องค์ภควาน คริชณะ
บทที่ 87
การจัดส่งพระศิวะ
ในฐานะสาวกผู้ยอดเยี่ยมของคริชณะ กษัตริย์พะรีคชิททรงเป็นอิสระหลุดพ้นเรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อให้ชัดเจน ทรงถามคำถามมากมายต่อ ชุคะเดวะ โก สวามี บทที่แล้ว พระราชา พะรีคชิท ทรงถามว่า “อะไรคือเป้าหมายสูงสุดของคัมภีร์พระเวท?” ชุคะเดวะ โกสวามี อธิบายเรื่องราวโดยอ้างอิงผู้เชื่อถือได้จากสายพะรัมพะรา เริ่มจากสะนันดะนะลงมาถึง นารายะณะ ริชิ, นาระดะ, วิยาสะเดวะ และตัวชุคะเดวะเอง ข้อสรุปคือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ภักดี-โยคะ หรือ บัคธิ คือเป้าหมายสูงสุดของคัมภีร์พระเวท สาวกนวกะอาจถามว่า “หากเป้าหมายสูงสุดของชีวิตหรือข้อสรุปของพระเวทคือพัฒนาตนเองให้มาถึงระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ แล้วทำไมสังเกตเห็นว่าสาวกของพระวิชณุโดยทั่วไปไม่ร่ารวยทางวัตถุ ขณะที่พบว่าสาวกของพระศิวะมีความมั่งคั่งมาก?” เพื่อให้ประเด็นนี้กระจ่าง พะรีคชิท มะฮาราจะ ทรงถาม ชุคะเดวะ โกสวามี ว่า “ชุคะเดวะ โกสวามี ที่รัก โดยทั่วไปจะพบว่าพวกปฏิบัติพิธีบูชาพระศิวะไม่ว่าในสังคมมนุษย์ สังคมมาร หรือสังคมเทพมีความมั่งคั่งทางวัตถุมาก แม้พระศิวะเองใช้ชีวิตเหมือนยาจก อีกด้านหนึ่ง สาวกพระวิชณุผู้ทรงควบคุมเทพธิดาแห่งโชคลาภ ปรากฏว่าไม่มีความร่ารวยเท่าใดนัก บางครั้งพบว่าใช้ชีวิตอย่างขัดสน พระศิวะทรงพำนักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้หรือในหิมะที่ภูเขาหิมาลัย โดยไม่สร้างบ้านเรือนสำหรับพระองค์เอง แต่ผู้บูชาพระศิวะกลับร่ารวยมาก อย่างไรก็ดี คริชณะหรือพระวิชณุใช้ชีวิตอยู่อย่างมั่งคั่งมาก ไม่ว่าที่ไวคุณธะหรือในโลกวัตถุนี้ แต่ปรากฏว่าสาวกของพระองค์ยากจน ทำไมจึงเป็นเช่นนี้?”
คำถามของ มะฮาราจะ พะรีคชิท ฉลาดมาก สาวกสองประเภทคือสาวกพระศิวะและสาวกพระวิชณุ ไม่เคยตกลงกันได้ แม้ทุกวันนี้ในประเทศอินเดีย สาวกสองประเภทนี้ยังวิจารณ์ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะที่ประเทศอินเดียตอนใต้ สาวกของรามานุจาชารยะและสาวกของชังคะราชารยะประชุมกันเป็นครั้งคราวเพื่อให้เข้าใจข้อสรุปของพระเวท โดยทั่วไปสาวกของรามานุจาชารยะได้รับชัยชนะในการประชุมดังนั้น พะรีคชิท มะฮาราจะ ปรารถนาให้สถานการณ์กระจ่างขึ้นด้วยการถามคำถามนี้แด่ ชุคะเดวะ โกสวามี ว่าพระศิวะอยู่อย่างยากจนแม้บรรดาสาวกของท่านมั่งมีศรีสุข ขณะที่คริชณะหรือพระวิชณุอยู่อย่างมั่งคั่งเสมอ แต่ปรากฏว่าสาวกยากจน สถานการณ์ดูเหมือนขัดกันและสับสนสำหรับนักวิเคราะห์
ชุคะเดวะ โกสวามี เริ่มตอบคำถามของ พะรีคชิท มะฮาราจะ เกี่ยวกับสิ่งปรากฏที่ดูขัดกันในความสัมพันธ์กับการบูชาพระศิวะและบูชาพระวิชณุ พระศิวะทรงเป็นเจ้านายแห่งพลังงานวัตถุซึ่งมีเทพธิดาดุรกาเป็นผู้แทน เป็นสวามีของนาง เทพธิดาดุรกาเป็นข้ารับใช้พระศิวะ จึงเข้าใจว่าพระศิวะทรงเป็นเจ้านายแห่งพลังงานวัตถุซึ่งปรากฏมาในสามระดับคือ ความดี ตัณหา และอวิชชา ดังนั้น พระศิวะทรงเป็นเจ้านายของสามระดับนี้ แม้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับสามระดับนี้เพื่อประโยชน์ของพันธวิญญาณ พระศิวะทรงเป็นผู้กำกับจึงไม่มีผลกระทบ แม้พันธวิญญาณได้รับผลกระทบ แต่พระศิวะเป็นเจ้านายของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุจึงไม่ได้รับผลกระทบ
จากข้อความของ ชุคะเดวะ โกสวามี เราเข้าใจได้ว่าผลลัพธ์จากการบูชาเทวดาต่างๆ ไม่เหมือนกับผลลัพธ์จากการบูชาพระวิชณุ เหมือนดังที่คนด้อยปัญญาบางคนคิด กล่าวอย่างชัดเจนว่าการบูชาพระศิวะได้รับผลอย่างหนึ่ง ขณะที่บูชาพระวิชณุจะได้รับผลอีกอย่างหนึ่ง ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา เช่นกันว่า พวกบูชาเทวดาได้รับผลตามความปรารถนาตามที่เทวดาสามารถให้ ลักษณะเดียวกัน พวกบูชาพลังงานวัตถุได้รับผลเหมาะสมกับกิจกรรมนั้นๆ พวกที่บูชาพิทาได้รับผลคล้ายกัน แต่พวกปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้หรือบูชาองค์ภควานวิชณุหรือคริชณะ จะไปยังดาวเคราะห์ไวคุณธะหรือคริชณะโลคะ เราไม่สามารถไปถึงอาณาจักรทิพย์หรือพะรัพโยมะ ท้องฟ้าทิพย์ด้วยการบูชา พระศิวะ พระพรหม หรือเทวดาองค์อื่นใด
