏจักรแห่งการเกิดและตายซ้าซากได้ นอกจากมาเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์โดยสมบูรณ์ องค์ภควานที่รัก ทุกสิ่งทุกอย่างพำนักอยู่บนพลังงานอันหลากหลายของพระองค์ พระองค์ทรงค้าจุนทุกชีวิต ดังที่ได้กล่าวไว้ในพระเวทว่า เอโค บะฮูนาม โย วิดะดาทิ คามาน ฉะนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้สนับสนุนและค้าจุนมวลชีวิตเช่น เทวดา มนุษย์ และสัตว์ ทรงค้าจุนทุกชีวิตและสถิตอยู่ภายในหัวใจของทุกชีวิตด้วยเช่นกัน อีกนัยหนึ่ง พระองค์ทรงเป็นรากฐานแห่งการสร้างทั้งหมด ดังนั้น พวกที่ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยไม่เบี่ยงเบนบูชาพระองค์เสมอ สาวกเช่นนี้รดน้าไปที่รากแห่งต้นไม้จักรวาลอย่างแท้จริง การอุทิศตนเสียสละรับใช้ไม่เพียงแต่ทำให้องค์ภควานพอพระทัยเท่านั้น แต่บุคคลอื่นๆทั้งหมดพอใจด้วย เพราะทุกชีวิตได้รับการบำรุงรักษาและค้าจุนโดยพระองค์ เนื่องจากสาวกเข้าใจลักษณะแพร่กระจายไปทั่วของพระองค์ จึงทำบุญและทำประโยชน์ต่อสังคมในภาคปฏิบัติดีที่สุด สาวกผู้บริสุทธิ์เหล่านี้ปฏิบัติคริชณะจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ จะพิชิตวัฏจักรแห่งการเกิดและตายโดยง่ายดาย แม้จนกระทั่งสามารถกระโดดข้ามศีรษะความตายไปได้”
สาวกไม่เคยกลัวความตายหรือการเปลี่ยนร่าง จิตสำนึกกลายเป็นคริชณะ จิตสำนึก แม้ไม่กลับคืนสู่องค์ภควาน หรือต้องเปลี่ยนร่างไปอยู่ในอีกร่างวัตถุหนึ่ง ก็ไม่มีอะไรต้องกลัว ตัวอย่างเห็นได้ชัดคือ บะระทะ มะฮาราจะ แม้ชาติต่อมากลายเป็นกวาง ชาติถัดไปท่านหลุดพ้นโดยสมบูรณ์จากมลทินทางวัตถุทั้งปวง และเจริญไปถึงอาณาจักรแห่งองค์ภควาน ฉะนั้น ภควัต-คีตา ยืนยันว่าสาวกจะไม่มีวันถูกทำลาย หนทางของสาวกไปสู่อาณาจักรทิพย์คืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานเป็นที่รับประกัน แม้จะลื่นไถลไปหนึ่งชาติ การปฎิบัติต่อเนื่องในคริชณะจิตสำนึกจะพัฒนาขึ้นไปจนกลับคืนสู่องค์ภควาน สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่เพียงแต่ทำให้ความเป็นอยู่ส่วนตัวบริสุทธิ์เท่านั้นแต่ผู้ใดมาเป็นสาวกของเขา ในที่สุดจะบริสุทธิ์และสามารถเข้าไปในอาณาจักรแห่งองค์ภควานโดยไม่ยากลำบาก อีกนัยหนึ่ง สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่เพียงแต่ข้ามพ้นความตายโดยง่ายดายเท่านั้น ด้วยพระกรุณาธิคุณเหล่าสาวกของท่านทำได้เช่นเดียวกันโดยไม่ยากลำบาก พลังแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ยิ่งใหญ่มาก สาวกผู้บริสุทธิ์สามารถส่งกระแสไปให้คนอื่นด้วยคำสอนทิพย์เพื่อให้ข้ามพ้นมหาสมุทรแห่งอวิชชา
คำสอนที่สาวกผู้บริสุทธิ์ให้แด่สานุศิษย์ง่ายมาก ไม่มีความยากลำบากในการปฏิบัติตามรอยพระบาทของสาวกผู้บริสุทธิ์ ผู้ใดปฏิบัติตามรอยพระบาทของสาวกผู้เป็นที่รู้จักกันดี เช่น พระพรหม พระศิวะ คุมาระ มะนุ คะพิละ กษัตริย์พระฮลาดะ กษัตริย์จะนะคะ ชุคะเดวะโกสวามี ยมราช และสานุศิษย์ของท่านเหล่านี้ในสายพะรัมพะรา จะพบว่าประตูแห่งอิสระภาพได้เปิดขึ้นโดยง่ายดาย ตรงกันข้ามพวกไม่ใช่สาวกแต่ปฏิบัติตามกรรมวิธีการรู้แจ้งแห่งตนที่ไม่แน่นอนเช่น กยานะ,โยกะ และ คารมะ เข้าใจว่ายังมีมลทิน บุคคลผู้มีมลทินเหล่านี้ แม้ดูเหมือนก้าวหน้าในการรู้แจ้งแห่งตน แต่ไม่สามารถทำให้ตนเองหลุดพ้นได้ จึงไม่จำเป็นต้องพูดถึงศิษย์ พวกมิใช่สาวกเหล่านี้เปรียบเทียบเหมือนสัตว์ที่ถูกล่ามโซ่ เพราะไม่สามารถข้ามพ้นอาณาเขตแห่งพิธีกรรมของความศรัทธาบางอย่าง ภควัต-คีตา ประณามพวกนี้ว่าเป็น เวดะ-วาดะ-ระทะ คือผู้ไม่สามารถเข้าใจว่าคัมภีร์พระเวทเกี่ยวข้องกับเรื่องกิจกรรมของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ความดี ตัณหา และอวิชชา
องค์ภควาน คริชณะ ตรัสแนะนำอารจุนะว่าต้องข้ามให้พ้นขอบเขตของหน้าที่ที่กำหนดไว้ในคัมภีร์พระเวท และมาปฏิบัติคริชณะจิตสำนึกด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ พระองค์ตรัสใน ภควัต-คีตา ว่า นิสไทรกุณโย บะวารจุนะ “อารจุนะที่รัก เพียงแต่พยายามมาเป็นทิพย์ให้อยู่เหนือพิธีกรรมพระเวท” สถานภาพทิพย์นี้อยู่เหนือการประกอบพิธีกรรมพระเวทเรียกว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ในภควัต-คีตา ตรัสอย่างชัดเจนว่า บุคคลผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์โดยไม่เบี่ยงเบนสถิตอยู่ในบระฮมัน ความรู้แจ้งบระฮมันแท้จริงหมายถึงคริชณะจิตสำนึก และปฏิบัติด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ฉะนั้น สาวกคือ บระฮมะชารี ที่แท้จริง เพราะกิจกรรมอยู่ในคริชณะจิตสำนึกหรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้เสมอ
ดังนั้น ขบวนการคริชณะจิตสำนึกเรียกร้องอย่างสูงสุดต่อนักศาสนาทั้งหลาย ขอร้องด้วยความน่าเชื่อถือได้อย่างยิ่งว่าให้มาร่วมกับขบวนการนี้ เพราะทำให้สามารถเรียนรู้ว่าจะรักองค์ภควาน และข้ามพ้นสูตรและพิธีกรรมต่างๆทั้งหลายที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ บุคคลผู้ไม่สามารถข้ามพ้นขอบเขตหลักศาสนาพิมพ์เดียวกันนี้ เปรียบเสมือนสัตว์ที่ถูกเจ้านายล่ามโซ่ไว้ จุดมุ่งหมายของศาสนาทั้งหมดคือให้เข้าใจองค์ภควานและพัฒนาความรักที่อยู่ภายในลึกๆของตน หากเพียงแต่ยึดติดอยู่กับสูตรและพิธีกรรมทางศาสนา และไม่พัฒนาให้มาถึงระดับรักพระองค์พิจารณาว่าเป็นสัตว์ที่ถูกล่ามโซ่ไว้ อีกนัยหนึ่ง หากไม่มีคริชณะจิตสำนึก จะไม่มีสิทธิ์เพื่อความหลุดพ้นจากมลทินแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุ
ชรีละ ชรีดะระ สวามี ได้เรียบเรียงโศลกอันสวยงามว่า “ให้ผู้อื่นปฏิบัติสมถะอย่างเคร่งครัด ให้ผู้อื่นตกลงมาจากยอดเขาเพื่อฆ่าตัวตาย ให้ผู้อื่นเดินทางไปสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญเพื่อหลุดพ้น และให้พวกเขาศึกษาปรัชญาและวรรณกรรมพระเวทอย่างลึกซึ้ง ให้โยคีผู้มีฤทธิ์ปฏิบัติรับใช้ในการทำสมาธิ และให้นิกายต่างๆเถียงกันโดยไม่จำเป็นว่าอะไรดีที่สุด ความจริงคือ นอกจากเรามีคริชณะจิตสำนึกปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และนอกจากจะได้รับพระเมตตาธิคุณจากองค์ภควาน มิฉะนั้น เราไม่สามารถข้ามพ้นมหาสมุทรวัตถุนี้ได้” ฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญาจะยกเลิกแนวคิดแบบเดียวกันนี้ทั้งหมด และมาร่วมกับขบวนการคริชณะจิตสำนึกเพื่ออิสรภาพหลุดพ้นโดยแท้จริง
บรรดาบุคลิกภาพแห่งพระเวทถวายบทมนต์ต่อไปว่า “องค์ภควานที่รัก ได้อธิบายไว้ในคัมภีร์พระเวทถึงรูปลักษณ์ส่วนพระองค์ว่า ทรงไม่มีพระหัตถ์แต่สามารถรับเครื่องบูชาที่ถวายให้ทั้งหมดได้ ทรงไม่มีพระเพลาแต่สามารถเดินได้เร็วกว่าผู้อื่น ทรงไม่มีพระเนตรแต่สามารถเห็นทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ทรงไม่มีพระกัณฑ์แต่ได้ยินทุกอย่างที่มีการพูด แม้ทรงไม่มีพระหฤทัยแต่รู้กิจกรรมทั้งในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคตของทุกชีวิต ไม่มีผู้ใดรู้ว่าพระองค์ทรงเป็นใคร ทรงรู้ทุกชีวิตแต่ไม่มีผู้ใดรู้พระองค์ ดังนั้นทรงเป็นผู้อาวุโสที่สุดและทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุด”
ลักษณะเดียวกัน อีกที่หนึ่งในคัมภีร์พระเวทกล่าวว่า “พระองค์ทรงไม่มีสิ่งใดต้องทำ ทรงมีความรู้และพลังอำนาจโดยสมบูรณ์จนทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏออกมาด้วยเพียงแต่ทรงปรารถนา ไม่มีผู้ใดเทียบเท่าหรือยิ่งใหญ่ไปกว่า ทุกคนปฏิบัติในฐานะเป็นผู้รับใช้นิรันดรของพระองค์” เช่นนี้ คัมภีร์พระเวทได้อธิบายว่า สัจธรรมไม่มีขา ไม่มีแขน ไม่มีตา ไม่มีหู และไม่มีจิตใจ ถึงกระนั้นสามารถทำผ่านทางพลังงานต่างๆของพระองค์ และสนองตอบความต้องการของมวลชีวิต ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า พระกรและพระเพลาของพระองค์มีอยู่ทุกหนแห่ง พระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่ว มือ ขา หู และตาของสิ่งมีชีวิตทำงานและเคลื่อนไหวตามคำสั่งของอภิวิญญาณผู้ประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกชีวิต นอกจากอภิวิญญาณปรากฏ มิฉะนั้นทั้งมือและขาจะเคลื่อนไหวไม่ได้ องค์ภควานทรงยิ่งใหญ่ เป็นอิสระ และสมบูรณ์มาก อย่างไรก็ดี แม้ทรงไม่มีพระเนตร พระเพลา พระกรรณ ทรงไม่ขึ้นอยู่กับผู้ใดในกิจกรรมของพระองค์ ตรงกันข้าม กิจกรรมของอวัยวะและประสาทสัมผัสต่างๆของบุคคลอื่นขึ้นอยู่กับพระองค์ นอกจากสิ่งมีชีวิตได้รับแรงดลใจและคำแนะนำจากอภิวิญญาณ มิฉะนั้น จะทำอะไรไม่ได้เลย
ความจริงคือ ในที่สุดสัจธรรมที่สมบูรณ์คือบุคคลสูงสุด แต่เนื่องจากทรงปฏิบัติผ่านทางพลังงานต่างๆของพระองค์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่นักวัตถุนิยมหยาบๆ จะมองเห็น นักวัตถุนิยมจึงยอมรับว่าพระองค์ทรงไร้รูปลักษณ์ ตัวอย่างเช่น เขาสามารถสังเกตเห็นผลงานศิลปะของบุคคลในภาพเขียนรูปดอกไม้ และสามารถเข้าใจถึงการปรับสีสันและรูปร่าง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ความตั้งใจอย่างละเอียดถี่ถ้วนของศิลปิน ผลงานของศิลปินแสดงให้เห็นภาพเขียนดอกไม้ที่เบ่งบานอย่างชัดเจน แต่นักวัตถุนิยมที่หยาบไม่สามารถเห็นพระหัตถ์ขององค์ภควานในปรากฏการณ์ที่มีศิลปะ อย่างเช่นดอกไม้จริงที่เบ่งบานอยู่ตามธรรมชาติ แล้วสรุปว่าสัจธรรมที่สมบูรณ์ไร้รูปลักษณ์ อันที่จริง สัจธรรมที่สมบูรณ์เป็นบุคคล แต่ทรงมีอิสระเสรี ไม่จำเป็นต้องมาถือภู่กันและสีเพื่อระบายดอกไม้มากมาย แต่พลังงานต่างๆ ของพระองค์ทำงานอย่างน่าอัศจรรย์ ดูประหนึ่งว่าดอกไม้เหล่านี้เกิดขึ้นมาได้โดยไม่ต้องมีศิลปินผู้สร้าง วิสัยทัศน์ไร้รูปลักษณ์แห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์ ผู้ด้อยปัญญายอมรับ นอกจากปฏิบัติรับใช้องค์ภควาน มิฉะนั้น เขาจะไม่สามารถเข้าใจว่าองค์ภควานปฏิบัติการอย่างไร เขาไม่รู้แม้แต่พระนาม ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับกิจกรรมและลักษณะส่วนพระองค์ของคริชณะเปิดเผยให้กับสาวกผู้มีกริยาท่าทีในการรับใช้ด้วยใจรักเท่านั้น
ใน ภควัต-คีตา กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า โบคทารัม ยะกยะ ทะพะสาม องค์ภควานทรงเป็นผู้มีความสุขกับการบูชาและผลของการปฏิบัติสมถะทั้งหมด อีกที่หนึ่งตรัสว่า สารวะ-โลคะ-มะเฮชวะรัม “ข้าคือเจ้าของดาวเคราะห์ทั้งหมด” นั่นคือสถานภาพขององค์ภควาน แม้ทรงปรากฏอยู่ที่ โกโลคะ วรินดาวะนะ และมีความสุขเกษมสำราญทิพย์ร่วมกับพวกโกปี และเด็กชายเลี้ยงโค ซึ่งเป็นเพื่อนนิรันดรของพระองค์ พลังอำนาจต่างๆ ปฏิบัติการภายใต้คำสั่งของพระองค์อยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งในการสร้าง โดยไม่มารบกวนกับลีลาอมตะของพระองค์
จากการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้นที่เราสามารถเข้าใจว่า ด้วยพลังอำนาจที่มองไม่เห็นทำงานไปพร้อมๆกันโดยไร้รูปลักษณ์และมีรูปลักษณ์ จึงเข้าใจว่าองค์ภควานทรงทำเช่นนี้ได้อย่างไร ทรงทำเหมือนกับจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่มีกษัตริย์และเจ้าเมืองหลายๆพันคนทำงานภายใต้พระองค์ องค์ภควานทรงเป็นผู้ควบคุมที่มีอิสรภาพสูงสุด เทวดาทั้งหมดรวมทั้งพระพรหม พระศิวะ พระอินทร์เจ้าแห่งสวรรค์ เจ้าแห่งดวงจันทร์ และเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ทำงานภายใต้คำสั่งของพระองค์ ได้ยืนยันไว้ในคัมภีร์พระเวทว่า ดวงอาทิตย์ส่องแสง ลมที่พัดไปมา และไฟที่แจกจ่ายความร้อนเพราะกลัวองค์ภควาน ธรรมชาติวัตถุเป็นผู้ผลิตสิ่งที่เคลื่อนไหวและไม่เคลื่อนไหวทั้งหมดภายในโลกวัตถุ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถทำหรือสร้างอย่างอิสระเสรีโดยปราศจากคำสั่งขององค์ภควาน ทั้งหมดปฏิบัติไปเหมือนเป็นเมืองขึ้น บรรดากษัตริย์ที่เป็นเมืองขึ้นต้องถวายเครื่องราชบรรณาการประจำปีแด่องค์จักรพรรดิ์
คำสอนพระเวทกล่าวว่า ทุกๆชีวิตอยู่ได้ด้วยการรับประทานอาหารส่วนเหลือหลังจากถวายแด่องค์ภควานแล้วในพิธีบูชาอันยิ่งใหญ่ คำสอนคือพระนารายณ์ทรงปรากฏในฐานะพระปฏิมาผู้ควบคุมสูงสุดแห่งพิธีบูชา หลังจากเสร็จสิ้นพิธีบูชาแล้ว ส่วนเหลือของอาหารควรแจกจ่ายให้บรรดาเทวดา เช่นนี้เรียกว่า ยะกยะ-บากะ เทวดาทุกองค์ทรงได้รับส่วนแบ่งของ ยะกยะ-บากะ ที่ท่านยอมรับว่าเป็นพระสา ดัม ข้อสรุปคือ เหล่าเทวดาทรงไม่มีพลังอำนาจอิสระ ได้รับตำแหน่งการบริหารงานต่างๆภายใต้คำสั่งขององค์ภควาน และรับประทานพระสาดัม ส่วนเหลือจากการบูชา เหล่าเทวดาปฏิบัติตามคำสั่งตามแผนการณ์ของพระองค์ องค์ภควานทรงอยู่เบื้องหลังและบุคคลอื่นๆ ปฏิบัติตามคำสั่ง เพียงดูเหมือนว่าทรงไร้รูปลักษณ์ ในวิถีวัตถุที่หยาบเราไม่สามารถสำเหนียกว่าบุคคลสูงสุดทรงอยู่เหนือกิจกรรมที่ไร้รูปลักษณ์ของธรรมชาติวัตถุได้อย่างไร ดังนั้น ทรงอธิบายใน ภควัต-คีตา ว่า ไม่มีสิ่งใดเหนือกว่าพระองค์ บระฮมันที่ไร้รูปลักษณ์เป็นรอง สถิตในฐานะเป็นปรากฏการณ์แห่งรัศมีส่วนพระองค์ ชรีพาดะ ชรีดะระ สวามี เรียบเรียงโศลกอันสวยงามเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า “ขอให้ข้าถวายความเคารพอย่างสูงแด่องค์ภควานผู้ทรงไม่มีประสาทสัมผัสวัตถุ แต่จากคำสั่งและความปรารถนา ประสาทสัมผัสวัตถุทั้งหมดจึงทำงานได้ ทรงเป็นพลังอำนาจสูงสุดของประสาทสัมผัสวัตถุ หรืออวัยวะประสาทสัมผัสทั้งหมด ทรงพลังอำนาจทั้งปวง และทรงเป็นผู้ปฏิบัติสูงสุดของสรรพสิ่ง ฉะนั้น ทุกคนบูชาพระองค์ ข้าพเจ้าขอถวายความเคารพอย่างสูงแด่บุคคลสูงสุดผู้นี้”
คริชณะทรงประกาศใน ภควัต-คีตา ว่า เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นทิพย์อยู่เหนือสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึกและใร้ความรู้สึกทั้งหมด จึงทรงพระนามว่า พุรุโชททะมะหมายความถึงบุคลิกภาพสูงสุด (พุรุชะ หมายถึง “บุคคล” และอุททะมะ หมายถึง