เพราะโลกวัตถุนี้เป็นผลผลิตของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ปรากฏการณ์ต่างๆทั้งหมดจึงออกมาจากสามระดับนี้ จากการช่วยเหลือของนักวิทยาศาสตร์ทางวัตถุ ความเจริญรุ่งเรืองสมัยปัจจุบันได้สร้างเครื่องจักรและความสะดวกสบายของชีวิตมากมาย ถึงกระนั้น ทั้งหมดนี้เป็นเพียงปฏิกิริยาอันหลากหลายของสามระดับแห่งวัตถุ แม้สาวกพระศิวะมีความมั่งคั่งร่ารวยทางวัตถุ ควรรู้ว่าเป็นเพียงการสะสมผลผลิตที่สามระดับผลิตออกมา จากสามระดับแบ่งออกเป็นสิบหกส่วนมีประสาทสัมผัสสิบ (สำหรับทำงานห้าและรับความรู้อีกห้า) จิตใจ และธาตุทั้งห้า (ดิน น้า ไฟ ลม และท้องฟ้า) สิบหกรายการนี้ขยายออกมาจากสามระดับ ความสุขหรือความมั่งคั่งทางวัตถุหมายถึงการสนองประสาทสัมผัส โดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ ลิ้น และ จิตใจ จากการบริหารจิตใจเราได้สร้างสิ่งที่ให้ความสุขมากมายเพียงเพื่อให้อวัยวะสืบพันธุ์และลิ้นรื่นเริง ความมั่งคั่งของคนภายในโลกวัตถุนี้ประเมินด้วยการที่เขาบริหารอวัยวะสืบพันธุ์และลิ้นได้มากเพียงใด คือใช้ความสามารถทางเพศได้ดีเพียงใด และเลือกเฟ้นรสชาติจากการกินอาหารดีๆได้มากเท่าไร เพื่อความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ จิตใจของนักคาดคะเนจำเป็นต้องสร้างสิ่งของต่างๆเพื่อความรื่นรมย์ เพียงเพื่อให้มีความสุขบนฐานของหลักสองประการคือ ความสุขของอวัยวะเพศและความสุขของลิ้น ณ ที่นี้ เป็นคำตอบให้กับคำถามของกษัตริย์พะรีคชิทซึ่ง ชุคะเดวะ โก สวามี จะตอบว่าทำไมพวกบูชาพระศิวะจึงมีความมั่งคั่ง
บรรดาสาวกพระศิวะมีความมั่งคั่งในคุณสมบัติทางวัตถุเท่านั้น สิ่งที่สมมุติว่าเป็นความเจริญก้าวหน้า เป็นต้นกำเนิดแห่งพันธนาการในความเป็นอยู่ทางวัตถุ ความจริงมิใช่ความเจริญแต่ตกลงต่า ข้อสรุปคือพระศิวะเป็นเจ้านายของสามระดับ สาวกจึงได้รับสิ่งของต่างๆที่ผลิตจากปฏิกิริยาของสามระดับนี้เพื่อให้ประสาทสัมผัสพึงพอใจ ใน ภควัต-คีตา ได้รับคำสอนจากคริชณะว่าเราต้องข้ามให้พ้นสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ นิสไทรกุณโย บะวารจุนะ ภารกิจของชีวิตมนุษย์คือให้มาเป็นทิพย์อยู่เหนือสามระดับแห่งวัตถุ นอกจากเป็น นิสไทรกุณยะ มิฉะนั้น ไม่สามารถเป็นอิสระจากพันธนาการทางวัตถุได้ อันที่จริง ความชื่นชอบที่ได้รับจากพระศิวะไม่เป็นประโยชน์ต่อพันธวิญญาณ แม้สิ่งเอื้ออำนวยเหล่านี้ดูเหมือนเป็นความมั่งคั่ง
ชุคะเดวะ โกสวามี กล่าวต่อ “องค์ภควาน ฮะริ ทรงเป็นทิพย์อยู่เหนือสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ” กล่าวไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า ผู้ใดศิโรราบต่อพระองค์จะข้ามพ้นการควบคุมของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ฉะนั้น เพราะสาวกของฮะริเป็นทิพย์อยู่เหนือการควบคุมของสามระดับแห่งวัตถุ แน่นอนว่าพระองค์ทรงเป็นทิพย์ กล่าวไว้ใน ชรีมัด-ภควธัม ว่า ฮะริหรือคริชณะทรงเป็นภควานองค์เดิม มี พระคริทิ หรือพลังงานสองประเภทคือ พลังงานเบื้องสูงและเบื้องต่า คริชณะทรงเป็นพระเจ้าอยู่เหนือพระคริทิ หรือพลังงานทั้งสองนี้ ทรงเป็นสารวะ-ดริค ผู้ควบคุมดูแลการปฏิบัติการทั้งหมดของพลังงานเบื้องสูงและเบื้องต่า และทรงเป็นอุพะดรัชทะ ผู้ให้คำแนะนำสูงสุด เนื่องจากทรงเป็นผู้ให้คำแนะนำสูงสุดพระองค์ทรงอยู่เหนือเทวดาทั้งปวงผู้ที่ต้องปฏิบัติตามคำชี้แนะของผู้ให้คำแนะนำสูงสุด เช่นนี้ หากปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์ภควานโดยตรง ดังที่สอนไว้ใน ภควัต-คีตา และ ชรีมัด-ภควธัม เราจะค่อยๆมาเป็นนิรกุณะ หรืออยู่เหนือปฏิกิริยาของสามระดับแห่งวัตถุ นิรกุณะ หมายความว่าปราศจากความมั่งคั่งทางวัตถุ ดังที่อธิบายไว้ว่า ความมั่งคั่งทางวัตถุหมายถึงเพิ่มพูนกรรมและผลกรรมของสามระดับแห่งวัตถุ จากการบูชาองค์ภควานแทนที่จะมาหยิ่งผยองกับความมั่งคั่งทางวัตถุ เราจะมั่งคั่งด้วยความเจริญก้าวหน้าในวิถีทิพย์แห่งความรู้ในคริชณะจิตสำนึก มาเป็นนิรกุณะ หมายความว่าบรรลุถึงความสงบ ความไม่กลัว มีศาสนา มีความรู้ และเสียสละนิรันดร ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะอาการที่มีอิสระเสรีจากมลทินของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ
ในการตอบคำถามของ พะรีคชิท มะฮาราจะ, ชุคะเดวะ โกสวามี ได้กล่าวต่อไปถึงตัวอย่างในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระอัยกาของ พะรีคชิท มะฮาราจะ คือกษัตริย์ยุดิชทิระ ท่านกล่าวว่า หลังจากเสร็จพิธีบูชาอัชวะเมดะ ที่ปรัมพิธีบูชาอันยิ่งใหญ่ กษัตริย์ยุดิชทิระอยู่ต่อหน้าผู้น่าเชื่อถือได้ ทรงถามเกี่ยวกับประเด็นเดียวกันนี้ว่า ทำไมสาวกของพระศิวะมีความมั่งคั่งทางวัตถุ ขณะที่สาวกของพระวิชณุไม่มี? ชุคะเดวะ โกสวามี อ้างอิงถึงกษัตริย์ยุดิชทิระโดยเฉพาะว่าเป็น “พระอัยกาของเธอ” เพื่อให้ มะฮาราจะ พะรีคชิท มีกำลังใจคิดว่าทรงมีความสัมพันธ์กับคริชณะ เพราะพระอัยกามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับองค์ภควาน แม้คริชณะทรงมีความพึงพอใจโดยธรรมชาติเสมอ เมื่อ มะฮาราจะ ยุดิชทิระ ทรงถามคำถามนี้ พระองค์ทรงมีความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น เพราะคำถามและคำตอบเช่นนี้จะมีความหมายมากสำหรับสมาคมคริชณะจิตสำนึกมวลรวม เมื่อใดที่คริชณะตรัสเกี่ยวกับบางสิ่งต่อสาวกโดยเฉพาะ มิได้หมายความว่าสำหรับสาวกผู้นั้นเพียงรูปเดียว แต่สำหรับสังคมมนุษย์ทั้งหมด คำสอนโดยองค์ภควานมีความสำคัญแม้แต่เหล่าเทวดาที่นำโดยพระพรหม พระศิวะ และองค์อื่นๆ ผู้ใดไม่ฉวยโอกาสกับคำสอนขององค์ภควานที่เสด็จมาในโลกนี้เพื่อประโยชน์สุขของมวลชีวิต เป็นผู้อับโชคมากแน่นอน