“สูงสุด” หรือเป็น “ทิพย์”) อีกที่หนึ่งตรัสว่า ดังเช่น ลมที่สถิตแพร่กระจายไปทั่วท้องฟ้า ทุกคนจึงสถิตอยู่ในพระองค์และทุกคนปฏิบัติภายใต้คำสั่งของพระองค์
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อ “องค์ภควานที่รัก พระองค์ทรงเสมอภาคกับทุกคนโดยไม่ลำเอียงกับชีวิตใดโดยเฉพาะ ในฐานะละอองอณู สิ่งมีชีวิตทั้งหมดมีความสุขหรือความทุกข์ในสภาวะต่างๆ เหมือนกับประกายไฟลอยอยู่บนกองไฟที่โชติช่วง เช่นนี้สิ่งมีชีวิตทั้งหมดลอยอยู่ด้วยการสนับสนุนของพระองค์ พระองค์ทรงจัดส่งทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาปรารถนา ถึงกระนั้น ทรงไม่รับผิดชอบต่อสถานภาพในความสุขหรือความทุกข์ของพวกเขา มีชีวิตหลายรูปแบบเช่น เทวดา มนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ นก สัตว์เดรัจฉาน จุลินทรีย์ หนอน แมลง และสัตว์น้า ทั้งหมดมีความสุขหรือความทุกข์ในชีวิตโดยพำนักอยู่ที่พระองค์” มีสิ่งมีชีวิตสองประเภท ประเภทหนึ่งเรียกว่า นิทยะ-มุคทะ เป็นอิสระเสมอ และอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า นิทยะ-บัดดะ ถูกพันธนาการเสมอ นิทยะ-มุคทะ อยู่ที่อาณาจักรทิพย์ และ นิทยะ-บัดดะ อยู่ที่โลกวัตถุ
“ในโลกทิพย์ทั้งองค์ภควานและสิ่งมีชีวิตปรากฏในสถานภาพเดิมแท้เหมือนประกายไฟมีชีวิตอยู่ในกองไฟที่ลุกโชติช่วง แต่ในโลกวัตถุถึงแม้องค์ภควานทรงแพร่กระจายไปทั่วในลักษณะไร้รูปลักษณ์ สิ่งมีชีวิตลืมคริชณะจิตสำนึกของตนไม่มากก็น้อย เหมือนกับประกายไฟบางครั้งตกลงมาจากกองไฟที่ลุกโชติช่วง และสูญเสียสภาวะที่สว่างไสวเดิมแท้ของตน ประกายไฟตกลงไปในสภาวะต่างๆกัน และยังคงความสว่างไสวเดิมแท้อยู่บ้างไม่มากก็น้อย ประกายไฟบางดวงตกลงไปที่หญ้าแห้งก่อให้เกิดไฟกองใหญ่อีกกองหนึ่ง เช่นนี้ พาดพิงถึงสาวกผู้บริสุทธิ์ที่มีเมตตากรุณาต่อสิ่งมีชีวิตผู้พาซื่อและลำบาก สาวกผู้บริสุทธิ์จุดแสงสว่างแห่งคริชณะจิตสำนึกในหัวใจของพันธวิญญาณ เช่นนี้ไฟอันโชติช่วงแห่งโลกทิพย์ปรากฏขึ้นแม้อยู่ในโลกวัตถุนี้ ประกายไฟบางดวงตกลงไปในน้าสูญเสียความสว่างไสวเดิมแท้ของตนทันทีและดับสนิท เช่นนี้เปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตเกิดในท่ามกลางนักวัตถุนิยมที่หยาบ กรณีนี้คริชณะจิตสำนึกเดิมแท้ดับสนิท ประกายไฟบางดวงตกอยู่บนพื้นระหว่างสภาวะโชติช่วงและสภาวะที่กำลังจะดับ ดังนั้น บางชีวิตไม่มีคริชณะจิตสำนึก บางชีวิตระหว่างมีกับไม่มีคริชณะจิตสำนึก และบางชีวิตสถิตอยู่ในคริชณะจิตสำนึกจริง บรรดาเทวดาบนดาวเคราะห์ที่สูงกว่าเริ่มต้นจากพระพรหม พระอินทร์ พระจันทร์ พระอาทิตย์ และเทวดาองค์อื่นๆ ทั้งหมดมีคริชณะจิตสำนึก สังคมมนุษย์อยู่ระหว่างเทวดาและสัตว์ ดังนั้น บางคนมีคริชณะจิตสำนึกอยู่บ้าง และบางคนลืมคริชณะจิตสำนึกโดยสิ้นเชิง สิ่งมีชีวิตประเภทสาม เช่น พวกสัตว์ สัตว์เดรัจฉาน พืช ต้นไม้ สัตว์น้า เหล่านี้ลืมคริชณะจิตสำนึกโดยสิ้นเชิง ตัวอย่างของประกายไฟโชติช่วงที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวทนี้ เหมาะสมในการเข้าใจสภาวะของสิ่งมีชีวิตต่างๆ แต่เหนือไปกว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมด คือ องค์ภควาน คริชณะ หรือพุรุโชททะมะผู้ทรงเป็นอิสระ หลุดพ้นจากสภาวะทางวัตถุทั้งหลายทั้งปวงเสมอ
“อาจมีคำถามว่า ทำไมสิ่งมีชีวิตบังเอิญตกลงมาอยู่ในสภาวะชีวิตที่แตกต่างกัน การตอบคำถามนี้ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าไม่มีอิทธิพลแห่งความบังเอิญสำหรับสิ่งมีชีวิต ความบังเอิญสำหรับสิ่งไม่มีชีวิต ตามวรรณกรรมพระเวทสิ่งมีชีวิตมีความรู้จึงเรียกว่าไชธันยะ หมายถึงความรู้ สถานภาพในสภาวะชีวิตที่แตกต่างกันนี้ไม่ใช่อุบัติเหตุ แต่เป็นการเลือกเอง เพราะมีความรู้ ใน ภควัต-คีตา ตรัสว่า ‘จงยกเลิกทุกสิ่งทุกอย่างและเพียงแต่ศิโรราบต่อข้า’ วิธีแห่งการรู้แจ้งองค์ภควานนี้เปิดไว้ให้กับทุกคน แต่เป็นทางเลือกของสิ่งมีชีวิตว่าจะรับหรือปฏิเสธข้อเสนอนี้ ตอนท้ายของ ภควัต-คีตา คริชณะตรัสต่ออารจุนะอย่างเรียบง่ายว่า ‘อารจุนะที่รัก ข้าได้พูดทุกสิ่งทุกอย่างแก่เธอแล้ว บัดนี้เธออาจเลือกว่าจะรับหรือปฏิเสธ’ ลักษณะเดียวกัน สิ่งมีชีวิตที่ลงมายังโลกวัตถุนี้ ได้เลือกด้วยตนเองว่าจะมาหาความสุขกับโลกวัตถุ มิใช่ว่าคริชณะส่งพวกเขามาที่โลกวัตถุนี้ โลกวัตถุสร้างขึ้นเพื่อความรื่นรมย์ของสิ่งมีชีวิตที่ต้องการยกเลิกการรับใช้นิรันดรต่อพระองค์ แล้วมาเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญสูงสุดเสียเอง ตามปรัชญาไวชณะวะเมื่อสิ่งมีชีวิตปรารถนาสนองประสาทสัมผัสและลืมการรับใช้องค์ภควาน เขาได้รับสถานที่ในโลกวัตถุเพื่อได้ทำอย่างเสรีตามความปรารถนาของตน ดังนั้น จึงสร้างสภาวะชีวิตหากไม่มีความสุขก็มีความทุกข์ เราควรรู้อย่างแน่นอนว่าทั้งองค์ภควานและสิ่งมีชีวิตมีความรอบรู้นิรันดร ไม่มีการเกิดและตายสำหรับพระองค์หรือสิ่งมีชีวิต เมื่อมีการสร้างมิได้หมายความว่าสิ่งมีชีวิตถูกสร้างขึ้นมา องค์ภควานทรงสร้างโลกวัตถุนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พันธวิญญาณทำให้ตนเองเจริญก้าวหน้ามาถึงระดับคริชณะจิตสำนึก หากพันธวิญญาณไม่ฉวยโอกาสอันดีนี้ หลังจากการทำลายล้างโลกวัตถุ จะเข้าไปในพระวรกายของพระนารายณ์ และนอนหลับสนิทอยู่ที่นั่นจนกว่าจะถึงเวลาแห่งการสร้างอีกครั้งหนึ่ง
“สัมพันธ์กับประเด็นนี้ ตัวอย่างฤดูฝนเหมาะสมมาก ฝนที่ตกตามฤดูกาลอาจเป็นตัวแทนในการสร้าง เพราะหลังจากฝนตกแผ่นดินชุ่มฉำ่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ธัญญาหาร ลักษณะเดียวกัน พอมีการสร้างพระองค์ทรงชำเลืองมองไปที่ธรรมชาติวัตถุ สิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้นทันทีในสภาพชีวิตที่แตกต่างกัน เหมือนกับพืชพันธุ์ธัญญาหารที่แตกต่างกันเกิดขึ้นหลังจากฝนตก ฝนตกเป็นหนึ่ง แต่การสร้างพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆมีมากมาย ฝนตกลงมาเสมอภาคไปทั่วทั้งแผ่นดิน แต่พืชพันธุ์ธัญญาหารที่เจริญเติบโตขึ้นอยู่กับรูปร่างที่ต่างกันและลักษณะที่ต่างกันตามเมล็ดพันธุ์ที่หว่านลงไป ลักษณะเดียวกัน เมล็ดพันธุ์แห่งความปรารถนาของเราแตกต่างกัน ทุกชีวิตมีความปรารถนาที่ไม่เหมือนกัน และความปรารถนานั้นคือเมล็ดพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของร่างกายนั้นๆโดยเฉพาะ เช่นนี้ รูพะ โกสวามี ได้อธิบายด้วยคำว่า พาพะ-บีจะ, พาพะ หมายถึงบาป ความปรารถนาทางวัตถุของเราทั้งหมดถือว่าเป็น พาพะ-บีจะ หรือเมล็ดพันธุ์แห่งความปรารถนาที่เป็นบาป ภควัต-คีตา อธิบายว่าความปรารถนาที่เป็นบาปคือ เราไม่ศิโรราบต่อองค์ภควาน ภควัต-คีตา ตรัสว่า ‘ข้าจะปกป้องเธอจากผลแห่งความปรารถนาที่เป็นบาป’ ความปรารถนาที่เป็นบาปเหล่านี้ปรากฏในร่างกายต่างๆกัน ดังนั้น ไม่มีผู้ใดสามารถกล่าวโทษพระองค์ว่าทรงลำเอียงในการให้ร่างชนิดหนึ่งแก่ผู้หนึ่ง และให้อีกร่างแก่อีกผู้หนึ่ง ร่างกายทั้งหมด 8,400,000 เผ่าพันธุ์ กำเนิดขึ้นตามสภาพจิตใจของปัจเจกชีวิต องค์ภควาน พุรุโชททะมะ ทรงเพียงแต่เปิดโอกาสให้พวกเขาทำตามที่ปรารถนา ดังนั้น สิ่งมีชีวิตทำและฉวยประโยชน์จากสิ่งเอื้ออำนวยที่พระองค์ทรงประทานให้
“ในขณะเดียวกัน พวกเขาเกิดจากพระวรกายทิพย์ขององค์ภควาน ความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และสิ่งมีชีวิตนี้ได้อธิบายไว้ในวรรณกรรมพระเวท กล่าวว่า องค์ภควานทรงดูแลลูกๆทั้งหมด ให้สิ่งที่พวกเขาปรารถนา ลักษณะเดียวกันในภควัต-คีตา ตรัสว่า ‘ข้าคือพระบิดาผู้ให้เมล็ดพันธุ์แด่มวลชีวิต’ เป็นสิ่งง่ายมากที่จะเข้าใจว่าบิดาให้กำเนิดลูกๆ แต่ลูกๆทำตามที่ตนเองปรารถนา ฉะนั้น บิดาจึงไม่ต้องรับผิดชอบกับอนาคตที่แตกต่างกันของลูกๆ ลูกแต่ละคนสามารถฉวยประโยชน์จากทรัพย์สมบัติและคำสั่งสอนของบิดา แม้ทั้งมรดกและคำสั่งสอนอาจจะเหมือนกันสำหรับลูกทุกคน ตามความปรารถนาที่แตกต่างกัน ลูกแต่ละคนจะสร้างชีวิตที่ไม่เหมือนกัน จากนั้นก็รับความทุกข์หรือความสุขกันไป
“ลักษณะเดียวกัน คำสอนของ ภควัต-คีตา เสมอภาคสำหรับทุกคน ทุกคนควรศิโรราบต่อองค์ภควานและพระองค์จะทรงดูแลปกป้องพวกเขาจากผลบาป สิ่งเอื้ออำนวยภายในการสร้าง พระองค์เสนอไว้อย่างเสมอภาคแด่มวลชีวิต ไม่ว่ามีอะไรบนดิน ในน้า หรือในอากาศ ทรงให้แก่มวลชีวิตอย่างเสมอภาค เพราะทั้งหมดเป็นบุตรขององค์ภควาน ทุกชีวิตสามารถหาความสุขกับสิ่งเอื้ออำนวยทางวัตถุที่พระองค์ทรงประทานให้ ด้วยความอับโชคสิ่งมีชีวิตสร้างสภาวะชีวิตที่ไม่เป็นที่ชื่นชอบด้วยการต่อสู้กันเอง ความรับผิดชอบในการต่อสู้กันและสร้างสถานการณ์ที่เอื้ออำนวยและไม่เอื้ออำนวยให้กับชีวิตเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิต มิได้ขึ้นอยู่กับองค์ภควาน ฉะนั้น หากสิ่งมีชีวิตฉวยประโยชน์กับคำสั่งสอนที่ให้ไว้ใน ภควัต-คีตา และพัฒนาคริชณะจิตสำนึก เช่นนี้ ชีวิตจะประเสริฐและสามารถกลับคืนสู่องค์ภควาน
“อาจเถียงว่าเนื่องจากโลกวัตถุนี้องค์ภควานทรงเป็นผู้สร้าง ดังนั้น พระองค์ทรงรับผิดชอบต่อสภาวะของมัน แน่นอนว่าทรงรับผิดชอบโดยตรงกับการสร้างและการอนุรักษ์โลกวัตถุนี้ แต่ไม่เคยรับผิดชอบกับสภาวะที่แตกต่างกันของสิ่งมีชีวิต การสร้างโลกวัตถุนี้เปรียบเสมือนเมฆสร้างพืชพันธุ์ธัญญาหาร ในฤดูฝนเมฆจะสร้างพืชพันธุ์ธัญญาหารมากมาย ด้วยการเทน้าลงมาบนผิวโลก แต่เมฆไม่เคยมาสัมผัสกับโลกโดยตรง ลักษณะเดียวกันองค์ภควานทรงสร้างโลกวัตถุนี้ด้วยเพียงแต่ชำเลืองมองไปที่พลังงานวัตถุ ยืนยันไว้เช่นนี้ในคัมภีร์พระเวทว่า พระองค์ทรงชำเลืองมองไปที่ธรรมชาติวัตถุจึงเกิดการสร้าง ภควัต-คีตา ยืนยันไว้เช่นกันว่า จากการชำเลืองมองแบบทิพย์ไปที่ธรรมชาติวัตถุ พระองค์ทรงสร้างสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันมากมาย ทั้งเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ มีชีวิตและไม่มีชีวิต
“ดังนั้น การสร้างโลกวัตถุถือว่าเป็นหนึ่งในลีลาขององค์ภควาน ที่เรียกว่าหนึ่งในลีลาของพระองค์ เพราะทรงสร้างโลกวัตถุนี้เมื่อปรารถนา ความปรารถนาขององค์ภควานเป็นพระเมตตาธิคุณสูงสุด เพราะทรงให้โอกาสอีกครั้งหนึ่งแด่พันธวิญญาณที่จะพัฒนาจิตสำนึกเดิมแท้ของตน และสามารถกลับคืนสู่พระองค์ ฉะนั้น ไม่มีผู้ใดควรกล่าวโทษองค์ภควานในการสร้างโลกวัตถุนี้
“จากประเด็นที่กล่าวมา เราเข้าใจอย่างชัดเจนถึงข้อแตกต่างระหว่างพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์และพวกที่เชื่อในรูปลักษณ์ แนวคิดไม่เชื่อในรูปลักษณ์ที่นำให้กลืนหายเข้าไปในความเป็นอยู่ขององค์ภควาน และปรัชญาสูญเปล่าที่ทำให้ความหลากหลายทางวัตถุทั้งหมดสูญสิ้นไป ปรัชญาทั้งสองนี้เรียกว่ามายาวาดะ แน่นอนว่าปรากฏการณ์ในจักรวาลเข้ามาใกล้และกลายมาเป็นศูนย์หรือว่างเปล่า เมื่อสิ่งมีชีวิตกลืนเข้าไปในพระวรกายของพระนารายณ์ เพื่อพำนักอยู่จนถึงการสร้างอีกครั้งหนึ่ง ช่วงนี้อาจเรียกว่าสภาวะที่ไร้รูปลักษณ์ แต่สภาวะเช่นนี้ไม่เป็นอมตะ การหยุดความหลากหลายของโลกวัตถุและการที่สิ่งมีชีวิตกลืนเข้าไปในพระวรกายขององค์ภควานไม่ถาวรเพราะจะมีการสร้างอีก และสิ่งมีชีวิตที่กลืนเข้าไปในพระวรกายของพระองค์โดยมิได้พัฒนาคริชณะจิตสำนึก จะปรากฏอีกครั้งในโลกวัตถุเมื่อมีการสร้างอีกครั้ง ภควัต-คีตา ยืนยันความจริงนี้ว่า โลกวัตถุถูกสร้างและถูกทำลาย เช่นนี้จะดำเนินไปชั่วกัลปวสาน พันธวิญญาณผู้ไร้คริชณะจิตสำนึกจะกลับมาทุกครั้งเมื่อการสร้างโลกวัตถุปรากฏขึ้น หากพันธวิญญาณเหล่านี้ฉวยโอกาสอันดีนี้พัฒนา คริชณะจิตสำนึกภายใต้คำสั่งสอนโดยตรงขององค์ภควาน เขาจะได้รับการย้ายโอนไปโลกทิพย์และไม่ต้องกลับมาอีกครั้งเมื่อมีการสร้างทางวัตถุ กล่าวไว้ว่า ผู้เชื่อในความสูญเปล่าและผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ด้อยปัญญาเพราะไม่มาพึ่งพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ เนื่องจากด้อยปัญญาผู้เชื่อในความสูญเปล่าและผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ปฏิบัติสมถะต่างๆนานาเพื่อให้บรรลุถึงระดับนิรวาณะ ซึ่งหมายถึงเสร็จสิ้นสภาวะวัตถุในชีวิต หรือบรรลุถึงความเป็นหนึ่งเดียวกัน และกลืนเข้าไปในพระวรกายขององค์ภควาน ทั้งหมดจะตกลงมาอีกครั้งหนึ่งเพราะละเลยพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควาน”
ใน เชธันญะ-ชะริทามริทะ ผู้ประพันธ์ คริชณะดาส คาวิราจะ โกสวามี หลังจากศึกษาวรรณกรรมพระเวททั้งหมดและสดับฟังจากผู้ที่เชื่อถือได้ทั้งหลาย ได้ให้ความเห็นว่า คริชณะทรงเป็นเจ้านายสูงสุดองค์เดียวเท่านั้นและมวลชีวิตเป็นผู้รับใช้นิรันดรของพระองค์ คำกล่าวเช่นนี้ได้ยืนยันไว้ในบทมนต์ของบุคลิกภาพแห่งพระเวท ฉะนั้น ข้อสรุปคือทุกชีวิตอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์ภควาน ทุกชีวิตรับใช้ภายใต้คำสั่งสูงสุดของพระองค์ และทุกชีวิตกลัวพระองค์ จากการกลัวทำให้กิจกรรมทั้งหมดดำเนินไปอย่างถูกต้อง สถานภาพของทุกชีวิตเป็นรององค์ภควาน ถึงกระนั้นทรงไม่มีความลำเอียงกับสิ่งมีชีวิต เสมือนท้องฟ้าที่ไร้ขอบเขต เสมือนประกายไฟที่ลอยอยู่ในกองไฟ ลักษณะเดียวกันสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเหมือนนกที่บินอยู่บนท้องฟ้าอันไร้ขอบเขต บ้างบินได้สูงมาก บ้างบินในระดับกลาง และบ้างบินในระดับต่า นกทั้งหมดบินอยู่ในสภาวะที่ต่างกันตามศักยภาพในการบินที่ไม่เหมือนกัน แต่ท้องฟ้าไม่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการบินนี้ เช่นเดียวกันใน ภควัต-คีตา ทรงยืนยันว่า พระองค์ทรงให้รางวัลกับสภาวะที่แตกต่างกันของสิ่งมีชีวิตที่ไม่เหมือนกันตามสัดส่วนแห่งการศิโรราบ องค์ภควานทรงให้รางวัลแด่สิ่งมีชีวิตตามสัดส่วนเช่นนี้มิใช่ลำเอียง ดังนั้น แม้สิ่งมีชีวิตสถิตอยู่ในสภาวะที่แตกต่างกัน ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน และในเผ่าพันธุ์ชีวิตที่แตกต่างกัน ทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์ภควานเสมอ ถึงกระนั้น พระองค์ทรงไม่รับผิดชอบกับสภาวะชีวิตที่แตกต่างกันของพวกเขา จึงเป็นความโง่และผิดธรรมชาติที่คิดว่าตนเองเทียบเท่ากับองค์ภควาน และจะโง่มากยิ่งขึึ้นหากคิดว่าตนเองยังไม่ได้เห็นพระองค์ ทุกคนเห็นองค์ภควานในมุมมองที่ต่างกัน ข้อแตกต่างคือ ผู้เชื่อในองค์ภควานเห็นว่า คริชณะ น่ารักที่สุด และผู้ไม่เชื่อจะเห็นว่าสัจธรรมที่สมบูรณ์ ในที่สุดคือความตาย