องค์ภควาน คริชณะ ทรงตอบคำถามของ มะฮาราจะ ยุดิชทิระ ดังนี้ “หากข้าชื่นชอบสาวกรูปใดโดยเฉพาะและปรารถนาจะดูแลเขา ก่อนอื่นข้าจะนำเอาความร่ารวยของเขาไป” เมื่อกลายมาเป็นยาจกหรืออยู่ในสภาพที่ยากจนมาก ญาติๆ และสมาชิกในครอบครัวไม่สนใจเขา ส่วนใหญ่ไม่อยากมายุ่งเกี่ยวด้วย สาวกไม่มีความสุขเพราะคริชณะนำเอาความมั่งคั่งของเขาไป และไม่มีความสุขมากยิ่งขึ้นเมื่อญาติๆทิ้งเขาไปเพราะยากจนลง อย่างไรก็ดี ควรสังเกตว่าเมื่อสาวกอยู่ในสภาวะเป็นทุกข์เช่นนี้ มิใช่เนื่องมาจากกรรมเก่าในอดีตที่เรียกว่าคารมะ-พะละ สภาวะยากจนของสาวก องค์ภควานทรงเป็นผู้สร้าง สาวกมั่งคั่งทางวัตถุก็มิใช่เนื่องมาจากบุญเก่า ทั้งสองกรณีไม่ว่าสาวกจะจนลงหรือรวยขึ้นผู้จัดการคือองค์ภควาน คริชณะทรงจัดการเช่นนี้โดยเฉพาะเพื่อให้สาวกมาขึ้นอยู่กับพระองค์โดยสมบูรณ์ และเป็นอิสระจากเงื่อนไขข้อผูกพันธ์ทางวัตถุทั้งหมด จากนั้น เขาสามารถทุ่มเทพลังงาน จิตใจ และร่างกาย ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรับใช้องค์ภควาน นั่นคือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ ดังนั้น ใน นาระดะ-พานชะราทระ อธิบายว่า สารโวพะดิ-วินิรมุคทัม หมายความว่า “เป็นอิสระจากชื่อระบุทั้งปวง” งานที่ทำไปเพื่อครอบครัว สังคม ชุมชน ประเทศ หรือมนุษยชาติ ทั้งหมดเป็นชื่อระบุ “ข้าเป็นของสังคมนี้” “ข้าเป็นของชุมชนนี้” “ข้าเป็นของประเทศนี้” “ข้าเป็นของเผ่าพันธุ์ชีวิตนี้” ลักษณะเหล่านี้ทั้งหมดเป็นเพียงชื่อระบุ ด้วยพระกรุณาธิคุณของพระองค์ เมื่อสาวกเป็นอิสระจากชื่อระบุทั้งหมด การอุทิศตนเสียสละรับใช้จึงเป็น ไนชคารมะ อย่างแท้จริง กยานี ชื่นชอบมากกับตำแหน่งไนชคารมะ เพราะการกระทำของตนจะไม่มีผลกระทบทางวัตถุอีกต่อไป เมื่อการกระทำของสาวกเป็นอิสระจากผลกระทบ ไม่อยู่ในประเภทคารมะ-พะลัม หรือกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุอีกต่อไป ดังที่บุคลิกภาพแห่งพระเวทได้อธิบายไว้แล้วว่า ความสุขและความทุกข์ของสาวก องค์ภควานทรงเป็นผู้สร้าง ฉะนั้น สาวกไม่สนใจว่ามีความสุขหรือทุกข์ แต่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ แม้ความประพฤติดูเหมือนอยู่ภายใต้กรรมและกฏแห่งกรรมของกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ อันที่จริงเขาเป็นอิสระจากผลแห่งการกระทำ
อาจถามว่าทำไมคริชณะทรงส่งสาวกให้ตกระกำลำบาก คำตอบคือ การจัดการเช่นนี้ของพระองค์ ดูเหมือนบางครั้งบิดาไร้เมตตาต่อบุตร เพราะสาวกเป็นดวงวิญญาณที่ศิโรราบ องค์ภควานทรงเป็นผู้ดูแล เมื่อถูกส่งให้ไปอยู่ในสภาวะชีวิตไม่ว่าทุกข์หรือสุข ควรเข้าใจว่าเบื้องหลังการจัดการเช่นนี้องค์ภควานทรงวางแผนการณ์ใหญ่ไว้ให้ ตัวอย่างเช่น คริชณะทรงจัดให้พาณดะวะไปอยู่ในสภาวะที่มีทุกข์ หนักจนกระทั่งแม้พระอัยกาบีชมะยังไม่เข้าใจและเสียใจว่าสภาวะที่เป็นทุกข์ขนาดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ท่านเศร้าใจว่าแม้ครอบครัวพาณดะวะที่มียุดิชทิระ กษัตริย์ผู้ทรงธรรมเป็นผู้นำ มีสองนักรบผู้ยิ่งใหญ่คือบีมะและอารจุนะเป็นผู้ปกป้อง ยิ่งไปกว่านั้น พาณดะวะเป็นเพื่อนและญาติสนิทของคริชณะ ยังต้องผ่านความยากลำบากเช่นนี้ อย่างไรก็ดี ต่อมาได้พิสูจน์แล้วว่านี่คือแผนของ องค์ภควาน คริชณะ ทรงวางไว้ให้เป็นส่วนหนึ่งแห่งภารกิจอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ในการทำลายล้างพวกคนสารเลว และปกป้องสาวก
อาจมีอีกคำถามว่า เนื่องจากสาวกถูกจัดให้มาอยู่ในสภาวะที่มีความสุขและความทุกข์แตกต่างกัน โดยการจัดการขององค์ภควาน และคนทั่วไปถูกจัดให้มาอยู่ในสภาวะเช่นนี้อันเนื่องมาจากผลกรรมในอดีต แล้วมีข้อแตกต่างอย่างไร? สาวกดีกว่าคารมีธรรมดาทั่วไปอย่างไร? คำตอบคือคารมีและสาวกมิได้อยู่ในระดับเดียวกันไม่ว่าสภาวะชีวิตของคารมีเป็นเช่นไร เขาต้องอยู่ในวัฏจักรแห่งการเกิดและตายอันเนื่องมาจากเมล็ดพันธุ์แห่งกรรม หรือยังมีกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุอยู่ และบังเกิดผลเมื่อมีโอกาส จากกฏแห่งกรรมคนทั่วไปจะถูกพันธนาการชั่วกัลปวสานในการเกิดและตายซ้าซาก ขณะที่ความทุกข์และความสุขของสาวกมิได้อยู่ภายใต้กฏแห่งกรรม แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่องค์ภควานทรงจัดการชั่วคราวและไม่พันธนาการสาวก การจัดการเช่นนี้ทรงทำเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายโดยเฉพาะ หากคารมีทำงานการกุศลจะพัฒนาไปถึงสวรรค์ และหากทำบาปจะถูกจับไปอยู่ในสภาวะชีวิตที่เป็นนรก แต่เมื่อสาวกทำสิ่งสมมุติว่าเป็นบุญหรือในลักษณะการกุศล จะไม่พัฒนาขึ้นสูงหรือตกต่าลง แต่ถูกย้ายไปอาณาจักรทิพย์ ฉะนั้น ความสุขและทุกข์ของสาวกและความสุขและทุกข์ของคารมีไม่อยู่ในระดับเดียวกัน ความจริงนี้ยมราชทรงยืนยันโดยตรัสกับผู้รับใช้ของท่านในความสัมพันธ์กับการหลุดพ้นของอจามิละ ยมราชทรงแนะนำยมฑูตผู้รับใช้ว่า ให้ไปหาบุคคลที่ไม่เคยเปล่งพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ ภควาน ไม่เคยระลึกถึงรูปลักษณ์ คุณสมบัติ และลีลาของพระองค์ ยมราชทรงแนะนำยมฑูตว่าอย่าเข้าพบสาวกของคริชณะ ตรงกันข้ามทรงรับสั่งว่าหากพบสาวกควรถวายความเคารพ ฉะนั้น ไม่น่ามีคำถามว่าสาวกเจริญหรือตกต่าภายในโลกวัตถุนี้หรือไม่ เหมือนมีข้อแตกต่างมหาศาลระหว่างมารดาลงโทษและศัตรูลงโทษ ดังนั้น สภาวะที่เป็นทุกข์ของสาวกไม่เหมือนกับสภาวะที่เป็นทุกข์ของคารมีธรรมดา
อาจมีอีกคำถามหนึ่งว่า หากองค์ภควานทรงมีพลังอำนาจทั้งหมดแล้วทำไมพยายามเปลี่ยนแปลงสาวกโดยจัดให้มาอยู่ในความทุกข์? คำตอบคือ เมื่อองค์ภควานทรงจับสาวกให้มาอยู่ในสภาวะที่เป็นทุกข์มิใช่ว่าไม่มีจุดมุ่งหมาย บางครั้งจุดม่งหมายคือในความทุกข์สาวกมีความรู้สึกยึดมั่นต่อคริชณะมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ก่อนออกจากเมืองหลวงของพาณดะวะเพื่อกลับบ้าน คริชณะทรงขออนุญาตและคุนทีเดวีตรัสว่า “คริชณะที่รัก ในสภาวะที่เป็นทุกข์ พระองค์ทรงปรากฏอยู่กับพวกเราเสมอ บัดนี้เพราะเจริญก้าวหน้ามาเป็นกษัตริย์จึงทรงจากพวกเราไป ดังนั้น ข้าชอบมีชีวิตอยู่ในความทุกข์มากกว่าที่จะสูญเสียพระองค์ไป” เมื่อสาวกถูกจับให้อยู่ในสภาวะที่มีความทุกข์ กิจกรรมในการอุทิศตนเสียสละเพิ่มมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น เพื่อแสดงถึงความชื่นชอบพิเศษต่อสาวก บางครั้งพระองค์ทรงทำให้เขาอยู่ในความทุกข์ กล่าวว่ารสแห่งความสุขมีความหวานชื่นมากกว่า สำหรับพวกที่เคยได้รับรสแห่งความขมขื่นมาแล้ว องค์ภควานเสด็จลงมาในโลกวัตถุนี้เพียงเพื่อปกป้องสาวกจากความทุกข์ อีกนัยหนึ่ง หากสาวกไม่อยู่ในสภาวะที่เป็นทุกข์พระองค์ทรงไม่เสด็จลงมา สำหรับการสังหารมารหรือคนสารเลว พลังงานต่างๆของพระองค์สามารถจัดการได้โดยง่ายดาย ดังที่อสุระหลายตนถูกเทพธิดาดุรกาซึ่งเป็นพลังงานเบื้องต่าของพระองค์สังหาร ดังนั้น องค์ภควานทรงไม่จำเป็นต้องเสด็จลงมาเองเพื่อสังหารมารเหล่านี้ แต่เมื่อสาวกอยู่ในความทุกข์ทรงต้องเสด็จลงมา องค์นริสิมฮะเดวะทรงปรากฏมิใช่เพื่อสังหารฮิรัณยะคะชิพุ แต่เพื่อปกป้องและให้พรแด่พระฮลาดะ เนื่องจาก พระฮลาดะ มะฮาราจะ ถูกจับให้มาอยู่ในความทุกข์อันยิ่งใหญ่ พระองค์ทรงปรากฏ หลังจากความมืดสนิทแห่งราตรีกาลผ่านไป แสงอาทิตย์ค่อยๆสาดส่องมาในยามเช้าเป็นที่น่ายินดียิ่ง เมื่อความร้อนแผดเผาอย่างรุนแรง น้าเย็นเป็นที่น่าชื่นชอบมาก และในฤดูหนาวที่หนาวเหน็บ น้าอุ่นเป็นที่น่ายินดีมาก ลักษณะเดียวกัน หลังจากสาวกมีประสบการณ์กับความทุกข์ในโลกวัตถุ พอได้รับรสแห่งความสุขทิพย์ที่องค์ภควานทรงประทานให้ เป็นสภาวะที่น่ายินดีและมีความสุขมากกว่า
องค์ภควานตรัสต่อ “เมื่อสาวกปราศจากความมั่งคั่งทางวัตถุทั้งปวงถูกญาติๆ เพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัวทอดทิ้ง พอไม่มีใครดูแล เขาจะมาพึ่งพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์โดยสมบูรณ์” ชรีละ นะโรททะมะดาสะ ทาคุร ขับร้องเพลงเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า “คริชณะที่รัก โอ้ บุตรนันดะ มะฮาราจะ บัดนี้ทรงยืนอยู่ต่อหน้าข้าพร้อมทั้ง ชรีมะธี ราดาราณี ธิดาแห่งกษัตริย์วริชะบานุ บัดนี้ข้าขอศิโรราบต่อพระองค์โปรดกรุณารับข้าไว้ กรุณาอย่าขับไล่ไสส่ง เพราะข้าไม่มีที่พึ่งอื่นใดนอกจากพระองค์” เมื่อสาวกถูกวางให้มาอยู่ในสภาวะที่สมมุติว่าเป็นทุกข์ ไร้ความมั่งคั่งและครอบครัว พยายามฟื้นฟูสถานภาพร่ารวยทางวัตถุให้เหมือนเดิม แม้พยายามหลายครั้งแต่คริชณะทรงเอาไปทุกครั้ง จนในที่สุดผิดหวังกับกิจกรรมทางวัตถุ ความพยายามทั้งหมดไม่สมหวัง เขาศิโรราบต่อองค์ภควานโดยสมบูรณ์ ทรงแนะนำจากภายในให้มาคบหาสมาคมกับสาวก เมื่อมาคบกับสาวกทำให้ชอบถวายการรับใช้พระองค์โดยธรรมชาติ และได้รับสิ่งเอื้ออำนวยทั้งหลายทันทีเพื่อให้เจริญก้าวหน้าในคริชณะจิตสำนึก พวกไม่ใช่สาวกระวังมากที่จะรักษาสถานภาพชีวิตทางวัตถุ โดยทั่วไปไม่บูชาองค์ภควาน แต่บูชาพระศิวะหรือเทวดาองค์อื่นๆ เพื่อผลกำไรทางวัตถุและได้รับผลทันที ภควัต-คีตา ตรัสว่า คางคชันทะฮ คารมะณาม สิดดิม ยะจันทะ อิฮะ เดวะทาฮ เพื่อบรรลุถึงความสำเร็จภายในโลกวัตถุพวกคารมี บูชาเทวดา คริชณะตรัสว่าพวกบูชาเทวดาปัญญายังไม่เจริญ สาวกยึดมั่นต่อองค์ภควาน อย่างมั่นคงจึงไม่จำเป็นต้องไปพึ่งเทวดา