บุคลิกภาพแห่งพระเวทถวายบทมนต์ต่อ “องค์ภควานที่รักของเรา จากข้อมูลในพระเวททั้งหมดเข้าใจว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมสูงสุดและสิ่งมีชีวิตทั้งหมดถูกควบคุม ทั้งองค์ภควานและสิ่งมีชีวิตเรียกว่า นิทยะ เป็นอมตะ จึงมีคุณสมบัติเป็นหนึ่งเดียวกัน ถึงกระนั้นเอกพจน์ของคำ นิทยะ หรือองค์ภควานทรงเป็นผู้ควบคุม ขณะที่พหูพจน์ นิทยะ ถูกควบคุม ปัจเจกชีวิตอาศัยอยู่ภายในร่างกายและผู้ควบคุมสูงสุดในรูปองค์อภิวิญญาณอยู่ ณ ที่นั้นด้วยเช่นกัน แต่อภิวิญญาณควบคุมปัจเจกวิญญาณ นั่นคือคำตัดสินของคัมภีร์พระเวท หากปัจเจกวิญญาณไม่ถูกควบคุมโดยอภิวิญญาณ แล้วเราจะอธิบายคำกล่าวของพระเวทว่าสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง มีความสุขและมีความทุกข์จากผลกรรมในอดีตของตนได้อย่างไร? บางครั้งได้รับการส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่สูงกว่า และบางครั้งคุณภาพชีวิตตกต่าลง เช่นนี้ พันธวิญญาณไม่เพียงแต่อยู่ภายใต้การควบคุมของ องค์ภควานเท่านั้น แต่ยังอยู่ภายใต้สภาวะการควบคุมของธรรมชาติวัตถุ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับองค์ภควานในฐานะผู้ถูกควบคุมและผู้ควบคุมนี้ พิสูจน์ชัดเจนว่า แม้อภิวิญญาณแพร่กระจายไปทั่ว ปัจเจกชีวิตไม่เคยแพร่กระจายไปทั่วหากแพร่กระจายไปทั่วจะไม่มีวันถูกควบคุม ทฤษฏีที่ว่าอภิวิญญาณและปัจเจกวิญญาณเท่าเทียมกันเป็นข้อสรุปที่ไม่บริสุทธิ์ ผู้มีเหตุผลจะรับไม่ได้ เราควรพยายามทำความเข้าใจข้อแตกต่างระหว่างผู้เป็นอมตะสูงสุดและพวกที่เป็นอมตะรองลงมาจะดีกว่า”
ดังนั้น บุคลิกภาพแห่งพระเวทสรุปว่า “โอ้ องค์ภควาน ทั้งพระองค์และสิ่งมีชีวิต ดรุวะ ผู้มีขีดจำกัด เป็นอมตะ” รูปลักษณ์ของผู้เป็นอมตะที่ไร้ขอบเขต บางครั้งคำนวณเป็นรูปลักษณ์จักรวาล ในวรรณกรรมพระเวทเช่น ศรี อุปนิษัท รูปลักษณ์อมตะที่ไร้ขีดจำกัดได้อธิบายไว้อย่างชัดเจน กล่าวไว้ว่า รูปลักษณ์ทิพย์เดิมแท้ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดเศษหนึ่งส่วนหมื่นของปลายเส้นผม ดวงวิญญาณยิ่งใหญ่กว่าสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเล็กกว่าสิ่งที่เล็กที่สุด ปัจเจกชีวิตซึ่งเป็นละอองอณูขององค์ภควานนิรันดรเล็กกว่าสิ่งที่เล็กที่สุด ด้วยประสาทสัมผัสวัตถุเราไม่สามารถสำเหนียกองค์ภควานผู้ทรงยิ่งใหญ่กว่าสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และไม่สามารถสำเหนียกปัจเจกวิญญาณผู้เล็กกว่าสิ่งที่เล็กที่สุด เราต้องเข้าใจทั้งผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเล็กที่สุดจากแหล่งที่เชื่อถือได้แห่งวรรณกรรมพระเวท วรรณกรรมพระเวทกล่าวไว้ว่า อภิวิญญาณประทับอยู่ภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตมีขนาดเท่ากับหัวแม่มือ อาจเถียงว่าสิ่งที่มีขนาดเท่าหัวแม่มือจะไปอยู่ภายในหัวใจของมดได้อย่างไร? คำตอบคือการวัดขนาดหัวแม่มือเป็นหัวแม่มือตามสัดส่วนร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ในทุกสถานการณ์อภิวิญญาณและปัจเจกวิญญาณไม่ถือว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน แม้ทั้งคู่จะเข้าไปในร่างวัตถุของสิ่งมีชีวิต อภิวิญญาณประทับอยู่ภายในหัวใจเพื่อชี้แนะหรือควบคุมปัจเจกวิญญาณ แม้ทั้งคู่เป็น ดรุวะ อมตะ สิ่งมีชีวิตจะอยู่ภายใต้การชี้แนะขององค์ภควานเสมอ
“อาจถกเถียงว่า เนื่องจากสิ่งมีชีวิตเกิดจากธรรมชาติวัตถุ ทั้งหมดจึงเท่ากันและเป็นอิสระ อย่างไรก็ดี วรรณกรรมพระเวทกล่าวว่า องค์ภควานทรงทำให้ธรรมชาติวัตถุตั้งครรภ์สิ่งมีชิวิต และจากนั้นกำเนิดออกมา ฉะนั้น ที่ปรากฏว่าสิ่งมีชีวิตกำเนิดมาจากธรรมชาติวัตถุเพียงผู้เดียวไม่เป็นความจริง เหมือนกับเด็กที่มารดาเป็นผู้ให้กำเนิด มิใช่ว่ามารดาให้กำเนิดแต่เพียงผู้เดียว ก่อนอื่นผู้หญิงตั้งครรภ์มาจากผู้ชาย จากนั้นจึงให้กำเนิดเด็กออกมาได้ เช่นนี้ เด็กที่กำเนิดจากผู้หญิงจึงเป็นส่วนหนึ่งของผู้ชาย ลักษณะเดียวกัน สิ่งมีชีวิตดูเหมือนว่าธรรมชาติวัตถุเป็นผู้ให้กำเนิด แต่ธรรมชาติวัตถุไม่เป็นอิสระ เพราะพระบิดาสูงสุดทรงทำให้ธรรมชาติวัตถุตั้งครรภ์จึงให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตได้ ดังนั้น ข้อถกเถียงที่ว่าปัจเจกชีวิตมิใช่ละอองอณูขององค์ภควาน ใช้ไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ส่วนต่างๆของร่างกายบอกว่าเทียบเท่ากับองค์รวมไม่ได้ แต่องค์รวมเป็นผู้ควบคุมส่วนต่างๆ ลักษณะเดียวกัน ส่วนต่างๆขององค์รวมสูงสุดจะขึ้นอยู่และถูกควบคุมโดยแหล่งกำเนิดเสมอ ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า สิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูของคริชณะ มะไมวามโช ฉะนั้น คนปกติจะไม่ยอมรับทฤษฏีที่ว่าอภิวิญญาณและปัจเจกวิญญาณอยู่ในประเภทเดียวกัน ทั้งคู่เท่าเทียมกันในคุณสมบัติ แต่ในปริมาณอภิวิญญาณทรงสูงสุดเสมอ และปัจเจกวิญญาณเป็นรองอภิวิญญาณเสมอ นั่นคือข้อสรุปของคัมภีร์พระเวท”
คำสำคัญสองคำที่ใช้ในประเด็นนี้คือ ยันมะยะ และ ชินมะยะ ในไวยากรณ์สันสกฤติคำว่า มะยัท ใช้สำหรับเปลี่ยนรูป และยังใช้สำหรับความเพียงพอ นักปราชญ์มายาวาดีตีความหมายว่า ยันมะยะ หรือ ชินมะยะ แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตเทียบเท่าองค์ภควานเสมอ แต่ต้องพิจารณาว่าคำที่นำหน้า มะยัท ใช้เพื่อเพียงพอ หรือเปลี่ยนรูป สิ่งมีชีวิตไม่มีวันมีสัดส่วนที่เท่าเทียมกับองค์ภควาน ดังนั้น คำนำหน้ามะยัท นี้ไม่สามารถใช้เพื่อหมายความว่าปัจเจกชีวิตมีความเพียงพอในตัว ปัจเจกชีวิตไม่เคยมีความรู้ที่พอเพียง มิฉะนั้นจะมาอยู่ภายใต้การควบคุมของมายา หรือพลังงานวัตถุได้อย่างไร? ดังนั้น คำว่าเพียงพอยอมรับได้ในสัดส่วนตามความสำคัญของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ความเป็นหนึ่งเดียวในลักษณะทิพย์ขององค์ภควานและสิ่งมีชีวิตยอมรับไม่ได้ว่าเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ละชีวิตและทุกชีวิตเป็นปัจเจกชีวิต หากความเป็นหนึ่งเดียวกันและเป็นเนื้อเดียวกันยอมรับได้ ถ้าปัจเจกวิญญาณดวงหนึ่งหลุดพ้น ปัจเจกวิญญาณดวงอื่นๆก็หลุดพ้นเช่นกันในทันที แต่ความจริงคือทุกปัจเจกวิญญาณมีความสุขและความทุกข์ที่แตกต่างกันไปในโลกวัตถุ
คำว่า มะยัท ยังใช้ในการเปลี่ยนรูปหรือบางครั้งใช้เพื่อหมายถึงสิ่งพลอยได้ ทฤษฏีของผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์คือ ตัวบระฮมันเองยอมรับร่างกายที่แตกต่างกัน และนี่คือลีลาของพระองค์ อย่างไรก็ดี มีเผ่าพันธุ์ชีวิตหลายร้อยหลายพันในมาตรฐานสภาวะชีวิตที่ไม่เหมือนกัน เช่น มนุษย์ เทวดา สัตว์ นก เดรัจฉาน และหากว่าทั้งหมดเป็นภาคแบ่งแยกของสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุด จะไม่มีคำถามเกี่ยวกับความหลุดพ้น เพราะบระฮมันหลุดพ้นเรียบร้อยแล้ว มายาวาดียังตีความอีกว่าทุกๆกัปจะมีร่างกายที่แตกต่างกันปรากฏออกมา และเมื่อสิ้นกัปร่างกายต่างๆทั้งหมดหรือภาคแบ่งแยกบระฮมันจะกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกันโดยปริยาย จบสิ้นปรากฏการณ์ต่างๆทั้งหมด แล้วในกัปต่อไปตามทฤษฏีนี้บระฮมันจะแบ่งภาคในร่างกายต่างๆกันอีกครั้งหนึ่ง หากยอมรับทฤษฏีนี้ บระฮมันจะอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลง แต่เช่นนี้ยอมรับไม่ได้ จาก เวดานธะ-สูทระ เราเข้าใจว่าโดยธรรมชาติบระฮมันมีความรื่นเริง ฉะนั้น พระองค์ทรงไม่สามารถเปลี่ยนเข้ามาในร่างที่อยู่ภายใต้สภาวะเจ็บปวด อันที่จริงสิ่งมีชีวิตผู้เป็นละอองอณูของบระฮมัน เป็นส่วนเล็กๆ มีแนวโน้มจะถูกพลังงานแห่งความหลงครอบงำ ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วว่าละอองอณูของบระฮมันเสมือนประกายไฟที่ลอยอยู่อย่างมีความสุขภายในกองไฟ แต่มีโอกาสจะตกออกมาจากกองไฟไปอยู่ในควัน ถึงแม้ควันเป็นอีกสภาวะหนึ่งของไฟ โลกวัตถุนี้เสมือนควัน และโลกทิพย์เสมือนกองไฟที่โชติช่วง สิ่งมีชีวิตจำนวนนับไม่ถ้วนมีแนวโน้มที่จะตกลงจากโลกทิพย์มาอยู่ในโลกวัตถุ เมื่อถูกอิทธิพลของพลังงานวัตถุครอบงำ เป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตจะหลุดพ้นอีกครั้งด้วยการพัฒนาความรู้ที่แท้จริง และเป็นอิสระโดยสมบูรณ์จากมลทินทางโลกวัตถุ
ทฤษฏีของ อสุระ คือสิ่งมีชีวิตเกิดจากธรรมชาติวัตถุหรือพระคริทิ และมาสัมผัสกับพุรุชะ ทฤษฏีนี้ยอมรับไม่ได้ เพราะทั้งธรรมชาติวัตถุและองค์ภควานคงอยู่ชั่วกัลปวสาน ทั้งธรรมชาติวัตถุและองค์ภควานไม่มีการเกิด พระองค์ทรงพระนามว่าอจะ ไม่มีการเกิด ลักษณะเดียวกันธรรมชาติวัตถุก็เรียกว่าอจา ทั้งสองคำ อจะ และอจา หมายความว่า “ไม่มีการเกิด” เพราะทั้งคู่ ธรรมชาติวัตถุและองค์ภควานไม่มีการเกิด จึงเป็นไปไม่ได้ว่าทั้งคู่จะให้กำเนิดสิ่งมีชีวิต แต่วรรณกรรมพระเวทยอมรับว่าเหมือนกับน้าที่มาสัมผัสกับลม บางครั้งจะมีฟองมากมาย ดังนั้น การรวมกันของธรรมชาติวัตถุและองค์ภควานทำให้สิ่งมีชีวิตปรากฏภายในโลกวัตถุนี้ เหมือนกับฟองที่อยู่ในน้าปรากฏในรูปร่างที่แตกต่างกัน ในทำนองเดียวกัน สิ่งมีชีวิตปรากฏในโลกวัตถุด้วยรูปร่างและสภาวะที่แตกต่างกัน ภายใต้อิทธิพลของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ เช่นนี้จึงไม่เหมาะสมที่สรุปว่าสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏภายในโลกวัตถุในรูปร่างที่แตกต่างกันนี้ เช่น มนุษย์ เทวดา สัตว์ นก และเดรัจฉาน ทั้งหมดได้รับร่างตามลำดับอันเนื่องมาจากความปรารถนาที่แตกต่างกัน ไม่มีผู้ใดสามารถกล่าวว่า เมื่อไรความปรารถนาเหล่านี้ได้มาอยู่ในตน ดังนั้น กล่าวว่าอนาดิ-คารมะ ต้นเหตุแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุเช่นนี้หาร่องรอยไม่พบ ไม่มีใครรู้ว่าชีวิตวัตถุเริ่มต้นเมื่อใด แต่เป็นจริงว่าต้องมีจุดเริ่มต้นเพราะเดิมทีทุกๆชีวิตเป็นประกายทิพย์ เหมือนกับประกายไฟที่ตกลงมาบนพื้นจากกองไฟซึ่งมีจุดเริ่มต้น ในลักษณะเดียวกัน การมายังโลกวัตถุของสิ่งมีชีวิตนี้ก็มีจุดเริ่มต้น แต่ไม่มีผู้ใดกล่าวได้ว่าเมื่อไร แม้เวลาแห่งการทำลายล้างสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ยังคงกลืนเข้าไปในความเป็นอยู่ทิพย์ขององค์ภควานประหนึ่งหลับสนิท แต่ความปรารถนาเดิมที่จะเป็นเจ้าครอบครองธรรมชาติวัตถุไม่หายไปไหน เมื่อปรากฏการณ์ทางจักรวาลปรากฏขึ้นอีกครั้ง จะออกมาสนองความต้องการเหมือนเดิม ดังนั้น พวกเขาจึงปรากฏในเผ่าพันธุ์ชีวิตอันหลากหลาย
การกลืนเข้าไปในองค์ภควานในช่วงเวลาแห่งการทำลายล้างนี้ เปรียบเทียบกับน้าผึ้ง รสของดอกไม้และผลไม้ต่างๆถูกเก็บรักษาไว้ในรังผึ้ง เมื่อเราดื่มน้าผึ้งไม่สามารถแยกแยะว่าเป็นน้าผึ้งชนิดใดสะสมมาจากดอกอะไร แต่รสอันโอชะของน้าผึ้งแสดงให้รู้ว่าน้าผึ้งไม่ใช่เป็นรสเดียวล้วนๆ แต่เป็นรสที่ผสมผสานกันหลายรส อีกตัวอย่างหนึ่งคือแม้มีแม่น้าสายต่างๆ ในที่สุดจะผสมกับน้าในทะเล เช่นนี้มิได้หมายความว่าปัจเจกบุคลิกภาพแห่งแม่น้าสูญหายไปด้วย ถึงแม้น้าของแม่น้าคงคาและแม่น้ายะมุนาผสมกับน้าในทะเล แม่น้าคงคาและแม่น้ายะมุนายังคงมีอยู่เหมือนเดิมโดยอิสระ การกลืนเข้าไปในบระฮมันของสิ่งมีชีวิตอันหลากหลายในเวลาแห่งการทำลาย เกี่ยวข้องกับการทำลายล้างร่างกายอันหลากหลายมากมาย แต่สิ่งมีชีวิตพร้อมกับรสต่างๆของตนยังคงกลืนแช่อยู่ในบระฮมันในฐานะปัจเจกบุคคล จนกระทั่งปรากฏการณ์ของโลกวัตถุปรากฏขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เหมือนกับรสน้าเค็มของทะเลและรสหวานของแม่น้าคงคาจะแตกต่างกัน ความแตกต่างเช่นนี้ยังคงมีอยู่ต่อไป ฉะนั้น ข้อแตกต่างระหว่างองค์ภควานและสิ่งมีชีวิตยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้ดูเหมือนว่าช่วงระยะเวลาแห่งการทำลายพวกเขากลืนหายเข้าไป ข้อสรุปคือแม้สิ่งมีชีวิตเป็นอิสระจากมลทินแห่งสภาวะวัตถุทั้งปวง และกลืนเข้าไปในอาณาจักรทิพย์ แต่รสแห่งความเป็นปัจเจกบุคคลในความสัมพันธ์กับองค์ภควานยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อ “องค์ภควานที่รัก เป็นข้อสรุปของพวกเราว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดหลงใหลอยู่กับพลังงานวัตถุ และเนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่าตนเองเป็นผลผลิตของธรรมชาติวัตถุ จึงต้องเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่งด้วยการลืมความสัมพันธ์นิรันดรที่มีต่อพระองค์ เนื่องจากอวิชชา สิ่งมีชีวิตเหล่านี้สำคัญตนผิดในเผ่าพันธุ์ชีวิตต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อได้พัฒนามาถึงชีวิตในร่างมนุษย์ ยังสำคัญตนกับชนชั้นโดยเฉพาะหรือธาตุนั้นๆโดยเฉพาะ เผ่าพันธุ์หรือที่เรียกว่าศาสนานั้นๆโดยเฉพาะ ลืมไปว่าตัวเองที่แท้จริงคือผู้รับใช้นิรันดรขององค์ภควาน เนื่องมาจากแนวคิดชีวิตที่ผิดนี้ พวกเขาจึงต้องผ่านการเกิดและตายซ้าซาก จากจำนวนหลายๆล้านคน หากผู้ใดมีปัญญาพอโดยมาคบหาสมาคมกับเหล่าสาวกผู้บริสุทธิ์ เขาจะเข้าใจคริชณะจิตสำนึก และจะออกมาจากอาณาเขตแห่งแนวคิดทางวัตถุที่ผิด”
ใน เชธันญะ-ชะริทามริทะ องค์เชธันญะทรงยืนยันว่า สิ่งมีชีวิตเข้าไปภายในจักรวาลนี้ในเผ่าพันธุ์ชีวิตต่างๆ แต่หากว่าหนึ่งในนั้นมีปัญญาพอด้วยพระเมตตาของพระอาจารย์ทิพย์และคริชณะ จะเริ่มชีวิตอุทิศตนเสียสละในคริชณะจิตสำนึก กล่าวว่า ฮะริม วินา นะ มริทิม ทะรันทิ ปราศจากการช่วยเหลือขององค์ภควาน เขาจะไม่สามารถออกจากเงื้อมมือแห่งการเกิดและตายซ้าซาก อีกนัยหนึ่งองค์ภควานเท่านั้นที่สามารถปลดเปลื้องพันธวิญญาณจากวัฏจักรแห่งการเกิดและตายซ้าซากได้
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อ “อิทธิพลของกาลเวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต และความทุกข์ทางวัตถุ เช่น ร้อนเกินไป หนาวเกินไป การเกิด การตาย ความแก่ โรคภัยไข้เจ็บ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการเลิกคิ้วของพระองค์ ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปภายใต้คำสั่งของพระองค์ กล่าวไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า กิจกรรมทางวัตถุทั้งหมดดำเนินไปภายใต้คำสั่งของ องค์ภควาน คริชณะ พระเวทกล่าวต่อ “สภาวะแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุทั้งหลาย เป็นปรปักษ์สำหรับบุคคลผู้ไม่ศิโรราบต่อพระองค์ แต่สำหรับดวงวิญญาณที่ศิโรราบและอยู่ในคริชณะจิตสำนึกโดยสมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นต้นเหตุแห่งความกลัว” เมื่อองค์นริสิมฮะเดวะทรงปรากฏ พระฮลาดะ มะฮาราจะ ไม่กลัวพระองค์ ขณะที่บิดาผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานต้องเผชิญกับบุคลิกภาพแห่งความตายทันที แล้วถูกสังหาร ฉะนั้น แม้องค์นริสิมฮะเดวะดูเหมือนจะเป็นความตายสำหรับผู้ไม่เชื่อในพระองค์ เช่น ฮิรัณยะคะชิพุ พระองค์ทรงมีพระเมตตาเสมอและทรงเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความสุขทั้งปวงสำหรับสาวก เช่น พระฮลาดะ ฉะนั้น สาวกผู้บริสุทธิ์จะไม่กลัวกับการเกิด การตาย ความแก่ชรา และโรคภัยไข้เจ็บ
ชรีพาดะ ชรีดะระ สวามี ได้เรียบเรียงโศลกอันสวยงาม มีคำอธิบายดังนี้ “องค์ภควานที่รัก ข้าคือสิ่งมีชีวิตผู้มีความลำบากกับสภาวะความเป็นอยู่ทางวัตถุเสมอ ถูกบดขยี้จนเป็นผุยผงด้วยล้อบดแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุ และจากความบาปต่างๆที่มีอยู่ในโลกวัตถุนี้ ข้าจึงถูกเผาไหม้อยู่ในกองไฟอันร้อนระอุแห่งผลกรรมทางวัตถุ องค์ภควานที่รัก ข้าได้มาพึ่งอยู่ภายใต้พระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ โปรดกรุณารับข้าไว้และช่วยปกป้องข้าด้วยเถิด” ชรีละ นะโรททะมะ ดาสะ ทาคุระ ภาวนาเช่นเดียวกันว่า “องค์ภควานที่รัก โอ้บุตร นันดะ มะฮาราจะ ผู้อยู่ใกล้ชิดกับธิดาของวริชะบานุ ข้ามาพึ่งพิงอยู่ภายใต้พระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ หลังจากได้รับทุกข์ทรมานอย่างใหญ่หลวงในสภาวะชีวิตวัตถุ ขอภาวนาให้พระองค์ทรงมีพระเมตตา กรุณาอย่าขับไล่ข้าไป เพราะข้าไม่มีที่พึ่งอื่นใดนอกจากพระองค์”
ข้อสรุปคือ กรรมวิธีการรู้แจ้งแห่งตนหรือรู้แจ้งองค์ภควาน ยกเว้น ภักดี-โยคะ หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้แล้วนอกนั้นยากมาก การมาพึ่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานในคริชณะจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ จึงเป็นวิถีทางเดียวที่จะเป็นอิสระจากมลทินแห่งสภาวะชีวิตวัตถุ โดยเฉพาะในยุคนี้ พวกไม่อยู่ในคริชณะจิตสำนึกเพียงแต่เสียเวลาไป โดยไม่สามารถพิสูจน์ชีวิตทิพย์อย่างเป็นรูปธรรมได้
พระรามตรัสว่า “ข้าให้ความมั่นใจ และความปลอดภัยแด่ผู้ที่ศิโรราบต่อข้าเสมอ และตัดสินใจอย่างแน่นอนว่าเขาคือผู้รับใช้นิรันดรของข้า เพราะนั่นคือแนวโน้มโดยธรรมชาติของข้า” ลักษณะเดียวกัน คริชณะตรัสใน ภควัต-คีตา ว่า “อิทธิพลของธรรมชาติวัตถุนั้นข้ามพ้นไม่ได้ แต่ผู้ที่ศิโรราบต่อข้าจะสามารถข้ามพ้นอิทธิพลแห่งธรรมชาติวัตถุได้โดยง่ายดาย” สาวกไม่สนใจกับการถกเถียงกับผู้ไม่ใช่สาวกเพื่อลบล้างทฤษฏีของพวกเขา แทนที่จะไปเสียเวลา สาวกจะปฏิบัติการรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อองค์ภควานในคริชณะจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์อยู่เสมอ
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อ “องค์ภควานที่รัก แม้โยคีผู้มีฤทธิ์อันยิ่งใหญ่อาจควบคุมพญาช้างสารแห่งจิตใจ และพายุแห่งประสาทสัมผัสได้สมบูรณ์ นอกจากมาพึ่งพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ มิฉะนั้น โยคีจะตกเป็นเหยื่อแห่งอิทธิพลของวัตถุและไม่ประสบผลสำเร็จในความพยายามเพื่อรู้แจ้งแห่งตน ผู้ถูกนำไปในทางที่ผิดเช่นนี้ เปรียบเสมือนพ่อค้าเดินทางอยู่ในทะเลโดยปราศจากกัปตันเรือ” ด้วยความพยายามของตนเองไม่มีผู้ใดสามารถเป็นอิสระจากเงื้อมมือแห่งธรรมชาติวัตถุได้ เขาต้องยอมรับพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้และปฏิบัติตามคำแนะนำของท่าน จึงเป็นไปได้ที่จะข้ามพ้นอวิชชาแห่งสภาวะวัตถุ ชรีพาดะ ชรีดะระ สวามี ได้เรียบเรียงโศลกอันสวยงามเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า “โอ้ พระอาจารย์ทิพย์ผู้แทนขององค์ภควานที่เปี่ยมด้วยพระเมตตา เมื่อใดจิตใจของข้าจะศิโรราบต่อพระบาทรูปดอกบัวของท่านโดยสมบูรณ์ ในตอนนั้น ด้วยพระเมตตาของท่านเท่านั้นที่ข้าจะได้รับการปลดเปลื้องจากอุปสรรคทั้งหลายในชีวิตทิพย์ และสถิตในชีวิตแห่งความปลื้มปีติสุข”
อันที่จริง สะมาดิ ที่ปลื้มปีติสุขหรือการซึมซาบอยู่ในองค์ภควานบรรลุได้ด้วยการปฏิบัติรับใช้พระองค์ตลอดเวลา ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ตลอดเวลานี้ ทำได้เมื่อมาปฎิบัติภายใต้คำแนะนำของพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ ฉะนั้น คัมภีร์พระเวทสอนว่า ในการรู้ศาสตร์แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เราต้องยอมจำนนตัวต่อพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ พระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้คือผู้ที่รู้ศาสตร์แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในสาย พะรัมพะรา สาย พะรัมพะรา เรียกว่า ชโรทริยัม ลักษณะอาการพื้นฐานของผู้เป็นพระอาจารย์ทิพย์ในสาย พะรัมพะรา คือท่านตั้งมั่นอยู่ใน ภักดี-โยคะ ร้อยเปอร์เซ็นต์ บางครั้งผู้คนละเลยการยอมรับพระอาจารย์ทิพย์ และพยายามรู้แจ้งตนเองด้วยการฝึกโยคะอิทธิฤทธิ์ แต่มีตัวอย่างที่ล้มเหลวมากมาย แม้โยคีผู้ยอดเยี่ยม เช่น วิชวามมิทระ อารจุนะตรัสใน ภควัต-คีตา ว่า การควบคุมจิตใจทำไม่ได้เหมือนกับการไปขวางกั้นลมพายุ บางครั้งจิตใจเปรียบเสมือนช้างตกมัน ปราศจากคำแนะนำของพระอาจารย์ทิพย์ เราจะไม่สามารถควบคุมจิตใจและประสาทสัมผัสได้ อีกนัยหนึ่ง หากผู้ใดฝึกปฏิบัติระบบโยคะอิทธิฤทธิ์และไม่ยอมรับพระอาจารย์ทิพย์ ล้มเหลวแน่นอน และเสียเวลาอันมีค่าไปโดยเปล่าประโยชน์ คำสอนพระเวทคือ ไม่มีผู้ใดสามารถมีความรู้อย่างสมบูรณ์โดยไม่อยู่ภายใต้การแนะนำของ อาชารยะ, อาชารยะวาน พุรุโช เวดะ ผู้ที่ยอมรับ อาชารยะ รู้ว่าอะไรเป็นอะไร สัจธรรมที่สมบูรณ์เข้าใจไม่ได้ด้วยการโต้เถียง ผู้ที่บรรลุถึงระดับพราหมณ์ที่สมบูรณ์โดยธรรมชาติจะเสียสละ ไม่ดิ้นรนเพื่อผลกำไรทางวัตถุ จากความรู้ทิพย์สรุปได้ว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรขาดแคลน ทุกสิ่งทุกอย่างองค์ภควานทรงจัดส่งให้อย่างเพียงพอ ดังนั้น พราหมณ์ที่แท้จริงไม่พยายามเพื่อความสมบูรณ์ทางวัตถุ แต่จะเข้าพบพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้เพื่อรับคำสั่งจากท่าน คุณสมบัติของพระอาจารย์ทิพย์คือบระฮมะ-นิชทะ หมายความว่าท่านยกเลิกกิจกรรมอื่นๆทั้งหมด และอุทิศชีวิตในการทำงานเพื่อ องค์ภควาน คริชณะ เท่านั้น เมื่อศิษย์ผู้เชื่อถือได้เข้าพบพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ จะภาวนาอย่างยอมจำนนแด่พระอาจารย์ทิพย์ว่า “องค์ภควานที่รักของข้า โปรดยอมรับข้าในฐานะเป็นศิษย์ของท่าน และฝึกฝนข้าในวิธีที่ข้าจะสามารถยกเลิกวิธีการอื่นๆทั้งหมดเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน และเพียงแต่ปฏิบัติในคริชณะจิตสำนึกหรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้น”
สาวกปฏิบัติตามคำแนะนำของพระอาจารย์ทิพย์ในการรับใช้ด้วยใจรักทิพย์ต่อพระองค์ ตั้งจิตจดจ่อดังนี้ “องค์ภควานที่รัก ผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของความสุข หากพระองค์ทรงปรากฏ ความรู้สึกกับความสุขที่ได้รับจากสังคม มิตรภาพ และความรักจะมีประโยชน์อันใด? บุคคลผู้ไม่รู้แหล่งกำเนิดสูงสุดแห่งความสุขปฏิบัติเพื่อให้ได้รับความสุขอย่างผิดๆ จากการสนองประสาทสัมผัส เช่นนี้เป็นเพียงความรู้สึกและความหลง” ประเด็นนี้ วิดยาพะทิ สาวกไวชณะวะและนักกวียอดเยี่ยมกล่าวว่า “องค์ภควานที่รัก ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีความสุขท่ามกลางสังคม มิตรภาพ และความรัก แม้สำเหนียกได้ทางวัตถุ แต่ความสุขเช่นนี้ไม่สามารถทำให้หัวใจของข้าที่เหมือนกับทะเลทรายได้รับความพึงพอใจ” ในทะเลทรายมีความต้องการน้าเทียบเท่ามหาสมุทร หากมีน้าเพียงหยดเดียวในทะเลทรายจะมีคุณค่าอันใด? ลักษณะเดียวกัน หัวใจวัตถุของเราเต็มไปด้วยความต้องการมากมายซึ่งไม่สามารถตอบสนองได้ภายในสังคมแห่งมิตรภาพและความรักทางวัตถุ เมื่อหัวใจเริ่มได้รับความสุขจากแหล่งกำเนิดสูงสุดแห่งความสุข ตรงนี้เราจึงมีความพึงพอใจ ความพึงพอใจทิพย์นี้เป็นไปได้ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในคริชณะจิตสำนึกโดยสมบูรณ์เท่านั้น
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อ “องค์ภควานที่รักของเรา พระองค์ทรงเป็น สัช-ชิด-อานันดะ-วิกระฮะ รูปลักษณ์ที่ปลื้มปีติสุขเสมอแห่งความรู้ และเนื่องจากสิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูของพระองค์ ความเป็นอยู่อย่างธรรมชาติของพวกเขาคือมีจิตสำนึกโดยสมบูรณ์ในพระองค์ ในโลกวัตถุนี้ผู้ใดพัฒนาคริชณะจิตสำนึกเช่นนี้จะไม่สนใจวิถีชีวิตวัตถุอีกต่อไป คริชณะจิตสำนึกเริ่มต้นจากการไม่สนใจกับชีวิตครอบครัวหรือสภาวะความเป็นอยู่ที่มั่งคั่ง และยอมรับสิ่งจำเป็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับร่างกาย อีกนัยหนึ่ง เขาไม่สนใจกับการสนองประสาทสัมผัส ความสมบูรณ์ของชีวิตมนุษย์มีพื้นฐานอยู่ที่ความรู้และเสียสละ แต่ยากมากที่พยายามมาให้ถึงระดับแห่งความรู้และเสียสละขณะที่อยู่ในชีวิตครอบครัว ดังนั้น บุคคลที่มีคริชณะจิตสำนึกจึงมาพึ่งสมาคมของสาวกหรือสถานที่บริสุทธิ์ของนักบุญ รู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างอภิวิญญาณและปัจเจกชีวิต และไม่มีแนวคิดชีวิตทางร่างกาย เพราะมีคริชณะอยู่ในจิตสำนึกที่สมบูรณ์ภายในหัวใจเสมอ บริสุทธิ์จนกระทั่งเมื่อไปที่ใดจะทำให้ที่นั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญ และน้าที่ใช้ล้างเท้าบุคคลเหล่านี้สามารถจัดส่งคนบาปมากมายที่ล่องลอยอยู่ภายในโลกวัตถุนี้
เมื่อพระบิดาผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานบอกให้ พระฮลาดะ มะฮาราจะ อธิบายสิ่งดีๆที่ได้เรียนรู้มา พระฮลาดะตอบบิดาว่า สำหรับนักวัตถุนิยมที่เต็มไปด้วยความวิตกกังวลอันเนื่องจากมายุ่งอยู่กับความจริงที่ไม่ถาวรและเทียบเคียง วิธีดีที่สุดคือยกเลิกเหวมืดแห่งชีวิตครอบครัวและไปในป่าเพื่อพึ่งองค์ภควาน สาวกผู้บริสุทธิ์จริงได้รับการสรรเสริญในฐานะ มะฮาทมา หรือปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยม บุคลิกภาพผู้มีความรู้สมบูรณ์คิดถึงองค์ภควานและพระบาทรูปดอกบัวเสมอ เช่นนี้ จึงเป็นอิสระโดยปริยาย สาวกผู้สถิตในสถานภาพเช่นนี้เสมอ ได้รับกระแสจากพลังอำนาจที่มองไม่เห็นของพระองค์ เช่นนี้ พวกท่านมาเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความหลุดพ้นสำหรับผู้ปฏิบัติตามหรือมาเป็นศิษย์ บุคคลมีคริชณะจิตสำนึกจะมีกระแสทิพย์เต็มเปี่ยม ฉะนั้น ผู้ใดมาสัมผัสหรือมาพึ่งสาวกผู้บริสุทธิ์จะมีพลังกระแสทิพย์เช่นเดียวกัน สาวกเหล่านี้ไม่เคยผยองกับความมั่งคั่งทางวัตถุ โดยทั่วไปความมั่งคั่งทางวัตถุคือมีครอบครัวดี การศึกษาดี มีความสง่างาม และร่ารวย แม้สาวกอาจมีความมั่งคั่งทางวัตถุทั้งสี่อย่างนี้ แต่ไม่หยิ่งผยองกับการที่มีลักษณะพิเศษเหล่านี้ สาวกผู้ยอดเยี่ยมขององค์ภควานเดินทางไปทั่วโลก จากสถานที่นักบุญแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง ระหว่างเดินทางพบกับพันธวิญญาณมากมาย และจัดส่งพวกเขาด้วยการให้มาคบหาสมาคมและถ่ายทอดความรู้ทิพย์ พวกท่านพำนักอยู่สถานที่ เช่น วรินดาวะนะ, มะทุรา, ดวาระคา, จะกันนาทะ พุรี, และ นะวะดวีพะ เฉพาะสาวกเท่านั้นมาชุมนุมกัน ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ นักบุญกัลยาณมิตรมาคบหาสมาคมกันเพื่อความเจริญก้าวหน้า เพื่อทุกชีวิตจะได้ฉวยประโยชน์มาอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลผู้มีคริชณะจิตสำนึก สาวกผู้ยอดเยี่ยมเหล่านี้เปิดวัดและอาชระมะให้บรรดาสาวกของคริชณะมาชุมนุมกัน จากการคบหาสมาคมผู้คนจะพัฒนาคริชณะจิตสำนึกมากยิ่งขึ้น ความเจริญก้าวหน้าเช่นนี้เป็นไปไม่ได้ในชีวิตครอบครัวธรรมดาที่ปราศจากคริชณะจิตสำนึก