องค์ภควาน คริชณะ ตรัสต่อกษัตริย์ยุดิชทิระว่า “สภาวะชีวิตที่ตกระกำลำบากของสาวกไม่เป็นอุปสรรค เขายังคงความแน่วแน่มั่นคงเสมอ ข้าจึงให้ตัวข้าแก่เขา และชื่นชมเพื่อเขาสามารถบรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดในชีวิต” พระเมตตาธิคุณที่ให้แก่สาวกผู้พยายาม อธิบายว่าคือบระฮมัน แสดงว่าความยิ่งใหญ่แห่งพระเมตตานั้นเปรียบเทียบได้กับความยิ่งใหญ่ที่แพร่กระจายไปทั่ว บระฮมัน ในที่สุดหมายความว่ายิ่งใหญ่และแพร่ขยายไปอย่างไร้ที่สิ้นสุด พระเมตตานั้นยังอธิบายว่าเป็น พะระมะ เพราะไร้สิ่งเปรียบเทียบภายในโลกวัตถุนี้ ยังเรียกว่าสูคชมัม มีความละเอียดอ่อนมาก พระเมตตาขององค์ภควานที่มีต่อสาวกผู้พยายาม ไม่เพียงแต่ยิ่งใหญ่และแพร่ขยายอย่างไม่สิ้นสุดเท่านั้น แต่ยังเป็นคุณสมบัติที่ละเอียดอ่อนที่สุดแห่งความรักทิพย์ระหว่างสาวกและพระองค์ ยังอธิบายต่อไปว่าพระเมตตาเป็น ชินมาทรัม เป็นทิพย์โดยสมบูรณ์ การใช้คำมาทรัม แสดงให้เห็นถึงความเป็นทิพย์โดยบริบูรณ์ ไร้ระดับทางวัตถุเจือปนแม้แต่น้อย พระเมตตายังเรียกว่าสัท เป็นอมตะ และอนันทะคัม ไร้ขีดจำกัด เนื่องจากสาวกได้รับประโยชน์ทิพย์โดยไร้ขอบเขตจำกัดเช่นนี้ แล้วทำไมต้องไปบูชาเทวดา? สาวกของคริชณะไม่บูชาพระศิวะ พระพรหม หรือเทวดาองค์อื่นที่รองลงมา แต่อุทิศตนรับใช้ทิพย์ด้วยใจรักต่อองค์ภควาน
ชุคะเดวะ โกสวามี กล่าวต่อ “เหล่าเทวดาที่นำโดยพระพรหม พระศิวะ รวมทั้งพระอินทร์ พระจันทร์ พระวะรุณะ และองค์อื่นๆผู้พึงพอใจง่ายและโกรธง่ายจากพฤติกรรมดีและไม่ดีของสาวก แต่ไม่เป็นเช่นนี้กับองค์ภควาน พระวิชณุ” หมายความว่าสิ่งมีชีวิตภายในโลกวัตถุนี้ รวมทั้งบรรดาเทวดาปฏิบัติอยู่ภายใต้สามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ดังนั้น คุณสมบัติแห่งอวิชชาและตัณหาโดดเด่นมากภายในโลกวัตถุ สาวกผู้ได้รับพรจากเทวดาได้รับคุณสมบัติทางวัตถุ โดยเฉพาะตัณหาและอวิชชา ฉะนั้น องค์ชรี คริชณะ ตรัสใน ภควัต-คีตา ว่า การได้รับพรจากเทวดาไม่ฉลาด เพราะผลของพรไม่ถาวร การบูชาเทวดาและได้รับความมั่งคั่งทางวัตถุเป็นเรื่องง่าย แต่บางครั้งผลลัพธ์กลายเป็นหายนะ เช่นนี้ ชนชั้นด้อยปัญญาชื่นชอบพรที่ได้รับจากเทวดา หยิ่งผยองกับความมั่งคั่งทางวัตถุ และละเลยผู้ที่ให้ประโยชน์แก่ตน
ชุคะเดวะ โกสวามี กล่าวต่อกษัตริย์พะรีคชิทว่า “กษัตริย์ที่รัก พระพรหม พระวิชณุ และพระศิวะทรงเป็นสามองค์หลักแห่งการสร้างวัตถุ สามารถให้พรและสาปผู้ใดก็ได้ พระพรหมและพระศิวะทรงพึงพอใจง่ายมาก ขณะเดียวกัน ก็โกรธง่ายเช่นกัน เมื่อพึงพอใจจะให้พรโดยไม่พินิจพิจารณา แต่เมื่อโกรธจะสาปสาวกโดยไม่พิจารณาเช่นกัน แต่พระวิชณุไม่เป็นเช่นนั้น ทรงพินิจพิจารณามาก เมื่อสาวกปรารถนาบางสิ่งจากพระองค์ ก่อนอื่น พระวิชณุทรงพิจารณาว่าพรนี้ในที่สุดเป็นผลดีต่อสาวกหรือไม่ พระวิชณุทรงไม่เคยให้พรใดซึ่งในที่สุดพิสูจน์ว่าไม่ดีต่อสาวก โดยธรรมชาติทิพย์พระองค์ทรงมีพระเมตตาเสมอ ฉะนั้น ก่อนให้พรใดจะทรงพิจารณาก่อนว่าต้องเป็นประโยชน์ต่อสาวกจริง เนื่องจากองค์ภควานทรงมีพระเมตตาเสมอ แม้ดูเหมือนว่าทรงสังหารมารหรือโกรธสาวก พฤติกรรมของพระองค์เป็นมงคลเสมอ ดังนั้น องค์ภควานทรงดีไปทั้งหมด ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทรงกระทำจะดีไปหมด
นักปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมได้เล่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพรที่พระศิวะทรงให้้ดังนี้ กาลครั้งหนึ่ง หลังจากพระศิวะทรงให้พรแก่มารชื่อวริคาสุระ บุตรของชะคุนิ ทำให้พระศิวะตกอยู่ในอันตรายมาก วริคาสุระแสวงหาพร พยายามตัดสินใจว่าพระปฏิมาผู้ควบคุมทั้งสาม ควรบูชาองค์ใดเพื่อให้ได้รับพร ขณะนั้นพบปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมนาระดะ และปรึกษาว่าควรเข้าพบองค์ใดเพื่อให้บรรลุผลรวดเร็วจากการปฏิบัติสมถะ จึงถามว่า “พระปฏิมาทั้งสามคือพระพรหม พระวิชณุ และพระศิวะ องค์ใดทรงพึงพอใจได้เร็วที่สุด?” นาระดะเข้าใจแผนของมารจึงแนะนำไปว่า “เธอควรบูชาพระศิวะแล้วจะได้รับผลตามความปรารถนาอย่างรวดเร็ว พระศิวะทรงมีความพึงพอใจได้เร็วมากและไม่พอใจได้เร็วมากเช่นกัน ฉะนั้น เธอจงพยายามทำให้พระศิวะพึงพอใจ” นาระดะยังกล่าวถึงตัวอย่างที่มารเช่นราวะณะและบาณาสุระได้รับความมั่งคั่งมาก ด้วยเพียงแต่ถวายบทมนต์ให้พระศิวะทรงพอพระทัย ปราชญ์ผู้ยอดเยี่ยมนาระดะรู้ถึงธรรมชาติของมารวริคาสุระ จึงไม่แนะนำให้เข้าหาพระวิชณุหรือพระพรหม บุคคลเช่นวริคาสุระอยู่ในระดับอวิชชาแห่งธรรมชาติวัตถุจะไม่สามารถยึดมั่นอยู่กับการบูชาพระวิชณุ