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อ “องค์ภควานที่รัก มีนักทิพย์นิยมอยู่สองประเภทผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์และผู้เชื่อในรูปลักษณ์ ความเห็นของผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์คือ ปรากฏการณ์ทางวัตถุนี้ไม่จริงและสัจธรรมสูงสุดเท่านั้นที่เป็นจริง อย่างไรก็ดี วิสัยทัศน์ของผู้เชื่อในรูปลักษณ์คือ โลกวัตถุแม้ไม่ถาวรแต่มิใช่ว่าไม่จริง มันเป็นของจริง นักทิพย์นิยมเหล่านี้มีข้อถกเถียงที่ต่างกันเพื่อสถาปนาความน่าเชื่อถือได้ในปรัชญาของตน อันที่จริง โลกวัตถุเป็นทั้งจริงและไม่จริงพร้อมๆกัน ที่ว่าเป็นจริงเพราะทุกสิ่งทุกอย่างแยกออกมาจากสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุด และที่ว่าไม่จริงเพราะว่าความเป็นอยู่ของโลกวัตถุไม่ถาวร ถูกสร้างขึ้นมาและถูกทำลายลง เนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ปรากฏการณ์ทางจักรวาลจึงไม่มีตำแหน่งที่แน่นอน พวกที่โฆษณาว่ายอมรับโลกวัตถุนี้ว่าไม่จริง โดยทั่วไปมีหลักเกณฑ์ บระฮมะ สัทยัม จะกัน มิทยา เถียงว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกวัตถุทำมาจากวัตถุ ตัวอย่างเช่นมีหลายสิ่งหลายอย่างทำมาจากดิน เช่น หม้อดิน จาน และชาม หลังจากถูกทำลายลง สิ่งเหล่านี้อาจเปลี่ยนรูปมาเป็นรูปวัตถุอื่นๆอีกมากมาย แต่ในทุกกรณีความเป็นอยู่ในฐานะที่เป็นดินของมันยังดำเนินต่อไป กาน้าที่ทำจากดินหลังจากแตกลงอาจเปลี่ยนมาเป็นจานหรือชาม แต่ไม่ว่าจะเป็นจาน ชาม หรือกาน้า ดินในตัวมันเองยังคงเป็นดินเหมือนเดิมต่อไป ดังนั้น ในรูปของกาน้า ชาม หรือจาน จึงไม่จริง แต่ความเป็นอยู่ที่เป็นดินเป็นของจริง นี่คือวิสัยทัศน์ของผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ ปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้แน่นอนว่าผลิตมาจากสัจธรรมที่สมบูรณ์ แต่เนื่องจากความเป็นอยู่ไม่ถาวรมันจึงไม่จริง ความเข้าใจของผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์คือ สัจธรรมที่สมบูรณ์ซึ่งปรากฏอยู่เสมอเป็นความจริงเท่านั้น อย่างไรก็ดี ความเห็นของนักทิพย์นิยมอีกพวกหนึ่งคือ โลกวัตถุนี้ผลิตมาจากสัจธรรมที่สมบูรณ์เป็นจริงเช่นกัน ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์เถียงกลับมาว่าโลกวัตถุไม่เป็นจริง เพราะว่าบางครั้งพบว่าวัตถุผลิตมาจากวิญญาณ และบางครั้งวิญญาณผลิตมาจากวัตถุ นักปราชญ์เหล่านี้เถียงว่าถึงแม้มูลโคเป็นวัตถุที่ไม่มีชีวิต บางครั้งพบว่าแมลงป่องออกมาจากมูลโค ลักษณะเดียวกันวัตถุที่ไม่มีชีวิตเช่นเล็บและผมออกมาจากสิ่งมีชีวิต ฉะนั้น สิ่งที่ผลิตออกมาจากบางสิ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเสมอไป จากการถกเถียงเช่นนี้นักปราชญ์มายาวาดีสถาปนาว่า แม้ปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้ออกมาจากสัจธรรมที่สมบูรณ์แน่นอน ปรากฏการณ์ทางจักรวาลไม่จำเป็นว่ามีจริงในตัวเอง ตามแนวคิดเช่นนี้สัจธรรมที่สมบูรณ์บระฮมันจึงควรยอมรับว่าเป็นจริงขณะที่ปรากฏการณ์ทางจักรวาลแม้เป็นผลผลิตของสัจธรรมที่สมบูรณ์ ไม่สามารถยอมรับว่าเป็นจริง
อย่างไรก็ดี แนวคิดของนักปราชญ์มายาวาดีได้กล่าวไว้ใน ภควัต-คีตา ว่าเป็นวิสัยทัศน์ของ อสุระ หรือมาร องค์ภควานตรัสใน ภควัต-คีตา ว่า อสัทยัม อพระทิชทัม เท จะกัด อาฮุร อนีชวะรัม แนวคิดของ อสุระ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้คือการสร้างทั้งหมดนี้ไม่จริง พวก อสุระ คิดว่าปฏิกิริยาของวัตถุเท่านั้นที่เป็นแหล่งกำเนิดของการสร้าง ไม่มีองค์ภควานหรือผู้ควบคุม แต่เช่นนี้มิใช่ความจริง จากบทที่เจ็ดของ ภควัต-คีตา เราเข้าใจว่าธาตุหยาบทั้งห้า เช่น ดิน น้า ไฟ ลม และอากาศ บวกกับธาตุที่ละเอียด เช่น จิตใจ ปัญญา และอหังการ เป็นพลังงานที่แยกจากกันทั้งแปดชนิดขององค์ภควาน เหนือไปกว่าพลังงานวัตถุที่ต่านี้ยังมีพลังงานทิพย์ที่รู้กันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ยอมรับเช่นกันว่าสิ่งมีชีวิตเป็นพลังงานเบื้องสูงของพระองค์ ปรากฏการณ์ในจักรวาลทั้งหมดเป็นการผสมผสานกันของพลังงานเบื้องต่าและพลังงานเบื้องสูง และแหล่งกำเนิดของพลังงานเหล่านี้คือองค์ภควาน พระองค์ทรงมีพลังงานแตกต่างกันมากมาย ได้ยืนยันไว้ในคัมภีร์พระเวทว่า พะราสยะ ชัคทิร วิวิไดวะ ชรูยะเท “พลังงานทิพย์ขององค์ภควานมีหลากหลายมากมาย” และเนื่องจากความหลากหลายมากมายเหล่านี้ออกมาจากพระองค์จึงเป็นของจริง องค์ภควาน ทรงคงอยู่นิรันดรและพลังงานของพระองค์ก็เช่นเดียวกัน พลังงานบางชนิดไม่ถาวร บางครั้งปรากฏและบางครั้งไม่ปรากฏ แต่นั่นมิได้หมายความว่าไม่เป็นจริง ตัวอย่างคือเมื่อคนโกรธขึ้นมาอาจทำบางสิ่งที่ยามปกติไม่ทำ อารมณ์โกรธปรากฏขึ้นและหายไป มิได้หมายความว่าพลังแห่งความโกรธไม่จริง การถกเถียงของนักปราชญ์มายาวาดีที่ว่าโลกนี้ไม่จริง นักปราชญ์ไวชณะวะไม่ยอมรับ พระองค์ทรงยืนยันว่าแนวคิดที่ว่าไม่มีแหล่งกำเนิดสูงสุดของปรากฏการณ์ทางวัตถุนี้ และที่ว่าไม่มีองค์ภควาน สรรพสิ่งเป็นการสร้างของวัตถุที่มีปฏิกิริยาต่อกัน เช่นนี้เป็นวิสัยทัศน์ของ อสุระ
บางครั้งนักปราชญ์มายาวาดีเถียงเกี่ยวกับงูและเชือก ในความมืดตอนกลางคืนเชือกม้วนอยู่ ด้วยอวิชชาบางครั้งคิดว่าเป็นงู การเข้าใจผิดว่าเชือกเป็นงูมิได้หมายความว่าทั้งเชือกและงูไม่จริง ดังนั้น ตัวอย่างที่มายาวาดีใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่าโลกวัตถุนี้ไม่จริง ใช้ไม่ได้ เมื่อสิ่งหนึ่งเห็นว่าเป็นจริงแต่ความจริงไม่มีอยู่เลยจึงเรียกว่าไม่จริง หากเข้าใจว่าของสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งเช่นนี้มิได้หมายความว่าไม่จริง นักปราชญ์ไวชณะวะใช้ตัวอย่างที่เหมาะสมมากกว่าในการเปรียบเทียบโลกวัตถุนี้กับหม้อดิน เมื่อเราเห็นหม้อดิน ไม่ได้หายไปในทันทีและเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น อาจเป็นอยู่ชั่วคราวและใช้ใส่น้าได้ เรายังเห็นต่อเนื่องว่าเป็นหม้อดิน ดังนั้น แม้หม้อดินไม่ถาวรและแตกต่างจากดินในลักษณะเดิม เราไม่สามารถกล่าวว่ามันไม่จริง แต่ควรสรุปว่าทั้งคู่คือดินทั้งหมดและหม้อดินเป็นความจริง เพราะสิ่งหนึ่งเป็นผลผลิตมาจากอีกสิ่งหนึ่ง เราเข้าใจจาก ภควัต-คีตา ว่าหลังจากการทำลายล้างจักรวาลวัตถุนี้แล้วพลังงานเข้าไปในองค์ภควาน พระองค์ทรงเป็นอยู่นิรันดรควบคู่ไปกับพลังงานอันหลากหลาย เนื่องจากการสร้างวัตถุออกมาจากพระองค์ เราไม่สามารถกล่าวได้ว่าปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้เป็นผลผลิตจากบางสิ่งที่ว่างเปล่า คริชณะมิใช่สิ่งว่างเปล่า เมื่อกล่าวถึงคริชณะ พระองค์ทรงปรากฏในรูปลักษณ์ คุณสมบัติ พระนาม บริวาร และส่วนประกอบอื่นๆ ของพระองค์ ฉะนั้น คริชณะทรงมิใช่ว่าไร้รูปลักษณ์ แหล่งกำเนิดเดิมแท้ของทุกสิ่งทุกอย่างมิใช่ว่าว่างเปล่าหรือไม่มีรูปลักษณ์ แต่เป็นบุคคลสูงสุด มารอาจกล่าวว่าการสร้างวัตถุนี้เป็น อนีชวะระ ไม่มีองค์ภควานหรือผู้ควบคุม แต่การเถียงเช่นนี้ในที่สุดยืนอยู่ไม่ได้
ตัวอย่างที่นักปราชญ์มายาวาดีให้ ว่าวัตถุที่ไม่เคลื่อนที่เช่นเล็บและผมออกมาจากสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่ข้อถกเถียงที่ดี เล็บและผมแน่นอนว่าเคลื่อนไหวไม่ได้ มันไม่ได้ออกมาจากสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวได้ แต่ออกมาจากร่างกายวัตถุที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ลักษณะเดียวกันข้อถกเถียงที่ว่าแมลงป่องออกมาจากมูลโค หมายความว่าสิ่งมีชีวิตออกมาจากวัตถุ ไม่ใช่ข้อถกเถียงที่มีเหตุผลเช่นกัน แมลงป่องที่ออกมาจากมูลโคแน่นอนว่าเป็นสิ่งมีชีวิต แต่สิ่งมีชีวิตมิได้ออกมาจากมูลโค เพียงแต่ร่างวัตถุของสิ่งมีชีวิตหรือร่างของแมลงป่องเท่านั้นที่ออกมาจากมูลโค ประกายของสิ่งมีชีวิตดังที่เราเข้าใจจาก ภควัต-คีตา ว่า ได้ตั้งครรภ์อยู่ภายในธรรมชาติวัตถุ จากนั้นค่อยออกมา ร่างของสิ่งมีชีวิตในรูปลักษณ์ต่างๆ ธรรมชาติวัตถุเป็นผู้ให้ แต่สิ่งมีชีวิตเองออกมาจากองค์ภควาน บิดาและมารดาให้ร่างกายซึ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตภายใต้สภาวะโดยเฉพาะ สิ่งมีชีวิตเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่งตามความปรารถนาที่แตกต่างกันของตน ความปรารถนาในรูปที่ละเอียดของปัญญา จิตใจ และอหังการร่วมไปด้วยกันกับสิ่งมีชีวิตจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง และจากการจัดการของผู้ที่สูงกว่า สิ่งมีชีวิตจึงถูกจับให้ไปอยู่ในครรภ์ของร่างวัตถุโดยเฉพาะ จากนั้นพัฒนาร่างกายที่คล้ายคลึงกัน วิญญาณมิใช่ผลิตออกมาจากวัตถุ แต่มารับเอาร่างโดยเฉพาะภายใต้การจัดเตรียมที่สูงกว่า จากประสบการณ์ปัจจุบันของเรา โลกวัตถุนี้เป็นการผสมผสานของวัตถุและวิญญาณ วิญญาณเป็นผู้ขับเคลื่อนวัตถุ จิตวิญญาณ (สิ่งมีชีวิต) และวัตถุเป็นพลังงานที่ต่างกันขององค์ภควาน เนื่องจากพลังงานทั้งสองเป็นผลผลิตของผู้เป็นอมตะสูงสุดหรือสัจธรรมที่สูงสุด ทั้งสองจึงเป็นจริงมิใช่ว่าไม่จริง เนื่องจากสิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูขององค์ภควาน จึงมีความเป็นอยู่นิรันดร ฉะนั้น ไม่มีคำถามเกี่ยวกับการเกิดหรือตาย ที่สมมุติว่าเป็นการเกิดและตายปรากฏขึ้นเพราะร่างวัตถุ แนวคิดพระเวทว่า สารวัม คัลว อิดัม บระฮมะ หมายความว่าพลังงานทั้งสองออกมาจากบระฮมันสูงสุด ดังนั้น ทุกสิ่งที่เรามีประสบการณ์จึงไม่แตกต่างไปจากบระฮมัน
มีข้อถกเถียงมากมายเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของโลกวัตถุนี้ แต่ข้อสรุปของปรัชญาไวชณะวะดีที่สุด ตัวอย่างของหม้อดินเหมาะสมมาก รูปลักษณ์ของหม้อดินอาจไม่ถาวร แต่มีจุดมุ่งหมายโดยเฉพาะ จุดมุ่งหมายของหม้อดินคือ ใส่น้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ลักษณะเดียวกันร่างวัตถุนี้แม้ไม่ถาวรแต่มีประโยชน์ใช้สอยพิเศษ สิ่งมีชีวิตได้รับโอกาสจากตอนเริ่มต้นของการสร้างเพื่อวิวัฒนาการไปในร่างวัตถุต่างๆ ตามที่ปรารถนา และที่สะสมมาจากอดีตกาลนานมาแล้ว ร่างชีวิตมนุษย์เปิดโอกาสเป็นพิเศษให้จิตสำนึกที่พัฒนาแล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
บางครั้งนักปราชญ์มายาวาดีเถียงว่า หากโลกวัตถุนี้เป็นจริงแล้วทำไมคฤหัสถ์ได้รับคำแนะนำให้ตัดความสัมพันธ์กับโลกวัตถุนี้ และไปรับชีวิตสันนยาสะ? แนวคิดของนักปราชญ์ไวชณะวะเกี่ยวกับสันนยาสะ มิใช่เพราะโลกนี้ไม่จริงจึงต้องยกเลิกกิจกรรมทางวัตถุ จุดมุ่งหมายของไวชณะวะสันนยาสะคือใช้ประโยชน์กับสิ่งต่างๆตามที่ควรจะเป็น ชรีละ รูพะ โกสวามี ให้สองสูตรเกี่ยวกับที่เรามาสัมพันธ์กับโลกวัตถุนี้ เมื่อไวชณะวะสละวิถีชีวิตวัตถุนี้และรับเอาชีวิตสันนยาสะ มิใช่แนวคิดที่ว่าโลกวัตถุนี้ไม่จริง แต่เพื่ออุทิศตนและนำเอาทุกสิ่งมารับใช้องค์ภควานโดยสมบูรณ์ ชรีละ รูพะ โกสวามี ได้ให้สูตรว่า “เราไม่ควรยึดติดกับโลกวัตถุเพราะมันไม่มีความหมาย โลกวัตถุหรือปรากฏการณ์ทางจักรวาลทั้งหมดเป็นของ องค์ภควาน คริชณะ ฉะนั้นทุกสิ่งควรนำมาใช้เพื่อคริชณะ และสาวกควรรักษาสภาวะการไม่ยึดติดกับสิ่งของวัตถุ” นี่คือจุดมุ่งหมายของไวชณะวะสันนยาสะ นักวัตถุนิยมยึดติดอยู่กับโลกเพื่อสนองประสาทสัมผัส ไวชณะวะสันนยาสี แม้ไม่ยอมรับสิ่งใดเพื่อสนองประสาทสัมผัสส่วนตัว แต่รู้ศิลปะในการใช้ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรับใช้องค์ภควาน ดังนั้น ชรีละ รูพะ โกสวามี วิจารณ์มายาวาดีสันนยาสี ด้วยสูตรที่สองว่า “เพราะมายาวาดีไม่รู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีประโยชน์ใช้สอยในการรับใช้องค์ภควาน ตรงกันข้ามกลับคิดว่าโลกนี้ไม่จริง จึงคิดอย่างผิดๆว่าตนเองหลุดพ้นจากมลทินทางโลกวัตถุนี้แล้ว” เนื่องจากสรรพสิ่งออกมาจากพลังงานขององค์ภควาน สิ่งที่ออกมาจึงเป็นจริงเท่ากับพระองค์
ที่ว่าโลกวัตถุเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวเท่านั้น มิได้หมายความว่าไม่จริง หรือแหล่งกำเนิดของปรากฏการณ์นี้ไม่จริง เนื่องจากแหล่งกำเนิดของปรากฏการณ์เป็นจริง ปรากฏการณ์ก็เป็นจริงเช่นกัน แต่ต้องรู้ว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ตัวอย่างเดียวกันอาจกล่าวได้ว่าหม้อดินที่ไม่ถาวรผลิตมาจากดิน แต่เมื่อนำมาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมหม้อดินมิใช่ว่าไม่จริง นักปราชญ์ไวชณะวะรู้ว่าจะนำการสร้างของโลกวัตถุที่ชั่วคราวนี้มาใช้ประโยชน์อย่างไร เหมือนกับคนมีสติรู้ว่าจะใช้ประโยชน์กับการสร้างหม้อดินที่ไม่ถาวรนี้ได้อย่างไร เมื่อหม้อดินใช้ประโยชน์ไปในทางที่ผิด เช่นนี้จึงไม่จริง ลักษณะเดียวกันมนุษย์ในร่างนี้หรือโลกวัตถุนี้เมื่อใช้ไปเพื่อสนองประสาทสัมผัสที่ผิดจึงไม่จริงหรือว่าผิด แต่หากว่าร่างกายมนุษย์และการสร้างทางวัตถุนำมาใช้ประโยชน์เพื่อรับใช้องค์ภควาน กิจกรรมเช่นนี้ไม่ถือว่าผิด ดังนั้น ได้ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า ท่าทีในการรับใช้เพียงเล็กน้อยด้วยการใช้ร่างกายและโลกวัตถุนี้เพื่อรับใช้พระองค์ สามารถจัดส่งบุคคลจากอันตรายที่ร้ายแรงที่สุดในชีวิตได้ เมื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม พลังงานเบื้องสูงและพลังงานเบื้องต่าที่ออกมาจากองค์ภควานมิใช่ว่าไม่จริง สำหรับกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุส่วนใหญ่มีพื้นฐานอยู่ในระดับการสนองประสาทสัมผัส ดังนั้น บุคคลผู้เจริญก้าวหน้าในคริชณะจิตสำนึกไม่ไปยุ่งเกี่ยว ผลของกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุพัฒนาให้ไปถึงระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่า กล่าวไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า คนโง่ได้ไปสวรรค์ แต่หลังจากสิ้นบุญจะกลับมายังระบบดาวเคราะห์ที่ต่าอีกครั้ง จากนั้นพยายามเพื่อไปสวรรค์ใหม่อีกครั้ง ผลที่ได้รับคือต้องลำบากไปๆมาๆ เหมือนปัจจุบันที่นักวิทยาศาสตร์ทางวัตถุเสียเวลาไปกับความพยายามไปดวงจันทร์และกลับมาอีก พวกที่ทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ทางวัตถุเหล่านี้ บุคลิกภาพแห่งพระเวทอธิบายว่าเป็น อันดะ-พะรัมพะรา สาวกตาบอดอยู่กับพิธีกรรมพระเวท แม้พิธีกรรมเหล่านี้ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวท มิได้หมายไว้สำหรับผู้มีปัญญา มนุษย์ผู้ยึดติดอยู่กับความสุขทางวัตถุมากเกินไป หลงใหลอยู่กับเป้าหมายที่จะพัฒนาไปยังระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่า ดังนั้น จึงทำกิจกรรมตามพิธีกรรมเหล่านี้ แต่ผู้มีปัญญาหรือผู้ที่มาพึ่งพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริงจะไม่ทำกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ แต่ปฏิบัติตนในการรับใช้ทิพย์แด่องค์ภควานด้วยความรักทิพย์