หลังจากได้รับคำสอนจากนาระดะ มารวริคาสุระไปที่เคดาระนาทะ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ยังปรากฏอยู่ใกล้แคชเมีย ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลาแต่ช่วงเดือนกรกฏาคมอาจเห็นพระปฏิมา และสาวกจะไปถวายความเคารพ เคดาระนาทะเป็นสถานที่สำหรับสาวกของพระศิวะ ตามหลักธรรมพระเวท เมื่อถวายบางสิ่งให้พระปฏิมารับประทานจะถวายในไฟ พิธีบูชาไฟจึงจำเป็นในพิธีกรรมต่างๆ กล่าวไว้ในชาสทระ ว่าถวายบางสิ่งให้เทวดารับประทานผ่านทางไฟ มารวริคาสุระไปที่เคดาระนาทะ ทำพิธีบวงสรวงบูชาไฟเพื่อให้พระศิวะทรงยินดี หลังจากจุดไฟในนามของพระศิวะ เริ่มแล่เนื้อของตนเองถวายเพื่อให้พระศิวะทรงยินดี นี่คือตัวอย่างการบูชาในระดับอวิชชา ภควัต-คีตา ตรัสถึงพิธีการบูชาลักษณะต่างๆ บ้างอยู่ในระดับความดี บ้างอยู่ในระดับตัณหา และบ้างอยู่ในระดับอวิชชา มีทะพัสยะ และการบูชาที่แตกต่างกัน เพราะมีบุคคลแตกต่างกันภายในโลกนี้ แต่ ทะพัสยะ ขั้นสุดท้ายคือ คริชณะจิตสำนึก ซึ่งเป็นโยคะสูงสุดและเป็นพิธีบูชาสูงสุด ได้ยืนยันไว้ใน ภควัต-คีตา ว่า โยคะสูงสุดคือการระลึกถึง องค์ภควาน คริชณะ อยู่ภายในหัวใจเสมอ และพิธีบูชาสูงสุดคือการปฏิบัติ สังคีรทะนะ-ยะกยะ
ภควัต-คีตา ตรัสว่าพวกบูชาเทวดาสูญเสียสติปัญญาของตนเอง ดังจะเปิดเผยในบทนี้ วริคาสุระต้องการทำให้พระศิวะพึงพอใจเพื่อจุดมุ่งหมายต่าๆทางวัตถุที่ไม่ถาวรและไร้ประโยชน์โดยแท้ อสุระหรือบุคคลอยู่ในระดับอวิชชาจะรับพรเช่นนี้จากเทวดา ตรงกันข้ามกับการบูชาในระดับอวิชชาคือการบูชาพระวิชณุหรือคริชณะ อารชะนา-วิดดิ เป็นวิธีง่ายมาก คริชณะตรัสใน ภควัต-คีตา ว่าทรงรับแม้แต่ผลไม้เพียงเล็กน้อย ดอกไม้ หรือน้าจากสาวก ซึ่งใครๆก็หาได้ไม่ว่าจนหรือรวย แน่นอนว่าพวกที่รวยไม่คาดว่าจะถวายน้า ผลไม้ หรือใบไม้เพียงเล็กน้อยแด่พระองค์ คนรวยควรถวายตามสถานภาพของตน แต่หากสาวกเป็นคนจนมาก องค์ภควานทรงยอมรับแม้ถวายเพียงนิดหน่อยเท่านั้น บูชาพระวิชณุหรือคริชณะง่ายมากใครๆในโลกนี้ก็ปฏิบัติได้ แต่บูชาในระดับอวิชชาดังที่วริคาสุระแสดงให้ดู ไม่เพียงยากและเจ็บปวด แต่ยังเสียเวลาและไร้ประโยชน์อีกด้วย ดังนั้น ภควัต-คีตา ตรัสว่า พวกที่บูชาเทวดาไม่มีปัญญา วิธีการบูชายากมากขณะเดียวกันผลที่ได้รับนั้นชั่วคราวและไม่ถาวร
แม้วริคาสุระทำพิธีบูชาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหกวัน ยังไม่สามารถพบพระศิวะโดยตรงตามจุดมุ่งหมาย เขาต้องการพบพระศิวะซึ่งๆหน้าเพื่อขอพร นี่คือสิ่งตรงข้ามอีกประการหนึ่งระหว่างมารและสาวก สาวกมั่นใจว่าสิ่งที่ถวายแด่พระปฏิมาด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยสมบูรณ์ พระองค์ทรงรับไว้ แต่มารต้องการเห็นพระปฏิมาที่ตนบูชาซึ่งๆหน้าเพื่อขอพรโดยตรง อย่างไรก็ดี สาวกมิได้บูชาพระวิชณุหรือคริชณะเพื่อพรใดๆ สาวกจึงเรียกว่าอคามะ ปราศจากความปรารถนา และผู้มิใช่สาวกเรียกว่าสารวะ-คามะ ปรารถนาทุกสิ่งทุกอย่าง ในวันที่เจ็ดมารวริคาสุระตัดสินใจว่า ควรตัดศีรษะของตนเพื่อถวายให้พระศิวะทรงพอพระทัย เขาจึงอาบน้าในทะเลสาบใกล้ๆ โดยไม่เช็ดตัวเช็ดผมเพื่อเตรียมตัวตัดศีรษะของตน ตามระบบพระเวท สัตว์ที่จะถวายในพิธีบูชาต้องอาบน้าก่อนและเข้าพิธีขณะที่ตัวยังเปียกอยู่ เมื่อมารเตรียมตัวเพื่อตัดศีรษะตนเอง พระศิวะทรงมีพระเมตตาสงสารอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี ลักษณะความเมตตาสงสารนี้เป็นคุณสมบัติแห่งความดี พระศิวะเรียกว่าทริลิงกะ “การผสมผสานของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ” ฉะนั้น การปรากฏตามธรรมชาติที่มีเมตตาเป็นเครื่องหมายคุณสมบัติความดี ความเมตตาสงสารมีอยู่ในทุกชีวิต ความเมตตาของพระศิวะถูกกระตุ้นออกมาเพราะมารจะแล่เนื้อของตนถวายในพิธีบูชาไฟ เป็นความสงสารตามธรรมชาติ แม้คนธรรมดาเมื่อเห็นคนกำลังจะฆ่าตัวตาย เป็นหน้าที่ต้องพยายามช่วยโดยปริยาย ไม่จำเป็นต้องขอร้อง เมื่อพระศิวะทรงปรากฏจากกองไฟเพื่อให้มารหยุดฆ่าตัวตาย จึงมิใช่เป็นการสงเคราะห์ที่ยิ่งใหญ่เท่าไรนัก
มารได้รับความช่วยเหลือจากการฆ่าตัวตาย เมื่อพระศิวะมาสัมผัสร่างทำให้ส่วนที่ถูกแล่เนื้อออกไปหายเป็นปกติทันที พระศิวะตรัสต่อมารว่า “วริคาสุระที่รัก ไม่จำเป็นต้องตัดศีรษะ เธอขอพรอะไร ข้าจะสนองตอบตามปรารถนา ทำไมต้องการตัดศีรษะตนเองเพื่อจะทำให้ข้าพอใจ ข้าพึงพอใจแม้ถวายน้าเพียงนิดเดียว” อันที่จริงตามพิธีกรรมพระเวท ชิวะ ลิงกะ หรือรูปลักษณ์พระศิวะในวัด บูชาด้วยเพียงแต่ถวายน้าจากแม่น้าคงคา กล่าวไว้ว่า พระศิวะทรงพอใจเมื่อน้าคงคารดลงบนศีรษะท่าน โดยทั่วไปสาวกถวายน้าคงคาและใบไม้จากต้นบิลวะ ซึ่งหมายไว้เพื่อถวายให้พระศิวะและเทพธิดาดุรกาโดยเฉพาะ ผลบิลวะก็เช่นเดียวกัน พระศิวะให้ความมั่นใจแก่วริคาสุระว่าพระองค์ทรงพอใจจากวิธีการบูชาง่ายๆ แล้วทำไมจึงอยากตัดศีรษะมาถวาย ทำไมจึงต้องไปเจ็บปวดกับการแล่เนื้อของตนเองเป็นชิ้นๆ เพื่อถวายลงไปในไฟ? ไม่มีความจำเป็นกับความเพียรพยายามที่รุนแรงเช่นนี้ อย่างไรก็ดี ด้วยพระเมตตาสงสาร พระศิวะทรงพร้อมจะให้พรอันใดก็ได้ที่เขาปรารถนา เมื่อมารได้รับข้อเสนอนี้จากพระศิวะ จึงขอพรที่น่ากลัวและเลวร้ายมาก มารมีบาปหนา คนบาปไม่รู้ว่าควรขอพรอะไรจากพระปฏิมา ฉะนั้น จึงขอพรจากพระศิวะว่าให้มีพลังอำนาจที่เมื่อใดมือเขาไปแตะศีรษะของใคร ศีรษะนั้นจะแตกเป็นเสี่ยงๆและตายทันที ใน ภควัต-คีตาได้อธิบายว่ามารเป็นดุชคริทินะ หรือคนสารเลว คริที “หมายความว่าเป็นกุศลมาก” แต่เมื่อบวกดุช เข้าไปหมายความว่า “เลวร้ายมาก” แทนที่จะศิโรราบต่อองค์ภควาน ดุชคริทินะ บูชาเทพเพื่อให้ได้พรทางวัตถุที่เลวร้าย บางครั้งมารเหล่านี้เช่น นักวิทยาศาสตร์ทางวัตถุค้นพบอาวุธที่ร้ายแรง พวกเขาไม่สามารถแสดงพลังที่เป็นกุศลด้วยการค้นพบบางสิ่งที่จะช่วยมนุษย์ไม่ให้ตาย แต่กลับไปค้นพบอาวุธเพื่อเร่งความตาย เพราะพระศิวะทรงมีพลังอำนาจพอที่จะให้พรอันใดก็ได้ มารสามารถขอพรเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์ แต่เพื่อประโยชน์ส่วนตัว กลับขอพรว่าเมื่อมือเขาไปแตะศีรษะผู้ใด ผู้นั้นจะตายทันที
พระศิวะเข้าใจถึงแรงกระตุ้นของมาร ทรงเสียใจมากที่ได้ให้สัญญาว่าจะให้พรทุกอย่างที่เขาปรารถนา ไม่ถอนคำสัญญาแต่ทรงรู้สึกเสียใจมากภายในใจที่ได้เสนอพรที่จะเป็นอันตรายต่อสังคมมนุษย์ มารเป็นดุชคริทินะ คนสารเลว ถึงแม้มีสมองและความสามารถมากแต่ใช้ไปในทางเลวร้าย ตัวอย่างเช่น มารนักวัตถุนิยมค้นพบอาวุธร้ายแรง การค้นพบทางวิทยาศาสตร์เช่นนี้จำเป็นต้องมีความสามารถและสมองดี แต่แทนที่จะค้นพบบางสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์ กลับค้นพบอาวุธที่ไปเร่งความตาย ซึ่งทุกคนต้องตายอยู่แล้ว เช่นเดียวกัน วริคาสุระ แทนที่จะขอบางสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์ แต่กลับขอสิ่งที่เป็นอันตรายมากต่อสังคมมนุษย์ ดังนั้น พระศิวะทรงเสียใจอยู่ภายใน สาวกขององค์ภควานไม่เคยขอพรใดๆ จากพระวิชณุหรือคริชณะ แม้หากขอก็จะไม่เป็นอันตรายต่อสังคมมนุษย์ นั่นคือข้อแตกต่างระหว่างมารและสาวก หรือระหว่างผู้บูชาพระศิวะและผู้บูชาพระวิชณุ
ขณะที่ ชุคะเดวะ โกสวามี เล่าถึงประวัติของวริคาสุระ ท่านได้เรียก มะฮาราจะ พะรีคชิท ว่า บาระทะ พาดพิง มะฮาราจะ พะรีคชิท ว่าทรงเกิดในตระกูลสาวก มะฮาราจะ พะรีคชิท ได้รับการช่วยเหลือจากคริชณะขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา ลักษณะเดียวกันท่านสามารถขอร้องให้คริชณะช่วยเหลือให้พ้นจากคำสาปของพราหมณ์แต่ไม่ทำ อย่างไรก็ดี มารต้องการเป็นอมตะด้วยการสังหารทุกคนโดยเอามือไปสัมผัส พระศิวะทรงเข้าใจดี แต่เนื่องจากได้ให้สัญญาไว้แล้วจึงต้องให้พรนี้ไป
มารมีบาปหนา ตัดสินใจใช้พรนี้มาสังหารพระศิวะทันที และจะยึดมเหสีของพระศิวะ เทพธิดาโกรีหรือพารวะที เพื่อความสุขของตน เขาพยายามวางมือลงบนศีรษะของพระศิวะ ทำให้พระศิวะตกอยู่ในสภาวะที่ยากลำบากมาก เพราะพรที่ให้มารกลายมาเป็นอันตรายสำหรับตนเอง นี่คืออีกตัวอย่างหนึ่งของสาวกวัตถุนิยมใช้พลังอำนาจที่ได้มาจากเทวดาไปในทางที่ผิด
โดยไม่ต้องพิจารณาอะไรอีกต่อไป มารวริคาสุระเข้าประชิดตัวพระศิวะทันที พยายามวางมือลงบนศีรษะ พระศิวะกลัวจนตัวสั่น เริ่มหนีจากแผ่นดินไปบนท้องฟ้า จากท้องฟ้าไปยังดาวเคราะห์อื่นๆ จนมาถึงสุดขอบจักรวาลที่อยู่เหนือระบบดาวเคราะห์เบื้องสูง ทรงหนีจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง แต่มารวริคาสุระยังไล่ล่าอย่างไม่หยุดยั้ง พระปฏิมาผู้ปกครองดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ เช่น พระพรหม พระอินทร์ และพระจันทร์ช่วยให้พ้นจากอันตรายนี้ไม่ได้ เทวดาพูดไม่ออกเมื่อพระศิวะมาถึง
ในที่สุด พระศิวะทรงเข้าพบพระวิชณุผู้ประทับอยู่ภายในจักรวาลนี้บนดาวเคราะห์ชื่อชเวทะดวีพะ ชเวทะดวีพะเป็นดาวเคราะห์ไวคุณธะประจำถิ่น ซึ่งอยู่เหนืออาณาเขตอิทธิพลของพลังงานเบื้องต่า พระวิชณุในรูปลักษณ์ที่แพร่กระจายไปทั่วทรงอยู่ทุกหนทุกแห่ง ที่ใดทรงประทับอยู่ด้วยพระองค์เองเป็นบรรยากาศไวคุณธะ ภควัต-คีตา กล่าวไว้ว่า องค์ภควานประทับอยู่ภายในหัวใจของมวลชีวิต เช่นนี้พระองค์ประทับอยู่ภายในหัวใจของสิ่งมีชีวิตต่าๆมากมาย แต่มิได้หมายความว่าทรงเกิดมาต่า ที่ใดที่ทรงประทับนั่นคือไวคุณธะ ดังนั้น ดาวเคราะห์ภายในจักรวาลนี้มีชื่อชเวทะดวีพะ คือไวคุณธะโลคะเช่นกัน กล่าวไว้ในชาสทระ ว่า ที่พักอาศัยในป่าอยู่ในระดับความดี ที่พักอาศัยอยู่ในนครหลวง เมือง และหมู่บ้าน อยู่ในระดับตัณหา และที่พักอาศัยอยู่ในบรรยากาศที่มีการทำบาปสี่ประการ เช่น ประพฤติผิดทางเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด รับประทานเนื้อสัตว์ และการพนัน อยู่ในระดับอวิชชา แต่ที่พักอาศัยอยู่ในวัดของพระวิชณุอยู่ที่ไวคุณธะ ไม่สำคัญว่าวัดจะอยู่ที่ใด ตัววัดจะอยู่ที่ไหนก็ได้นั่นคือไวคุณธะ ลักษณะเดียวกันดาวเคราะห์ชเวทะดวีพะแม้อยู่ภายในอาณาเขตวัตถุก็คือไวคุณธะ