บุคคลไม่ใช่สาวกทำตามพิธีกรรมพระเวทด้วยเหตุผลทางวัตถุแล้วสับสน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บุคคลผู้มีปัญญามีเงินสดเป็นร้อยๆล้านบาทจะไม่เก็บเงินเอาไว้โดยไม่นำไปใช้ แม้รู้เป็นอย่างดีว่าธนบัตรในตัวมันเองมิใช่อะไรอื่นนอกจากกระดาษ เมื่อมีธนบัตรอยู่ร้อยๆล้านบาท อันที่จริง เท่ากับมีกระดาษกองใหญ่กองหนึ่งเท่านั้น หากนำไปใช้ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายจะได้รับประโยชน์ ลักษณะเดียวกัน แม้โลกวัตถุนี้อาจไม่จริงเหมือนกระดาษ แต่มีประโยชน์ต่อเมื่อนำไปใช้สอยอย่างเหมาะสม เพราะธนบัตรถึงแม้เป็นกระดาษแต่รัฐบาลเป็นผู้ออกให้ จึงมีค่าโดยสมบูรณ์ ลักษณะเดียวกันโลกวัตถุอาจไม่จริงหรือชั่วคราว แต่เพราะออกมาจากองค์ภควานจึงมีคุณค่าในตัวเองโดยสมบูรณ์ นักปราชญ์ไวชณะวะรู้ถึงคุณค่าโดยสมบูรณ์ของโลกวัตถุนี้ และรู้ว่าจะใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมได้อย่างไร ขณะที่นักปราชญ์มายาวาดีเข้าใจผิดว่าธนบัตรเป็นกระดาษปลอมหรือกระดาษไม่จริง ทิ้งมันไปและไม่สามารถใช้สอยเงินให้เป็นประโยชน์ ดังนั้น ชรีละ รูพะ โกสวามี ประกาศว่าหากปฏิเสธว่าโลกวัตถุนี้ไม่จริง โดยไม่พิจารณาถึงความสำคัญของโลกวัตถุนี้ว่าเป็นวิถีทางเพื่อรับใช้องค์ภควาน การเสียสละเช่นนี้มีคุณค่าเพียงนิดเดียวเท่านั้น บุคคลผู้รู้ถึงคุณค่าแท้จริงของโลกวัตถุและนำมารับใช้องค์ภควาน ไม่ยึดติด และสละโลกวัตถุโดยไม่ยอมรับมันมาเพื่อสนองประสาทสัมผัส ผู้นี้สถิตอยู่ในการเสียสละที่แท้จริง โลกวัตถุนี้ออกมาจากพลังงานวัตถุขององค์ภควาน ฉะนั้น จึงเป็นของจริงมิใช่ว่าไม่จริง เหมือนกับที่บางครั้งสรุปจากตัวอย่างของงูและเชือก
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อไปว่า “เนื่องจากธรรมชาติชั่วขณะของปรา กฏการณ์ทางจักรวาลในความเป็นอยู่ที่ไม่ถาวร ผู้ด้อยปัญญาจึงดูเหมือนว่ามันไม่จริง” นักปราชญ์มายาวาดีฉวยประโยชน์กับธรรมชาติชั่วขณะของปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้ เพื่อพิสูจน์ทฤษฏีของพวกตนว่าโลกนี้ไม่จริง ตามความเห็นของพระเวท ก่อนการสร้าง โลกนี้ไม่มีอยู่ และหลังจากการทำลาย โลกนี้จะไม่ปรากฏอีกต่อไป ผู้เชื่อในความว่างเปล่าฉวยประโยชน์จากความเห็นของพระเวทนี้และสรุปว่าแหล่งกำเนิดของโลกวัตถุนี้ว่างเปล่า คำสอนของพระเวทมิได้กล่าวว่าว่างเปล่า แต่นิยามแหล่งกำเนิดของการสร้างและการทำลายว่า ยะโท วา อิมานิ บูทานิ จายันเท “บุคคลผู้ที่ปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้ได้ออกมา และหลังจากการทำลายล้าง ทุกสิ่งทุกอย่างจะกลืนกลับเข้าไป” อธิบายไว้เช่นกันใน เวดานธะ-สูทระ และในโศลกแรกของ ชรีมัด-ภควธัม ด้วยคำ จันมาดยัสยะ ผู้ที่สรรพสิ่งได้ออกมา คำสอนพระเวททั้งหมดนี้แสดงว่าปรากฏการณ์ทางจักรวาลเนื่องมาจากองค์ภควาน สัจธรรมที่สมบูรณ์ และเมื่อถูกทำลายลงจะกลืนเข้าไปในพระองค์ ยืนยันไว้เช่นกันใน ภควัต-คีตา ว่า “ปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้ปรากฏออกมา ถูกทำลายลง และหลังจากถูกทำลายล้างจะกลืนเข้าไปในความเป็นอยู่ขององค์ภควาน” คำกล่าวนี้ยืนยันแน่นอนว่า พลังงานโดยเฉพาะมีชื่อว่า บะฮิ-รัังกา-มายา หรือพลังงานเบื้องต่า แม้เป็นธรรมชาติชั่วขณะแต่เป็นพลังงานขององค์ภควานจึงมิใช่ว่าไม่จริง เพียงแต่ดูเหมือนว่าไม่จริง นักปราชญ์มายาวาดีสรุปว่า เนื่องจากธรรมชาติวัตถุไม่มีอยู่ในตอนต้น และไม่มีอยู่หลังจากการทำลายล้าง ดังนั้น จึงไม่จริง แต่จากตัวอย่างของหม้อดินและจาน คัมภีร์พระเวทกล่าวว่า แม้ความเป็นอยู่ของสิ่งผลิตข้างเคียงจากสัจธรรมสูงสุดไม่ถาวรแต่พลังงานขององค์ภควานถาวร หม้อดินหรือเหยือกน้าอาจแตกสลายหรือเปลี่ยนรูปไปเป็นอย่างอื่น เช่นมาเป็นจานหรือชาม แต่ส่วนผสมหรือวัตถุดิบพื้นฐานเช่นดินยังคงเหมือนเดิม หลักพื้นฐานของปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้จึงเหมือนเดิมเสมอคือบระฮมันหรือสัจธรรมที่สมบูรณ์ ฉะนั้น ทฤษฏีของนักปราญ์มายาวาดีที่ว่าไม่จริงเป็นเพียงการอุปโลกน์ขึ้นของจิตแน่นอน ที่ว่าปรากฏการณ์ทางจักรวาลเป็นเพียงชั่วขณะและไม่ถาวร มิได้หมายความว่าไม่จริง คำนิยามของคำว่าไม่จริงคือสิ่งที่ไม่เคยมีอยู่ เพียงมีแต่ชื่อเท่านั้น” ตัวอย่างเช่น ไข่ม้า ดอกไม้จากท้องฟ้า หรือเขากระต่าย สิ่งเหล่านี้มีเพียงแต่ชื่อเท่านั้น ไม่มีไข่ม้า ไม่มีเขากระต่าย และไม่มีดอกไม้ที่เจริญเติบโตขึ้นบนท้องฟ้า มีหลายสิ่งหลายอย่างที่มีเพียงแต่ชื่อหรือเป็นเพียงจินตนาการ แต่ไม่ปรากฏว่ามีอยู่จริง จึงเรียกได้ว่าไม่จริง แต่ไวชณะวะไม่สามารถรับว่าโลกวัตถุนี้ไม่จริงอันเนื่องมาจากเป็นธรรมชาติไม่ถาวรที่ปรากฏอยู่และจะถูกทำลายลง
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อไปว่า องค์อภิวิญญาณและปัจเจกวิญญาณ หรือพะระมาทมาและจีวาทมาไม่เท่ากัน ไม่ว่าอยู่ในสถานภาพใด แม้ทั้งคู่อยู่ภายในร่างเดียวกัน เหมือนกับนกสองตัวที่อยู่บนต้นไม้เดียวกัน ดังที่พระเวทกล่าวไว้ว่า นกสองตัวนี้แม้อยู่กันเหมือนเพื่อนแต่ไม่เท่ากัน ตัวหนึ่งเพียงแต่เป็นพยาน นกตัวนี้คือพะระมาทมาหรืออภิวิญญาณ และนกอีกตัวหนึ่งกินผลของต้นไม้คือจีวาทมา เมื่อมีปรากฏการณ์ทางจักรวาล จีวาทมาหรือปัจเจกวิญญาณปรากฏอยู่ในการสร้าง ในรูปลักษณ์ต่างๆตามกรรมในอดีตของตน เนื่องจากลืมเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่แท้จริงเป็นเวลานาน จึงสำคัญตนเองกับรูปลักษณ์โดยเฉพาะ ที่กฏแห่งธรรมชาติวัตถุให้มา พอมาอยู่ในร่างวัตถุก็อยู่ภายใต้สามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ปฏิบัติตัวไปตามนั้นเพื่อให้อยู่ในโลกวัตถุอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ถูกอวิชชาปกคลุมอยู่เช่นนี้ ความมั่งคั่งโดยธรรมชาติแม้จะพอมีอยู่บ้างก็สูญหายไปเกือบหมดสิ้น อย่างไรก็ดี ความมั่งคั่งของอภิวิญญาณหรือองค์ภควานไม่น้อยลงแม้ทรงปรากฏอยู่ในโลกวัตถุนี้ ยังคงรักษาความมั่งคั่งทั้งหมดอย่างสมบูรณ์และอยู่ห่างจากปัญหาวุ่นวายของโลกวัตถุนี้ พันธวิญญาณถูกกักขังอยู่ในโลกวัตถุ ขณะที่อภิวิญญาณหรือองค์ภควานทรงออกจากมันไปโดยไร้ผลกระทบ เสมือนดังงูที่ลอกคราบออกไป ข้อแตกต่างระหว่างอภิวิญญาณและพันธวิญญาณคือ อภิวิญญาณหรือองค์ภควานยังคงรักษาความมั่งคั่งโดยธรรมชาติของพระองค์คือ ชัด-ไอชวารยะ, อัชทะ-สิดดิ และ อัชทะ-กุณะ
เนื่องจากความรู้น้อย นักปราชญ์มายาวาดีจึงลืมความจริงที่ว่า คริชณะทรงเปี่ยมไปด้วยความมั่งคั่งหกประการ คุณสมบัติทิพย์แปดประการ และอิทธิฤทธิ์ที่สมบูรณ์แปดประการ ความมั่งคั่งหกประการคือไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่ไปกว่าคริชณะในเรื่องความร่ารวย พลังอำนาจ ความสง่างาม ชื่อเสียง ความรู้ และเสียสละ คุณสมบัติทิพย์หกประการแรกของคริชณะคือมลทินแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุไม่สามารถมาแตะต้องพระองค์ได้เลย กล่าวไว้ใน ศรี อุปนิษัท เช่นกันว่า อพาพะ-วิดดัม เหมือนกับดวงอาทิตย์ไม่มีวันแปดเปื้อนจากความสกปรกฉันใด องค์ภควานก็ไม่มีวันแปดเปื้อนจากความบาปฉันนั้น ลักษณะเดียวกัน แม้การกระทำของคริชณะ บางครั้งดูเหมือนมิใช่คนใจบุญ ทรงไม่มีวันแปดเปื้อนจากการกระทำเช่นนี้ คุณสมบัติทิพย์ประการที่สองคือคริชณะไม่มีวันตาย ใน ภควัต-คีตา บทที่สี่ ตรัสกับอารจุนะว่าทั้งพระองค์และอารจุนะได้ปรากฏในโลกวัตถุนี้หลายครั้งแล้ว แต่พระองค์ทรงจำกิจกรรมเหล่านี้ได้ทั้งหมด ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เช่นนี้หมายความว่าทรงไม่มีการตาย การลืมเนื่องมาจากความตาย เพราะเมื่อตายต้องเปลี่ยนร่าง นั่นคือการลืม แต่คริชณะไม่มีวันลืม ทรงสามารถจำทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏขึ้นในอดีต มิฉะนั้น ทรงจำว่าครั้งแรกได้สอนระบบโยคะแห่ง ภควัต-คีตา ให้พระอาทิตย์วิวัสวานได้อย่างไร? ฉะนั้น ทรงไม่เคยตายหรือเคยเป็นคนแก่ แม้คริชณะทรงเป็นพระอัยกาช่วงปรากฏอยู่ที่สมรภูมิคุรุคเชทระ พระองค์ทรงไม่ปรากฏว่าเป็นคนแก่ คริชณะทรงไม่มีมลทินด้วยความบาปใดๆ คริชณะทรงไม่มีวันตาย คริชณะทรงไม่มีวันแก่ คริชณะทรงไม่เคยอยู่ภายใต้ความโศกเศร้าใดๆ คริชณะทรงไม่เคยหิวและกระหายน้า ทุกสิ่งที่ปรารถนาจะถูกต้องตามกฏหมายโดยสมบูรณ์ และทุกสิ่งที่ทรงตัดสินใจไม่มีผู้ใดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เหล่านี้คือคุณสมบัติทิพย์ของคริชณะ นอกจากนั้น คริชณะทรงมีพระนามว่าโยเกชวะระ พระองค์ทรงมีความมั่งคั่งหรือสิ่งเอื้อพลังอิทธิฤทธิ์ เช่นอนิมา-สิดดิ อำนาจที่กลายมาเป็นสิ่งเล็กกว่าสิ่งที่เล็กที่สุด กล่าวไว้ใน บระฮมะ-สัมฮิทา ว่า คริชณะเสด็จเข้าไปแม้ในอณู อัณดานทะรัสทะ-พะระมาณุ-ชะยานทะรัสทัม ลักษณะเดียวกัน คริชณะในฐานะการโบดะคะชายี-วิชณุ ประทับอยู่ภายในจักรวาลมหึมา และทรงประทับอยู่ในมหาสมุทรแหล่งกำเนิดในฐานะ มะฮา-วิชณุ ในร่างที่ใหญ่โตมโหฬารจนกระทั่งเมื่อทรงหายใจออก จักรวาลเป็นล้านๆและพันๆล้านออกมาจากพระวรกายของพระองค์ เช่นนี้เรียกว่า มะฮิมา-สิดดิ คริชณะยังทรงมีฤทธิ์แห่ง ลักฮิมา สามารถกลายมาเป็นสิ่งที่เบาที่สุด กล่าวใน ภควัต-คีตา ว่า เนื่องจากคริชณะเสด็จเข้าไปภายในจักรวาลนี้และภายในอณู ดาวเคราะห์ทั้งหมดจึงสามารถลอยอยู่ในอวกาศ นั่นคือคำอธิบายที่ว่าไร้น้าหนัก คริชณะทรงมีฤทธิ์ พราพทิ สามารถนำเอาสิ่งที่ปรารถนา ลักษณะเดียวกัน ทรงมีฤทธิ์ อีชิทา พลังแห่งการควบคุม ทรงมีพระนามว่าเป็นผู้ควบคุมสูงสุด พะระเมชวะระ จากนั้น คริชณะทรงสามารถนำบุคคลให้มาอยู่ภายใต้อิทธิพลอำนาจของพระองค์เรียกว่า วะชิทา
เช่นนี้ คริชณะทรงเปี่ยมไปด้วยความมั่งคั่งทั้งหมด คุณสมบัติทิพย์ และพลังอิทธิฤทธิ์ ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดเทียบเท่าพระองค์ได้ ดังนั้น ทฤษฏีของมายาวาดีที่ว่า อภิวิญญาณและปัจเจกวิญญาณเท่าเทียมกัน เป็นเพียงแนวความคิดที่ผิดเท่านั้น ข้อสรุปคือคริชณะทรงได้รับการบูชาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆทั้งหมดเป็นเพียงผู้รับใช้ของพระองค์ ความเข้าใจเช่นนี้เรียกว่ารู้แจ้งแห่งตน ความรู้แจ้งอื่นใดเกี่ยวกับตนเองนอกเหนือไปจากความสัมพันธ์ในการเป็นผู้รับใช้นิรันดรของคริชณะนี้ถูกครอบงำโดยมายา ได้กล่าวไว้ว่าโซ่ตรวนสุดท้ายของ มายา คือ สั่งให้สิ่งมีชีวิตพยายามมาทัดเทียมเท่ากับองค์ภควาน นักปราชญ์มายาวาดีอ้างว่าตนเองเทียบเท่ากับพระองค์ แต่ไม่สามารถตอบคำถามได้ว่า ทำไมตนเองจึงตกลงมาอยู่ภายใต้พันธนาการของวัตถุแล้วทำบาป หากเป็นองค์ภควานแล้วมาอยู่ภายใต้ความทุกข์ทรมานตามกฏแห่งกรรมได้อย่างไร? เมื่อถูกถามเช่นนี้มายาวาดีไม่สามารถตอบได้อย่างเหมาะสม การคาดคะเนที่ว่าตนเองเทียบเท่ากับองค์ภควาน เป็นอีกอาการหนึ่งแห่งชีวิตบาป เราไม่สามารถปฏิบัติคริชณะจิตสำนึกนอกจากจะเป็นอิสระจากความบาปทั้งปวง ความจริงคือมายาวาดีอ้างว่าตนเองกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควาน หมายความว่ายังไม่เป็นอิสระจากผลกรรม ชรีมัด-ภควธัม กล่าวว่า บุคคลเหล่านี้เป็น อวิชุดดะ-บุดดะยา หมายความว่า คิดผิดๆว่าพวกตนหลุดพ้นแล้ว ขณะเดียวกันก็คิดว่าตนเองเทียบเท่ากับสัจธรรมที่สมบูรณ์ ปัญญาของพวกนี้ไม่บริสุทธิ์
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวว่าหากโยกี และกยานี ไม่เป็นอิสระจากความบาป วิธีการโดยเฉพาะเพื่อรู้แจ้งแห่งตนไม่มีวันประสบความสำเร็จ “องค์ภควานที่รัก” บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อ “หากนักบุญไม่ดูแลเพื่อขจัดรากเง่าแห่งความปรารถนาที่เป็นบาปให้หมดไป เขาไม่สามารถสัมผัสกับองค์อภิวิญญาณ แม้ทรงประทับอยู่เคียงข้างปัจเจกวิญญาณ สมาดิ หรือการทำสมาธิ หมายความว่าต้องค้นหาองค์อภิวิญญาณภายในตนเอง ผู้ที่ไม่เป็นอิสระจากผลบาปไม่สามารถเห็นองค์อภิวิญญาณ หากบุคคลมีจี้อัญมณีที่สร้อยคอ แต่ลืมอัญมณี เกือบเหมือนว่าเขาไม่ได้เป็นเจ้าของ ลักษณะเดียวกัน หากปัจเจกวิญญาณทำสมาธิ แต่ไม่สามารถสำเหนียกการปรากฏของอภิวิญญาณภายในตนเองอย่างแท้จริง เขายังไม่รู้แจ้งองค์อภิวิญ ญาณ” ดังนั้น บุคคลที่รับเอาวิธีการรู้แจ้งแห่งตนมาปฏิบัติต้องระมัดระวังมาก เพื่อมิให้มีมลทินจากอิทธิพลของมายา ชรีละ รูพะ โกสวามี กล่าวว่า สาวกควรเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์จากความปรารถนาทางวัตถุทั้งปวง สาวกไม่ควรได้รับผลกระทบจาก คารมะ และ กยานะ เพียงแต่ต้องเข้าใจคริชณะและทำตามความปรารถนาของพระองค์ นั่นคือระดับการอุทิศตนเสียสละที่บริสุทธิ์ บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อ “โยคีผู้มีฤทธิ์ยังคงมีความปรารถนาที่เป็นมลทินเพื่อสนองประสาทสัมผัส จะไม่มีวันประสบผลสำเร็จในความพยายาม และไม่สามารถรู้แจ้งอภิวิญญาณภายในตนเอง เช่นนี้พวกที่สมมุติว่าเป็น โยกี และ กยานี เพียงแต่เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ในการสนองประสาทสัมผัสในรูปแบบต่างๆกัน ไม่ว่าเป็นการคาดคะเนทางจิตใจหรือการแสดงพลังอิทธิฤทธิ์ที่จำกัด จะไม่มีวันเป็นอิสระจากชีวิตสภาวะ และยังต้องเกิดและตายซ้าซากอย่างต่อเนื่อง สำหรับบุคคลเหล่านี้ทั้งในชาตินี้และชาติหน้าจะเป็นต้นเหตุแห่งความยากลำบาก คนบาปเหล่านี้รับทุกข์แห่งความยากลำบากในชีวิตนี้อยู่แล้ว เนื่องจากไม่มีความรู้แจ้งแห่งตนอย่างสมบูรณ์ จะได้รับความยากลำบากต่อไปในชาติหน้า แม้ด้วยความพยายามทั้งปวงเพื่อบรรลุถึงความสมบูรณ์ โยคีเหล่านี้มีมลทินด้วยความพยายามเพื่อสนองประสาทสัมผัส จะได้รับทุกข์ทรมานอย่างต่อเนื่องทั้งในชาตินี้และชาติหน้า”
ชรีละ วิชวะนาทะ ชัคระวารที ทาคุระ สังเกตที่สัมพันธ์กับประเด็นนี้ว่า หากสันนยาสี และบุคคลในชีวิตสละโลกจากบ้านมาเพื่อรู้แจ้งแห่งตน ไม่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควาน แต่ไปยึดติดอยู่กับการกุศล เช่น เปิดสถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือแม้แต่ อาราม โบสถ์ หรือวัดของเทวดา พวกเขาจะพบแต่ปัญหาจากการปฏิบัติเช่นนี้ ไม่เพียงในชาตินี้เท่านั้น แต่รวมถึงชาติหน้าด้วย สันนยาสี ผู้ไม่ฉวยโอกาสในชาตินี้เพื่อรู้แจ้งคริชณะ เพียงแต่เสียเวลาและพลังงานในกิจกรรมนอกเหนือไปจากขอบเขตของชีวิตสละโลก อย่างไรก็ดี ความพยายามของสาวกในการใช้พลังงานของตนในกิจกรรม เช่น การสร้างวัดพระวิชณุ ไม่เสียเวลา ปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่า คริชณารเท อคิละ-เชชทา กิจกรรมอันหลากหลายทำไปเพื่อให้คริชณะทรงพอพระทัย การเปิดโรงเรียนของคนใจบุญและการสร้างวัดของสาวกไม่อยู่ในระดับเดียวกัน แม้การเปิดสถาบันการศึกษาของคนใจบุญเป็นงานการกุศล แต่อยู่ภายใต้กฏแห่งกรรม ขณะที่การสร้างวัดเพื่อพระวิชณุเป็นการอุทิศตนเสียสละรับใช้
การอุทิศตนเสียสละรับใช้ไม่อยู่ภายในอาณาเขตของกฏแห่งกรรม กล่าวใน ภควัต-คีตา ว่า สาวกอยู่เหนือผลกรรมของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ และยืนอยู่ในระดับรู้แจ้งบระฮมัน บระฮมะ-บูยายะ คัลพะเท, ภควัต-คีตา ตรัสว่า สะ กุณาน สะมะทิทไยทาน บระฮมะ-บูยายะ: คัลพะเท สาวกขององค์ภควานอยู่เหนือผลกรรมของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ และสถิตอยู่ในระดับทิพย์บระฮมัน สาวกเป็นอิสระเสรีทั้งในชาตินี้และชาติหน้า งานใดที่ทำในโลกวัตถุนี้เพื่อยะกยะ เพื่อวิชณุ หรือเพื่อคริชณะ พิจารณาว่าเป็นงานที่หลุดพ้น หากไม่เชื่อมสัมพันธ์กับอัชยุทะ องค์ภควานผู้ไม่ผิดพลาดจะหยุดผลกรรมจากกฏแห่งกรรมไม่ได้ ชีวิตในคริชณะจิตสำนึกเป็นชีวิตที่หลุดพ้นเป็นอิสระเสรี ข้อสรุปคือด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควาน สาวกเป็นอิสระหลุดพ้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ขณะที่ คารมี, กยานี และ โยกี ไม่หลุดพ้นทั้งในชาตินี้หรือในชาติหน้า
บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวต่อ “องค์ภควานที่รัก ด้วยพระกรุณาธิคุณ ผู้ใดที่เข้าใจพระบารมีแห่งพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ จะเป็นกลางต่อความสุขและความทุกข์ทางวัตถุ ความเจ็บปวดทางวัตถุหลีกเลี่ยงไม่ได้ตราบใดที่เรายังอยู่ในโลกวัตถุ แต่สาวกไม่หันเหความสนใจไปกับกรรมและผลกรรมเหล่านี้ซึ่งเป็นผลบุญและผลบาป และสาวกไม่หวั่นไหวหรือดีใจไปกับคำสรรเสริญหรือคำเหยียดหยามจากผู้คนโดยทั่วไป บางครั้งสาวกได้รับการสรรเสริญมากจากผู้คนโดยทั่วไปเนื่องจากกิจกรรมทิพย์ และบางครั้งถูกวิพากวิจารณ์แม้ไร้เหตุผลกับการวิจารณ์ในเชิงลบ สาวกผู้บริสุทธิ์จะเป็นกลางกับการสรรเสริญหรือเหยียดหยามจากผู้คนทั่วไป อันที่จริง กิจกรรมของสาวกอยู่ในระดับทิพย์ จึงไม่สนใจกับคำสรรเสริญหรือเหยียดหยามจากคนที่ปฏิบัติกิจกรรมทางวัตถุ หากสาวกสามารถธำรงรักษาสถานภาพทิพย์ ความหลุดพ้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า องค์ภควานทรงรับประกัน สถานภาพทิพย์ของสาวกภายในโลกวัตถุนี้รักษาไว้ได้ด้วยการคบหาสมาคมกับบรรดาสาวกผู้บริสุทธิ์ ด้วยเพียงแต่สดับฟังกิจกรรมอันน่าสรรเสริญที่องค์ภควานทรงแสดงในยุคต่างๆ และในอวตารต่างๆ”
ขบวนการคริชณะจิตสำนึกมีฐานอยู่บนหลักธรรมนี้ ชรีละ นโรททะมะ ดาสะ ทาคุร ได้ขับร้องเพลงดังนี้ “องค์ภควานที่รัก ขอให้ข้าได้ปฏิบัติการรับใช้ทิพย์แด่พระองค์ด้วยใจรักดังที่ อาชารยะ ในอดีตแสดงไว้ และขอให้ข้าอยู่ใกล้ชิดกับบรรดาสาวกผู้บริสุทธิ์ นี่คือความปรารถนาของข้าทุกๆชาติไป” อีกนัยหนึ่ง สาวกไม่สนใจมากนักว่าตนเองจะหลุดพ้นหรือไม่ แต่มีความกระตือรือร้นในการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้น การอุทิศตนเสียสละรับใช้หมายความว่า ไม่ทำสิ่งใดนอกเหนือไปจากที่ได้รับอนุญาตจากบรรดาอาชารยะ การปฏิบัติของขบวนการคริชณะจิตสำนึกกำกับโดยอาชารยะในอดีตมี ชรีละ รูพะ โกสวามี เป็นผู้นำ ในการมาคบหาสมาคมกับสาวกผู้ปฏิบัติตามหลักธรรม สาวกจะสามารถรักษาสถานภาพทิพย์ของตนได้อย่างสมบูรณ์
ภควัต-คีตา ตรัสว่า สาวกผู้รู้องค์ภควานโดยสมบูรณ์เป็นที่รักยิ่งของพระองค์ คนมีบุญสี่ประเภทปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ หากคนมีบุญมีความทุกข์จะเข้าพบองค์ภควานเพื่อช่วยขจัดความทุกข์ หากคนมีบุญต้องการความช่วยเหลือทางวัตถุจะสวดมนต์ภาวนาให้องค์ภควานทรงช่วยเหลือ หากคนมีบุญเป็นคนที่ชอบถามเกี่ยวกับศาสตร์แห่งองค์ภควานโดยแท้จริงจะเข้าหาองค์ภควานคริชณะ ลักษณะเดียวกัน คนมีบุญที่เพียงแต่อยากรู้ศาสตร์แห่งคริชณะจะเข้าหาพระองค์ จากมนุษย์สี่ประเภทนี้ ประเภทสุดท้ายคริชณะทรงสรรเสริญใน ภควัต-คีตา บุคคลผู้พยายามเข้าใจคริชณะด้วยความรู้และอุทิศตนอย่างสมบูรณ์ ด้วยการปฏิบัติตามรอยพระบาทของอาชารยะในอดีต เชี่ยวชาญในความรู้เชิงวิทยาศาสตร์แห่งองค์ภควานจะได้รับการสรรเสริญ สาวกผู้นี้สามารถเข้าใจสถานภาพชีวิตทั้งหมดไม่ว่าชื่นชอบและไม่ชื่นชอบ องค์ภควานทรงเป็นผู้สร้าง และเมื่อศิโรราบโดยสมบูรณ์แทบพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ จะไม่สนใจว่าสภาวะชีวิตเป็นที่ชื่นชอบหรือไม่ชื่นชอบ สาวกยอมรับเอาสภาวะที่ไม่น่าชื่นชอบว่าเป็นความชื่นชอบพิเศษของพระองค์ อันที่จริง ไม่มีสภาวะที่ไม่ชื่นชอบสำหรับสาวก เพราะเห็นว่าทุกสิ่งที่มาจากความปรารถนาขององค์ภควานเป็นที่ชื่นชอบ และในทุกสภาวะชีวิตเขากระตือรือร้นในการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้ ท่าทีแห่งการอุทิศตนนี้อธิบายไว้ใน ภควัต-คีตา สาวกไม่เป็นทุกข์กับสภาวะชีวิตในเชิงลบ หรือดีใจมากกับสภาวะชีวิตที่ชื่นชอบ ในระดับที่สูงกว่าแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ สาวกไม่สนใจแม้แต่ในสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ สภาวะเช่นนี้รักษาไว้ได้ด้วยการปฏิบัติตามรอยพระบาทของบรรดาอาชารยะ เท่านั้น เนื่องจากสาวกผู้บริสุทธิ์ปฏิบัติตามรอยพระบาทของอาชารยะ สิ่งใดที่ทำในการปฏิบัติรับใช้เข้าใจว่าอยู่ในระดับทิพย์ ดังนั้น องค์ภควาน คริชณะ สอนเราว่าอาชารยะ อยู่เหนือคำวิพากวิจารณ์ สาวกนวกะไม่ควรเห็นว่าตนเองอยู่ในระดับเดียวกับอาชารยะ ควรยอมรับว่าบรรดา อาชารยะ อยู่ในระดับเดียวกับองค์ภควาน เช่นนี้ ทั้งคริชณะและอาชารยะ ผู้แทนพระองค์ไม่ควรถูกวิจารณ์ในเชิงลบใดๆทั้งสิ้นโดยสาวกนวกะ
บุคลิกภาพแห่งพระเวทบูชาองค์ภควานในวิธีต่างๆ ถวายบูชาต่อพระองค์ด้วยการภาวนา หมายความว่าระลึกถึงคุณสมบัติ ลีลา และกิจกรรมทิพย์ของ คริชณะ แต่ลีลาและคุณสมบัติของพระองค์ไร้ขอบเขต เป็นไปไม่ได้ที่จะจำคุณสมบัติของพระองค์ได้ทั้งหมด ดังนั้น บุคลิกภาพแห่งพระเวทบูชาอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในที่สุดพวกท่านกล่าวดังต่อไปนี้
“องค์ภควานที่รัก แม้พระพรหม พระปฏิมาผู้เป็นใหญ่บนดาวเคราะห์สูงสุดพรหมโลก พระอินทร์เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่บนสวรรค์ รวมทั้งพระปฏิมาผู้ยิ่งใหญ่แห่งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ทั้งหมดเป็นผู้กำกับที่ไว้วางใจได้ของโลกวัตถุนี้ เทวดาเหล่านี้มีความรู้เพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับพระองค์ นับประสาอะไรกับมนุษย์ปุถุชนธรรมดาและนักคาดคะเนทางจิต? เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ใดจะคำนวณคุณสมบัติทิพย์อันไร้ขีดจำกัดของพระองค์ ไม่มีผู้ใดรวมทั้งบรรดานักคาดคะเนทางจิตและเทวดาในระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่าจะสามารถประเมินความกว้างใหญ่ไพศาลแห่งรูปลักษณ์และบุคลิกของพระองค์อย่างแท้จริง เราคิดว่าแม้พระองค์เองทรงไม่รู้คุณสมบัติทิพย์ของพระองค์ โดยสมบูรณ์ เหตุผลคือพระองค์ทรงไร้ขอบเขตจำกัด แม้ไม่เหมาะสมในกรณีที่กล่าวว่าทรงไม่รู้ตัวพระองค์เอง แต่่เข้าใจได้ว่าเพราะทรงมีคุณสมบัติและพลังงานที่ไร้ขอบเขตจำกัด ความรู้ของพระองค์ไร้ขอบเขตจำกัด จึงมีการแข่งขันอย่างไร้พรมแดนระหว่างความรู้ และพลังงานที่แพร่ขยายของพระองค์”
แนวคิดที่ว่าเนื่องจากองค์ภควานและความรู้ ทั้งคู่ไร้ขอบเขตจำกัด ทันทีที่ทรงรู้ถึงพลังงานบางอย่าง ทรงสำเหนียกว่ายังมีพลังงานมากกว่านี้อีก เช่นนี้ทั้งพลังงานและความรู้ของพระองค์จะเพิ่มพูน เพราะทั้งคู่ไร้ขอบเขต พลังงานไม่มีจุดจบและความรู้ที่จะเข้าใจพลังงานก็ไม่มีจุดจบ พระองค์ทรงรอบรู้ไปหมดโดยไม่ต้องสงสัย แต่บุคลิกภาพแห่งพระเวทกล่าวว่าแม้องค์ภควานเองทรงไม่รู้พลังงานโดยสมบูรณ์ เช่นนี้ มิได้หมายความว่าทรงไม่รอบรู้ เมื่อบุคคลไม่รู้ความจริงอย่างแท้จริง เรียกว่าอวิชชาหรือขาดความรู้ อย่างไรก็ดี ใช้ไม่ได้ในกรณีนี้ เพราะทรงรู้ตัวของพระองค์เองโดยสมบูรณ์ แต่พลังงานและกิจกรรมเพิ่มพูน ดังนั้น ทรงเพิ่มความรู้เพื่อให้เข้าใจ ทั้งคู่เพิ่มพูนอย่างไร้ขอบเขตและไม่มีที่สิ้นสุด กล่าวได้ว่าแม้ องค์ภควานเองทรงไม่รู้ขอบเขตแห่งพลังงานและคุณสมบัติของพระองค์
องค์ภควานทรงไร้ขอบเขตจำกัดในการแพร่ขยายพลังงานและกิจกรรมของพระองค์อย่างไร สิ่งมีชีวิตผู้มีสติและสุขุมคัมภีรภาพสามารถคำนวณได้อย่างคร่าวๆ กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวทว่า จักรวาลจำนวนนับไม่ถ้วนออกมาเมื่อ มะฮา-วิชณุทรงหายใจออกใน โยกะ-นิดรา และจักรวาลจำนวนนับไม่ถ้วนเข้าไปในพระวรกายของพระองค์เมื่อทรงหายใจเข้าอีกครั้ง ต้องจินตนาการจักรวาลเหล่านี้ตามความรู้อันจำกัดของเราว่าแพร่ขยายออกไปอย่างไร้ที่สิ้นสุด ยิ่งใหญ่มากจนธาตุหยาบทั้งห้าแห่งปรากฏการณ์ในจักรวาลคือ ดิน น้า ไฟ ลม และอากาศ รวมทั้งพลังงานวัตถุทั้งหมดและอหังการ ไม่เพียงอยู่ภายในจักรวาลเท่านั้นแต่ปกคลุมจักรวาลเป็นเจ็ดชั้น แต่ละชั้นกว้างใหญ่กว่าชั้นก่อนสิบเท่า เช่นนี้แต่ละจักรวาลจึงอัดกันอย่างหนาแน่นมาก มีจักรวาลจำนวนนับไม่ถ้วน จักรวาลทั้งหมดลอยอยู่ภายในรูขุมขนอันนับไม่ถ้วนแห่งพระวรกายทิพย์ของ มะฮา-วิชณุ กล่าวไว้ว่า เหมือนกับอณูและฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ภายในอากาศพร้อมกับนกที่มีจำนวนนับไม่ถ้วน ดังนั้น จักรวาลจำนวนนับไม่ถ้วนลอยอยู่ภายในรูขุมขนแห่งพระวรกายทิพย์ เหตุนี้คัมภีร์พระเวทกล่าวว่าองค์ภควานทรงอยู่เหนือขีดความสามารถแห่งความรู้ของเรา อบางมะนะสะโกชะระ ในการเข้าใจความกว้างใหญ่ไพศาลของพระองค์อยู่เหนือขอบเขตการคาดคะเนของจิตเรา ฉะนั้น ผู้มีความรู้จริงและมีสติจะไม่อ้างว่าตนเองคือองค์ภควาน แต่พยายามเข้าใจพระองค์และแยกแยะระหว่างดวงวิญญาณและวัตถุโดยรอบคอบ เช่นนี้จะเข้าใจชัดเจนว่า ดวงวิญญาณสูงสุดเป็นทิพย์อยู่เหนือทั้งพลังงานเบื้องสูงและเบื้องต่า แม้เชื่อมสัมพันธ์กับทั้งสองพลังงานโดยตรง ภควัต-คีตา อธิบายว่าแม้ทุกสิ่งพำนักอยู่บนพลังงานขององค์ภควาน พระองค์ยังทรงแตกต่างหรือแยกออกไปจากพลังงาน
ธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตบางครั้งระบุว่าเป็น พระคริทิ และ พุรุชะ ตามลำดับ ปรากฏการณ์ทางจักรวาลทั้งหมดเป็นการผสมผสานกันของ พระคริทิ และ พุรุชะ ธรรมชาติก่อให้เกิดส่วนผสม และสิ่งมีชีวิตทำให้เกิดผล แหล่งกำเนิดทั้งสองนี้ผสมเข้าด้วยกันผลลัพธ์คือปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้ เมื่อโชคดีพอที่มาถึงจุดสรุปถูกต้องเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางจักรวาลและทุกสิ่งที่ดำเนินไปภายในจักรวาลนี้ จะรู้ว่าองค์ภควานทรงเป็นแหล่งกำเนิดทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ดังนั้น สรุปไว้ใน บระฮมะ-สัมฮิทา ว่า อีชวะระฮ พะระมะฮ คริชณะฮ สัด-ชิด-อานันดะ-วิกระฮะฮ อนาดิร อาดิร โกวินดะฮ สารวะ-คาระณะ-คาระณัม
หลังจากไตร่ตรองและพิจารณาอย่างดี เมื่อบรรลุถึงความรู้อันสมบูรณ์ สรุปได้ว่าคริชณะหรือองค์ภควานทรงเป็นแหล่งกำเนิดเดิมแท้ของแหล่งกำเนิดทั้งปวง แทนที่จะคาดคะเนด้วยการมาวัดว่าพระองค์สูงเท่าไร กว้างเท่าไร หรือคาดคะเนทางปรัชญาอย่างผิดๆ เราควรมาถึงจุดสรุปของ บระฮมะ-สัมฮิทา ที่ว่า “คริชณะหรือองค์ภควานทรงเป็น สารวะ-คาระณะ-คาระณัม แหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง” นั่นคือความสมบูรณ์แห่งความรู้
เช่นนี้ เวดะ-สทุทิ หรือบทมนต์ที่บุคลิกภาพแห่งพระเวทถวายแด่การโบดะคะชายี วิชณุ ในสายพะรัมพะรา ครั้งแรกสะนันดะนะได้บรรยายแก่น้องๆที่เกิดมาจากพระพรหมด้วยกัน ตอนต้นสี่กุมารกำเนิดมาจากพระพรหมก่อนจึงเรียกว่า พูรวะ-จาทะ กล่าวใน ภควัต-คีตา ว่าระบบพะรัมพะรา เริ่มจาก องค์ภควาน คริชณะลักษณะเดียวกัน ณ ที่นี้ ในบทมนต์ของบุคลิกภาพแห่งพระเวทเข้าใจได้ว่า ระบบพะรัมพะราเริ่มจากองค์ภควาน นารายะณะ ริชิ ควรจำไว้ว่าเวดะ-สทุทิ นี้ สะนันดะนะกุมารบรรยาย และ นารายะณะ ริชิ มาบรรยายอีกครั้งที่ โบดิ อาชระมะ, นารายะณะ ริชิ อวตารของคริชณะเสด็จมาเพื่อแสดงให้เราเห็นถึงวิธีการรู้แจ้งแห่งตนด้วยการปฏิบัติสมถะอย่างเคร่งครัด ในยุคนี้ องค์เชธันญะทรงแสดงวิธีอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ ด้วยการแสดงบทสาวกผู้บริสุทธิ์ ลักษณะเดียวกัน ในอดีต องค์นารายะณะ ริชิ ทรงเป็นอวตารของคริชณะผู้ปฏิบัติสมถะอย่างเคร่งครัดที่ทิวเขาหิมาลัย ชรี นาระดะ มุนิ ได้สดับฟังจากพระองค์ ดังนั้นคำพูดที่ นารายะณะ ริชิ ให้แก่นาระดะ มุนิ ดังที่ สะนันดะนะกุมาร บรรยายในรูปของ เวดะ-สทุทิ เข้าใจได้ว่ามีหนึ่งองค์ภควาน ทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และบุคคลอื่นทั้งหมดเป็นผู้รับใช้ของพระองค์