ในที่สุดพระศิวะเข้าไปใน ชเวทะดวีพะ ไวคุณธะ ณ ที่นี้มีนักบุญผู้ยอดเยี่ยม เป็นอิสระจากธรรมชาติที่ชอบอิจฉาริษยาในโลกวัตถุ ผู้อยู่เหนืออาณาเขตหลักสี่ประการแห่งกิจกรรมทางวัตถุ เช่น การศาสนา พัฒนาเศรษฐกิจ สนองประสาทสัมผัส และความหลุดพ้น ผู้ใดเข้าไปในโลกไวคุณธะจะไม่กลับมายังโลกวัตถุนี้อีก พระนารายณ์ทรงมีชื่อเสียงในฐานะเป็นผู้ที่รักสาวก ทันทีที่เข้าใจว่าพระศิวะตกอยู่ในอันตรายมาก ทรงปรากฏเพื่อต้อนรับพระศิวะแต่ไกล ปรากฏในรูปบระฮมะชารี ที่สมบูรณ์ คาดเข็มขัดรอบเอว มีสายมงคล หนังกวาง ไม้บระฮมะชารี และประคำโรดระ (สาวกของพระศิวะใช้ประคำโรดระซึ่งแตกต่างจากประคำทุละสี) พระนารายณ์ทรงยืนอยู่ต่อหน้าพระศิวะในชุดบระฮมะชารี รัศมีจากพระวรกายสาดส่องสว่างไสว ไม่เพียงดึงดูดใจพระศิวะเท่านั้นแต่ยังดึงดูดใจมารวริคาสุระด้วย
พระนารายณ์ทรงแสดงความเคารพแด่วริคาสุระเพื่อเรียกความสนใจ ให้เกิดมีเมตตา และเพื่อให้มารหยุด ทรงตรัสว่า “โอ้ บุตรชะคุนิที่รัก ดูเหมือนท่านเหนื่อยมากประหนึ่งมาจากสถานที่ไกลลิบลับ มีจุดมุ่งหมายอันใด? เหตุไฉนจึงเดินทางมาไกลมาก? ข้าเห็นว่าท่านเหนื่อยและอ่อนล้ามาก จึงขอเชิญให้พักผ่อนสักครู่ ท่านไม่ควรทำให้ร่างกายเหนื่อยเกินไปโดยไม่จำเป็น ทุกคนควรเห็นคุณค่าอันยิ่งใหญ่ของร่างกาย เพราะจากร่างกายนี้เท่านั้นที่เราสามารถสนองตอบความปรารถนาทั้งหมดของจิตใจ ดังนั้น เราไม่ควรสร้างปัญหาให้กับร่างกายโดยไม่จำเป็น”
บระฮมะชารี เรียกวริคาสุระว่าเป็นบุตรของชะคุนิเพื่อให้มั่นใจว่าท่านรู้จักกับบิดาของเขาชะคุนิ วริคาสุระเข้าใจว่าบระฮมะชารี เป็นเพื่อนกับครอบครัว ฉะนั้น คำพูดที่มีเมตตาของบระฮมะชารี ฟังดูดี ก่อนที่มารจะเถียงว่าไม่มีเวลาพักผ่อน องค์ภควานทรงเริ่มบอกเกี่ยวกับความสำคัญของร่างกาย ทำให้มารรู้สึกมั่นใจขึ้น ผู้คนมากมายโดยเฉพาะมารจะเห็นว่าร่างกายของตนสำคัญมาก ดังนั้น วริคาสุระมีความมั่นใจเกี่ยวกับความสำคัญของร่างกาย
เพื่อทำให้มารสงบสติลง บระฮมะชารี กล่าวว่า “เจ้านายที่รัก หากสามารถเปิดเผยภารกิจที่ต้องลำบากมาถึงที่นี่ บางทีข้าอาจช่วยเพื่อให้จุดมุ่งหมายของท่านสำเร็จลุล่วงโดยง่ายดาย” โดยอ้อมองค์ภควานทรงบอกเขาว่า เนื่องจากเป็น บระฮมันสูงสุด แน่นอนว่าทรงสามารถปรับสถานการณ์อึดอัดที่พระศิวะได้สร้างขึ้น
มารรู้สึกสงบสติอารมณ์ลงมาก จากคำพูดที่หวานชื่นของพระนารายณ์ในรูปบระฮมะชารี ในที่สุดเขาเปิดเผยทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับพรที่พระศิวะให้ องค์ภควานตรัสตอบว่า “ตัวข้าเองไม่เชื่อว่าพระศิวะให้พรเช่นนี้แก่ท่านจริง เท่าที่รู้พระศิวะไม่อยู่ในสภาวะจิตที่เป็นปกติ ทะเลาะกับดัคชะผู้เป็นพ่อตา และถูกสาปให้มาเป็นพิชาชะ (ปีศาจ) จึงมาเป็นผู้นำพวกภูติผีปีศาจ ดังนั้น ข้าไม่มีศรัทธาในคำพูดของพระศิวะ หากท่านมีศรัทธา โอ้ เจ้าแห่งมาร ทำไมไม่ทดลองด้วยการวางมือลงบนศีรษะของท่าน? เมื่อพิสูจน์ว่าพรนี้ไม่จริงจะได้สังหารพระศิวะคนโกหกได้ทันที เพื่ออนาคตจะได้ไม่กล้าให้พรที่ไม่จริงนี้อีก”
จากคำพูดอันหวานชื่นของพระนารายณ์และการแผ่ขยายของความหลงเบื้องสูง มารสับสนจนลืมพลังอำนาจและพรของพระศิวะไปจริงๆ ถูกชักจูงโดยง่ายดายให้วางมือลงบนศีรษะของตนเอง ทันทีที่วริคาสุระทำเช่นนั้นศีรษะแตกกระจายประหนึ่งถูกสายฟ้าฟาด ตายคาที่ เทวดาบนสวรรค์โปรยดอกไม้มาที่พระนารายณ์ สรรเสริญพระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณ พร้อมถวายความเคารพ พอวริคาสุระตาย ชาวสวรรค์เช่น พิทา กันดารวะ และชาวจะนะโลคะ เริ่มโปรยดอกไม้มาที่องค์ภควาน
เช่นนี้ พระวิชณุในรูปของบระฮมะชารี ได้ปลดเปลื้องพระศิวะจากอันตรายที่มาถึงตัวและช่วยแก้สถานการณ์ พระนารายณ์ตรัสแด่พระศิวะว่ามารวริคาสุระถูกสังหารเนื่องมาจากผลบาปของตนเอง บาปโดยเฉพาะคือทำผิดที่ต้องการทดลองพลังกับพระศิวะผู้เป็นพระอาจารย์ พระนารายณ์ตรัสว่า “เทพเจ้าที่รัก บุคคลที่ทำผิดต่อดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ต่อไป จะถูกทำลายเพราะบาปของตนเอง เช่นนี้ เป็นจริงกับมารตนนี้แน่นอนที่ได้ทำผิดต่อพระองค์”
ด้วยพระกรุณาธิคุณของ องค์ภควาน พระนารายณ์ ผู้ทรงเป็นทิพย์อยู่เหนือคุณสมบัติแห่งธรรมชาติวัตถุทั้งหมด พระศิวะทรงได้รับการช่วยเหลือจากการสังหารของมาร ผู้ใดที่ได้ฟังประวัติศาสตร์นี้ด้วยความศรัทธาและอุทิศตนเสียสละ แน่นอนว่าจะหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุ รวมทั้งจากเงื้อมมือของศัตรู
ดังนั้น ขอจบคำอธิบายโดยบัคธิเวดันธะ หนังสือ “องค์ภควาน คริชณะ”
บทที่แปดสิบเจ็ด “การจัดส่งพระศิวะ”
บทที่แปดสิบเจ็ด “การจัดส่งพระศิวะ”