ใน เชธันญะ-ชะริทามริทะ กล่าวว่า เอคะลา อีชวะระ คริชณะ “คริชณะทรงเป็นองค์ภควานเพียงผู้เดียว” อาระ สาวะ บริทยะ “คนอื่นทั้งหมดเป็นผู้รับใช้ของพระองค์” ยาเร ไยเช นาชายะ, เส ไทเช คะเร นริทยะ “องค์ภควานทรงให้มวลชีวิตมีกิจกรรมต่างๆกันตามที่ทรงปรารถนา พวกเขาจึงแสดงศักยภาพพิเศษและนิสัยชอบที่แตกต่างกัน” เวดะ-สทุทิ นี้เป็นคำสั่งสอนเดิมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างสิ่งมีชีวิตและองค์ภควาน ระดับสูงสุดแห่งความรู้แจ้งของสิ่งมีชีวิตคือบรรลุถึงชีวิตแห่งการอุทิศตน เราไม่สามารถปฏิบัติชีวิตในการอุทิศตนเสียสละรับใช้หรือในคริชณะจิตสำนึก นอกจากเป็นอิสระจากมลทินทางวัตถุโดยสมบูรณ์ นารายะณะ ริชิ บอกแก่ นาระดะ มุนิ ว่า สาระสำคัญของคัมภีร์พระเวทและวรรณกรรมพระเวททั้งหมด (เช่น คัมภีร์พระเวทสี่เล่ม อุปนิษัท และพุราณะ) สอนให้ถวายการรับใช้ทิพย์ด้วยใจรักแด่องค์ภควาน สัมพันธ์กับประเด็นนี้ นารายะณะ ริชิ ใช้คำโดยเฉพาะคือ ระสะ ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ระสะ เป็นตัวเชื่อมหรือหลักธรรมพื้นฐานในการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างองค์ภควานและสิ่งมีชีวิต อธิบายไว้ในพระเวทว่า ระสะ เป็น อีชาวาสยะ “องค์ภควานทรงเป็นแหล่งกำเนิดของความสุขทั้งปวง” วรรณกรรมพระเวททั้งหมดรวมถึงพุราณะ พระเวท อุปนิษัท และ เวดานธะ-สูทระ ฯลฯ สอนสิ่งมีชีวิตว่าจะบรรลุถึงระดับระสะ ได้อย่างไร ชรีมัด-ภควธัม กล่าวว่าข้อความในมะฮาพุราณะ (ชรีมัด-ภควธัม) บรรจุสาระสำคัญ ของระสะ จากวรรณกรรมพระเวททั้งหมด นิกะมะ-คัลพะ-ทะโรร กะลิทัม พะลัม แปลว่า ชรีมัด-ภควธัม เป็นสาระสำคัญของผลไม้ที่สุกพอดีแห่งต้นวรรณกรรมพระเวท
เราเข้าใจว่าจากการหายใจขององค์ภควาน ทำให้คัมภีร์พระเวทสี่เล่มคือ ริก-เวดะ, สามะ-เวดะ, ยะจุร-เวดะ และ อทารวะ-เวดะ ออกมา และประวัติศาสตร์เช่น มหาภารตะ และ พุราณะ ทั้งหมดพิจารณาว่าเป็นประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาตร์พระเวทเช่น พุราณะ และ มหาภารตะ เรียกว่าพระเวทเล่มที่ห้า
โศลกของ เวดะ-สทุทิ พิจารณาว่าเป็นหัวใจสำคัญของความรู้พระเวททั้งหมด สี่กุมาร และนักปราชญ์ที่เชื่อถือได้ท่านอื่นๆรู้ดีว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในคริชณะจิตสำนึกเป็นสาระสำคัญของวรรณกรรมพระเวททั้งหมด พวกท่านเดินทางไปในอวกาศเพื่อสอนศาสตร์นี้ตามโลกต่างๆ กล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่าบรรดานักปราชญ์รวมทั้ง นาระดะ มุนิ ไม่เดินทางบนแผ่นดินแต่เดินทางในอวกาศตลอดเวลา
บรรดานักปราชญ์เช่น นาระดะ และ สี่กุมาร เดินทางไปทั่วจักรวาลเพื่อให้การศึกษาแก่พันธวิญญาณ ให้รู้ว่าภารกิจในโลกมิใช่เพื่อสนองประสาทสัมผัส แต่ควรนำตนเองกลับคืนมาสู่สถานภาพเดิมแท้แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานอีกครั้ง กล่าวไว้หลายแห่งว่าสิ่งมีชีวิตเหมือนประกายไฟ และองค์ภควานเหมือนกองไฟ เมื่อประกายไฟกระเด็นออกมาจากกองไฟจะสูญเสียความสว่างไสวตามธรรมชาติของตน เช่นนี้ สืบรู้แน่ชัดว่าสิ่งมีชีวิตมาอยู่ในโลกวัตถุนี้เหมือนกับประกายไฟที่ตกลงมาจากกองไฟอันยิ่งใหญ่ สิ่งมีชีวิตต้องการเลียนแบบคริชณะพยายามเป็นเจ้าครอบครองธรรมชาติวัตถุ จึงลืมสถานภาพเดิมแท้ ทำให้พลังแห่งแสงสว่างและบุคลิกภาพทิพย์ของตนสูญหายไป หากสิ่งมีชีวิตรับเอาคริชณะจิตสำนึกมาปฏิบัติ จะกลับคืนสู่สถานภาพเดิมแท้ของตน บรรดานักปราชญ์และนักบุญ เช่น นาระดะ และสี่กุมารเดินทางไปทั่วจักรวาลเพื่อให้การศึกษาแก่ผู้คน และให้กำลังใจสานุศิษย์ไปสอนวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้ เพื่อพันธวิญญาณทั้งหมดอาจฟื้นฟูจิตสำนึกเดิมแท้หรือคริชณะจิตสำนึก เช่นนี้จะได้รับการปลดเปลื้องจากสภาวะที่เป็นทุกข์แห่งชีวิตวัตถุ
ชรี นาระดะ มุนิ เป็น ไนชทิคะ-บระฮมะชารี มี บระฮมะชารี สี่ประเภท ประเภทแรกเรียกว่าสาวิทระ หมายถึงบระฮมะชารี ผู้ที่หลังจากอุปสมบทและพิธีสายมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ ต้องถือพรหมจรรย์อย่างน้อยสามวัน ประเภทต่อไปเรียกว่าพราจาพัทยะ หมายถึงบระฮมะชารี ผู้ถือพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัดเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปีหลังอุปสมบท ประเภทต่อไปเรียกว่าบระฮมะ-บระฮมะชารี หมายถึงบระฮมะชารี ผู้ถือพรหมจรรย์จากวันอุปสมบทไปจนเรียนจบวรรณกรรมพระเวท ระดับต่อไปเรียกว่าไนชทิคะ เป็นบระฮมะชารี ผู้ถือพรหมจรรย์ตลอดชีวิต ทั้งหมดนี้สามประเภทแรกเป็น อุพครวมะ หมายถึงหลังเสร็จสิ้นภารกิจ บระฮมะชารี แล้วแต่งงานได้ ไนชทิคะ-บระฮมะชารี ไม่สนใจชีวิตเพศสัมพันธ์เลย ดังนั้น สี่กุมารและนาระดะเรียกว่า ไนชทิคะ-บระฮมะชารี ระบบชีวิตบระฮมะชารี มีประโยชน์โดยเฉพาะคือช่วยเสริมพลังในความจำและความมุ่งมั่น กล่าวไว้โดยเฉพาะเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า เพราะนาระดะเป็น ไนชทิคะ-บระฮมะชารี จึงจำทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ยินมาจากพระอาจารย์ทิพย์โดยไม่มีวันลืม ผู้สามารถจำทุกสิ่งตลอดเวลาเรียกว่าชรุทะ-ดะระ, ชรุทะ-ดะระ บระฮมะชารี สามารถพูดตามในสิ่งที่ได้ยินมาทั้งหมดคำต่อคำโดยไม่ต้องจดบันทึกและอ้างอิงหนังสือ ปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมนาระดะมีคุณสมบัตินี้ จึงได้รับคำสอนจาก นารายะณะ ริชิ ผู้ปฏิบัติเผยแพร่ปรัชญาแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ไปทั่วโลก เนื่องจากปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมเหล่านี้จำทุกสิ่งทุกอย่างได้ จึงรอบคอบ รู้แจ้งตนเอง และตั้งมั่นในการรับใช้องค์ภควานโดยสมบูรณ์ หลังจากปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมนาระดะสดับฟังจากพระอาจารย์ทิพย์ นารายะณะ ริชิ ได้รู้แจ้งตนเองโดยสมบูรณ์ สถิตอยู่ในสัจธรรมและมีความสุขมาก จึงถวายบทมนต์แด่ นารายะณะ ริชิ ดังนี้
ไนชทิคะ-บระฮมะชารี เรียกอีกชื่อว่า วีระ-วระทะ นาระดะ มุนิ สรรเสริญ นารายะณะ ริชิ ว่าเป็นอวตารของคริชณะ สรรเสริญโดยเฉพาะว่าเป็นผู้ปรารถนาดีสูงสุดของพันธวิญญาณ ภควัต-คีตา กล่าวว่า องค์ภควาน คริชณะ เสด็จลงมาทุกๆกัปเพื่อปกป้องสาวกและทำลายผู้ไม่ใช่สาวก นารายะณะ ริชิ เป็นอวตารของ คริชณะ จึงได้รับการสรรเสริญด้วย ว่าเป็นผู้ปรารถนาดีของพันธวิญญาณ ภควัต-คีตา กล่าวว่า ทุกคนควรรู้ว่าไม่มีผู้ใดปรารถนาดีเหมือนคริชณะและควรเข้าใจว่าคริชณะทรงเป็นผู้ปรารถนาดีของมวลชีวิต ดังนั้นเราควรมาพึ่งคริชณะ เช่นนี้ทำให้มั่นใจโดยสมบูรณ์และพึงพอใจที่รู้ว่ามีบุคคลสามารถปกป้องเราจากภยันตรายทั้งปวงได้ คริชณะ รวมทั้งอวตารและภาคแบ่งแยกที่สมบูรณ์ของพระองค์ทั้งหมดทรงเป็นผู้ปรารถนาดีสูงสุดของพันธวิญญาณ คริชณะเป็นผู้ปรารถนาดีต่อมารด้วย ทรงให้ความหลุดพ้นแก่มารทั้งหมดผู้พยายามสังหารพระองค์ที่วรินดาวะนะ ดังนั้นกิจกรรมเพื่อสังคมของคริชณะสมบูรณ์ แม้ทำลายมารหรือปกป้องสาวกผลลัพธ์ของกิจกรรมเป็นหนึ่งเดียวและเหมือนกัน กล่าวว่ามารพูทะนาพัฒนาไปอยู่ในสถานภาพเดียวกับพระมารดาของคริชณะ เมื่อคริชณะสังหารมารควรรู้ว่ามารได้รับประโยชน์สูงสุดจากการถูกสังหาร ถึงอย่างไรองค์ภควานทรงปกป้องสาวกผู้บริสุทธิ์เสมอ
หลังจาก นาระดะ มุนิ ถวายความเคารพแด่พระอาจารย์ทิพย์ นารายะณะ ริชิ แล้วไปที่ อาชระมะ ของสาวก วิยาสะเดวะ เมื่อได้รับการต้อนรับอย่างเหมาะสมจากวิยาสะเดวะที่อาชระมะ และนั่งลงเรียบร้อย นาระดะ มุนิ เริ่มเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดที่ได้ฟังมาจาก นารายะณะ ริชิ เช่นนี้ ชุคะเดวะ โกสวามี ให้ข้อมูลแด่ มะฮาราจะ พะรีคชิท เกี่ยวกับการตอบคำถามที่สัมพันธ์กับสาระสำคัญของความรู้พระเวท ว่าอะไรคือเป้าหมายสูงสุดของพระเวท จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตคือการแสวงหาพรที่เป็นทิพย์จากองค์ภควาน และปฏิบัติในการรับใช้ด้วยใจรักพระองค์ เราควรปฏิบัติตามรอยพระบาทของ ชุคะเดวะ โกสวามี และ ไวชณะวะทั้งหลายในสายพะรัมพะรา และควรถวายความเคารพแด่ องค์ภควาน คริชณะ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ฮะริ สาย พะรัมพะรา ของไวชณะวะสี่นิกายคือ มัดวะ-สัมพระดายะ, รามานุจะ-สัมพระดายะ, วิชณุสวามี-สัมพระดายะ และ นิมบารคะ-สัมพระดายะ ข้อสรุปของคัมภีร์พระเวททั้งหมด ยอมรับว่าเราควรศิโรราบต่อองค์ภควาน
วรรณกรรมพระเวทแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ชรุทิ และ สัมริทิ, ชรุทิ คือพระเวทสี่เล่ม ริค, สามะ, อทารวะ และ ยะจุร, ศรี อุปนิษัท และ สัมริทิ เป็นพุราณะ เหมือน มหาภารตะ รวมถึง ภควัต-คีตา ข้อสรุปทั้งหมดนี้คือเราควรรู้ว่า คริชณะทรงเป็นองค์ภควาน ทรงเป็นพะรัมพุรุชะหรือองค์ภควาน ภายใต้การดูแลของพระองค์ธรรมชาติวัตถุจึงปฏิบัติการได้ โดยถูกสร้างขึ้น อนุรักษ์ไว้ และถูกทำลายลง หลังจากการสร้าง องค์ภควานทรงอวตารเป็นสามองค์คือ พระพรหม พระวิชณุ และพระศิวะ หลังจากจักรวาลวัตถุปรากฏ ทั้งสามองค์นี้ดูแลคุณสมบัติทั้งสามแห่งธรรมชาติวัตถุ แต่การกำกับสูงสุดอยู่ในพระหัตถ์ของพระวิชณุ กิจกรรมที่สมบูรณ์แห่งธรรมชาติวัตถุภายใต้สามระดับ ดำเนินไปภายใต้การกำกับของ องค์ภควาน คริชณะ ได้ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา, นยะดารชะนะ และในพระเวทว่า สะ ไอคชะทะ
บรรดานักปราชญ์สังคไยเทผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานเถียงว่า ปรากฏการณ์ทางจักรวาลวัตถุเนื่องมาจาก พระคริทิ และ พุรุชะ คือธรรมชาติวัตถุและสิ่งมีชีวิตหรือแหล่งกำเนิดของวัตถุและแหล่งกำเนิดของผล แต่คริชณะทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของวัตถุทั้งหมด และแหล่งกำเนิดของผลที่ได้รับ พระคริทิ และ พุรุชะ มิใช่แหล่งกำเนิดสูงสุด โดยผิวเผินอาจดูเหมือนว่าเด็กเกิดออกมาเพราะบิดาและมารดามารวมตัวกัน แต่แหล่งกำเนิดสูงสุดของทั้งบิดาและมารดาคือคริชณะ ฉะนั้น พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดเดิมแท้หรือแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง ดังที่ยืนยันไว้ใน บระฮมะ-สัมฮิทา
ทั้งองค์ภควานและสิ่งมีชีวิตเข้าไปในธรรมชาติวัตถุ จากหนึ่งในภาคที่แบ่งแยกที่สมบูรณ์ของคริชณะทรงปรากฏมาเป็น คาระโณดะคะชายี วิชณุ หรือ มหา-วิชณุ รูปลักษณ์วิชณุที่ยิ่งใหญ่มหึมาบรรทมอยู่ในมหาสมุทรแหล่งกำเนิด จากรูปลักษณ์อันมหึมาของ มหา-วิชณุ, การโบดะคะชายี วิชณุ ได้แบ่งภาคออกมาอยู่ในทุกจักรวาล จาก การโบดะคะชายี วิชณุ แบ่งภาคออกมาเป็นพระพรหม พระวิชณุ และพระศิวะ พระวิชณุในรูปคชีโรดะคะชายีเสด็จเข้าไปในหัวใจของมวลชีวิตพร้อมทั้งในธาตุวัตถุทั้งหมดรวมทั้งในอณู บระฮมะ-สัมฮิทา กล่าวว่า อัณดานทะรัสทะ-พะระมาณุ-ชะยานทะรัสทัม “พระองค์ทรงอยู่ภายในจักรวาลนี้และอยู่ภายในทุกอณูด้วย”
สิ่งมีชีวิตมีร่างวัตถุเล็กๆที่ได้รับมาจากเผ่าพันธุ์และรูปลักษณ์ต่างๆ ลักษณะเดียวกัน จักรวาลทั้งหมดเป็นเพียงร่างวัตถุขององค์ภควาน ร่างนี้อธิบายใน ชาสทระ ว่าเป็น วิราทะ รูพะ ดังที่ปัจเจกชีวิตดำรงรักษาร่างโดยเฉพาะของตน องค์ภควานทรงดำรงรักษาการสร้างจักรวาลทั้งหมดโดยเสด็จเข้าไป ทันทีที่ปัจเจกชีวิตออกจากร่างวัตถุร่างกายถูกทำลายลงโดยฉับพลัน ลักษณะเดียวกัน ทันทีที่พระวิชณุทรงออกจากการสร้างทางจักรวาลไปทุกสิ่งทุกอย่างถูกทำลายลง เมื่อปัจเจกชีวิตศิโรราบต่อองค์ภควานเท่านั้นเขาจะเป็นอิสระและหลุดพ้นจากความเป็นอยู่ทางวัตถุแน่นอน เช่นนี้ได้ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า มาม เอวะ เย พระพัดยันเท มายาม อิทาม ทะรันทิ เท การศิโรราบต่อองค์ภควานเป็นต้นกำเนิดแห่งเสรีภาพหลุดพ้นโดยไม่มีวิธีอื่น หลังจากศิโรราบต่อพระองค์แล้ว สิ่งมีชีวิตจะมีอิสรภาพหลุดพ้นจากระดับแห่งธรรมชาติวัตถุได้อย่างไร อธิบายเหมือนคนนอนอยู่ในห้อง ขณะนอนหลับคนอื่นเห็นว่าเขายังอยู่ภายในห้อง แต่ความจริงเขามิได้อยู่ภายในร่างกาย เพราะขณะนอนหลับจะลืมความเป็นอยู่ของร่างกาย แม้คนอื่นอาจเห็นว่าร่างกายปรากฏอยู่ ลักษณะเดียวกัน บุคคลผู้มีอิสระภาพหลุดพ้น ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควาน คนอื่นอาจเห็นว่าปฏิบัติหน้าที่การงานภายในบ้านแห่งโลกวัตถุ แต่เนื่องจากจิตสำนึกตั้งมั่นอยู่ที่คริชณะ เขาจึงมิได้อยู่ภายในโลกวัตถุนี้ การปฏิบัติของเขาแตกต่างกัน เหมือนกับการปฏิบัติของคนที่นอนหลับแตกต่างไปจากการปฏิบัติของร่างกายเขา ยืนยันใน ภควัต-คีตา ว่า สาวกปฏิบัติรับใช้ทิพย์ด้วยใจรักต่อองค์ภควานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ได้ข้ามพ้นอิทธิพลของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุเรียบร้อยแล้ว และสถิตอยู่ในระดับบระฮมันแห่งความรู้แจ้งทิพย์โดยสมบูรณ์ แม้ดูเหมือนว่าเขายังอยู่กับร่างกายหรืออยู่ภายในโลกวัตถุ
ชรีละ รูพะ โกสวามี กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ใน บัคธิ-ระสามริทะ-สินดุ ว่า บุคคลผู้มีความปรารถนารับใช้องค์ภควานเท่านั้น อาจอยู่ในสภาวะทางโลกวัตถุ อย่างไรก็ได้ เข้าใจว่าผู้นี้คือ จีวันมุคทะ คือเป็นอิสระหลุดพ้นแม้อยู่ภายในร่างกายหรือในโลกวัตถุ ข้อสรุปคือ บุคคลผู้ปฏิบัติคริชณะจิตสำนึกโดยสมบูรณ์หลุดพ้นแล้ว อันที่จริง เขาไม่มีอะไรต้องทำกับโลกวัตถุ พวกที่ไม่มีคริชณะจิตสำนึกเรียกว่า คารมี และ กยานี จะล่องลอยอยู่ในระดับร่างกายและจิตใจ ไม่มีอิสรภาพหลุดพ้น สถานภาพนี้เรียกว่า ไควัลยะ-นิรัสทะ-โยนิ บุคคลสถิตในระดับทิพย์เป็นอิสระจากการเกิดและตายซ้าซาก ยืนยันใน ภควีต-คีตา บทที่สี่ว่า “เพียงแต่รู้ธรรมชาติทิพย์ของ องค์ภควาน คริชณะ เขาจะเป็นอิสระจากโซ่ตรวนแห่งการเกิดและตายซ้าซาก และเมื่อออกจากร่างปัจจุบันนี้ไป จะกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควาน” นี่คือข้อสรุปของคัมภีร์พระเวททั้งหมด ดังนั้น หลังจากเข้าใจบทมนต์ที่บุคลิกภาพแห่งพระเวทถวาย เราควรศิโรราบต่อพระบาทรูปดอกบัวของ องค์ภควาน คริชณะ
ดังนั้น ขอจบคำอธิบายโดยบัคธิเวดันธะ หนังสือ “องค์ภควาน คริชณะ”
บทที่แปดสิบหก “บทมนต์โดยบุคลิกภาพแห่งพระเวท”
บทที่แปดสิบหก “บทมนต์โดยบุคลิกภาพแห่งพระเวท”